โฆษก ตร.แจงไม่ใช้ พ.ร.บ.มั่นคงคุมม็อบ กวป. ชี้ไม่ให้ราคาเป็นเป็นกลุ่มใหม่มวลชนไม่มาก
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) วันนี้ (7 พ.ค.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. กล่าวถึงกรณีกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) นัดชุมนุมใหญ่เพื่อกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกในวันที่ 8 พ.ค.โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามสถานที่ต่างๆ ว่า ในช่วงเช้าวันนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้เรียกประชุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ โดยทางสันติบาลได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางการข่าวแล้ว ยังไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องประกาศ พ.ร.บ.รักษาความสงบฯ เนื่องจากวัตถุประสงค์การชุมนุมครั้งนี้แกนนำกลุ่มสื่อวิทยุฯ แจ้งว่าต้องการให้ตุลาการศาลรัฐธรรมลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มาทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเลือกตั้ง รวมถึงการเคลื่อนขบวนไปสถานที่ต่างๆ ก็เพื่อยื่นหนังสือให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ์ตามขั้นตอนและกระบวนการของรัฐธรรมนูญ
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กลุ่มสื่อวิทยุฯ ยังเป็นกลุ่มใหม่ มีมวลชนไม่มาก โดยการชุมนุม 15 วันที่ผ่านมามีผู้ชุมนุมเพียง 500 คนเศษ ยังไม่ปรากฏเหตุรุนแรง และทางแกนนำได้ประกาศว่าหากในเวลา 14.00 น. วันพรุ่งนี้มีผู้มาร่วมชุมนุมไม่ถึง 1 แสนคนจะยุติการชุมนุม ซึ่งการข่าวของสันติบาลได้ประเมินแล้วจะมีผู้มาร่วมชุมนุมไม่ถึง 1 แสนคน โดยไม่มีกลุ่มร่วมอื่นเข้าร่วมด้วย จึงมั่นใจว่าแผนการดูแลรักษาความปลอดภัยตามปกติ หรือการใช้กฎหมายพิจารณาคดีความอาญา ควบคู่กับแผนกรกฎ 52 สามารถดูสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจากการข่าวจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม แต่ พล.ต.อ.อดุลย์ก็ได้สั่งกำชับไปยังทุกหน่วย โดยเฉพาะกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่เป็นหน่วยหลักให้คอยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นาทีต่อนาที เพื่อความไม่ประมาท เบื้องต้นได้รับรายงานว่าจะใช้กำลัง 18 กองร้อย เข้ามาควบคุมสถานการณ์ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรดูแลตลอดเส้นทางการเคลื่อนขบวน
“การใช้กฎหมายเพื่อควบคุมดูแลการชุมนุม มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยจะต้องพิจารณาสถานการณ์เพื่อใช้กฎหมายอย่างรอบคอบ จากเบาไปหาหนัก ซึ่งการยกระดับใช้ พ.ร.บ.รักษาความสงบเรียบร้อยในราชอาณาจักรจะต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1. ปรากฏเหตุที่กระทบความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และสถานการณ์อาจเป็นภัยเกิดความไม่สงบสุข 2. เหตุรุนแรงมีแนวโน้มที่ยืดเยื้อ และ 3. การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง ดังนั้น การใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามขั้นตอนไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาเรียกร้องให้ใช้กฎหมายเท่านั้น ในกรณีการชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ ยังไม่เข้าเงื่อนไขการชุมนุมที่ยืดเยื้อ รุนแรง และกระทบความมั่นคงของประเทศ แตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และการชุมนุมมีวัตถุประสงค์ให้รัฐบาลลาออก หรือแช่แข็งประเทศ ให้คนใหม่เข้ามาบริหาร อีกทั้งกลุ่มที่เข้าร่วมชุมนุมเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยมาร่วมชุมนุมจนเกิดเหตุรุนแรง มีการปิดล้อมสถานที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่อาจก่อให้การเกิดสร้างสถานการณ์ของกลุ่มต่างๆ และขยายผลให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งกฎหมายปกติไม่สามารถควบคุมได้” โฆษก ตร.กล่าว
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวด้วยว่า นอกจากการชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ แล้ว ยังมีการชุมนุมของกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย บริเวณสนามชัยใกล้วังสราญรมย์ ในพื้นที่ บกน.6 ประมาณ 700คน และกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือคีมูฟ บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล คาดจะสลายการชุมนุมภายใน 3-4วันนี้ โดยไม่มีเหตุรุนแรง
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่ขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 พฤษภาคม ว่าสายวันนี้ตนจะประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ยังไม่มีอะไรน่าห่วง หลังการประชุม พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร.จะแถลงอีกครั้งในช่วงบ่าย
เมื่อถามว่ามีการตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เช่นเดียวกับกรณีการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ผบ.ตร.กล่าวว่า การจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งกรณีองค์การพิทักษ์สยามนั้นก่อนจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงก็มีการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ครั้งนั้นเพราะท่าทีของม็อบมีความรุนแรง มีการประกาศพูดถึงจำนวนคนที่จะมาร่วมเป็นล้านคน ซึ่งเหตุที่ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงจริงๆ เพราะเราพบประเด็นบางอย่างที่จะใช้ความรุนแรง จึงใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในตอนนั้น ทั้งนี้ การออกประกาศต่างๆ มีขั้นตอน การประเมินผลที่ชัดเจน เมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็ยกเลิก การจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงต้องรอบคอบ ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้จะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง แต่จากการติดตามข่าวมาตลอดยังไม่น่าเป็นห่วง ไม่น่ามีอะไรมาก แต่เราก็ไม่ประมาท การระดม การใช้กำลังเป็นขั้นๆ ทุกอย่างมีเหตุผล หลักคือสามารถคุมสถานการณ์ให้ได้ตามกฎหมาย โดยตามกฎหมายผู้บัญชาการตำรวจนครบาลจะเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เมื่อขึ้นมาระดับ ตร.ตนก็เป็นผู้ควบคุมเอง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) วันนี้ (7 พ.ค.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. กล่าวถึงกรณีกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) นัดชุมนุมใหญ่เพื่อกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกในวันที่ 8 พ.ค.โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามสถานที่ต่างๆ ว่า ในช่วงเช้าวันนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้เรียกประชุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ โดยทางสันติบาลได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางการข่าวแล้ว ยังไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องประกาศ พ.ร.บ.รักษาความสงบฯ เนื่องจากวัตถุประสงค์การชุมนุมครั้งนี้แกนนำกลุ่มสื่อวิทยุฯ แจ้งว่าต้องการให้ตุลาการศาลรัฐธรรมลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มาทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเลือกตั้ง รวมถึงการเคลื่อนขบวนไปสถานที่ต่างๆ ก็เพื่อยื่นหนังสือให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ์ตามขั้นตอนและกระบวนการของรัฐธรรมนูญ
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กลุ่มสื่อวิทยุฯ ยังเป็นกลุ่มใหม่ มีมวลชนไม่มาก โดยการชุมนุม 15 วันที่ผ่านมามีผู้ชุมนุมเพียง 500 คนเศษ ยังไม่ปรากฏเหตุรุนแรง และทางแกนนำได้ประกาศว่าหากในเวลา 14.00 น. วันพรุ่งนี้มีผู้มาร่วมชุมนุมไม่ถึง 1 แสนคนจะยุติการชุมนุม ซึ่งการข่าวของสันติบาลได้ประเมินแล้วจะมีผู้มาร่วมชุมนุมไม่ถึง 1 แสนคน โดยไม่มีกลุ่มร่วมอื่นเข้าร่วมด้วย จึงมั่นใจว่าแผนการดูแลรักษาความปลอดภัยตามปกติ หรือการใช้กฎหมายพิจารณาคดีความอาญา ควบคู่กับแผนกรกฎ 52 สามารถดูสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจากการข่าวจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม แต่ พล.ต.อ.อดุลย์ก็ได้สั่งกำชับไปยังทุกหน่วย โดยเฉพาะกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่เป็นหน่วยหลักให้คอยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นาทีต่อนาที เพื่อความไม่ประมาท เบื้องต้นได้รับรายงานว่าจะใช้กำลัง 18 กองร้อย เข้ามาควบคุมสถานการณ์ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรดูแลตลอดเส้นทางการเคลื่อนขบวน
