xs
xsm
sm
md
lg

อุทธรณ์กลับยกฟ้อง “บก.ผู้จัดการ” ไม่หมิ่นฯ อดีตหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลอง

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 พิพากษาคดีแพ่ง ที่ “เก่งกาจ ศรีหาสาร” อดีตหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลอง เป็นโจทก์ยื่นฟ้องแพ่ง “บ.แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ปฯ” และ “บก.ขุนทอง” ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พิพากษากลับยกฟ้อง “บก.ขุนทอง” ไม่หมิ่นฯ เนื่องจาก พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ไม่ได้ระบุให้ บก.ต้องร่วมรับผิด ส่วน “บ.แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ปฯ” ศาลให้ตัดออกจากสารบบ

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2556 ศาลอุทธรณ์นัดอ่านคำพิพากษาคดีความแพ่ง คดีหมายเลขดำที่ 1961/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 11846/2556 ที่นายเก่งกาจ ศรีหาสาร เป็นโจทก์ฟ้องบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1 และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช เป็นจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า...

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์รับราชการมาตั้งแต่ปี 2523 กระทั่งเมื่อปี 2532 โจทก์ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 เป็นหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันโจทก์ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 8 (ขอนแก่น) จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ปัจจุบันจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งของศาลแพ่ง จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน รับผิดชอบในการจัดทำ ตรววจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันไขข่าวแพร่หลายโดยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ปี ที่ 18 ฉบับที่ 5280 (5278) หน้าที่ 1 หัวข้อข่าวกรมอุทยานสั่งยุบสำนักงานสนองงานฯ และหน้าที่ 4 หัวข้อข่าวย่อย ฝังผลสอบทุจริตป่าต้นน้ำแม่สลองออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“นอกจากนี้ นายเฉลิมศักดิ์ ยังมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีข้าราชการกรมป่าไม้อาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโรครงการตามพระราชดำริเป็นพันๆ ไร่ โดยการใช้วิธีออกโฉนดทับที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง จังหวัดเชียงใหม่แทนที่จะตั้งกรรมการสอบสวนชุดเดิมที่ถูกยุบทิ้งไปกลับมาสอบสวนใหม่ เพราะการสอบสวนเกือบเสร็จสิ้นแล้ว ขาดแต่เพียงการพิสูจน์แผนที่ทางอากาศเท่านั้นก็มาถูกยุบเสียก่อน”

“กรณีนี้มีมูลเหตุมาจากที่มีการจจับไม้เถื่อนในบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง กองอำนวยการรป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่า จึงทำการสืบสวนสอบสวนจนได้ความว่า มีข้าราชการกรมป่าไม้เดิมกลุ่มหนึ่งอาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโครงการตามพระราชดำริเป็นพันๆ ไร่ โดยการใช้วิธีการออกโฉนดทับพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลองซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่านอกเขตสงวน ไม่มีเอกสารสิทธิ”
“เมื่อออกโฉนดทับที่ป่าแล้ว บริษัท นายทุน ผู้ซื้อที่ป่าของรัฐก็ขออนุญาตตัดไม้ในพื้นที่สวนป่าทั้งสองแปลง การตัดไม้ทำลายป่าของกลุ่มบุคคลเหล่านี้จึงไม่ชอบด้วยกฏหมายประมาณ 3 พันไร่ เฉพาะบริเวณต้นน้ำแม่สลอง”

