ในคดีปกครอง เมื่อศาลมีคำพิพากษาตัดสินคดีแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับนับแต่วันที่กำหนดในคำพิพากษา ซึ่งหากคู่กรณีฝ่ายใดไม่พอใจในผลของคำพิพากษา
ศาลปกครองชั้นต้น ก็สามารถคัดค้านโต้แย้งเพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อ
ศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา ซึ่งถ้าไม่ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ถือว่าคดีนั้นเป็นอันถึงที่สุด และจะไม่สามารถโต้แย้งคัดค้านได้อีก
เว้นแต่... เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครองกำหนดไว้ให้สามารถยื่นคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีนั้นใหม่ได้ ดังนี้...
ประการแรก ต้องเป็นกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีนั้นเสร็จเด็ดขาดแล้ว ประการที่สอง ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจะต้องเป็นคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้น ประการที่สาม คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกจะต้องไม่ทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาคดีครั้งที่แล้วมา โดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น ประการที่สี่ จะต้องยื่นคำขอภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้ แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด และ ประการสุดท้าย ต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) – (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ
(1) ศาลปกครองฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือมีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟัง
เป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
(2) คู่กรณีที่แท้จริงหรือบุคคลภายนอกนั้นมิได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือได้เข้ามาแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกระบวนพิจารณา
(3) มีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
(4) คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ทำขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับ
อยู่ในขณะนั้น
วันนี้... มีคดีที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการขอพิจารณาพิพากษาคดีปกครองใหม่ ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชนและสื่อมวลชนในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา นั่นก็คือ... “คดีโฮปเวลล์” นั่นเองค่ะ
มูลเหตุของคดีดังกล่าวมีอยู่ว่า... กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ร้อง) ได้ทำสัญญาให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้คัดค้าน) เข้าดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อมาผู้ร้องทั้งสองเห็นว่างานมีความล่าช้ามากและไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่สัญญากำหนด
ในแต่ละช่วงงานจึงได้บอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบอกเลิกสัญญาจ้างและยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้พิจารณาและระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าว โดยให้ผู้ร้องทั้งสอง ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าตอบแทนพร้อมดอกเบี้ย คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคาร และคืนค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้คัดค้าน ซึ่งผู้ร้องทั้งสองเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง (กระทรวงคมนาคม
และการรถไฟแห่งประเทศไทย) และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ต่อมา ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าศาลปกครองสูงสุดรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งประเด็นที่
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ การเลิกกันของสัญญาพิพาท และการกลับคืนสู่ฐานะเดิมของคู่สัญญา ซึ่งมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุด มิใช่กรณีศาลรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ส่วนข้อโต้แย้งเรื่องความสามารถของผู้คัดค้าน (บริษัท โฮปเวลล์ฯ) ในขณะเข้าทำสัญญาว่าเป็นการดำเนินการของนิติบุคคลต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ซึ่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นเอกสารที่ส่วนราชการสามารถตรวจสอบได้เองในขณะเข้าทำสัญญาพิพาท จึงถือว่าเอกสารดังกล่าวมีอยู่แล้ว มิได้เป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏขึ้นใหม่ อันมีผลทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
สำหรับกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาพิพากษาตามรูปคดีในส่วนเนื้อหาของคดี ด้วยเหตุว่าเมื่อคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยเพียงว่าการยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการพิจารณาเพียงเงื่อนไขในการฟ้องคดีเท่านั้น ยังไม่มีคำวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี การที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ได้สั่งให้ย้อนสำนวนคดี
ให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาจึงถือว่ามีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม นั้น ศาลเห็นว่า เป็นดุลพินิจของศาลปกครองสูงสุดที่จะวินิจฉัยตามคำอุทธรณ์ได้เอง เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายบังคับให้ศาลปกครองสูงสุดต้องส่งคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นที่ยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายหรือระเบียบวิธีพิจารณาคดีปกครองกลับไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่ทุกกรณี เมื่อคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาชี้ขาดคดีต่อไปได้ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองสูงสุดจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีได้ กรณีไม่ถือว่ามีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
ส่วนที่อ้างว่ามีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานกรณีโฮปเวลล์ฯ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ซึ่งหากได้พยานหลักฐานใหม่จะนำเสนอต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป นั้น เห็นว่า ในขณะยื่นคำขอนี้ ผู้ร้องทั้งสองยังไม่มีพยานหลักฐานใหม่อันมีผลทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไป
ในสาระสำคัญ
จากเหตุผลดังกล่าว คำขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองจึงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์
ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) ประกอบวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด
โดยอ้างว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองเป็นการร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในศาลปกครองสูงสุดจึงเป็นอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งใด ๆ เกี่ยวกับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ประกอบกับศาลปกครองชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำขอซึ่งจะต้องสั่งยกคำขอ แต่กลับสั่งไม่รับคำขอไว้พิจารณา จึงเป็นการสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยคำขอคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาต่อไป
