ดีเอสไอจ่อขอหมายจับ 5 ผู้ต้องหาคดีโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม 4,600 ล้านบาท
ที่กระทรวงยุติธรรม เมื่อเวลา 15.50 น. วันที่ 1 สิงหาคม นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวภายหลังประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมว่า กระทรวงมีนโยบายทำงานเชิงรุกในหลายมิติ เช่น การป้องกันและปราบปรามผู้มิทธิพลซึ่งมีพฤติการณืเป็นมาเฟียคุกคามการท่องเที่ยว โดยมีมติให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการณ์ร่วมเพื่อป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่เป็นภัยกับการท่องเที่ยว หรือ ศป.อท. นอกจากนี้ มีเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยเฉพาะการทุจริตขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 4,600 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะเร่งรัดการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ซึ่งรูปแบบกระทำความผิดเป็นขบวนการมี การวางแผนแบ่งงานกันทำอย่างเป็นขั้นตอนอย่างซับซ้อนและแยบยล และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำลายระบบภาษีอากร
ด้านนายธาริตกล่าวว่า จากการสืบสวนสอบสวน พบว่ากลุ่มคนร้ายสำแดงว่าส่งโลหะอัดก้อนพิเศษ (เหล็ก) พิกัด 7206.9 ในราคากิโลกรัมละ 628-630 บาท จำนวนกว่า 100,000 ตัน มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท แต่เป็นการส่งออเศษเหล็กอัดก้อนมีสนิมที่สำคัญกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่าระเทศไทยมีกำลังการผลิตเหล็กน้อย สถิติการส่งออกตั้งแต่ปี 2550-2554 มีเพียง 1,500 ตันเท่านั้น จึงเป็นไม่ได้ที่จะมีการส่งออกเพียงปีเดียว 100,000 ตัน พยานหลักฐานเบื้องต้นพบว่า กลุ่มบุคคลผู้กระทำผิด ได้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นหลายบริษัทในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ โดยการเชิดบุคคลอื่นเข้ามาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ มีนายกิติตศักดิ์ อัญญโชติ เป็นผู้ติดต่อรวบรวมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดซึ่งมีฐานะยากจน และมีรายได้น้อย ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ตาก และนครสวรรค์ โดยให้ค่าตอบแทนรายละ 200 บาท อ้างว่าจะนำไปติดต่อเกี่ยวกับการเปิดบริษัทหรือเกี่ยวกับสิทธิทางการเกษตร จากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะนำเอกสารหลักฐานไปจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล มีทั้งกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ขายสินค้าและกลุ่มนิติบุคค ที่ขอคืนภาษี
นายธาริตกล่าวอีกว่า ศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด 5 ราย คือ 1. นายวีรยุทธ แซ่หลก หรือ นายธนยุทธ ดลธนโกเศศ 2. น.ส.สายธาร แซ่หลก 3. นายวีรยุทธ นายสุรเชษฐ์ มหารำลึก 4. นายประสิทธิ์ อัญญโชติ และ 5. นายกิตติศักดิ์ อัญญโชติ ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้ส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่รัฐ 24 ราย ซึ่งมีมูลว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่กระทรวงยุติธรรม เมื่อเวลา 15.50 น. วันที่ 1 สิงหาคม นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวภายหลังประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมว่า กระทรวงมีนโยบายทำงานเชิงรุกในหลายมิติ เช่น การป้องกันและปราบปรามผู้มิทธิพลซึ่งมีพฤติการณืเป็นมาเฟียคุกคามการท่องเที่ยว โดยมีมติให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการณ์ร่วมเพื่อป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่เป็นภัยกับการท่องเที่ยว หรือ ศป.อท. นอกจากนี้ มีเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยเฉพาะการทุจริตขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 4,600 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะเร่งรัดการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ซึ่งรูปแบบกระทำความผิดเป็นขบวนการมี การวางแผนแบ่งงานกันทำอย่างเป็นขั้นตอนอย่างซับซ้อนและแยบยล และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำลายระบบภาษีอากร
ด้านนายธาริตกล่าวว่า จากการสืบสวนสอบสวน พบว่ากลุ่มคนร้ายสำแดงว่าส่งโลหะอัดก้อนพิเศษ (เหล็ก) พิกัด 7206.9 ในราคากิโลกรัมละ 628-630 บาท จำนวนกว่า 100,000 ตัน มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท แต่เป็นการส่งออเศษเหล็กอัดก้อนมีสนิมที่สำคัญกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่าระเทศไทยมีกำลังการผลิตเหล็กน้อย สถิติการส่งออกตั้งแต่ปี 2550-2554 มีเพียง 1,500 ตันเท่านั้น จึงเป็นไม่ได้ที่จะมีการส่งออกเพียงปีเดียว 100,000 ตัน พยานหลักฐานเบื้องต้นพบว่า กลุ่มบุคคลผู้กระทำผิด ได้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นหลายบริษัทในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ โดยการเชิดบุคคลอื่นเข้ามาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ มีนายกิติตศักดิ์ อัญญโชติ เป็นผู้ติดต่อรวบรวมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดซึ่งมีฐานะยากจน และมีรายได้น้อย ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ตาก และนครสวรรค์ โดยให้ค่าตอบแทนรายละ 200 บาท อ้างว่าจะนำไปติดต่อเกี่ยวกับการเปิดบริษัทหรือเกี่ยวกับสิทธิทางการเกษตร จากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะนำเอกสารหลักฐานไปจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล มีทั้งกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ขายสินค้าและกลุ่มนิติบุคค ที่ขอคืนภาษี
นายธาริตกล่าวอีกว่า ศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด 5 ราย คือ 1. นายวีรยุทธ แซ่หลก หรือ นายธนยุทธ ดลธนโกเศศ 2. น.ส.สายธาร แซ่หลก 3. นายวีรยุทธ นายสุรเชษฐ์ มหารำลึก 4. นายประสิทธิ์ อัญญโชติ และ 5. นายกิตติศักดิ์ อัญญโชติ ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้ส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่รัฐ 24 ราย ซึ่งมีมูลว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม