เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศสำนักงานศาลปกครอง เรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎของกรมการแพทย์ คือ “หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว และหรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน” เนื่องจากเป็นกฎที่จำกัดสิทธิของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เกินกว่าที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข และเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษเกินสมควร ยังความดีใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกตัดสิทธิเงินเพิ่มพิเศษเพราะเงื่อนไขของกฎดังกล่าวเป็นอย่างมาก...
วัตถุประสงค์ของการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์อุทิศเวลาให้กับงานราชการและพร้อมที่จะปฏิบัติงานอื่นที่หัวหน้าหน่วยบริการมอบหมายเพิ่มเติมจากงานประจำ สามารถตอบสนองภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่ และลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ไปทำงานพิเศษในโรงพยาบาลเอกชนหรือเปิดคลินิกส่วนตัว
โดยหลังจากที่กฎของกรมการแพทย์ดังกล่าวออกมามีผลใช้บังคับ ก็มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกงดจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นแพทย์สังกัดสถาบันโรคทรวงอก จึงได้นำเรื่องนี้มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และสู้กันถึง 2 ชั้นศาล ซึ่งที่สุดแล้วศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยได้มีคำตัดสินสรุปความได้ว่า...
หลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ที่ออกมากำหนดแนวทางในการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษจำนวน 6 ข้อ ซึ่งอาศัยอำนาจตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น มีจำนวน 3 ข้อ คือในข้อ 1 ข้อ 3 และข้อ 5 ที่เป็นการจำกัดสิทธิของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เกินกว่าที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
ข้อ 1 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องเป็นผู้อุทิศเวลาให้แก่ราชการ โดยให้ความร่วมมือที่จะปฏิบัติงานในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง (เดือนละไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ซึ่งในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข มีข้อกำหนดเพียงว่า เป็นผู้อุทิศเวลาให้กับทางราชการและพร้อมที่จะปฏิบัติงานอื่นที่หัวหน้าหน่วยบริการมอบหมายเพิ่มเติมจากงานประจำ โดยไม่ได้มีข้อกำหนดในเรื่องต้องไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลาราชการด้วย
ข้อ 3 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องเป็นผู้เสียสละในการปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหาร ด้านบริการ และด้านวิชาการ ซึ่งในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข มิได้กำหนดให้ผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษต้องมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ บางรายอาจไม่ได้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานครบทั้งสามด้าน หรือไม่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะของผลงานเป็นที่ประจักษ์ครบทั้งสามด้าน
ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องมีงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง โดยมีโครงเรื่องวิจัยซึ่งมีชื่อผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ เป็นชื่อแรกของงานวิจัยแนบเสนอคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการพิจารณาภายใน 3 เดือนแรก นับแต่วันที่ขออนุมัติรับเงินเพิ่มพิเศษฯ โดยงานวิจัยดังกล่าวต้องมีการตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัย วารสารทางการแพทย์ วารสารทางวิชาการ หรือนำเสนอในที่ประชุมวิชาการต่อไป โครงการวิจัยที่กำหนดเวลาในการทำงานมากกว่า 1 ปี ให้แสดงเปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าของการทำวิจัยในแต่ละปี นั้น
ประเด็นนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การกำหนดให้แพทย์ผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ ต้องมีงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องตามข้อ 5 ดังกล่าว นอกจากเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกินไปกว่าหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีข้อกำหนดเพียงว่าสามารถสร้างผลงานทางวิชาการหรือดำเนินการพัฒนาระบบบริหารและระบบบริการได้แล้ว ยังเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ เกินสมควร และการกำหนดให้งานวิจัยที่ไม่เสร็จสิ้นให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ว่าจะจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ต่อไปได้หรือไม่ อันเป็นดุลพินิจที่อาจนำไปสู่การดำเนินการในลักษณะตามอำเภอใจต่อไปได้
ดังนั้น หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษของกรมการแพทย์ตามที่ศาลท่านวินิจฉัยข้างต้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนกฎในข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 5 เฉพาะในส่วนที่ขัดกับหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข และให้กรมการแพทย์ดำเนินการให้สถาบันโรคทรวงอกจ่ายค่าเงินเพิ่มพิเศษฯ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ภายใน 60 วัน (อ.171/2557)
ครองธรรม ธรรมรัฐ
วัตถุประสงค์ของการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์อุทิศเวลาให้กับงานราชการและพร้อมที่จะปฏิบัติงานอื่นที่หัวหน้าหน่วยบริการมอบหมายเพิ่มเติมจากงานประจำ สามารถตอบสนองภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่ และลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ไปทำงานพิเศษในโรงพยาบาลเอกชนหรือเปิดคลินิกส่วนตัว
โดยหลังจากที่กฎของกรมการแพทย์ดังกล่าวออกมามีผลใช้บังคับ ก็มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกงดจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นแพทย์สังกัดสถาบันโรคทรวงอก จึงได้นำเรื่องนี้มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และสู้กันถึง 2 ชั้นศาล ซึ่งที่สุดแล้วศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยได้มีคำตัดสินสรุปความได้ว่า...
หลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ที่ออกมากำหนดแนวทางในการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษจำนวน 6 ข้อ ซึ่งอาศัยอำนาจตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น มีจำนวน 3 ข้อ คือในข้อ 1 ข้อ 3 และข้อ 5 ที่เป็นการจำกัดสิทธิของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เกินกว่าที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
ข้อ 1 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องเป็นผู้อุทิศเวลาให้แก่ราชการ โดยให้ความร่วมมือที่จะปฏิบัติงานในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง (เดือนละไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ซึ่งในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข มีข้อกำหนดเพียงว่า เป็นผู้อุทิศเวลาให้กับทางราชการและพร้อมที่จะปฏิบัติงานอื่นที่หัวหน้าหน่วยบริการมอบหมายเพิ่มเติมจากงานประจำ โดยไม่ได้มีข้อกำหนดในเรื่องต้องไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลาราชการด้วย
ข้อ 3 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องเป็นผู้เสียสละในการปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหาร ด้านบริการ และด้านวิชาการ ซึ่งในหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข มิได้กำหนดให้ผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษต้องมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ บางรายอาจไม่ได้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานครบทั้งสามด้าน หรือไม่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะของผลงานเป็นที่ประจักษ์ครบทั้งสามด้าน
ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ต้องมีงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง โดยมีโครงเรื่องวิจัยซึ่งมีชื่อผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ เป็นชื่อแรกของงานวิจัยแนบเสนอคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการพิจารณาภายใน 3 เดือนแรก นับแต่วันที่ขออนุมัติรับเงินเพิ่มพิเศษฯ โดยงานวิจัยดังกล่าวต้องมีการตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัย วารสารทางการแพทย์ วารสารทางวิชาการ หรือนำเสนอในที่ประชุมวิชาการต่อไป โครงการวิจัยที่กำหนดเวลาในการทำงานมากกว่า 1 ปี ให้แสดงเปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าของการทำวิจัยในแต่ละปี นั้น
ประเด็นนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การกำหนดให้แพทย์ผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ ต้องมีงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องตามข้อ 5 ดังกล่าว นอกจากเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกินไปกว่าหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีข้อกำหนดเพียงว่าสามารถสร้างผลงานทางวิชาการหรือดำเนินการพัฒนาระบบบริหารและระบบบริการได้แล้ว ยังเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับผู้ขอรับเงินเพิ่มพิเศษฯ เกินสมควร และการกำหนดให้งานวิจัยที่ไม่เสร็จสิ้นให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ว่าจะจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ต่อไปได้หรือไม่ อันเป็นดุลพินิจที่อาจนำไปสู่การดำเนินการในลักษณะตามอำเภอใจต่อไปได้
ดังนั้น หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษของกรมการแพทย์ตามที่ศาลท่านวินิจฉัยข้างต้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนกฎในข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 5 เฉพาะในส่วนที่ขัดกับหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข และให้กรมการแพทย์ดำเนินการให้สถาบันโรคทรวงอกจ่ายค่าเงินเพิ่มพิเศษฯ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ภายใน 60 วัน (อ.171/2557)
ครองธรรม ธรรมรัฐ