“การใช้กฎหมายเพื่อควบคุมดูแลการชุมนุม มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยจะต้องพิจารณาสถานการณ์เพื่อใช้กฎหมายอย่างรอบคอบ จากเบาไปหาหนัก ซึ่งการยกระดับใช้ พ.ร.บ.รักษาความสงบเรียบร้อยในราชอาณาจักรจะต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1. ปรากฏเหตุที่กระทบความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และสถานการณ์อาจเป็นภัยเกิดความไม่สงบสุข 2. เหตุรุนแรงมีแนวโน้มที่ยืดเยื้อ และ 3. การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง ดังนั้น การใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามขั้นตอนไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาเรียกร้องให้ใช้กฎหมายเท่านั้น ในกรณีการชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ ยังไม่เข้าเงื่อนไขการชุมนุมที่ยืดเยื้อ รุนแรง และกระทบความมั่นคงของประเทศ แตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และการชุมนุมมีวัตถุประสงค์ให้รัฐบาลลาออก หรือแช่แข็งประเทศ ให้คนใหม่เข้ามาบริหาร อีกทั้งกลุ่มที่เข้าร่วมชุมนุมเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยมาร่วมชุมนุมจนเกิดเหตุรุนแรง มีการปิดล้อมสถานที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่อาจก่อให้การเกิดสร้างสถานการณ์ของกลุ่มต่างๆ และขยายผลให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งกฎหมายปกติไม่สามารถควบคุมได้” โฆษก ตร.กล่าว
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวด้วยว่า นอกจากการชุมนุมของกลุ่มสื่อวิทยุฯ แล้ว ยังมีการชุมนุมของกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย บริเวณสนามชัยใกล้วังสราญรมย์ ในพื้นที่ บกน.6 ประมาณ 700คน และกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือคีมูฟ บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล คาดจะสลายการชุมนุมภายใน 3-4วันนี้ โดยไม่มีเหตุรุนแรง
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่ขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 พฤษภาคม ว่าสายวันนี้ตนจะประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ยังไม่มีอะไรน่าห่วง หลังการประชุม พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร.จะแถลงอีกครั้งในช่วงบ่าย
เมื่อถามว่ามีการตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เช่นเดียวกับกรณีการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ผบ.ตร.กล่าวว่า การจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งกรณีองค์การพิทักษ์สยามนั้นก่อนจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงก็มีการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ครั้งนั้นเพราะท่าทีของม็อบมีความรุนแรง มีการประกาศพูดถึงจำนวนคนที่จะมาร่วมเป็นล้านคน ซึ่งเหตุที่ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงจริงๆ เพราะเราพบประเด็นบางอย่างที่จะใช้ความรุนแรง จึงใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในตอนนั้น ทั้งนี้ การออกประกาศต่างๆ มีขั้นตอน การประเมินผลที่ชัดเจน เมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็ยกเลิก การจะใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงต้องรอบคอบ ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้จะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง แต่จากการติดตามข่าวมาตลอดยังไม่น่าเป็นห่วง ไม่น่ามีอะไรมาก แต่เราก็ไม่ประมาท การระดม การใช้กำลังเป็นขั้นๆ ทุกอย่างมีเหตุผล หลักคือสามารถคุมสถานการณ์ให้ได้ตามกฎหมาย โดยตามกฎหมายผู้บัญชาการตำรวจนครบาลจะเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เมื่อขึ้นมาระดับ ตร.ตนก็เป็นผู้ควบคุมเอง