ในขณะที่ผมกำลังนั่งขำกับการดูคลิปวีดีโอ กังนัมสไตล์ อยู่นั้น ใจก็หวนไปคิดถึงเพื่อนเก่าคนหนึ่งที่มีบุคลิกเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเช่นกันและจำคลับคล้ายคลับคลาได้ว่า... วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของเขา ผมจึงไม่รอช้า รีบออกไปหาซื้อแพนเค้กซึ่งเป็นของโปรดของเพื่อนผมที่ร้านเค้กเจ้าประจำ หวังจะทำเซอร์ไพรส์เจ้าของวันเกิดที่ไม่ได้เจอกันมานาน
จะว่าไปแล้ว... ร้านเค้กเจ้าประจำร้านนี้เป็นร้านเก่าแก่ที่ผมรู้จักมานาน ถึงแม้ว่าร้านจะไม่ใหม่เหมือนร้านเค้กเจ้าอื่นๆ แต่เมื่อนำฝีมือการทำเค้กมาผนวกกับการจัดร้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูสะอาดตา ก็ได้ใจผมไปเลยครับ ! แต่กว่าจะมาเป็นร้านเค้กที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นเช่นนี้ได้ เจ้าของร้านก็จะต้องดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องและประกอบกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยครับ
หลังจากที่ผมแวะซื้อแพนเค้กและทักทายกับคุณป้าเจ้าของร้านเสร็จแล้ว ก็ขับรถมุ่งหน้าต่อไปยังบ้านเพื่อน ในระหว่างทางผมก็นึกไปถึงคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการเปิดกิจการร้านเค้กคดีหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจผลิตเค้ก รวมทั้งผู้ที่ชอบทานขนมเค้กในการที่จะดูว่าเค้กร้านไหนเป็นเค้กที่ผลิตโดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยครับ…
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ก็คือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต และกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกำหนดให้อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภคที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก และสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน คือใช้เครื่องจักรกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า และมีคนงานน้อยกว่า 7 คน ต้องขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงานและต้องมีเลขสารบบอาหารที่ฉลากอาหารด้วย
ป้าจิ๊เป็นผู้หนึ่งที่ชอบทานแพนเค้กและเค้กเกือบทุกชนิด และมีความฝันที่จะมีกิจการร้านเค้กเป็นของตัวเอง จึงได้ไปยื่นคำขอต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อขอรับเลขสารบบอาหารและขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงานตามข้อกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้กำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขอดังกล่าวไว้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารจริง และตรวจสอบตามรายการที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหาร (GHP) หรือสุขลักษณะที่ดีในการผลิต รวม 6 ประการ คือ 1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3. การควบคุมกระบวนการผลิต 4. การสุขาภิบาล 5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 6.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในแต่ละรายการจะมีการกำหนดรายละเอียดในการตรวจสอบไว้
เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบร้านเค้กของป้าจิ๊ครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ป้าจิ๊แก้ไขบริเวณผลิต (ตีไข่) ซึ่งพบสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต เช่น ขวดน้ำ ทัพเพอร์แวร์ บานกระจกที่แตก ลังหนังสือ ถุงยา จึงแนะนำให้จัดเก็บสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกไป และให้จัดหาที่วางรองเท้าให้เหมาะสม ป้าจิ๊จึงรีบดำเนินการแก้ไขและแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอีกครั้ง
ในการตรวจสอบครั้งที่สอง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ป้าจิ๊เก็บสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกให้หมด รวมทั้งห้ามนำรถมาจอดในสถานที่ผลิตด้วย ป้าจิ๊จึงดำเนินการแก้ไขและต่อมาได้นัดให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอีกเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งนี้ป้าจิ๊หวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย...แต่ผลกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขเพิ่มเติมอีก 4 รายการ คือ 1. ให้เก็บสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออก เช่น ผ้ายางปูรถ ลังขวดน้ำอัดลม 2. ปรับปรุงฝาผนังให้เรียบร้อย 3.เปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบมีฝาครอบ และ 4. ให้ใส่หมวกและผ้ากันเปื้อนทุกครั้งที่ผลิตขนมเค้ก
คราวนี้ป้าจิ๊เกินจะทนไหว... จึงโทรศัพท์ไปร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดว่าตนได้ยื่นคำขอเลขสารบบอาหารไว้แล้วแต่สถานที่ผลิตยังไม่ผ่านการตรวจสอบเสียที ไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่มีเจตนาอะไรแอบแฝงหรือไม่ ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้คืนเอกสารคำขอให้ป้าจิ๊ โดยให้เหตุผลว่าป้าจิ๊ยังไม่ได้ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และหากได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องแล้วค่อยมายื่นคำขอใหม่
ป้าจิ๊เห็นว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นการสร้างภาระแก่ป้าจิ๊เกินสมควร เนื่องจากไม่แจ้งให้มีการแก้ไขในคราวเดียว โดยทุกครั้งที่ตรวจสอบก็จะแจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขเพิ่มเติมในรายการอื่นๆ ใหม่ทุกครั้ง ป้าจิ๊จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าการที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดี) สั่งคืน
