กลุ่มผู้ค้าห้างอินสแควร์ ร้องกรมคุ้มครองสิทธิฯ ตรวจสอบสัญญาเช่า สินเชื่อโครงการที่ส่อทุจริตเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย พ.ร.บ.ร่วมทุน พร้อมขอให้ตั้งเวทีไกล่เกลี่ย เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาได้ครบ
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นายดุสิตพัฒน์ เสงี่ยมศักดิกร ตัวแทนกลุ่มผู้ค้าศูนย์การค้าอินสแควร์ พร้อมด้วยผู้ค้ากว่า30ราย เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมและขอให้ตรวจสอบสัญญาเช่าที่ดิน สัญญาสินเชื่อของโครงการศูนย์การค้าอินสแควร์ที่ส่อทุจริต ต่อนายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิฯ
สืบเนื่องจากตามที่บริษัท อินสแควร์ จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เจ.เจ.เซ็นเตอร์ จำกัด)ได้รับสิทธิการเช่าที่ดินย่านถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กทม. จำนวน 7.93ไร่ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตามสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารซึ่งมีกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2552 - 31 ส.ค. 2556 และตามสัญญาเช่าที่ดินเพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์โดยมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี โดยบริษัท อินสแควร์ จำกัด ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธนาคาร) เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารโครงการศูนย์การค้าอินสแควร์ โดยในการให้สินเชื่อแก่โครงการศูนย์การค้าแห่งนี้ ธนาคารได้ให้บริษัท อินสแควร์ จำกัด นำสิทธิการเช่าที่ดินที่ทำไว้กับ ร.ฟ.ท.และอาคารโครงการศูนย์การค้าดังกล่าววางไว้เป็นหลักประกัน
นายดุสิตพัฒน์กล่าวว่า สัญญาของ ร.ฟ.ท.ที่เซ็นไว้เมื่อเดือน ส.ค. 2552 จนถึงปัจจุบันนี้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาได้ครบ แม้ว่าสัญญาจะสิ้นสุดการก่อสร้างไปแล้ว แต่สิ่งที่ผู้ค้าสงสัยคือ ในการก่อสร้างทางธนาคารแจ้งว่าบริษัทที่ ก.ล.ต.รองรับได้ประเมินมูลค่าโครงการ คือ 2,000 ล้านบาท และธนาคารให้สินเชื่อ 1,700 ล้านบาทต่อ 79,000 ตารางเมตร ในขณะที่ ร.ฟ.ท.เขียนมูลค่าโครงการไว้ที่ 546 ล้านบาทต่อ 17,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ยังมีประเด็นในการสิ้นสุดสัญญาที่ ร.ฟ.ท.และทางธนาคารมีความเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีการฟ้องคดีและขอคุ้มครองชั่วคราวจากการเอาสิทธิการเช่ากับตัวอาคารไปผูกพันหนี้กับสถาบันการเงิน ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มผู้ค้ากว่า 700 รายเป็นห่วงที่สุดนอกเหนือจากสิทธิที่จะได้ตามสัญญา เพราะในวันที่ทำสัญญาผู้ค้าไม่ได้รับสัญญาซึ่งเป็นต้นตอสิทธิในการเช่า และตั้งข้อสงสัยอีกว่าสถานภาพทางสัญญาของผู้ค้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากต้องได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท.ซึ่งไม่มีรายใดได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท. นอกจากนี้ ในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามจะต้องมีลูกค้ามากกว่า 40% ของโครงการ คือ 1,000 ยูนิต มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท ถึงจะเบิกจ่ายเงินงวดแรกได้ ซึ่งในวันนี้มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1,700 ล้านบาท แต่ลูกค้าไม่ได้รับสถานะตรงนั้น จึงตั้งข้อสงสัยว่าลูกค้า 40% ที่ธนาคารปล่อยกู้ กับลูกค้าที่มาร้องในวันนี้คือชุดเดียวกันหรือไม่ เพราะวันนี้มีลูกค้าหลายรายได้ส่งเรื่องไปตรวจสอบที่ธนาคารอิสลาม โดยเฉพาะนางสมถวิล สุริยามาศ ผู้ซื้อรายแรกมูลค่าดว่า 38 ล้านบาท กลับไม่มีชื่อ
สำหรับกรณีนี้มีผู้ค้าที่ผูกพันตามสัญญาดังกล่าวมากกว่า 700 ราย ธนาคารมีความเสียหายกว่า 1,700 ล้านบาท ส่วนผู้ค้ามีความเสียหายประมาณ 1,500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีความเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากการทำสัญญาของ ร.ฟ.ท.ที่เข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย พ.ร.บ.ร่วมทุน
ด้านนายเกิดโชคกล่าวว่า เบื้องต้นทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะระดมที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่เรามีอยู่ ตรวจสอบสภาพความได้เปรียบเสียเปรียบของสัญญาก่อนและศึกษาผู้ค้าที่ไปกู้เงิน จากนั้นจึงจะจัดเวทีเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างคู่กรณี
