เป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ... และเป็นสิทธิที่ทุกคนควรรับทราบ !! กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎ ให้ผู้ป่วยสามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับการรักษาจากแพทย์ในกรณีที่เป็นเพียงเพื่อยืดเวลาการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องกู้ชีพต่างๆ ทั้งที่ไม่มีโอกาสหายจากโรคหรือฟื้นคืนกลับมาได้
หลังจากที่กฎนี้มีผลใช้บังคับในปี 2554 ได้มีนายแพทย์ 3 ท่าน นำเรื่องมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง
เพื่อขอให้เพิกถอนกฎ เพราะเห็นว่า เสมือนเป็นการการุณยฆาต ! คือปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลง โดยงดเว้นไม่ให้การรักษา ทั้งที่แพทย์มีหน้าที่จะต้องช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ดีที่สุดตามภาวะวิสัยในขณะนั้น จึงเห็นว่าเป็นกฎที่ขัดกับรัฐธรรมนูญฯ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และทำให้แพทย์ที่ไม่ทำการรักษาอาจมีความผิดตามกฎหมายอื่น
กฎดังกล่าวดูเสมือนเป็นเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างความเป็นกับความตายของผู้ป่วยและอาจสร้างความลำบากใจในการทำหน้าที่ของแพทย์ ซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ ได้ทำให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล อันเป็นฐานของเหตุผลที่นำมาใช้ในการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ รวมทั้งได้ชี้ให้เห็นว่ากฎดังกล่าวมิใช่เป็นลักษณะของการการุณยฆาตตามที่แพทย์ผู้ฟ้องคดีเข้าใจ
คดีนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสามเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยคดีมีประเด็นหลักที่ศาลปกครองสูงสุดต้องวินิจฉัย ดังนี้
1. กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวออกโดยชอบด้วยรูปแบบและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยที่หลักการและเหตุผลของการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายที่บุคคลพึงมี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงเป็นการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ซึ่งรัฐมีหน้าที่จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ ตามมาตรา 57 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งข้อเท็จจริง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย มีการประชุมปรับเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงถึง 3 ครั้ง และแพทยสภาก็ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ร่วมกับกรมการแพทย์จัดประชุมวิชาการเพื่อให้เข้าใจเจตนารมณ์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ อันแสดงให้เห็นว่ารัฐได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ อีกทั้งได้นำร่างกฎกระทรวงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ กรณีจึงเป็นการออกกฎกระทรวงฯ ที่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชอบแล้ว
2. เนื้อหาสาระของกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า โดยธรรมชาติ สิ่งที่ยืนยันความเป็นมนุษย์คือ เสรีภาพอันมิอาจก้าวล่วงได้ แต่เสรีภาพย่อมถูกจำกัดเมื่อล่วงล้ำเสรีภาพของบุคคลอื่นภายใต้การรับรองของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เสรีภาพจึงเป็นการกระทำโดยอิสระของบุคคลที่มิได้อยู่ภายใต้บังคับของบุคคลอื่น สำหรับ สิทธินั้นเป็นเครื่องยืนยันถึงเสรีภาพดังกล่าวของบุคคล ทำให้มีสภาพบังคับต่อบุคคลภายนอก ฉะนั้น สิทธิและเสรีภาพจึงเป็นสิ่งเดียวกันที่มิอาจแยกออกจากกันได้
ส่วนที่บุคคลใด เลือกที่จะมีชีวิตอยู่หรือเลือกที่จะไม่มีชีวิตนั้น ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย แต่การที่บุคคลแสดงเจตนาในการไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขหรือการรักษาจากแพทย์ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแพทย์ต้องเคารพการตัดสินใจดังกล่าวนั้น ย่อมเรียกว่า “สิทธิของบุคคล” ซึ่งสิทธิดังกล่าวมิใช่สิทธิที่จะเลือกไม่มีชีวิตอยู่ หากแต่เป็นสิทธิในการเลือกที่จะปฏิเสธการรักษาพยาบาลเพื่อที่จะได้ตายโดยธรรมชาติ โดยกฎกระทรวงที่พิพาทได้กำหนดคำนิยามข้อความว่า “บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า วิธีการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนำมาใช้กับผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อประสงค์จะยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตออกไป โดยไม่ทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาพ้นจากความตายหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
ทั้งนี้ ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนายังคงได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคอง “วาระสุดท้ายของชีวิต” หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่า ภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้จะถึง และให้หมายความรวมถึงภาวะที่สูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใดๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ได้ จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น และคำว่า “การทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า ความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางจิตใจของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือจากโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