คำขอของป้าจิ๊ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้พิจารณาคำขอดังกล่าวใหม่
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านได้วินิจฉัยว่า แม้ข้อแนะนำที่ทางเจ้าหน้าที่แจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขนั้น เป็นการแนะนำที่มีสาระสำคัญเพื่อให้มีการผลิตอาหารที่สะอาด มีสุขลักษณะที่ดีและเป็นการปลอดภัยต่อผู้บริโภคก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบตามรายการในหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหาร (GHP) กล่าวคือ เมื่อพบข้อบกพร่องใดที่ไม่เป็นไปตามรายการดังกล่าว ก็สมควรแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและแก้ไขในคราวเดียว โดยมอบใบรายการตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ตรวจสอบให้ผู้ยื่นคำขอเก็บไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องในคราวเดียวด้วย ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่มาตรวจซ้ำอีกก็จะตรวจสอบได้ง่าย โดยหากผู้ยื่นคำขอไม่มีการแก้ไขจึงมีคำสั่งไม่อนุญาตต่อไป ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดกรณีการตรวจสอบหลายครั้งและแนะนำข้อแก้ไขที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง อันจะก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีนี้
การที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสถานที่หลายครั้งและแนะนำให้แก้ไขข้อบกพร่องในรายการที่แตกต่างกัน จึงเป็นการตรวจสอบที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งยังเป็นการสร้างภาระให้เกิดแก่ผู้ยื่นคำขอเกินสมควร เมื่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาตตามคำขอไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารของผู้ฟ้องคดีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหารให้ครบถ้วนในคราวเดียว และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบภายใน 30 วัน (คดีหมายเลขแดงที่ อ.475/2553)
คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับป้าจิ๊แล้วล่ะครับ... ถ้าป้าจิ๊จัดการร้านให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ก็จะได้รับอนุญาตตามคำขอภายใน 30 วัน ที่สำคัญคดีนี้ศาลท่านได้วางหลักในการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหาร รวมทั้งกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะและทำนองเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย
ในส่วนภารกิจเซอร์ไพรส์วันเกิดเพื่อนเก่าของผมนั้น... ทันทีที่ผมยื่นแพนเค้กพร้อมกับฮัมเพลง “Happy Birthday to you ” ผมกลับได้รับการเซอร์ไพรส์ด้วยประโยคที่ว่า “ครองธรรม ผมว่าคุณเอาแพนเค้กมาให้ผมล่าช้าเกินสมควรไปหนึ่งเดือนแล้วล่ะ” ว่าแล้วก็หยิบแพนเค้กไปรับประทานพร้อมกับเต้นท่ากังนัมสไตล์ล้อเลียนผมซะอย่างนั้น...
ครองธรรม ธรรมรัฐ
จะว่าไปแล้ว... ร้านเค้กเจ้าประจำร้านนี้เป็นร้านเก่าแก่ที่ผมรู้จักมานาน ถึงแม้ว่าร้านจะไม่ใหม่เหมือนร้านเค้กเจ้าอื่นๆ แต่เมื่อนำฝีมือการทำเค้กมาผนวกกับการจัดร้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูสะอาดตา ก็ได้ใจผมไปเลยครับ ! แต่กว่าจะมาเป็นร้านเค้กที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นเช่นนี้ได้ เจ้าของร้านก็จะต้องดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องและประกอบกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยครับ
หลังจากที่ผมแวะซื้อแพนเค้กและทักทายกับคุณป้าเจ้าของร้านเสร็จแล้ว ก็ขับรถมุ่งหน้าต่อไปยังบ้านเพื่อน ในระหว่างทางผมก็นึกไปถึงคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการเปิดกิจการร้านเค้กคดีหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจผลิตเค้ก รวมทั้งผู้ที่ชอบทานขนมเค้กในการที่จะดูว่าเค้กร้านไหนเป็นเค้กที่ผลิตโดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยครับ…
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ก็คือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต และกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกำหนดให้อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภคที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก และสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน คือใช้เครื่องจักรกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า และมีคนงานน้อยกว่า 7 คน ต้องขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงานและต้องมีเลขสารบบอาหารที่ฉลากอาหารด้วย
ป้าจิ๊เป็นผู้หนึ่งที่ชอบทานแพนเค้กและเค้กเกือบทุกชนิด และมีความฝันที่จะมีกิจการร้านเค้กเป็นของตัวเอง จึงได้ไปยื่นคำขอต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อขอรับเลขสารบบอาหารและขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงานตามข้อกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้กำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขอดังกล่าวไว้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารจริง และตรวจสอบตามรายการที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหาร (GHP) หรือสุขลักษณะที่ดีในการผลิต รวม 6 ประการ คือ 1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3. การควบคุมกระบวนการผลิต 4. การสุขาภิบาล 5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 6.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในแต่ละรายการจะมีการกำหนดรายละเอียดในการตรวจสอบไว้
เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบร้านเค้กของป้าจิ๊ครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ป้าจิ๊แก้ไขบริเวณผลิต (ตีไข่) ซึ่งพบสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต เช่น ขวดน้ำ ทัพเพอร์แวร์ บานกระจกที่แตก ลังหนังสือ ถุงยา จึงแนะนำให้จัดเก็บสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกไป และให้จัดหาที่วางรองเท้าให้เหมาะสม ป้าจิ๊จึงรีบดำเนินการแก้ไขและแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอีกครั้ง
ในการตรวจสอบครั้งที่สอง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ป้าจิ๊เก็บสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกให้หมด รวมทั้งห้ามนำรถมาจอดในสถานที่ผลิตด้วย ป้าจิ๊จึงดำเนินการแก้ไขและต่อมาได้นัดให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอีกเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งนี้ป้าจิ๊หวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย...แต่ผลกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขเพิ่มเติมอีก 4 รายการ คือ 1. ให้เก็บสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออก เช่น ผ้ายางปูรถ ลังขวดน้ำอัดลม 2. ปรับปรุงฝาผนังให้เรียบร้อย 3.เปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบมีฝาครอบ และ 4. ให้ใส่หมวกและผ้ากันเปื้อนทุกครั้งที่ผลิตขนมเค้ก
คราวนี้ป้าจิ๊เกินจะทนไหว... จึงโทรศัพท์ไปร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดว่าตนได้ยื่นคำขอเลขสารบบอาหารไว้แล้วแต่สถานที่ผลิตยังไม่ผ่านการตรวจสอบเสียที ไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่มีเจตนาอะไรแอบแฝงหรือไม่ ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้คืนเอกสารคำขอให้ป้าจิ๊ โดยให้เหตุผลว่าป้าจิ๊ยังไม่ได้ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และหากได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องแล้วค่อยมายื่นคำขอใหม่
ป้าจิ๊เห็นว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นการสร้างภาระแก่ป้าจิ๊เกินสมควร เนื่องจากไม่แจ้งให้มีการแก้ไขในคราวเดียว โดยทุกครั้งที่ตรวจสอบก็จะแจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขเพิ่มเติมในรายการอื่นๆ ใหม่ทุกครั้ง ป้าจิ๊จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าการที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดี) สั่งคืน
คำขอของป้าจิ๊ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้พิจารณาคำขอดังกล่าวใหม่
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านได้วินิจฉัยว่า แม้ข้อแนะนำที่ทางเจ้าหน้าที่แจ้งให้ป้าจิ๊แก้ไขนั้น เป็นการแนะนำที่มีสาระสำคัญเพื่อให้มีการผลิตอาหารที่สะอาด มีสุขลักษณะที่ดีและเป็นการปลอดภัยต่อผู้บริโภคก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบตามรายการในหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหาร (GHP) กล่าวคือ เมื่อพบข้อบกพร่องใดที่ไม่เป็นไปตามรายการดังกล่าว ก็สมควรแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและแก้ไขในคราวเดียว โดยมอบใบรายการตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ตรวจสอบให้ผู้ยื่นคำขอเก็บไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องในคราวเดียวด้วย ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่มาตรวจซ้ำอีกก็จะตรวจสอบได้ง่าย โดยหากผู้ยื่นคำขอไม่มีการแก้ไขจึงมีคำสั่งไม่อนุญาตต่อไป ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดกรณีการตรวจสอบหลายครั้งและแนะนำข้อแก้ไขที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง อันจะก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีนี้
การที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสถานที่หลายครั้งและแนะนำให้แก้ไขข้อบกพร่องในรายการที่แตกต่างกัน จึงเป็นการตรวจสอบที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งยังเป็นการสร้างภาระให้เกิดแก่ผู้ยื่นคำขอเกินสมควร เมื่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาตตามคำขอไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารของผู้ฟ้องคดีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหารให้ครบถ้วนในคราวเดียว และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบภายใน 30 วัน (คดีหมายเลขแดงที่ อ.475/2553)
คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับป้าจิ๊แล้วล่ะครับ... ถ้าป้าจิ๊จัดการร้านให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ก็จะได้รับอนุญาตตามคำขอภายใน 30 วัน ที่สำคัญคดีนี้ศาลท่านได้วางหลักในการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหาร รวมทั้งกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะและทำนองเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย
ในส่วนภารกิจเซอร์ไพรส์วันเกิดเพื่อนเก่าของผมนั้น... ทันทีที่ผมยื่นแพนเค้กพร้อมกับฮัมเพลง “Happy Birthday to you ” ผมกลับได้รับการเซอร์ไพรส์ด้วยประโยคที่ว่า “ครองธรรม ผมว่าคุณเอาแพนเค้กมาให้ผมล่าช้าเกินสมควรไปหนึ่งเดือนแล้วล่ะ” ว่าแล้วก็หยิบแพนเค้กไปรับประทานพร้อมกับเต้นท่ากังนัมสไตล์ล้อเลียนผมซะอย่างนั้น...
ครองธรรม ธรรมรัฐ