เมื่อถึงคราว... ต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน หลาย ๆ คนก็มักจะนึกถึงสถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำของรัฐ... ที่พึ่งพิงด้านการเงินของประชาชนในชุมชนที่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องการเงิน
การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและทรัพย์ที่จำนำดังกล่าว ย่อมต้องมีกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบกำหนดไว้ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวิธีการหรือขั้นตอนการรับจำนำและการไถ่ถอนจำนำตามกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการทุจริตและเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ
อุทาหรณ์จากคดีปกครองในวันนี้ เป็นกรณีที่ผู้จัดการสถานธนานุบาลแห่งหนึ่ง ได้สั่งให้พนักงานของสถานธนานุบาลดังกล่าว ดำเนินการไถ่ถอนทรัพย์ของผู้ที่นำมาจำนำ (อ้างว่าเป็นญาติ) และให้จำนำทรัพย์นั้นใหม่เต็มราคาที่จำนำได้ โดยที่ผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง เช่นนี้... จะผิดวินัยสถานใด ?
เรื่องราวของคดีนี้มีอยู่ว่า... ขณะที่นายอำนวย ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครได้สั่งให้พนักงานไถ่ถอนตั๋วจำนำของนายสมชาย จำนวน ๒ ใบ และออกใบเสร็จรับเงิน
เพื่อไถ่ถอน ทั้งที่นายสมชายไม่ได้มาไถ่ถอนและไม่มีการนำเงินมาไถ่ถอน หลังจากนั้นได้นำทรัพย์ที่ไถ่ถอนดังกล่าวไปจำนำใหม่ในชื่อนายสมชายเป็นตั๋วจำนำ ๔ ใบ โดยนายสมชายผู้ที่มีชื่อเป็นผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเองและไม่มีลายพิมพ์นิ้วมือในตั๋วจำนำ
ต่อมา ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วเห็นว่า นายอำนวยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ควรลงโทษให้ออกจากงาน และประธานคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาแล้วเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงมีคำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน
นายอำนวยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อประธานคณะกรรมการบริหารฯ แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา จึงยื่นฟ้องคณะกรรมการบริหารฯ ต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน โดยอ้างว่าเป็นการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ อีกทั้ง ต่อมาเจ้าของทรัพย์ก็ได้มาไถ่ทรัพย์คืนตามราคาที่จำนำโดยที่สถานธนานุบาลไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า... คำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติกรณีดังกล่าว คือ มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งกำหนดให้ “.... ผู้รับจำนำต้องให้ไถ่ทรัพย์จำนำเมื่อมีผู้จำนำนำตั๋วรับจำนำมาขอไถ่ ให้ผู้รับจำนำจดแจ้งรายการตามมาตรา ๑๘ ทวิ และเมื่อให้ไถ่แล้ว ให้นำตั๋วรับจำนำติดไว้ที่ต้นขั้วตั๋วรับจำนำและบันทึกวันเดือนปีที่ไถ่ไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำนั้น และจัดให้ผู้ไถ่ทรัพย์คืนลงลายมือชื่อในต้นขั้วตั๋วรับจำนำด้วย” ประกอบกับข้อ ๓ วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำฯ กำหนดให้ “เมื่อออกตั๋วรับจำนำ... ให้ผู้จำนำลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายหัวแม่มือขวาไว้ในต้นขั้วและปลายขั้วตั๋วรับจำนำด้วย...”
