xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุทยานฯยังเงียบกริบ ปมยิงยาสลบพลายยันหว่างล้ม ชมรมคนรักษ์สัตว์ป่า สุดทนเตรียมซักฟอกครั้งใหญ่ “สายคล้องช้าง”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม





ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายช้างจนมาซึ่งความสูญเสีย สร้างความสะเทือนใจในกลุ่มนักอนุรักษ์ฯตามที่ MGR ออนไลน์ได้นำเสนอไปนั้น เย็นวันที่ 24 ม.ค. 2564 เพจสมาคมอนุรักษ์กลุ่มป่าตะวันออก โพสต์รายละเอียดโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 23-24 มกราคม 2564 นายอำนาจ ม่วงปรางค์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.2 (ศรีราชา) นายพิทักษ์ ยิ่งยง หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สสป.สบอ.2 (ศรีราชา) และ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่

ทีมสัตวแพทย์ สัตวบาล สสป. สบอ.2 (ศรีราชา) คณะเจ้าหน้าที่ื สสป.สบอ.2 (ศรีราชา) สัตวแพทย์ ประจำ สบอ.14 (ตาก) สัตวแพทย์ประจำ สพล.บางละมุง จ.ชลบุรี ชุดเคลื่อนที่เร็ว เฝ้าระวัง ผลักดันช้างป่า และแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน เข้าดำเนินการจับและเคลื่อนย้ายช้างป่าพลายยันหว่าง จากพื้นที่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี มายังพื้นที่โครงการศูนย์บริหารจัดการช้างป่าเขาตะกรุบ ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว รายละเอียดมีดังนี้

1. ทำการยิงยาซึม และดักจับได้เวลา 23.07 น. ของวันที่ 23 ม.ค. 2564

2. ระยะเวลารวมนำช้างป่าพลายยันหว่างขึ้นรถขนย้าย และ เดินทางถึงโครงการศูนย์บริหารจัดการช้างป่าเขาตะกรุบ ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว มีระยะเวลารวม 6 ชั่วโมง

3. ช้างป่าพลายยันหว่าง มีอาการผิดปกติขณะอยู่บนรถขนย้าย ระยะทาง 5 กิโลเมตร ก่อนถึงพื้นที่โครงการศูนย์บริหารจัดการช้างป่าเขาตะกรุบ ช้างป่าพลายยันหว่างมีอาการทรุดตัวลง ช่่วงบริเวณลำคอพาดกับไม้ที่กั้นบล็อกส่วนของหน้าอกไว้ ทำให้หายใจลำบาก

4. เมื่อรถขนย้ายช้างป่าพลายยันหว่างมาถึงช้างป่าพลายยันหว่างได้ตายลง โดยทีมสัตวแพทย์ สัตวบาลและเจ้าหน้าที่ ร่วมกันช่วยชีวิต แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

5. การใช้ยาซึมและยาแก้ฤทธิ์การซึมของสัตแพทย์ เป็นไปตามหลักวิชาการ แต่เนื่องจากระยะทางที่ไกล (กระบวนการตั้งแต่เริ่มจนถึงปลายทาง) ใช้ระยะเวลานานทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ได้

6. ทีมสัตวแพทย์ สัตวบาล จะทำการผ่าชันสูตรหาสาเหตุการตายเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ และจะนำส่งตัวอย่างเลือดที่เก็บมาขณะช้างป่าพลายยันหว่างมีชีวิต และตายลง เพื่อส่งตรวจสุขภาพ (ค่าตับ ค่าไต เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และตรวจโรคที่สำคัญในช้าง) นายอำนาจ ม่วงปรางค์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า รายงาน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมพู่ ได้ใช้ปืนยิงยาสลบพลายยันหว่าง จากนั้นจึงใส่ห่วงมีระบบติดตามตัว (จีเอสพี) อันเป็นไปตามนโยบายแก้ไขปัญหาช้างจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มอนุรักษ์ฯ และคนรักษ์ช้างจำนวนหนึ่ง ต่อมาประมาณเดือน ธ.ค.ห่วงคล้องคอ หรือ GPS COLLAR ของพลายยันหว่าง เกิดหลุดลง ทั้งนี้ มาจากศูนย์ควบคุมไม่เห็นการเคลื่อนไหว สัญญาณคงบอกตำแหน่งเดิมนานกว่าสัปดาห์ เมื่อลงพื้นทีตรวจสอบจึงพบว่าตกอยู่กลางป่าโดยสันนิษฐานว่าพลายยันหว่างเกิดรำคาญแล้วถูกกับต้นไม้ หรืออาจเป็นพลายมะม่วง ช้างป่าแสนรู้อีกตัวหนึ่งใช้งวงดึงออกให้

รายงานข่าวแจ้งว่า ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายพลายยันหว่าง ด้วยการใช้ยาสลบยิงใส่จนล้มครั้งนี้ ยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่างไม่เห็นด้วยกับการยิงยาสลบ อีกทั้งยังมีข้อสงสัยว่าสิ่งที่นักวิชาการประจำกรมอุทยานฯเสนอให้จับช้างมาใส่สายคล้องคอ เพื่อแก้ปัญหาออกหากินนอกป่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเร็วๆ นี้ จะมีการประชุมหารือ นำโดยลุงหมู สาลิกา หรือ นายบดินทร จันทศรีคำ ประธานชมรมรักษ์สัตว์ กับเครือข่ายทั้งหมดพิจารณากรณีของ “พลายดื้อ” ที่เกิดความผิดปกติหลังถูกยิงยาสลบและโดยสายคล้องคอ เช่นเดียวกับกรณีของ “พลายยันหว่าง” รายนี้ถึงกับขาดใจตายระหว่างเคลื่อนย้าย แม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จะตั้งกรรมการสอบสวน แต่ไม่สามารถคืนชีวิตทั้งคนจากเหตุการณ์เขาใหญ่ และช้างจากกรณีล่าสุดได้






กำลังโหลดความคิดเห็น