จากบทนิยามพิจารณาได้ว่า การที่บุคคลทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย เป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากการทำหนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงสิทธิในชีวิตและร่างกายตามมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเป็นการยื่นความประสงค์ไว้ล่วงหน้าเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบความประสงค์ของตนว่าจะใช้สิทธิเช่นใด
ประกอบกับกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดองค์ประกอบของการแสดงสิทธิไว้ กล่าวคือ ๑.หากมีผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย หนังสือแสดงเจตนาต้องครบถ้วนบริบูรณ์ ๒.ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขหามีอำนาจหน้าที่ในการทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาถึงแก่ความตายโดยวิธีการใดๆ ไม่ ๓. ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนายังคงได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ๔. ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวจะต้องมีภาวะตามที่กฎกระทรวงพิพาทกำหนดไว้ ๕.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่รับผิดชอบการรักษามีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ และ ๖.หากผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวต้องการตายอย่างธรรมชาติ
ตามองค์ประกอบดังกล่าว จึงหาใช่การปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงโดยงดเว้นไม่ให้การรักษา ที่จะทำให้แพทย์ผู้รักษามีความผิด และมิใช่เป็นการทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เนื่องจากแพทย์ยังคงมีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง อีกทั้งกฎกระทรวงฉบับนี้มิได้มีเนื้อหาสาระเกินกว่าพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นแต่เพียงการอธิบายความเพิ่มเติม กรณีจึงเป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 11/2558)
คำพิพากษาของศาลปกครอง เป็นการตีความและยืนยันให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่พิพาท ซึ่งเป็นกฎที่ออกมาเพื่อรักษาประโยชน์แห่งสิทธิเสรีภาพในร่างกายและชีวิตของผู้ป่วย ที่พึงมีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยแท้ ให้ไม่จำต้องทนทุกข์ทรมานรับการรักษาที่เป็นเพียงแค่ “ยื้อเวลาความตาย” เพียงชั่วคราว...เท่านั้น !
ครองธรรม ธรรมรัฐ
หลังจากที่กฎนี้มีผลใช้บังคับในปี 2554 ได้มีนายแพทย์ 3 ท่าน นำเรื่องมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง
เพื่อขอให้เพิกถอนกฎ เพราะเห็นว่า เสมือนเป็นการการุณยฆาต ! คือปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลง โดยงดเว้นไม่ให้การรักษา ทั้งที่แพทย์มีหน้าที่จะต้องช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ดีที่สุดตามภาวะวิสัยในขณะนั้น จึงเห็นว่าเป็นกฎที่ขัดกับรัฐธรรมนูญฯ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และทำให้แพทย์ที่ไม่ทำการรักษาอาจมีความผิดตามกฎหมายอื่น
กฎดังกล่าวดูเสมือนเป็นเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างความเป็นกับความตายของผู้ป่วยและอาจสร้างความลำบากใจในการทำหน้าที่ของแพทย์ ซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ ได้ทำให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล อันเป็นฐานของเหตุผลที่นำมาใช้ในการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ รวมทั้งได้ชี้ให้เห็นว่ากฎดังกล่าวมิใช่เป็นลักษณะของการการุณยฆาตตามที่แพทย์ผู้ฟ้องคดีเข้าใจ
คดีนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสามเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยคดีมีประเด็นหลักที่ศาลปกครองสูงสุดต้องวินิจฉัย ดังนี้
1. กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวออกโดยชอบด้วยรูปแบบและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยที่หลักการและเหตุผลของการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายที่บุคคลพึงมี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงเป็นการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ซึ่งรัฐมีหน้าที่จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ ตามมาตรา 57 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งข้อเท็จจริง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย มีการประชุมปรับเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงถึง 3 ครั้ง และแพทยสภาก็ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ร่วมกับกรมการแพทย์จัดประชุมวิชาการเพื่อให้เข้าใจเจตนารมณ์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ อันแสดงให้เห็นว่ารัฐได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ อีกทั้งได้นำร่างกฎกระทรวงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ กรณีจึงเป็นการออกกฎกระทรวงฯ ที่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชอบแล้ว