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาล สั่งให้เจ้าหน้าที่ในสถานธนานุบาลดำเนินการต่าง ๆ เพื่อไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำทั้งสองรายการที่ลูกค้านำมาจำนำ โดยที่ลูกค้าไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง อันเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ และหลังจากนั้นยังได้นำทรัพย์ดังกล่าวมาทำการแยกและนำมา
จำนำเป็นตั๋วใหม่เต็มราคาที่จำนำได้ในชื่อของผู้จำนำ ทั้งที่ผู้จำนำไม่ได้มาเป็นผู้ดำเนินการและไม่ปรากฏว่าผู้จำนำมีการมอบฉันทะให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแทน และไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้จำนำในตั๋วจำนำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๓ วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ฯ ข้างต้น
การกระทำของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏในภายหลังว่าผู้จำนำได้มาพิมพ์ลายนิ้วมือและได้มีการไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำนั้นไปแล้ว แต่ก็เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่มีการตรวจพบว่าผู้ฟ้องคดีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
นอกจากนั้น แม้ในการจำนำ ผู้จำนำจะสามารถขอเพิ่มราคาทรัพย์ที่จำนำโดยการไถ่ถอนและจำนำใหม่แล้วรับเงินส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการดำเนินการเช่นนี้เป็นปกติ หรืออาจปรากฏว่าการจำนำไม่ได้มีการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้จำนำอยู่บ้างก็ตาม แต่ในการดำเนินการไถ่ถอนหรือจำนำทรัพย์ใหม่จะต้องมีผู้จำนำมาดำเนินการเอง ซึ่งหากยอมรับให้พนักงานสถานธนานุบาลสามารถดำเนินการไถ่ถอนและจำนำใหม่ในทรัพย์จำนำของผู้อื่นได้ โดยที่ผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการเองแล้ว ย่อมจะเป็นการสนับสนุนช่องทางในการกระทำเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตัวพนักงานสถานธนานุบาลเองหรือผู้อื่น และเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสถานธนานุบาลและแก่ผู้จำนำได้
เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฟ้องคดีที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับจำนำทรัพย์และรับผิดชอบในการบริหารสถานธนานุบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การทำหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีย่อมต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจำนำ การรักษาทรัพย์จำนำ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสถานธนานุบาลและผู้จำนำ การกระทำของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๑๙ (๒) ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗
ทั้งนี้ การพิจารณาความผิดทางวินัยนั้น ไม่จำต้องพิจารณาถึงขั้นที่ว่าจะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วจึงครบองค์ประกอบอันเป็นความผิดทางวินัยดังเช่นการพิจารณาความรับผิดทางละเมิด และเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีดุลพินิจที่จะกำหนดโทษผู้ฟ้องคดีได้ ๓ สถาน คือ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากงาน ซึ่งเป็นโทษเบาที่สุดสำหรับความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว ดังนั้น คำสั่งลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากงานจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๙๒/๒๕๖๒)
คดีนี้... ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางแนวทางในการปฏิบัติราชการที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงรับจำนำของรัฐหรือสถานธนานุบาล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับจำนำ รักษาทรัพย์และรับผิดชอบในการบริหารสถานธนานุบาล ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการรับจำนำกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ไม่อาจดำเนินการให้มีการไถ่ถอนและจำนำทรัพย์ใหม่โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่มาดำเนินการด้วยตนเองได้ซึ่งตามคำสั่งของสำนักงานกลางจัดการสถานธนานุบาลเทศบาลนครกรุงเทพ (จสธก.) ที่ 2/2553 ลงวันที่ 18 มกราคม 2523 ห้ามพนักงานสถานธนานุบาลทุกคนจำนำทรัพย์ของตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่กรณีจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าสำนักงานกลาง จสธก. เสียก่อน
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕)
โดย ลุงถูกต้อง
การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและทรัพย์ที่จำนำดังกล่าว ย่อมต้องมีกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบกำหนดไว้ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวิธีการหรือขั้นตอนการรับจำนำและการไถ่ถอนจำนำตามกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการทุจริตและเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ
อุทาหรณ์จากคดีปกครองในวันนี้ เป็นกรณีที่ผู้จัดการสถานธนานุบาลแห่งหนึ่ง ได้สั่งให้พนักงานของสถานธนานุบาลดังกล่าว ดำเนินการไถ่ถอนทรัพย์ของผู้ที่นำมาจำนำ (อ้างว่าเป็นญาติ) และให้จำนำทรัพย์นั้นใหม่เต็มราคาที่จำนำได้ โดยที่ผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง เช่นนี้... จะผิดวินัยสถานใด ?
เรื่องราวของคดีนี้มีอยู่ว่า... ขณะที่นายอำนวย ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครได้สั่งให้พนักงานไถ่ถอนตั๋วจำนำของนายสมชาย จำนวน ๒ ใบ และออกใบเสร็จรับเงิน
เพื่อไถ่ถอน ทั้งที่นายสมชายไม่ได้มาไถ่ถอนและไม่มีการนำเงินมาไถ่ถอน หลังจากนั้นได้นำทรัพย์ที่ไถ่ถอนดังกล่าวไปจำนำใหม่ในชื่อนายสมชายเป็นตั๋วจำนำ ๔ ใบ โดยนายสมชายผู้ที่มีชื่อเป็นผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเองและไม่มีลายพิมพ์นิ้วมือในตั๋วจำนำ
ต่อมา ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วเห็นว่า นายอำนวยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ควรลงโทษให้ออกจากงาน และประธานคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาแล้วเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงมีคำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน
นายอำนวยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อประธานคณะกรรมการบริหารฯ แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา จึงยื่นฟ้องคณะกรรมการบริหารฯ ต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน โดยอ้างว่าเป็นการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ อีกทั้ง ต่อมาเจ้าของทรัพย์ก็ได้มาไถ่ทรัพย์คืนตามราคาที่จำนำโดยที่สถานธนานุบาลไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า... คำสั่งลงโทษให้นายอำนวยออกจากงาน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติกรณีดังกล่าว คือ มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งกำหนดให้ “.... ผู้รับจำนำต้องให้ไถ่ทรัพย์จำนำเมื่อมีผู้จำนำนำตั๋วรับจำนำมาขอไถ่ ให้ผู้รับจำนำจดแจ้งรายการตามมาตรา ๑๘ ทวิ และเมื่อให้ไถ่แล้ว ให้นำตั๋วรับจำนำติดไว้ที่ต้นขั้วตั๋วรับจำนำและบันทึกวันเดือนปีที่ไถ่ไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำนั้น และจัดให้ผู้ไถ่ทรัพย์คืนลงลายมือชื่อในต้นขั้วตั๋วรับจำนำด้วย” ประกอบกับข้อ ๓ วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำฯ กำหนดให้ “เมื่อออกตั๋วรับจำนำ... ให้ผู้จำนำลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายหัวแม่มือขวาไว้ในต้นขั้วและปลายขั้วตั๋วรับจำนำด้วย...”
