xs
xsm
sm
md
lg

ทัพเรือ งานเข้า! ซื้อเป้าบิน ไม่มีรางปล่อย สุดท้าย บินไม่พ้นพื้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP สถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูป NEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ NEWS1 วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 นำเสนอรายงานพิเศษ ทัพเรือ งานเข้า! ซื้อเป้าบิน ไม่มีรางปล่อย สุดท้าย บินไม่พ้นพื้น



ทัพเรือ งานเข้า! ซื้อเป้าบิน ไม่มีรางปล่อย สุดท้าย บินไม่พ้นพื้น : ถอนหมุดข่าว 21/06/66

ทัพเรือ งานเข้า! ซื้อเป้าบิน ไม่มีรางปล่อย สุดท้าย บินไม่พ้นพื้น : ถอนหมุดข่าว 21/06/66

แอป Sondhi App มีให้โหลดแล้วทั้ง iOS และ android ได้ที่
AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android&fbclid=IwAR0_8wTAnDmJz31oRwo7tA6q9rzVpQjuwAFhg0uzmTG-4c2c2KBFKwt-HK4

สมัครสมาชิกได้แล้ววันนี้
รายเดือนเพียง เดือนละ 99 บาท
รายปี 990 บาท (10 เดือน แถม 2เดือน )

ถ้ามีปัญหาการใช้งาน app หรือการสมัครสมาชิกใน app
ติดต่อสอบถามได้ที่ Line id : @sondhitalk หรือ https://lin.ee/Skns1k1

Posted by News1 on Wednesday, June 21, 2023


กองทัพเรือมีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติทางทะเล ซึ่งภารกิจดังกล่าว จะสำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จำเป็นจะต้องอาศัยยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีคุณภาพสมราคา

เมื่อไหร่ก็ตามที่การจัดหายุทโธปกรณ์มีเงื่อนงำและผลประโยชน์แอบแฝง กองทัพเรือย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างแบบสกปรกซึ่งดำเนินการโดยข้าราชการบางคนที่ร่วมมือกับบริษัทที่เป็นพวกพ้อง ไม่เพียงแต่จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็นเท่านั้น

หากยังจะทำระบบและยุทโธปกรณ์ที่นำมาใช้งานเป็นของที่ไร้คุณภาพ ล้าสมัย และมีราคาสูงเกินจริง ส่งผลให้ความเข้มแข็งของกองทัพเรือในภาพรวมต้องลดน้อยลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังตัวอย่างจากกรณีโครงการจัดซื้อเป้าบินไอพ่นโดยไม่ซื้อรางปล่อย อุปมาดั่งซื้อรถยนต์ไม่ซื้อล้อ มูลค่าโครงการ 49.8 ล้าน ของกองทัพเรือ เพื่อใช้ในการฝึกยิงอาวุธต่อสู้อากาศยาน โดยกำหนดส่งมอบตามสัญญาภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 และมีการแก้ไขสัญญาหลายครั้งจนมีการจ่ายเงินให้ผู้ขายไปแล้วถึง 95% ของมูลค่าโครงการ

ทั้งนี้โฆษกกองทัพเรือ พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุพลิน ได้เคยออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ว่าทุกอย่างดำเนินการอย่างถูกต้องโปร่งใส พร้อมทั้งเปิดชื่อบริษัทคู่สัญญาว่าเป็นบริษัท ซีซีจี. โดยยืนยันว่า

การไม่ซื้อรางปล่อยก็เพื่อประหยัดงบประมาณ เพราะเป้าบินชุดใหม่สามารถใช้กับรางปล่อยของเดิมที่มีอยู่แล้วและผู้ผลิตจากต่างประเทศจะเดินทางมาทดสอบเป้าบินในเดือนมิถุนายนนั้น

ล่าสุดแหล่งข่าวในกรมสรรพาวุธ ทร. เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่เทคนิคจากต่างประเทศได้เดินทางมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการตรวจสภาพของรางปล่อยที่มีอยู่เดิมและทดลองติดเครื่องยนต์ของเป้าบินไอพ่นทั้ง 3 ลำ ที่กรมสรรพาวุธทหารเรือเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตามกระบวนการที่เรียกว่า “Setting to work”

ผลปรากฏว่า เครื่องยนต์ของเป้าบินไอพ่นสามารถทำงานได้ทั้ง 3 เครื่อง ขณะจอดอยู่บนพื้น ส่วนการทดสอบระบบควบคุมการบินบนท้องฟ้ายังไม่สามารถกระทำได้