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างในคำขอพิจารณาคดีใหม่ว่าศาลปกครองสูงสุดรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคลาดเคลื่อนในประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้สิทธิเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี นั้น เห็นว่า การกำหนดประเด็นแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัยอันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ตลอดจนการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
แม้จะเป็นการแตกต่างไปจากความเห็นของผู้ร้องทั้งสอง แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด
ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าเป็นการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลา
และคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีต่อไปได้ และเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดีจึงเห็นสมควรพิจารณาคดีต่อไปในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีโดยไม่ส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อพิพากษาในประเด็นเนื้อหาแห่งคดี นั้น เห็นว่า เป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ดุลพินิจโดยศาลมีความเห็นว่า ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีต่อไปได้ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองแล้ว จึงมิใช่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาอันถือว่าเป็นข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
สำหรับพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของบริษัท โฮปเวลล์ฯ อันเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตั้งแต่ในขณะเข้าทำสัญญา นั้น เห็นว่า ผู้ร้องทั้งสองย่อมจะต้องตรวจสอบและรู้หรือควรรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวได้เอง จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องทั้งสองเอง มิใช่พยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ตามนัยมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำฟ้องตามนัยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยการขอพิจารณาคดีใหม่มิได้บัญญัติว่าการยื่นคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต้องยื่นต่อศาลใด กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองตามนัยข้อ 5 วรรคสอง
แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 คือ หลักการฟ้องคดีปกครองต้องเริ่มต้นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น เว้นแต่เป็นคดีพิพาทตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 ดังนั้น คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ก็ย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาตามนัยข้อ 37 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ พ.ศ. 2543 ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งสองฟังไม่ขึ้น
การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 241 - 243/2563)
จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว สามารถสรุปได้ ดังนี้...
1. การกำหนดประเด็นแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัยอันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ถือเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี
แม้ว่าจะแตกต่างไปจากความเห็นของคู่กรณี แต่ก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ได้ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
2. กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
ชี้ขาดคดีต่อไปได้และเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีได้ โดยไม่ต้องส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาประเด็นเนื้อหาแห่งคดี ตามนัยข้อ 112 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
3. คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำฟ้อง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น
และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาได้ ตามนัยข้อ 37 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2543 ซึ่งหากผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยก็สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ในคำพิพากษาคดีดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้อธิบายความหมายของกรณี
การฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หมายความว่า การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนคดี หรือกรณีที่ศาลไม่ได้รับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวน หรือรับฟังข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงที่ปรากฏตามพยานหลักฐาน
กรณีมีพยานหลักฐานใหม่ หมายความว่า กรณีมีพยานหลักฐานอันอาจสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของคู่กรณี ซึ่งไม่ได้ถูกนำเสนอต่อศาลในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง แต่กลับปรากฏต่อศาลภายหลังมีคำพิพากษาแล้ว โดยคู่กรณีอาจไม่ทราบถึงความมีอยู่ของพยานหลักฐานนั้น หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันอาจทำให้ไม่อาจนำพยานหลักฐานนั้น
มาแสดงต่อศาลในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ โดยต้องเป็นข้อที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วในคดีนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ และกรณีมีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม หมายความว่า กรณีที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริง การรับฟังพยานหลักฐาน การสรุปสำนวนของตุลาการเจ้าของสำนวน ตลอดจนการนั่งพิจารณาคดี และการพิพากษาคดีของศาล แต่ข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้มีการขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้นั้น จะต้องเป็นข้อบกพร่องสำคัญอันมีผลต่อคำวินิจฉัยของศาล
แล้วพบกันใหม่ อย่าลืมติดตามสาระความรู้ดี ๆ ในคอลัมน์ครบเครื่องคดีปกครอง เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์... นะคะ
ป. ธรรมศลีญ์
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
ศาลปกครองชั้นต้น ก็สามารถคัดค้านโต้แย้งเพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อ
ศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา ซึ่งถ้าไม่ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ถือว่าคดีนั้นเป็นอันถึงที่สุด และจะไม่สามารถโต้แย้งคัดค้านได้อีก
เว้นแต่... เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครองกำหนดไว้ให้สามารถยื่นคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีนั้นใหม่ได้ ดังนี้...
