xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวลึกปมลับ : ล็อกดาวน์ ต้นทุนสูง ยิ่งล็อก - ยิ่งเละ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



“ข่าวลึกปมลับ” ออกอากาศทาง NEWS1 ล้วงปมลึก คลายปมลับ ตีแผ่ประเด็นร้อน กับ นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมือง และกระบวนการยุติธรรม วันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2564 ตอน ล็อกดาวน์ ต้นทุนสูง ยิ่งล็อก - ยิ่งเละ



การล็อกดาวน์ทุก 14 วัน รอบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปอท.) ประเมินขั้นต้น คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยราว 4.7 ล้านคน

แม้ว่า การล็อกดาวน์เฉพาะจังหวัดเพื่อควบคุมโควิด-19 รอบใหม่ จะไม่เข้มงวดเหมือนโควิด-19 รอบแรก เป็นการยกระดับมาตรการในการสกัดกั้นการระบาดของโรค ถึงจะเป็นมาตรการสร้างความปลอดภัยให้กับส่วนรวม ควบคุมการระบาดได้

แต่ก็ต้องแลกมาด้วย ผลกระทบของเศรษฐกิจ และสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล ก็ถูกจำกัด

มาตรการที่ควบคุมถึงการจำกัดการเดินทาง การยกเลิกกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ไปจนถึงการกักตัวเองภายในบ้านพัก และยังเป็นการเปิดทางให้กับรัฐบาลติดตามความเคลื่อนไหวพฤติกรรมของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยอดผู้ติดเชื้อยอดผู้ติดเชื้อกดไม่ลง พุ่งวันละเกือบ 2 หมื่นคน ผู้เสียชีวิตรายวันยังอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่องช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ขณะที่ปริมาณเตียงรองรับผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ ถึงขณะนี้ปริมาณผู้ป่วยเกินขีดความสามารถ ที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ถึง 5 เท่า

ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) หรือ ศบค. เป็นประธานการประชุม ครั้งที่ 11/2564 โดยมีรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมศบค.เคาะมีมติขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้มจาก 13 จังหวัด เพิ่มอีก 16 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด คุมมาตรการเข้ม แต่ให้ร้านอาหารในห้างขายแบบเดลิเวอรี่ได้ จนถึง 31 ส.ค.นี้ และจะประเมินผลทุก 14 วัน

การล็อกดาวน์แบ่งเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม มีประเมินผลทุก 14 วันหรือทุกครึ่งเดือน

จากงานวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ประเมินผลกระทบของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ว่า จะทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัว 3.2% และเศรษฐกิจอาเซียนจะลดลงราว 2.1-5.4% จากสถานการณ์ปกติ

หากมีการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ 2 เดือน โดยประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน
จากการที่นักท่องเที่ยวคาดว่าจะลดลง 60% จากปีที่แล้ว การขาดตอนของห่วงโซ่การผลิตทั้งในและต่างประเทศ และผลของตัวทวีคูณ ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อาจหดตัว 5.4% จากกรณีที่ไม่มีโรคระบาด
.
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทในประเทศไทยต้องการเงินหมุนเวียนระยะสั้น สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท หรือราว 10% ของจีดีพี โดยภาคค้าส่งและค้าปลีกจะต้องการเงินหมุนเวียนราว 4 แสนล้านบาท เพื่อชำระหนี้ในระยะสั้น

หากไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างธุรกิจ ในขณะที่ธุรกิจโรงแรม ขนส่งทางอากาศ และร้านอาหารจะต้องการใช้เงินราว 3 – 5 หมื่นล้านบาทเพื่อความอยู่รอด โดยรวมแล้ว เกือบ 60% ของบริษัทที่ประสบปัญหาจะต้องใช้เงินมากกว่า 1 ล้านบาทต่อบริษัท เพื่อผ่านวิกฤตสภาพคล่องในครั้งนี้

สำหรับ‘ข้อเสนอแนะมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย ชี้ว่า
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการเยียวยาทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าปัจจุบัน ที่คาดว่าจะมีงบประมาณในส่วนของการเยียวยาเพียงประมาณ 280,000 ล้านบาท

น่าจะไม่เพียงพอโดยเฉพาะหากการระบาดยังคงระดับสูงและต่อเนื่องอีกระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่
.
มาตรการล็อกดาวน์ที่สั่งปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น รัฐก็ต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็วด้วย ต้องพิจารณาว่าจะดูแลแรงงาน การจ้างงาน หรือธุรกิจที่ต้องปิดอย่างไร
.
ผลกระทบรอบนี้ ถือเป็นต้นทุนมหาศาล ที่เกิดจากความผิดพลาดอย่างรุนแรง ในเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล


กำลังโหลดความคิดเห็น