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาล สั่งให้เจ้าหน้าที่ในสถานธนานุบาลดำเนินการต่าง ๆ เพื่อไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำทั้งสองรายการที่ลูกค้านำมาจำนำ โดยที่ลูกค้าไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง อันเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ และหลังจากนั้นยังได้นำทรัพย์ดังกล่าวมาทำการแยกและนำมา
จำนำเป็นตั๋วใหม่เต็มราคาที่จำนำได้ในชื่อของผู้จำนำ ทั้งที่ผู้จำนำไม่ได้มาเป็นผู้ดำเนินการและไม่ปรากฏว่าผู้จำนำมีการมอบฉันทะให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแทน และไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้จำนำในตั๋วจำนำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๓ วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ฯ ข้างต้น
การกระทำของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏในภายหลังว่าผู้จำนำได้มาพิมพ์ลายนิ้วมือและได้มีการไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำนั้นไปแล้ว แต่ก็เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่มีการตรวจพบว่าผู้ฟ้องคดีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
นอกจากนั้น แม้ในการจำนำ ผู้จำนำจะสามารถขอเพิ่มราคาทรัพย์ที่จำนำโดยการไถ่ถอนและจำนำใหม่แล้วรับเงินส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการดำเนินการเช่นนี้เป็นปกติ หรืออาจปรากฏว่าการจำนำไม่ได้มีการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้จำนำอยู่บ้างก็ตาม แต่ในการดำเนินการไถ่ถอนหรือจำนำทรัพย์ใหม่จะต้องมีผู้จำนำมาดำเนินการเอง ซึ่งหากยอมรับให้พนักงานสถานธนานุบาลสามารถดำเนินการไถ่ถอนและจำนำใหม่ในทรัพย์จำนำของผู้อื่นได้ โดยที่ผู้จำนำไม่ได้มาดำเนินการเองแล้ว ย่อมจะเป็นการสนับสนุนช่องทางในการกระทำเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตัวพนักงานสถานธนานุบาลเองหรือผู้อื่น และเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสถานธนานุบาลและแก่ผู้จำนำได้
เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฟ้องคดีที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับจำนำทรัพย์และรับผิดชอบในการบริหารสถานธนานุบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การทำหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีย่อมต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจำนำ การรักษาทรัพย์จำนำ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสถานธนานุบาลและผู้จำนำ การกระทำของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๑๙ (๒) ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗
ทั้งนี้ การพิจารณาความผิดทางวินัยนั้น ไม่จำต้องพิจารณาถึงขั้นที่ว่าจะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วจึงครบองค์ประกอบอันเป็นความผิดทางวินัยดังเช่นการพิจารณาความรับผิดทางละเมิด และเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีดุลพินิจที่จะกำหนดโทษผู้ฟ้องคดีได้ ๓ สถาน คือ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากงาน ซึ่งเป็นโทษเบาที่สุดสำหรับความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว ดังนั้น คำสั่งลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากงานจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๙๒/๒๕๖๒)
คดีนี้... ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางแนวทางในการปฏิบัติราชการที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงรับจำนำของรัฐหรือสถานธนานุบาล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการสถานธนานุบาล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับจำนำ รักษาทรัพย์และรับผิดชอบในการบริหารสถานธนานุบาล ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการรับจำนำกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ไม่อาจดำเนินการให้มีการไถ่ถอนและจำนำทรัพย์ใหม่โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่มาดำเนินการด้วยตนเองได้ซึ่งตามคำสั่งของสำนักงานกลางจัดการสถานธนานุบาลเทศบาลนครกรุงเทพ (จสธก.) ที่ 2/2553 ลงวันที่ 18 มกราคม 2523 ห้ามพนักงานสถานธนานุบาลทุกคนจำนำทรัพย์ของตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่กรณีจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าสำนักงานกลาง จสธก. เสียก่อน
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕)
โดย ลุงถูกต้อง