2. เนื้อหาสาระของกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า โดยธรรมชาติ สิ่งที่ยืนยันความเป็นมนุษย์คือ เสรีภาพอันมิอาจก้าวล่วงได้ แต่เสรีภาพย่อมถูกจำกัดเมื่อล่วงล้ำเสรีภาพของบุคคลอื่นภายใต้การรับรองของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เสรีภาพจึงเป็นการกระทำโดยอิสระของบุคคลที่มิได้อยู่ภายใต้บังคับของบุคคลอื่น สำหรับ สิทธินั้นเป็นเครื่องยืนยันถึงเสรีภาพดังกล่าวของบุคคล ทำให้มีสภาพบังคับต่อบุคคลภายนอก ฉะนั้น สิทธิและเสรีภาพจึงเป็นสิ่งเดียวกันที่มิอาจแยกออกจากกันได้
ส่วนที่บุคคลใด เลือกที่จะมีชีวิตอยู่หรือเลือกที่จะไม่มีชีวิตนั้น ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย แต่การที่บุคคลแสดงเจตนาในการไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขหรือการรักษาจากแพทย์ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแพทย์ต้องเคารพการตัดสินใจดังกล่าวนั้น ย่อมเรียกว่า “สิทธิของบุคคล” ซึ่งสิทธิดังกล่าวมิใช่สิทธิที่จะเลือกไม่มีชีวิตอยู่ หากแต่เป็นสิทธิในการเลือกที่จะปฏิเสธการรักษาพยาบาลเพื่อที่จะได้ตายโดยธรรมชาติ โดยกฎกระทรวงที่พิพาทได้กำหนดคำนิยามข้อความว่า “บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า วิธีการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนำมาใช้กับผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อประสงค์จะยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตออกไป โดยไม่ทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาพ้นจากความตายหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
ทั้งนี้ ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนายังคงได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคอง “วาระสุดท้ายของชีวิต” หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่า ภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้จะถึง และให้หมายความรวมถึงภาวะที่สูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใดๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ได้ จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น และคำว่า “การทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า ความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางจิตใจของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือจากโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
จากบทนิยามพิจารณาได้ว่า การที่บุคคลทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย เป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากการทำหนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงสิทธิในชีวิตและร่างกายตามมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเป็นการยื่นความประสงค์ไว้ล่วงหน้าเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบความประสงค์ของตนว่าจะใช้สิทธิเช่นใด
ประกอบกับกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดองค์ประกอบของการแสดงสิทธิไว้ กล่าวคือ ๑.หากมีผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย หนังสือแสดงเจตนาต้องครบถ้วนบริบูรณ์ ๒.ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขหามีอำนาจหน้าที่ในการทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาถึงแก่ความตายโดยวิธีการใดๆ ไม่ ๓. ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนายังคงได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ๔. ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวจะต้องมีภาวะตามที่กฎกระทรวงพิพาทกำหนดไว้ ๕.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่รับผิดชอบการรักษามีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ และ ๖.หากผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวต้องการตายอย่างธรรมชาติ
ตามองค์ประกอบดังกล่าว จึงหาใช่การปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงโดยงดเว้นไม่ให้การรักษา ที่จะทำให้แพทย์ผู้รักษามีความผิด และมิใช่เป็นการทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เนื่องจากแพทย์ยังคงมีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง อีกทั้งกฎกระทรวงฉบับนี้มิได้มีเนื้อหาสาระเกินกว่าพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นแต่เพียงการอธิบายความเพิ่มเติม กรณีจึงเป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 11/2558)
คำพิพากษาของศาลปกครอง เป็นการตีความและยืนยันให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่พิพาท ซึ่งเป็นกฎที่ออกมาเพื่อรักษาประโยชน์แห่งสิทธิเสรีภาพในร่างกายและชีวิตของผู้ป่วย ที่พึงมีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยแท้ ให้ไม่จำต้องทนทุกข์ทรมานรับการรักษาที่เป็นเพียงแค่ “ยื้อเวลาความตาย” เพียงชั่วคราว...เท่านั้น !
ครองธรรม ธรรมรัฐ