“ข้าราชการของกรมป่าไม้ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลองในขณะนั้น คือ นายเก่งกาจ ศรีหาสาร โดยเป็นผู้ชี้แนวเขตให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่แปลงปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง...“ข้อความดังกล่าวเมื่อประชาชนทั่วไปได้อ่านจะเข้าใจได้ว่า โจทก์ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลองอาศัยอำนาจหน้าที่โดยมิชอบตัดไม้ทำลายป่าและสนับสนุนนายทุนให้ตัดไม้ทำลายป่าโดยโจทก์เป็นผู้นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่แปลงปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ เมื่อมีการออกโฉนดแล้วจะมีนายทุนมาซื้อพื้นที่ป่าและตัดไม้ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าโจทก์เป็นข้าราชการมีหน้าที่ดูแลรักษาป่ากระทำผิดกฏหมายเสียเองทำให้ารัฐได้รับความเสียหาย ซึ่งความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้กระทำการดังกล่าวและไม่เคยถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังร่วมกันไขข่าวแพร่หลายโดยการลงพิมพ์ข้อความลงในหนังสือพิมพ์อีกว่า “...ส่วนนายเก่งกาจ ได้เป็นข้าราชการซี 8 ภายในเวลา 5 เดือน และเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาก่อกวนการจจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่มสวนลุมพินี ซึ่งมีการจุดประทัดขนาดใหญ่ ทำให้ประชาชนที่มาเข้ารับชมรายการได้รับบาดเจ็บ...” ข้อความดังกล่าวเมื่อประชาชนได้อ่านจะเข้าใจได้ว่าโจทก์กระทำการข้างต้นแล้วโจทก์จะได้รับความดีความชอบโดยการได้เลื่อนขั้นเป็นข้าราชการซี 8 ภายในาระยะเวลา 5 เดือน และโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่เคารพกฎหมายเพราะเป็นคนพาเจ้าหน้าที่กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชมาก่อกวนการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล และเป็นผู้จุดประทัดให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งความเป็นจริงโจทก์ได้รับการเลื่อนขั้นตามระเบียบของทางราชการ และไม่เคยนำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชมาก่อกวนการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรและจุดประทัดยักษ์แต่อย่างใด การนำเรื่องดังกล่าวมาใส่ความโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองมีอาชีพเป็นสื่อมวลชนควรจะตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาให้ได้ข้อมูลความจริงเสียก่อนที่จะตีพิมพ์ลงโฆษณาข้อความดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันละเมิดโจทก์ทำให้โจทก์ไดก้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์ ขอคิดเป็นค่าเสียหาย 5,000,000 บาท และขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันชำระเงินจำนวน 5,000,000 บาท พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้อง

และขอให้จำเลยร่วมมกันลงคำขอขมาต่อโจทก์ลงในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการรายวัน แนวหน้า คมชัดลึก มติชน สยามรัฐ บางกอกโพสต์ และกรุงเทพธุรกิจเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ระหว่างการพิจารณา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงว่าไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 1 ขอให้สาลจำหน่ายนคดีออกจากสารบบ ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้จัดทำ ตรวจแก้ หรือคัดเลือกข่าวเกี่สยวกับโจทก์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 แต่ประการใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นผู้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงของโจทก์จนเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ อีกทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้รู้มาก่อนว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่เป็นความจริง เนื่องจากข้อความดังกล่าวเป็นข่าวที่เกิดขึ้นจริง มีคำสั่งตตั้งครณะกรรมการตรวจสอบโจทก์จริงซึ่งผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ผุ้นจัดการรายวันเป็นผู้นำข้อความไปลงพิมพ์โดยไม่เคยแจ้งให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบหรือให้จำเลยที่ 2 ตรวจสอบข่าวดังกล่าวก่อนลงพิมพ์

ทั้งข่าวดังกล่าวมีข้อความที่ช่วยให้ประชาชนทราบถึงพฤติการณ์ของผู้ทำลายป่าและมีเพียงข้อความว่าโจทก์เป็นข้าราชการกรมป่าไม้ในขณะนั้นเท่านั้น ไม่มีข้อความใดยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้จัดให้มีการทำลายป่า

