วานนี้(19 มิ.ย.) แหล่งข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จังหวัดชลบุรี ที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.เกี่ยวกับนโยบายรับจำนำข้าว โดยที่ประชุมครม.ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า รายงานของป.ป.ช.ชิ้นนี้ จะเรียกว่าเป็นข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือเป็นข้อบ่งชี้ สั่งการ ขณะที่ทางเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการระบุว่า หนังสือดังกล่าวเป็นข้อสังเกต แต่อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวได้มีรัฐมนตรีแสดงความไม่สบายใจกับข้อสังเกตนี้ คือนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า เมื่ออ่านแล้วไม่สบายใจกับข้อสังเกตของป.ป.ช.โดยเฉพาะที่เขียนว่า รัฐบาลต้องไปดูโครงสร้างราคาการผลิตข้าวที่เป็นธรรม และอย่ากำหนดราคารับจำนำที่บิดเบือนกลไกตลาด เพราะเมื่อซื้อมาแพงแล้ว หากไปขายถูกก็จะทำให้ขาดทุน
แหล่งข่าว เปิดเผยอีกว่า นายบุญทรงยังกล่าวอีกด้วยว่า นโยบายนี้เราก็ต้องกำหนดให้เป็นการชี้นำตลาด และหากเรารับข้อสังเกตตรงนี้ก็จะทำให้มีปัญหา เพราะนโยบายของเราต้องรับจำนำ เมื่อรับจำนำก็ต้องชี้นำและกดดันตลาด หากวันหนึ่งป.ป.ช.เกิดไปตีความว่า การกำหนดราคาไว้สูงเป็นการชี้นำ หรือทำให้กลไกตลาดบิดเบือน โครงสร้างราคาก็อาจจะทำให้มีปัญหาได้ เพราะนี้เป็นนโยบายที่หาเสียงได้
นอกจากนี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ยังได้กล่าวแสดงความเป็นห่วงว่า เอกสารที่ป.ป.ช.ระบุมาว่า จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์การรายงานข่าวของสื่อมวลชนในโครงการนี้อย่างใกล้ชิด ทำให้มีข้อกังวลว่า อาจจะทำให้เกิดการทุจริตในเชิงนโยบาย โดยนายณัฐวุฒิได้ขอให้กฤษฎีกาตีความ โดยขอถามเป็นความรู้ว่า รัฐบาลแต่ละชุดมีข้อเสนอแนะแบบนี้มาจากป.ป.ช.บ้างหรือไม่ ทางเลขาฯครม.ชี้แจงว่า รัฐบาลที่แล้วก็มีหนังสือมาจากป.ป.ช.โดยมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องของนโยบายรับประกันราคาข้าวและอื่นๆ โดยนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ก่อนที่ป.ป.ช.จะเสนอข้อสังเกตนี้มา มีป.ป.ช.บางท่านไปให้สัมภาษณ์สื่อบางฉบับถล่มโครงการนี้ของรัฐบาล ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ตั้งข้อสังเกตว่า
“เอกสารนี้มันง่าย หากมีการเปิดประชุมสภาฯ แล้วมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านสามารถเอาเอกสารนี้ไปได้เลย ดังนั้นอาจมีการวางแผนกันเป็นกระบวนการ” พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าว
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นว่า เรื่องนี้ไม่เห็นว่า จะต้องตกใจ เราสามารถแสดงให้เห็นถึงความสมาร์ทของรัฐบาลได้ เพราะกรณีนี้เป็นเพียงข้อห่วงใยเท่านั้น
“โอกาสนี้รัฐบาลก็แค่ตั้งผมให้เป็นประธาน ซึ่งผมก็กำกับดูแลดีเอสไออยู่ ก็จะได้ทำงานให้เสร็จว่ามีมีการทุจริตในแนวปฏิบัติจริงหรือไม่ ส่วนข้อกังวลที่รัฐมนตรีหลายคนเป็นห่วงว่ารัฐบาลอาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องนี้ หรืออาจจะโดนตั้งกระทู้นั้น ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตนเองจะขอเป็นธุระตอบเรื่องนี้เอง ถามมาเมื่อไหร่ก็จะตอบ อภิปรายฯเมื่อไหร่ก็จะตอบ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ทั้งนี้แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า มติของเรื่องนี้คือไม่ให้มีการแถลง แต่ได้มอบหมายให้นายบุญทรง เป็นหลักในการไปแถลงที่กระทรวงพาณิชย์ ว่าได้มีเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม. แต่รัฐบาลจะไม่ใช้คำว่ารับทราบ หรือเห็นชอบ แต่จะใช้คำว่า หลังจากที่มีข้อสังเกตจากปปช.มา รัฐบาลยืนยันในความสุจริตของการคิดนโยบาย และไม่มีการทุจริตในเชิงนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อข้อสังเกตนี้ โดยได้มอบหมายให้ร.ต.อ.เฉลิม ที่กำกับดูแลดีเอสไอ ได้จัดคณะทำงานลงไป เพื่อตรวจสอบหากมีการทุจริตในชั้นหรือในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลยืนยันในการคิดนโยบายนี้ และการดำเนินการตามนี้ในเชิงนโยบายเพื่อจะไปหักล้างกับสิ่งที่สุ่มเสี่ยง คาดว่าหรืออาจจะทุจริตในเชิงนโยบาย แต่ก็ยินดีจะไปตรวจสอบ หากจะมีการทุจริตในระดับชั้นของการปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามได้มีการถกเถียงเรื่องนี้กันพอสมควรว่าเป็นประเด็นทางการเมือง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวนาปี 2554/55 ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม จำนวน 550.389 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากครม.เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2555 ซึ่งที่ประชุมได้ถกกันว่าเวลาครม.มีมติจ่ายเงินเยียวยามักมีปัญหา บางครั้งก็ไม่พอ ต้องมาขอใหม่ นายกฯจึงมอบหมายให้รมว.เกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาร่วมกับสภาพัฒน์ฯและสำนักงบฯ เกี่ยวกับการมีมติทำกรอบนโยบายเพื่อให้การเยียวยาเป็นการออกมติไปครั้งเดียว และสามารถเบิกวงเงินได้ครบถ้วน โดยครั้งนี้ให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายไปก่อน