ประการแรก ต้องเป็นกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีนั้นเสร็จเด็ดขาดแล้ว ประการที่สอง ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจะต้องเป็นคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้น ประการที่สาม คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกจะต้องไม่ทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาคดีครั้งที่แล้วมา โดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น ประการที่สี่ จะต้องยื่นคำขอภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้ แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด และ ประการสุดท้าย ต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) – (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ
(1) ศาลปกครองฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือมีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟัง
เป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
(2) คู่กรณีที่แท้จริงหรือบุคคลภายนอกนั้นมิได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือได้เข้ามาแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกระบวนพิจารณา
(3) มีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
(4) คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ทำขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับ
อยู่ในขณะนั้น
วันนี้... มีคดีที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการขอพิจารณาพิพากษาคดีปกครองใหม่ ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชนและสื่อมวลชนในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา นั่นก็คือ... “คดีโฮปเวลล์” นั่นเองค่ะ
มูลเหตุของคดีดังกล่าวมีอยู่ว่า... กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ร้อง) ได้ทำสัญญาให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้คัดค้าน) เข้าดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อมาผู้ร้องทั้งสองเห็นว่างานมีความล่าช้ามากและไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่สัญญากำหนด
ในแต่ละช่วงงานจึงได้บอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบอกเลิกสัญญาจ้างและยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้พิจารณาและระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าว โดยให้ผู้ร้องทั้งสอง ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าตอบแทนพร้อมดอกเบี้ย คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคาร และคืนค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้คัดค้าน ซึ่งผู้ร้องทั้งสองเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง (กระทรวงคมนาคม
และการรถไฟแห่งประเทศไทย) และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ต่อมา ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าศาลปกครองสูงสุดรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งประเด็นที่
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ การเลิกกันของสัญญาพิพาท และการกลับคืนสู่ฐานะเดิมของคู่สัญญา ซึ่งมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุด มิใช่กรณีศาลรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ส่วนข้อโต้แย้งเรื่องความสามารถของผู้คัดค้าน (บริษัท โฮปเวลล์ฯ) ในขณะเข้าทำสัญญาว่าเป็นการดำเนินการของนิติบุคคลต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ซึ่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นเอกสารที่ส่วนราชการสามารถตรวจสอบได้เองในขณะเข้าทำสัญญาพิพาท จึงถือว่าเอกสารดังกล่าวมีอยู่แล้ว มิได้เป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏขึ้นใหม่ อันมีผลทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
สำหรับกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาพิพากษาตามรูปคดีในส่วนเนื้อหาของคดี ด้วยเหตุว่าเมื่อคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยเพียงว่าการยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการพิจารณาเพียงเงื่อนไขในการฟ้องคดีเท่านั้น ยังไม่มีคำวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี การที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ได้สั่งให้ย้อนสำนวนคดี
ให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาจึงถือว่ามีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม นั้น ศาลเห็นว่า เป็นดุลพินิจของศาลปกครองสูงสุดที่จะวินิจฉัยตามคำอุทธรณ์ได้เอง เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายบังคับให้ศาลปกครองสูงสุดต้องส่งคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นที่ยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายหรือระเบียบวิธีพิจารณาคดีปกครองกลับไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่ทุกกรณี เมื่อคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาชี้ขาดคดีต่อไปได้ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองสูงสุดจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีได้ กรณีไม่ถือว่ามีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
ส่วนที่อ้างว่ามีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานกรณีโฮปเวลล์ฯ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ซึ่งหากได้พยานหลักฐานใหม่จะนำเสนอต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป นั้น เห็นว่า ในขณะยื่นคำขอนี้ ผู้ร้องทั้งสองยังไม่มีพยานหลักฐานใหม่อันมีผลทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไป
ในสาระสำคัญ
จากเหตุผลดังกล่าว คำขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองจึงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์
ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) ประกอบวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด
โดยอ้างว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองเป็นการร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในศาลปกครองสูงสุดจึงเป็นอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งใด ๆ เกี่ยวกับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ประกอบกับศาลปกครองชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำขอซึ่งจะต้องสั่งยกคำขอ แต่กลับสั่งไม่รับคำขอไว้พิจารณา จึงเป็นการสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยคำขอคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาต่อไป
