xs
xsm
sm
md
lg

ดีเอสไอ-สตช.ผนึกกำลังปราบทุจริตจำนำข้าว

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ เข้าพบหารือกับพล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา(สบ10)
ตร.ร่วมประชุมดีเอสไอ เตรียมแนวทางวางแผนปราบปรามทุจริตจำนำข้าว งบเยียวยา งบองค์กรส่วนท้องถิ่น ชง “เฉลิม” กำหนดกรอบการทำงานให้ ผบช.ทั้ง 11 พื้นที่รับผิดชอบ ในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 24 ก.ค.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา (สบ10) พร้อมด้วย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันประชุมหารือเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำข้าว การเยียวยา ฟื้นฟู และการป้องกันสาธารณภัย และการใช้จ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ฐานะประธานการดำเนินการดังกล่าว ได้พิจารณาร่วมกันในวันที่ 27 ก.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล

นายธาริต กล่าวว่า สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ตั้งคณะกรรมการโดยมีอำนาจในการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำข้าว การเยียวยา ฟื้นฟู งบการป้องกันสาธารณภัย และการใช้จ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธานกรรมการ พล.ต.อ.วรพงษ์ เป็นเลขานุการ ของคณะทำงาน โดยมีหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลัก ให้มาสนธิกำลังตามที่ครม.มีมติในที่ประชุม ถัดมาอีกเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ 156/2555 แต่งตั้งคณะกรรมอำนวยการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อตั้งคณะทำงานชึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ซึ่งกำลังจะออกคำสั่งเพื่อเป็นเน้นการปฏิบัติจริงตามพื้นที่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 พื้นที่ ได้แก่ บช.น. บช.ภ.1-9 และ ศชต.ตามการแบ่งภาคของตำรวจ โดยมีผู้บัญชาการแต่ละภาคเป็นประธานคณะทำงาน ที่จะทำหน้าที่ลงไปตรวจสอบ และจะมีผู้แทนจากดีเอส และป.ป.ท. เข้าร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นคณะทำงานประจำพื้นที่ จะทำหน้าที่ในการปฏิบัติจริงในการตรวจสอบ โดยในวันที่ 27 ก.ค.พล.ต.อ.วรพงษ์ จะออกหนังสือเชิญ คณะอำนวยการชุดใหญ่ ซึ่งมี พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม รวมถึงมีการเชิญผู้บัญชาการทั้ง 11 ภาค มาร่วมด้วย

“ในการประชุมวันศุกร์จะต้องมีการเตรียมการในการทำงานอย่างไร จึงต้องมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินการตรวจสอบเพื่อป้องกันทุจริต 3 เรื่อง คือ จำนำข้าว เยียวยาฟื้นฟู งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเรื่องดังกล่าวดีเอสไอมีองค์ความรู้มาระดับหนึ่ง ได้ทำเรื่องเหล่านี้มาแล้ว จึงได้นำมาส่งให้ พล.ต.อ.วรพงษ์ เพื่อจากได้หารือกันว่า แผนประทุษกรรมที่ศึกษาจขากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น นำมามอบหรือประชุมกับชุดปฏิบัติการที่เรียกว่า คณะทำงานทั้ง 11 ภาค ในวันดังกล่าว  เพื่อเรียนรู้แผนประทุษกรรมว่า ผู้กระทำความผิดเคยทำมาอย่างไรจนถึงปัจจุบัน ต่อมากำหนดแนวทางในการตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทางสืบสวนและดำเนินคดี ดีเอสไอ ได้รับเบื้องต้นมาเพื่อหารือเพื่อนำเสนอให้ประธานประกาศใช้ต่อไป” นายธาริต กล่าว

เมื่อถามว่า จะไปตรวจสอบทั้ง 3 ประเด็นเลยหรือไม่ รวมถึงกรณีเยียวยาบางจุดเพื่อแก้ไขปัญหาย้อนหลังหรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า เยียวยาเรื่องภัยพิบัติ เรื่องนำท่วม ไม่เกี่ยวกับชุดเรา ซึ่งของคณะทำงานเราจะดูแลเรื่องการป้องกันปราบปรามการทุจริตเกี่ยวกับการใช้เงินไปในโครงการจำนำข้าว ใช้เงินงบประมาณเกี่ยวกับการเยียวยาฟื้นฟูป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และการใช้จ่ายงบประมาณองค์กรส่วนท้องถิ่น ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาล่าช้าไม่เกี่ยว แต่ถ้ามาผัวพันกับเรื่องทุจริตเมื่อไร่ จึงจะใช่
 
เมื่อถามถึงการป้องกันจำนำข้าวที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ได้มีการวางแผนอย่างไร นายธาริต กล่าวว่า เรื่องป้องกันการทุจริตการจำนำข้าว โดย นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงดีเอสไอ ได้มีการประสานความร่วมมือ ทำรายละเอียด ถึงวิธีการป้องกันการทุจริตและการเข้าตรวจสอบในการป้องกันการทุจริตตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่ใช่ว่าไม่ทำอะไร เรารับนโยบายรัฐบาลทำมาตั้งแต่ต้น ถึงแม้ว่ามีมาตรการมาแต่งตั้งตนแล้วยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการทุจริตเกิดขึ้นเป็นระยะๆ รัฐบาลจึงตั้งชุดนี้ขึ้นให้ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นหัวหน้าทีม และมี 3 หน่วยงานหลัก โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก เพื่อให้เกิดความจริงจังในการป้องกันปราบปรามการทุจริต ส่วนที่กระทำผิดไปแล้วก็จะมีการไล่ตรวจสอบพบผู้กระทำความผิดก็ดำเนินคดี และเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดช่องว่างที่คนอยากจะทุจริตในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ มีรอยรั่วหรือไม่ ที่ตั้งมาอุดรอยรั่วหรือช่องโหว่ตรงนั้นหรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า ขออนุญาตไม่เรียกว่ารอยรั่ว เพราะถ้าจะเปรียบเทียบการใช้งบประมาณของรัฐในทุกๆ เรื่อง ได้มีมาตรการที่เข้มงวดอยู่แล้ว มีระบบการตรวจสอบทั้งภายนอกภายใน มีกลไก มีหน่วยงานต่างๆ มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าตรวจ แต่ว่าแม้จะวางกฎเกณฑ์อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนที่จะพยายามกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ที่เรียกว่าการทุจริต เพราะฉะนั้น การป้องปรามหรือตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต และดำเนินคดีผู้กระทำการทุจริต เป็นสิ่งที่ต้องทำคู่ขนานกัน ในส่วนของการป้องกันรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ ดีเอสไอ ทำร่วมกันอยู่แล้ว แต่ป้องกันอย่างไรก็มีคนที่หาทางทุจริตอยู่ดี เมื่อมีคณะกรรมการชุดนี้และมีอีก 11 พื้นที่ ก็เชื่อว่าจะหยุดยั้งการทุจริตนี้ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น