ยุคสมัยนี้ ... ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างกว้างขวางมีเพียงข้อมูลบางประเภทเท่านั้นที่ยกเว้นไม่ให้เปิดเผย เช่น การเปิดเผยจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ หรือทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือกระทบต่อประโยชน์ที่สําคัญของเอกชน
เนื่องเพราะ ... กฎหมายดังกล่าวต้องการให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตลอดจนเพื่อให้รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนและปกปักรักษาประโยชน์ของตนด้วย
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จึงได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
เป็นต้นว่า 1) หน่วยงานของรัฐต้องจัดส่งข้อมูลข่าวสารตามรายการที่กำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามรายการที่กำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ สถานที่
ที่จัดเตรียมไว้ 3) ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้เมื่อประชาชนร้องขอซึ่งเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 4) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์ทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ประเด็นน่าสนใจที่จะคุยกันวันนี้ อยู่ใน 3) คือ กรณีประชาชนร้องขอข้อมูลข่าวสารแต่เป็นกรณีที่ต้องจัดทำขึ้นใหม่ โดยขอให้หน่วยงานของรัฐแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาในที่ประชุม ให้เป็นในรูปแบบของข้อความลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบเอกสาร
ข้อมูลข่าวสารในลักษณะดังกล่าวหน่วยงานของรัฐจำต้องจัดทำให้หรือไม่ และมีหลักในการพิจารณาอย่างไรตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ คดีนี้มีคำตอบครับ !
ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ... ตนได้ซื้อที่ดินและบ้านจากผู้อื่นโดยก่อนซื้อได้ตรวจสอบแล้วว่าบ้านดังกล่าวมีการก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ภายหลังจากซื้อแล้วผู้ฟ้องคดีก็มิได้ดัดแปลงบ้านเพียงแต่ทำสีและติดลูกกรงเหล็กดัดเท่านั้น
ต่อมาสำนักงานเขตโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบ้านของผู้ฟ้องคดี พร้อมทั้งถ่ายภาพและยอมรับว่าไม่ได้มีการดัดแปลงอาคารแต่อย่างใด
หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีจึงได้มีหนังสือถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2)เพื่อขอให้แปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวซึ่งได้รายงานด้วยวาจาเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดีให้เป็นเอกสาร เนื่องจากต้องการทราบว่าเจ้าหน้าที่รายงานว่าอย่างไร แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปฏิเสธ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คัดค้านการไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งส่งเรื่องมายังคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม (ผู้ถูกฟ้องคดี
ที่ 1) โดยวินิจฉัยแล้วยกอุทธรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวและให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยข้อมูลตามที่ร้องขอ
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่น่าสนใจ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 ถ้อยคำและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดี มีลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ไปตรวจสอบอาคารของผู้ฟ้องคดีเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3)ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการถ่ายภาพ วัดขนาดของโครงสร้าง หรือสภาพอาคารที่มีปัญหา มารายงานในที่ประชุมด้วยวาจาโดยไม่มีการจัดทำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงในรูปของเอกสาร และที่ประชุมจะทำการบันทึกคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ไว้ในรายงานการประชุม ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีการส่งภาพถ่ายอาคาร รายงานการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสรุปสำนวนอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความใด ๆ ที่เป็นการรายงานสภาพอาคารที่เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจสอบ จึงขอให้มีการแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาดังกล่าว
จึงเห็นว่า การรายงานหรือคำชี้แจงด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดีตลอดทั้งความเห็นของเจ้าหน้าที่ เป็นการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งให้ไปตรวจสอบอาคารพิพาท ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาอุทธรณ์กรณีผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาว่าดัดแปลงอาคารโดยไม่ชอบ จึงเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง ควบคุมดูแลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ จึงถือเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ประการที่ 2 กรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) มีหน้าที่ต้องแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า ข้อมูลที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอนั้น มิใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า แต่เป็นข้อมูลข่าวสารอื่นใดของทางราชการที่หน่วยงานของรัฐจะจัดหาให้แก่ผู้มีคำขอ
ตามนัยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งได้กำหนดให้การจัดหาดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่ต้องเป็นการไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เว้นแต่เป็นการแปรสภาพข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้น มิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้ขอ หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติของมาตรา 11 ข้างต้น หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ผู้ยื่นคำขอก็ต่อเมื่อเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ หรือเป็นกรณีการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด
เมื่อข้อมูลที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอมิได้มีการจดบันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ที่จะต้องทำการแปรสภาพเป็นเอกสารให้แก่ผู้ยื่นคำขอ กรณีจึงไม่ได้เป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วและไม่จำต้องแปรสภาพเป็นเอกสาร ตามนัยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงสามารถใช้ดุลพินิจในการที่จะจัดหาข้อมูลข่าวสารให้หรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม
การที่กรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ได้จัดส่งภาพถ่ายอาคารและรายงานการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสรุปสำนวนอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะใช้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตน จึงไม่มีเหตุต้องแปรสภาพถ้อยคำการรายงานด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่ให้เป็นเอกสารแก่ผู้ฟ้องคดีอีก การปฏิเสธคำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมิได้เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 731/2563)
คดีดังกล่าว ... ศาลได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ กรณีข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ ไว้ว่า... การขอให้หน่วยงานของรัฐแปรสภาพถ้อยคำการรายงานด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่ให้เป็นเอกสารนั้น ถือเป็นดุลพินิจของหน่วยงานในการที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมว่าสมควรจะจัดทำให้หรือไม่ หรือตามที่หน่วยงานนั้น ๆ มีแนวทางปฏิบัติกำหนดไว้อย่างไร เนื่องจากกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการได้กำหนดให้หน่วยงานต้องทำการ
แปรสภาพข้อมูลให้เป็นเอกสารเฉพาะในกรณีที่มีการบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด นอกเหนือจากกรณีดังกล่าวจึงถือเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีใดจะเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
นอกจากนี้ ศาลยังได้วินิจฉัยเพิ่มเติมถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กับ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการสาขาต่าง ๆ ว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรา 11 หรือกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการสาขาต่าง ๆ นั้น มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 ซึ่งในกรณีตามคดีพิพาทนี้ เป็นการร้องเรียนการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 11 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ การที่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สาขาสังคม พิจารณาและได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ (ศึกษารายละเอียดได้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540)
สำหรับวันนี้ คงต้องขอลาไปก่อน ... หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารของราชการไม่มากก็น้อย คราวหน้าจะมีความรู้อะไรน่าสนใจมาฝากอีกบ้าง ต้องติดตามนะครับ !!
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355)
โดย ... ลุงถูกต้อง
เนื่องเพราะ ... กฎหมายดังกล่าวต้องการให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตลอดจนเพื่อให้รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนและปกปักรักษาประโยชน์ของตนด้วย
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จึงได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
เป็นต้นว่า 1) หน่วยงานของรัฐต้องจัดส่งข้อมูลข่าวสารตามรายการที่กำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามรายการที่กำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ สถานที่
ที่จัดเตรียมไว้ 3) ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้เมื่อประชาชนร้องขอซึ่งเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 4) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์ทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ประเด็นน่าสนใจที่จะคุยกันวันนี้ อยู่ใน 3) คือ กรณีประชาชนร้องขอข้อมูลข่าวสารแต่เป็นกรณีที่ต้องจัดทำขึ้นใหม่ โดยขอให้หน่วยงานของรัฐแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาในที่ประชุม ให้เป็นในรูปแบบของข้อความลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบเอกสาร
ข้อมูลข่าวสารในลักษณะดังกล่าวหน่วยงานของรัฐจำต้องจัดทำให้หรือไม่ และมีหลักในการพิจารณาอย่างไรตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ คดีนี้มีคำตอบครับ !
ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ... ตนได้ซื้อที่ดินและบ้านจากผู้อื่นโดยก่อนซื้อได้ตรวจสอบแล้วว่าบ้านดังกล่าวมีการก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ภายหลังจากซื้อแล้วผู้ฟ้องคดีก็มิได้ดัดแปลงบ้านเพียงแต่ทำสีและติดลูกกรงเหล็กดัดเท่านั้น
ต่อมาสำนักงานเขตโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบ้านของผู้ฟ้องคดี พร้อมทั้งถ่ายภาพและยอมรับว่าไม่ได้มีการดัดแปลงอาคารแต่อย่างใด
หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีจึงได้มีหนังสือถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2)เพื่อขอให้แปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวซึ่งได้รายงานด้วยวาจาเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดีให้เป็นเอกสาร เนื่องจากต้องการทราบว่าเจ้าหน้าที่รายงานว่าอย่างไร แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปฏิเสธ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คัดค้านการไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งส่งเรื่องมายังคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม (ผู้ถูกฟ้องคดี
ที่ 1) โดยวินิจฉัยแล้วยกอุทธรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวและให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยข้อมูลตามที่ร้องขอ
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่น่าสนใจ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 ถ้อยคำและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดี มีลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ไปตรวจสอบอาคารของผู้ฟ้องคดีเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3)ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการถ่ายภาพ วัดขนาดของโครงสร้าง หรือสภาพอาคารที่มีปัญหา มารายงานในที่ประชุมด้วยวาจาโดยไม่มีการจัดทำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงในรูปของเอกสาร และที่ประชุมจะทำการบันทึกคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ไว้ในรายงานการประชุม ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีการส่งภาพถ่ายอาคาร รายงานการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสรุปสำนวนอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความใด ๆ ที่เป็นการรายงานสภาพอาคารที่เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจสอบ จึงขอให้มีการแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ที่ได้รายงานด้วยวาจาดังกล่าว
จึงเห็นว่า การรายงานหรือคำชี้แจงด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสภาพอาคารของผู้ฟ้องคดีตลอดทั้งความเห็นของเจ้าหน้าที่ เป็นการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งให้ไปตรวจสอบอาคารพิพาท ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาอุทธรณ์กรณีผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาว่าดัดแปลงอาคารโดยไม่ชอบ จึงเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง ควบคุมดูแลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ จึงถือเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ประการที่ 2 กรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) มีหน้าที่ต้องแปรสภาพถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า ข้อมูลที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอนั้น มิใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า แต่เป็นข้อมูลข่าวสารอื่นใดของทางราชการที่หน่วยงานของรัฐจะจัดหาให้แก่ผู้มีคำขอ
ตามนัยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งได้กำหนดให้การจัดหาดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่ต้องเป็นการไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เว้นแต่เป็นการแปรสภาพข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้น มิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้ขอ หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติของมาตรา 11 ข้างต้น หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ผู้ยื่นคำขอก็ต่อเมื่อเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ หรือเป็นกรณีการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด
เมื่อข้อมูลที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอมิได้มีการจดบันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ที่จะต้องทำการแปรสภาพเป็นเอกสารให้แก่ผู้ยื่นคำขอ กรณีจึงไม่ได้เป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วและไม่จำต้องแปรสภาพเป็นเอกสาร ตามนัยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงสามารถใช้ดุลพินิจในการที่จะจัดหาข้อมูลข่าวสารให้หรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม
การที่กรมโยธาธิการและผังเมือง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ได้จัดส่งภาพถ่ายอาคารและรายงานการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสรุปสำนวนอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะใช้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตน จึงไม่มีเหตุต้องแปรสภาพถ้อยคำการรายงานด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่ให้เป็นเอกสารแก่ผู้ฟ้องคดีอีก การปฏิเสธคำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมิได้เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 731/2563)
คดีดังกล่าว ... ศาลได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ กรณีข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ ไว้ว่า... การขอให้หน่วยงานของรัฐแปรสภาพถ้อยคำการรายงานด้วยวาจาของเจ้าหน้าที่ให้เป็นเอกสารนั้น ถือเป็นดุลพินิจของหน่วยงานในการที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมว่าสมควรจะจัดทำให้หรือไม่ หรือตามที่หน่วยงานนั้น ๆ มีแนวทางปฏิบัติกำหนดไว้อย่างไร เนื่องจากกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการได้กำหนดให้หน่วยงานต้องทำการ
แปรสภาพข้อมูลให้เป็นเอกสารเฉพาะในกรณีที่มีการบันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด นอกเหนือจากกรณีดังกล่าวจึงถือเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีใดจะเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
นอกจากนี้ ศาลยังได้วินิจฉัยเพิ่มเติมถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กับ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการสาขาต่าง ๆ ว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรา 11 หรือกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการสาขาต่าง ๆ นั้น มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 ซึ่งในกรณีตามคดีพิพาทนี้ เป็นการร้องเรียนการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 11 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ การที่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สาขาสังคม พิจารณาและได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ (ศึกษารายละเอียดได้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540)
สำหรับวันนี้ คงต้องขอลาไปก่อน ... หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารของราชการไม่มากก็น้อย คราวหน้าจะมีความรู้อะไรน่าสนใจมาฝากอีกบ้าง ต้องติดตามนะครับ !!
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355)
โดย ... ลุงถูกต้อง