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างในคำขอพิจารณาคดีใหม่ว่าศาลปกครองสูงสุดรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคลาดเคลื่อนในประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้สิทธิเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี นั้น เห็นว่า การกำหนดประเด็นแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัยอันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ตลอดจนการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
แม้จะเป็นการแตกต่างไปจากความเห็นของผู้ร้องทั้งสอง แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด
ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าเป็นการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลา
และคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีต่อไปได้ และเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดีจึงเห็นสมควรพิจารณาคดีต่อไปในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีโดยไม่ส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อพิพากษาในประเด็นเนื้อหาแห่งคดี นั้น เห็นว่า เป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ดุลพินิจโดยศาลมีความเห็นว่า ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีต่อไปได้ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองแล้ว จึงมิใช่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาอันถือว่าเป็นข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม
สำหรับพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของบริษัท โฮปเวลล์ฯ อันเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตั้งแต่ในขณะเข้าทำสัญญา นั้น เห็นว่า ผู้ร้องทั้งสองย่อมจะต้องตรวจสอบและรู้หรือควรรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวได้เอง จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องทั้งสองเอง มิใช่พยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ตามนัยมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำฟ้องตามนัยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยการขอพิจารณาคดีใหม่มิได้บัญญัติว่าการยื่นคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต้องยื่นต่อศาลใด กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองตามนัยข้อ 5 วรรคสอง
แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 คือ หลักการฟ้องคดีปกครองต้องเริ่มต้นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น เว้นแต่เป็นคดีพิพาทตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 ดังนั้น คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ก็ย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาตามนัยข้อ 37 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ พ.ศ. 2543 ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งสองฟังไม่ขึ้น
การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 241 - 243/2563)
จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว สามารถสรุปได้ ดังนี้...
1. การกำหนดประเด็นแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัยอันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ถือเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี
แม้ว่าจะแตกต่างไปจากความเห็นของคู่กรณี แต่ก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ได้ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
2. กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
ชี้ขาดคดีต่อไปได้และเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีได้ โดยไม่ต้องส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาประเด็นเนื้อหาแห่งคดี ตามนัยข้อ 112 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
3. คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำฟ้อง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น
และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาได้ ตามนัยข้อ 37 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2543 ซึ่งหากผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยก็สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ในคำพิพากษาคดีดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้อธิบายความหมายของกรณี
การฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หมายความว่า การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนคดี หรือกรณีที่ศาลไม่ได้รับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวน หรือรับฟังข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงที่ปรากฏตามพยานหลักฐาน
กรณีมีพยานหลักฐานใหม่ หมายความว่า กรณีมีพยานหลักฐานอันอาจสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของคู่กรณี ซึ่งไม่ได้ถูกนำเสนอต่อศาลในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง แต่กลับปรากฏต่อศาลภายหลังมีคำพิพากษาแล้ว โดยคู่กรณีอาจไม่ทราบถึงความมีอยู่ของพยานหลักฐานนั้น หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันอาจทำให้ไม่อาจนำพยานหลักฐานนั้น
มาแสดงต่อศาลในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ โดยต้องเป็นข้อที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วในคดีนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ และกรณีมีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม หมายความว่า กรณีที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริง การรับฟังพยานหลักฐาน การสรุปสำนวนของตุลาการเจ้าของสำนวน ตลอดจนการนั่งพิจารณาคดี และการพิพากษาคดีของศาล แต่ข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้มีการขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้นั้น จะต้องเป็นข้อบกพร่องสำคัญอันมีผลต่อคำวินิจฉัยของศาล
แล้วพบกันใหม่ อย่าลืมติดตามสาระความรู้ดี ๆ ในคอลัมน์ครบเครื่องคดีปกครอง เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์... นะคะ
ป. ธรรมศลีญ์
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)