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นายดุสิตพัฒน์ เสงี่ยมศักดิกร ตัวแทนกลุ่มผู้ค้าศูนย์การค้าอินสแควร์ พร้อมด้วยผู้ค้ากว่า30ราย เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมและขอให้ตรวจสอบสัญญาเช่าที่ดิน สัญญาสินเชื่อของโครงการศูนย์การค้าอินสแควร์ที่ส่อทุจริต ต่อนายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิฯ
สืบเนื่องจากตามที่บริษัท อินสแควร์ จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เจ.เจ.เซ็นเตอร์ จำกัด)ได้รับสิทธิการเช่าที่ดินย่านถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กทม. จำนวน 7.93ไร่ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตามสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารซึ่งมีกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2552 - 31 ส.ค. 2556 และตามสัญญาเช่าที่ดินเพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์โดยมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี โดยบริษัท อินสแควร์ จำกัด ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธนาคาร) เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารโครงการศูนย์การค้าอินสแควร์ โดยในการให้สินเชื่อแก่โครงการศูนย์การค้าแห่งนี้ ธนาคารได้ให้บริษัท อินสแควร์ จำกัด นำสิทธิการเช่าที่ดินที่ทำไว้กับ ร.ฟ.ท.และอาคารโครงการศูนย์การค้าดังกล่าววางไว้เป็นหลักประกัน
นายดุสิตพัฒน์กล่าวว่า สัญญาของ ร.ฟ.ท.ที่เซ็นไว้เมื่อเดือน ส.ค. 2552 จนถึงปัจจุบันนี้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาได้ครบ แม้ว่าสัญญาจะสิ้นสุดการก่อสร้างไปแล้ว แต่สิ่งที่ผู้ค้าสงสัยคือ ในการก่อสร้างทางธนาคารแจ้งว่าบริษัทที่ ก.ล.ต.รองรับได้ประเมินมูลค่าโครงการ คือ 2,000 ล้านบาท และธนาคารให้สินเชื่อ 1,700 ล้านบาทต่อ 79,000 ตารางเมตร ในขณะที่ ร.ฟ.ท.เขียนมูลค่าโครงการไว้ที่ 546 ล้านบาทต่อ 17,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ยังมีประเด็นในการสิ้นสุดสัญญาที่ ร.ฟ.ท.และทางธนาคารมีความเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีการฟ้องคดีและขอคุ้มครองชั่วคราวจากการเอาสิทธิการเช่ากับตัวอาคารไปผูกพันหนี้กับสถาบันการเงิน ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มผู้ค้ากว่า 700 รายเป็นห่วงที่สุดนอกเหนือจากสิทธิที่จะได้ตามสัญญา เพราะในวันที่ทำสัญญาผู้ค้าไม่ได้รับสัญญาซึ่งเป็นต้นตอสิทธิในการเช่า และตั้งข้อสงสัยอีกว่าสถานภาพทางสัญญาของผู้ค้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากต้องได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท.ซึ่งไม่มีรายใดได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท. นอกจากนี้ ในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามจะต้องมีลูกค้ามากกว่า 40% ของโครงการ คือ 1,000 ยูนิต มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท ถึงจะเบิกจ่ายเงินงวดแรกได้ ซึ่งในวันนี้มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1,700 ล้านบาท แต่ลูกค้าไม่ได้รับสถานะตรงนั้น จึงตั้งข้อสงสัยว่าลูกค้า 40% ที่ธนาคารปล่อยกู้ กับลูกค้าที่มาร้องในวันนี้คือชุดเดียวกันหรือไม่ เพราะวันนี้มีลูกค้าหลายรายได้ส่งเรื่องไปตรวจสอบที่ธนาคารอิสลาม โดยเฉพาะนางสมถวิล สุริยามาศ ผู้ซื้อรายแรกมูลค่าดว่า 38 ล้านบาท กลับไม่มีชื่อ
สำหรับกรณีนี้มีผู้ค้าที่ผูกพันตามสัญญาดังกล่าวมากกว่า 700 ราย ธนาคารมีความเสียหายกว่า 1,700 ล้านบาท ส่วนผู้ค้ามีความเสียหายประมาณ 1,500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีความเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากการทำสัญญาของ ร.ฟ.ท.ที่เข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย พ.ร.บ.ร่วมทุน
ด้านนายเกิดโชคกล่าวว่า เบื้องต้นทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะระดมที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่เรามีอยู่ ตรวจสอบสภาพความได้เปรียบเสียเปรียบของสัญญาก่อนและศึกษาผู้ค้าที่ไปกู้เงิน จากนั้นจึงจะจัดเวทีเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างคู่กรณี