ส่วนข้อความที่ระบุว่าโจทก์เป็นผู้นำเจ้ามหน้าที่กรมอุทยานฯมาก่อกวนการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรของสนายมสนธิ ลิ้มทองกุล นั้่นเป็นข้อเท็จจริงที่หนังสือพิมพ์ผู้นจัดการรายวันนำมาลงข่าวตามคำกล่าวยของสนายสนธิเท่านั้น ซึ่งขณะที่ลงข่าวยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 อีกด้วย เพราะ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ดังกล่าวถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2550 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแก่โจทก์ จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 2 คัดย่อคำพิพากษาพอเข้าใจได้ในใหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชน เป็นเวลา 5 วันติดต่อกันโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย พร้อมกับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยคิดค่าทนายความ 8,000 บาท

โจทก์และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว ข้อเท็นจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า โจทก์รับราชการมาตั้งแต่ปี 2523 เมื่อปี 2532 ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 เป็นหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่มสลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสังกัดกรมป่าไม้ขณะฟ้อง คดีนี้โจทก์ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น) ซึ่งได้มีการสืบพยานในศาลอาญาชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องขอ้หาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ต่อมาศาลจังหวัดเชียงรายมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 4950/2552 ยกฟ้อง คดีโจทก์ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ปล.1 (ศาลจังหวัดเชียงราย) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา ม.328 ปรับจำเลยเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฏหมายอาญา ม.29 ให้จำเลยที่ 1 คัดลอกคำพิพากษาย่อได้ใจความลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 5 วันติดต่อกัน คำขออื่นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามสำเนาคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เอกสารท้ายคำร้องขของโจทก์ลงวันที่ 27 มกราคม 2554
พิเคราะห์แล้วเห็นว่ามูลฟ้องในคดีนี้และมูลฟ้องในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4950/2552 ของศาลจังหวัดเชียงรายเป็นมูลฟ้องในกรณีเดียวกัน ดังนั้นคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4950/2552 ของศาลจังหวัดเชียงราย เนื่องจากจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้มาด้วยว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหมายเลยขแดงที่ 4950/2552 ของศาลจังหวัดเชียงราย ให้พิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นส่วนแพ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงไปตามคำพิพากษาคดีในส่วนความอาญา
ดังนี้ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ข้อนี้ก่อนโดยเห็นว่าคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4950/2552 ของศาลจังหวัดเชียงรายได้วินิจฉัยคดีว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เขียนข้อความหรือมีส่วนใช้ให้ผู้เขียนข้อความดังกล่าวอย่างไร พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจึงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์โดยจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการซึ่งไม่มีกฏหมายบัญญัติให้เจ้าของหนังสือพิมพ์และบรรณาธิการต้องรับผิดชอบข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสสือพิมพ์ที่ตนเป็นเจ้าของหรือบรรณาธิการ

การที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการจึงยังไม่มีน้ำหนักฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และ 2 ได้ จำเลยที่ 1 และ 2 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา ม.326 ม.328 ซึ่งแสดงชัดว่าศาลจังหวัดเชียงราย รับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการการะทำความผิดด้วย และต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา ม.328 ให้ปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงินนจำนวน 100,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับ ให้จำเลยที่ 1 ตีคำพิพากษาข้อความที่พอเข้าใจได้ลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ม.2 วรรค 2 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 เห็นพ้องด้วย คดีนี้ต้องห้ามฏีกาตามประมววลกฏหมายอาญา ม.220 ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นในส่วนแพ่งศาลจึงต้องรับฟังไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนคดีอาญาตามประมวลกฏหมาสยวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46 กล่าวคือศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมมกระทำความผิดหมิ่นประมาทโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง การที่คดีนี้ศาลชั้่นต้นไปรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนคดีอาญา จึงไม่ชอบตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.46 ที่ศาลชั้่นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วกรณีนี้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และอุทธรณ์ในขออื่นของจำเลยที่ 2 อีกต่อไป

พิพากษากลับให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ค่าธรรมเนียมฤชาทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้มีการเขียนโดยลายมือกำกับว่า นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ โจทก์ ทนายโจทก์ ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 2 มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1 ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้ว

แจ้งการอ่าน

จดอ่าน

โจทก์/ทนายโจทก์/ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 2 (ลงลายมือกำกับท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์)
กำลังโหลดความคิดเห็น