แหล่งข่าว เปิดเผยอีกว่า นายบุญทรงยังกล่าวอีกด้วยว่า นโยบายนี้เราก็ต้องกำหนดให้เป็นการชี้นำตลาด และหากเรารับข้อสังเกตตรงนี้ก็จะทำให้มีปัญหา เพราะนโยบายของเราต้องรับจำนำ เมื่อรับจำนำก็ต้องชี้นำและกดดันตลาด หากวันหนึ่งป.ป.ช.เกิดไปตีความว่า การกำหนดราคาไว้สูงเป็นการชี้นำ หรือทำให้กลไกตลาดบิดเบือน โครงสร้างราคาก็อาจจะทำให้มีปัญหาได้ เพราะนี้เป็นนโยบายที่หาเสียงได้
นอกจากนี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ยังได้กล่าวแสดงความเป็นห่วงว่า เอกสารที่ป.ป.ช.ระบุมาว่า จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์การรายงานข่าวของสื่อมวลชนในโครงการนี้อย่างใกล้ชิด ทำให้มีข้อกังวลว่า อาจจะทำให้เกิดการทุจริตในเชิงนโยบาย โดยนายณัฐวุฒิได้ขอให้กฤษฎีกาตีความ โดยขอถามเป็นความรู้ว่า รัฐบาลแต่ละชุดมีข้อเสนอแนะแบบนี้มาจากป.ป.ช.บ้างหรือไม่ ทางเลขาฯครม.ชี้แจงว่า รัฐบาลที่แล้วก็มีหนังสือมาจากป.ป.ช.โดยมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องของนโยบายรับประกันราคาข้าวและอื่นๆ โดยนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ก่อนที่ป.ป.ช.จะเสนอข้อสังเกตนี้มา มีป.ป.ช.บางท่านไปให้สัมภาษณ์สื่อบางฉบับถล่มโครงการนี้ของรัฐบาล ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ตั้งข้อสังเกตว่า
“เอกสารนี้มันง่าย หากมีการเปิดประชุมสภาฯ แล้วมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านสามารถเอาเอกสารนี้ไปได้เลย ดังนั้นอาจมีการวางแผนกันเป็นกระบวนการ” พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าว
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นว่า เรื่องนี้ไม่เห็นว่า จะต้องตกใจ เราสามารถแสดงให้เห็นถึงความสมาร์ทของรัฐบาลได้ เพราะกรณีนี้เป็นเพียงข้อห่วงใยเท่านั้น
“โอกาสนี้รัฐบาลก็แค่ตั้งผมให้เป็นประธาน ซึ่งผมก็กำกับดูแลดีเอสไออยู่ ก็จะได้ทำงานให้เสร็จว่ามีมีการทุจริตในแนวปฏิบัติจริงหรือไม่ ส่วนข้อกังวลที่รัฐมนตรีหลายคนเป็นห่วงว่ารัฐบาลอาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องนี้ หรืออาจจะโดนตั้งกระทู้นั้น ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตนเองจะขอเป็นธุระตอบเรื่องนี้เอง ถามมาเมื่อไหร่ก็จะตอบ อภิปรายฯเมื่อไหร่ก็จะตอบ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ทั้งนี้แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า มติของเรื่องนี้คือไม่ให้มีการแถลง แต่ได้มอบหมายให้นายบุญทรง เป็นหลักในการไปแถลงที่กระทรวงพาณิชย์ ว่าได้มีเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม. แต่รัฐบาลจะไม่ใช้คำว่ารับทราบ หรือเห็นชอบ แต่จะใช้คำว่า หลังจากที่มีข้อสังเกตจากปปช.มา รัฐบาลยืนยันในความสุจริตของการคิดนโยบาย และไม่มีการทุจริตในเชิงนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อข้อสังเกตนี้ โดยได้มอบหมายให้ร.ต.อ.เฉลิม ที่กำกับดูแลดีเอสไอ ได้จัดคณะทำงานลงไป เพื่อตรวจสอบหากมีการทุจริตในชั้นหรือในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลยืนยันในการคิดนโยบายนี้ และการดำเนินการตามนี้ในเชิงนโยบายเพื่อจะไปหักล้างกับสิ่งที่สุ่มเสี่ยง คาดว่าหรืออาจจะทุจริตในเชิงนโยบาย แต่ก็ยินดีจะไปตรวจสอบ หากจะมีการทุจริตในระดับชั้นของการปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามได้มีการถกเถียงเรื่องนี้กันพอสมควรว่าเป็นประเด็นทางการเมือง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวนาปี 2554/55 ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม จำนวน 550.389 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากครม.เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2555 ซึ่งที่ประชุมได้ถกกันว่าเวลาครม.มีมติจ่ายเงินเยียวยามักมีปัญหา บางครั้งก็ไม่พอ ต้องมาขอใหม่ นายกฯจึงมอบหมายให้รมว.เกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาร่วมกับสภาพัฒน์ฯและสำนักงบฯ เกี่ยวกับการมีมติทำกรอบนโยบายเพื่อให้การเยียวยาเป็นการออกมติไปครั้งเดียว และสามารถเบิกวงเงินได้ครบถ้วน โดยครั้งนี้ให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายไปก่อน