ในประเทศเสรีประชาธิปไตย...เช่น ประเทศไทย “ความเสมอภาค” ถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และภาครัฐต้องยึดถือปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว โดยการตรากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปตามหลักความเสมอภาค เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกันมากที่สุด เนื่องจากต้องยอมรับว่าเราทุกคนต่างมีต้นทุนชีวิตที่ไม่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม... ทุกคนก็ล้วนปรารถนาที่จะได้รับโอกาสในชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้เหลือน้อยที่สุด
ภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ สำหรับในเรื่องการประกอบอาชีพของผู้มีกายพิการนั้น
ในปัจจุบันได้มีกฎหมายออกมาใช้บังคับแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน โดยกำหนดให้ต้องรับผู้พิการเข้าทำงานในองค์กรด้วย
ทั้งนี้ กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ได้กำหนดให้ ...นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน (100: 1) เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน
สำหรับเอกชนรายใด นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานจะต้องส่งเงินเข้า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เป็นรายปีแทน
กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน รวมถึงนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น อาจให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้
(ตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554)
โดยสรุปคือ จะต้องรับผู้พิการเข้าทำงานในสัดส่วนตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่รับก็จะต้องส่งเงินให้หลวงหรือจัดโครงการทางสังคมใด ๆ เพื่อผู้พิการ นั่นเองค่ะ
นอกจากมีกฎหมายที่ดูแลเรื่องการทำงานของผู้พิการแล้ว เรายังมีศาลปกครองที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย
ทั้งนี้...ในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณาก่อนที่ศาลจะรับคำฟ้องก็คือ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือไม่ ?
ประเด็นที่จะคุยกันวันนี้...น่าสนใจว่า กรณีผู้พิการทราบว่าหน่วยงานของรัฐไม่ได้จัดให้มีแผนรับผู้พิการเข้าทำงานตามที่กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการกำหนดไว้ ผู้พิการดังกล่าวจะถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยทันที ที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เลยหรือไม่ หรือจะต้องไปยื่นความประสงค์ขอสมัครงานก่อน แล้วหน่วยงานดังกล่าวปฏิเสธ จึงจะใช้สิทธิฟ้องคดีได้ ?
ตามมาดูคำตอบในเรื่องนี้...กันเลยค่ะ
คดีนี้...ผู้ฟ้องคดีคือนายไทยแท้เป็นผู้พิการ ได้นำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองว่าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการคือ ไม่มีแผนในการรับผู้พิการเข้าทำงาน เนื่องจากนายไทยแท้ได้ยื่นคำร้องขอข้อมูลรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการ ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่ามีสองหน่วยงานที่ไม่มีแผนรับผู้พิการดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติจึงได้มีหนังสือแจ้งนายไทยแท้ตามที่ยื่นคำร้องขอข้อมูลไว้
ต่อมา นายไทยแท้ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติเพื่อให้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของหน่วยงานของรัฐทั้งสองแห่ง มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาต่อนายไทยแท้
นายไทยแท้ เห็นว่า หน่วยงานของรัฐทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมาย
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า นายไทยแท้ (ผู้ฟ้องคดี) เพียงแต่ได้รับข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายไทยแท้ได้ดำเนินการร้องขอเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐดังกล่าวแล้วถูกปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน หรือไม่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะรับเข้าทำงานตามที่กำหนดในมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
เช่นนี้ ...จึงยังถือไม่ได้ว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น นายไทยแท้จึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทั้งสองต้องปฏิบัติดังกล่าว นายไทยแท้จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 667/2559)
(ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ค่ะ)
อย่างไรก็ตาม...กรณีนี้ หากผู้พิการได้ยื่นสมัครงานและได้รับการปฏิเสธให้เข้าทำงานรวมทั้งไม่ได้รับการช่วยเหลืออื่นใดแก่ผู้พิการตามที่กฎหมายกำหนด ก็ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองใหม่ได้ จึงนับว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง ที่จะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ทราบข้อมูลว่าหน่วยงานของรัฐไม่รับผู้พิการเข้าทำงานและไม่มีมาตรการให้ความช่วยเหลือตามที่กฎหมายกำหนด โดยที่ยังไม่ได้ยื่นความประสงค์สมัครงาน จึงยังไม่ใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั่นเองค่ะ