ทั้งนี้เนื่องจากผลการตรวจสอบสภาพของรางปล่อยที่มีอยู่เดิมซึ่งเป็นรางปล่อยสำหรับเป้าบินคนละรุ่นกับเป้าบิน PHOENIX ที่จัดซื้อมาใหม่ พบว่าไม่สอดคล้องกับการใช้งานในการปล่อยเป้าบินของใหม่แม้จะได้มีการจ่ายเงินค่าจัดซื้อระบบปรับปรุงรางปล่อยของเก่าตามที่ระบุในสัญญาให้แก่บริษัทแล้วก็ตาม

ดังนั้นการซื้อเป้าบินแต่ไม่ซื้อรางปล่อย อุปมาดั่งซื้อรถยนต์ไม่ซื้อล้อ โดยอ้างเหตุผลเพื่อประหยัดงบประมาณตามที่คณะผู้ซื้อในกรมสรรพาวุธ ทร. ซึ่งมีพฤติกรรมน่าสงสัย ในความไม่โปร่งใสส่อว่าอาจเบียดบังผลประโยชน์ กล่าวอ้างจึงเป็น “ตรรกะวิบัติ” ที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด

เพราะซื้อเป้าบินแต่ไม่ซื้อรางปล่อยเป้าบินจึงบินไม่ได้ เสียเงินไปเกือบ 50 ล้านบาท

งานนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ ก็คือ กองทัพเรือเจ้าของงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน เพราะจ่ายเงินให้บริษัทในดวงใจของกรมสรรพาวุธ ทร. ไปแล้วเป็นเงิน 47.3 ล้านบาท แต่เป้าบินทั้ง 3 ลำ ทำได้แค่ติดเครื่องยนต์ให้ได้ยินเสียงการทำงานขณะจอดอยู่บนพื้น โดยไม่สามารถขึ้นไปฉวัดเฉวียนบนท้องฟ้าให้อาวุธทุกประเภทฝึกซ้อมการยิง ตามวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อเป้าบินไอพ่นแบบอัตโนมัติได้แต่อย่างใด

ดังนั้น จึงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า กรมสรรพาวุธ ทร. จะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะการขยายระยะเวลาส่งมอบสิ้นสุดลงแล้ว บริษัท ซีซีจี ซึ่งเป็นคู่สัญญาจะต้องจ่ายค่าปรับวันละประมาณ 5 หมื่นบาท ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 อันเป็นวันกำหนดส่งมอบ

กรณีการจัดซื้อเป้าบินแต่ยังบินไม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันเป็นอย่างดีว่า การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์จากบริษัทที่ขาดความน่าเชื่อถือหรือมีลักษณะเป็น “ซาปั๊ว” อย่างที่กรมสรรพาวุธ ทร. เคยนำมาใช้แล้วได้ผลเหมือนก่อนหน้านี้ ซึ่งเคยจัดซื้อเครื่องทดสอบ HYDRAULIC TEST BENCH เพื่อใช้ในโรงงานซ่อมบำรุงปืน วงเงิน 10 ล้านบาทจากบริษัท ซีซีจี. ด้วยวิธีการเดียวกับการจัดซื้อเป้าบิน ใช่ว่าจะสำเร็จลุล่วงเสมอไป เพราะองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน

ดังนั้นการทำทุกอย่างบนพื้นฐานของความถูกต้องโปร่งใส ไม่เห็นแก่พวกพ้องหรือมีผลประโยชน์แอบแฝง จึงเป็นเกราะป้องกันที่จะทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์

ต้องไม่ลืมว่ากรมสรรพาวุธทหารเรือเป็นต้นทางของการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพเรือ หากถูกเบียดบังงบประมาณจนไม่สามารถจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีคุณภาพสมราคา หากต้นทางบิดเบี้ยวไม่โปร่งใส กองทัพเรือก็จะอ่อนแอลง กองทัพเรือจะมีความพร้อมในการปกป้องชาติและดูแลประชาชนได้อย่างไร ?

จึงถึงเวลาแล้วที่ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. จะต้องออกมาจัดการสะสางขจัดขบวนการเหลือบที่บ่อนทำลายความเข้มแข็งของกองทัพเรือให้หมดสิ้นไป มิใช่ปล่อยให้เรื่องเงียบหายเหมือนกรณีเรือสุโขทัยซึ่งสาเหตุการอับปางยังคงเป็นความลับดำมืดจวบจนทุกวันนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น