อุทาหรณ์คดีปกครองเรื่องนี้ น่าสนใจทีเดียว ! เพราะมีประเด็นที่ศาลปกครองต้องพิจารณาว่า ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการสอบสวนโดยสามารถทำหน้าที่ดำเนินการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ ? และหากมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ จะมีผลอย่างไรต่อกระบวนการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปจนเสร็จสิ้นแล้ว มาฟังเฉลยกันเลยครับ…
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จึงถูกผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนฯ ดำเนินการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนแล้ว นายกเทศมนตรีจึงได้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์ต่อประธานคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แต่ได้มีมติยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย เนื่องจากกระบวนการสอบสวนทางวินัยได้ดำเนินไปโดยมีกรรมการสอบสวนเพียง 2 คน จากที่กฎหมายเทศบาลตำบลกำหนดให้ต้องมีกรรมการสอบสวนทั้งสิ้นจำนวน 3 คน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดี
เรื่องนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ซึ่งมีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต้องประกอบไปด้วยกรรมการสอบสวนจำนวน 3 คน
โดยกรณีนี้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ประกอบไปด้วย 1. นายพึ่ง ตำแหน่งปลัดอำเภอ
(เจ้าพนักงานปกครอง 7) เป็นประธานกรรมการ 2. นายพ่วง ตำแหน่งท้องถิ่นอำเภอ เป็นกรรมการและเลขานุการ และ 3. นายเพิ่ม ตำแหน่งปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ฟ้องคดีข้างต้น จึงไม่ครบตามองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นสาระสำคัญเพื่อเป็นหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา
การแต่งตั้งข้าราชการให้มีหน้าที่เป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ หากในคำสั่งมิได้ระบุให้เป็นกรรมการสอบสวนด้วย ย่อมทำให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการไม่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะทำการสอบสวนได้
จากข้อเท็จจริง คณะกรรมการชุดที่พิพาทมีกรรมการสอบสวนจำนวน 2 คน คือนายพึ่งซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสอบสวน และนายพ่วงซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวนและเลขานุการด้วย นายพ่วงจึงมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนได้ ส่วนนายเพิ่มตามคำสั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเพียงผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุให้มีตำแหน่งเป็นกรรมการสอบสวนด้วยแต่อย่างใด คณะกรรมการชุดที่พิพาทจึงประกอบไปด้วยกรรมการสอบสวนเพียง 2 คนเท่านั้น
การที่นายกเทศมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) อ้างว่า แม้นายเพิ่มจะมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับกรรมการสอบสวนทางวินัยทุกประการ นั้น ศาลปกครองอธิบายว่า ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลฯ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนไว้อย่างชัดเจน ผู้ที่ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวน จึงย่อมไม่มีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะทำการสอบสวนแทนกรรมการสอบสวนได้ตามกฎหมาย การทำหน้าที่ของนายเพิ่มดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินการของกรรมการสอบสวน
กรณีจึงเป็นการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนน้อยกว่า 3 คน ไม่เป็นไปตามที่ประกาศคณะกรรมการเทศบาลฯ กำหนดไว้ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การสอบสวนที่ดำเนินไปแล้วทั้งหมดย่อมเสียไปด้วย
ฉะนั้น คำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าว โดยนายกเทศมนตรีสามารถออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายและดำเนินกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องต่อไป (คดีหมายเลขแดงที่ อ.764/2558)
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จึงถูกผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนฯ ดำเนินการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนแล้ว นายกเทศมนตรีจึงได้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์ต่อประธานคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แต่ได้มีมติยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย เนื่องจากกระบวนการสอบสวนทางวินัยได้ดำเนินไปโดยมีกรรมการสอบสวนเพียง 2 คน จากที่กฎหมายเทศบาลตำบลกำหนดให้ต้องมีกรรมการสอบสวนทั้งสิ้นจำนวน 3 คน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดี
เรื่องนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ซึ่งมีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต้องประกอบไปด้วยกรรมการสอบสวนจำนวน 3 คน
โดยกรณีนี้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ประกอบไปด้วย 1. นายพึ่ง ตำแหน่งปลัดอำเภอ
(เจ้าพนักงานปกครอง 7) เป็นประธานกรรมการ 2. นายพ่วง ตำแหน่งท้องถิ่นอำเภอ เป็นกรรมการและเลขานุการ และ 3. นายเพิ่ม ตำแหน่งปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ฟ้องคดีข้างต้น จึงไม่ครบตามองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นสาระสำคัญเพื่อเป็นหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา
การแต่งตั้งข้าราชการให้มีหน้าที่เป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ หากในคำสั่งมิได้ระบุให้เป็นกรรมการสอบสวนด้วย ย่อมทำให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการไม่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะทำการสอบสวนได้
จากข้อเท็จจริง คณะกรรมการชุดที่พิพาทมีกรรมการสอบสวนจำนวน 2 คน คือนายพึ่งซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสอบสวน และนายพ่วงซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวนและเลขานุการด้วย นายพ่วงจึงมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนได้ ส่วนนายเพิ่มตามคำสั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเพียงผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุให้มีตำแหน่งเป็นกรรมการสอบสวนด้วยแต่อย่างใด คณะกรรมการชุดที่พิพาทจึงประกอบไปด้วยกรรมการสอบสวนเพียง 2 คนเท่านั้น
การที่นายกเทศมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) อ้างว่า แม้นายเพิ่มจะมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับกรรมการสอบสวนทางวินัยทุกประการ นั้น ศาลปกครองอธิบายว่า ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลฯ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนไว้อย่างชัดเจน ผู้ที่ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวน จึงย่อมไม่มีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะทำการสอบสวนแทนกรรมการสอบสวนได้ตามกฎหมาย การทำหน้าที่ของนายเพิ่มดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินการของกรรมการสอบสวน
กรณีจึงเป็นการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนน้อยกว่า 3 คน ไม่เป็นไปตามที่ประกาศคณะกรรมการเทศบาลฯ กำหนดไว้ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การสอบสวนที่ดำเนินไปแล้วทั้งหมดย่อมเสียไปด้วย
ฉะนั้น คำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าว โดยนายกเทศมนตรีสามารถออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายและดำเนินกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องต่อไป (คดีหมายเลขแดงที่ อ.764/2558)