แล้วพบกับสาระดีดีกันได้ใหม่ในโอกาสหน้า... ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355
อย่างไรก็ตาม... ทุกคนก็ล้วนปรารถนาที่จะได้รับโอกาสในชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้เหลือน้อยที่สุด
ภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ สำหรับในเรื่องการประกอบอาชีพของผู้มีกายพิการนั้น
ในปัจจุบันได้มีกฎหมายออกมาใช้บังคับแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน โดยกำหนดให้ต้องรับผู้พิการเข้าทำงานในองค์กรด้วย
ทั้งนี้ กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ได้กำหนดให้ ...นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน (100: 1) เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน
สำหรับเอกชนรายใด นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานจะต้องส่งเงินเข้า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เป็นรายปีแทน
กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน รวมถึงนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น อาจให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้
(ตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554)
โดยสรุปคือ จะต้องรับผู้พิการเข้าทำงานในสัดส่วนตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่รับก็จะต้องส่งเงินให้หลวงหรือจัดโครงการทางสังคมใด ๆ เพื่อผู้พิการ นั่นเองค่ะ
นอกจากมีกฎหมายที่ดูแลเรื่องการทำงานของผู้พิการแล้ว เรายังมีศาลปกครองที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย
ทั้งนี้...ในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณาก่อนที่ศาลจะรับคำฟ้องก็คือ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือไม่ ?
ประเด็นที่จะคุยกันวันนี้...น่าสนใจว่า กรณีผู้พิการทราบว่าหน่วยงานของรัฐไม่ได้จัดให้มีแผนรับผู้พิการเข้าทำงานตามที่กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการกำหนดไว้ ผู้พิการดังกล่าวจะถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยทันที ที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เลยหรือไม่ หรือจะต้องไปยื่นความประสงค์ขอสมัครงานก่อน แล้วหน่วยงานดังกล่าวปฏิเสธ จึงจะใช้สิทธิฟ้องคดีได้ ?
ตามมาดูคำตอบในเรื่องนี้...กันเลยค่ะ
คดีนี้...ผู้ฟ้องคดีคือนายไทยแท้เป็นผู้พิการ ได้นำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองว่าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการคือ ไม่มีแผนในการรับผู้พิการเข้าทำงาน เนื่องจากนายไทยแท้ได้ยื่นคำร้องขอข้อมูลรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการ ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่ามีสองหน่วยงานที่ไม่มีแผนรับผู้พิการดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติจึงได้มีหนังสือแจ้งนายไทยแท้ตามที่ยื่นคำร้องขอข้อมูลไว้
ต่อมา นายไทยแท้ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติเพื่อให้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของหน่วยงานของรัฐทั้งสองแห่ง มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาต่อนายไทยแท้
นายไทยแท้ เห็นว่า หน่วยงานของรัฐทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมาย
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า นายไทยแท้ (ผู้ฟ้องคดี) เพียงแต่ได้รับข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายไทยแท้ได้ดำเนินการร้องขอเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐดังกล่าวแล้วถูกปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน หรือไม่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะรับเข้าทำงานตามที่กำหนดในมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
เช่นนี้ ...จึงยังถือไม่ได้ว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น นายไทยแท้จึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทั้งสองต้องปฏิบัติดังกล่าว นายไทยแท้จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 667/2559)
(ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ค่ะ)
อย่างไรก็ตาม...กรณีนี้ หากผู้พิการได้ยื่นสมัครงานและได้รับการปฏิเสธให้เข้าทำงานรวมทั้งไม่ได้รับการช่วยเหลืออื่นใดแก่ผู้พิการตามที่กฎหมายกำหนด ก็ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองใหม่ได้ จึงนับว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง ที่จะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ทราบข้อมูลว่าหน่วยงานของรัฐไม่รับผู้พิการเข้าทำงานและไม่มีมาตรการให้ความช่วยเหลือตามที่กฎหมายกำหนด โดยที่ยังไม่ได้ยื่นความประสงค์สมัครงาน จึงยังไม่ใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั่นเองค่ะ
แล้วพบกับสาระดีดีกันได้ใหม่ในโอกาสหน้า... ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355