ศาลฎีกาพิพากษากลับยกฟ้อง “ประสงค์ สุ่นศิริ” บก.แนวหน้า ลงบทความหมิ่นทักษิณสร้างกระแสกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ เป็นการติชมโดยสุจริต
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่ศาลจังหวัดสวรรคโลก จ.สุโขทัย ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ คอลัมนิสต์ชื่อดัง นสพ.แนวหน้า กับพวกรวม 4 คน ซึ่งเป็นผู้บริหาร นสพ.แนวหน้า เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484
คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า ระว่างวันที่ 16-17 ก.ค.44 พวกจำเลยร่วมกันเผยแพร่คอลัมน์ของจำเลยที่ 1 ชื่อ “ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ที่มีการนำเสนอบทความที่มีผู้ส่งเข้ามาใช้ชื่อ “พลังเงียบ” โดยบรรยายข้อความทำนองให้กำลังใจองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช.และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยึดมั่นในความถูกต้องเพื่อรักษากติกาบ้านเมือง ไม่ต้องสนใจหมั่นไหวกับกลุ่มสร้างกระแสที่ถูกสร้างอย่างเป็นขบวนการ และกลุ่มคนที่พยายามสร้างกระแสยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน และข้อความอื่นที่พาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฎหมาย พยายามอยู่เหนือกฎหมายนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และยังมีการทำพิธี สะเดาะเคราะห์เมืองแก้การทำผิดกฎหมายของนายกรัฐมนตรีของประเทศ ด้วยการหาพระมาสวดมนต์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ตอบจดหมายของผู้ที่ใช้ชื่อพลังเงียบว่าเห็นด้วยกับสิ่งที่เขียนมาเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลทั่วไปให้เข้าใจว่าขณะที่โจทก์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ทำผิดกฎหมายแล้วจึงได้สร้างกระแสเป็นระบบ เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญหลอกลวงประชาชนให้ร่วมปกป้องการกระทำที่ไม่สรจริตของโจทก์และยังใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรกแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 และแถลงขอโทษโทษใน นสพ.รายวัน 7 ฉบับ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า น.ต.ประสงค์ จำเลยที่ 1 และ นายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม จำเลยที่ 4 มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ฯให้ลงโทษจำคุก คนละ 3 เดือน และปรับคนละ 5 หมื่นบาท แต่จำเลยทั้งสองไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้ลงตีพิมพ์คำพิพากษาย่อใน นสพ.รายวัน 3 ฉบับเป็นเวลา 7 วัน จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 พิพากษายืน ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาว่าข้อความที่ลงในคอลัมน์เป็นการแสดงความคิดเห็นเป็นห่วงเป็นใยในกติกาบ้านเมือง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดในคอลัมน์แล้วเห็นได้ว่าเป็นการติติงตัวโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น กรณีมีคนกลุ่มหนึ่งไปรวมกลุ่มถือป้ายสนับสนุนโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปที่หน้าสำนักงานศาลรับธรรมนูญ ในช่วงที่โจทก์ถูกดำเนินคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่มีการวิจารณ์ และไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่มาสนับสนุน ข้อความที่นำมาตีพิมพ์ในคอลัมน์จึงถือเป็นการติชมโดยเป็นธรรมในวิสัยของประชานย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3) การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ ส่วนจำเลยที่ 4 ในฐานะบรรณาธิการ นสพ.เมื่อปรากฏว่า ขณะการพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บังคับใช้โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่ง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ไม่ได้บัญญัติให้ บรรณาธิการ นสพ.ต้องรับผิดชอบในข้อความที่ลงตีพิมพ์ จำเลยที่ 4 จึงพ้นจากการกระทำผิด ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1และ4 ฟังขึ้นพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่ศาลจังหวัดสวรรคโลก จ.สุโขทัย ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ คอลัมนิสต์ชื่อดัง นสพ.แนวหน้า กับพวกรวม 4 คน ซึ่งเป็นผู้บริหาร นสพ.แนวหน้า เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484
คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า ระว่างวันที่ 16-17 ก.ค.44 พวกจำเลยร่วมกันเผยแพร่คอลัมน์ของจำเลยที่ 1 ชื่อ “ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ที่มีการนำเสนอบทความที่มีผู้ส่งเข้ามาใช้ชื่อ “พลังเงียบ” โดยบรรยายข้อความทำนองให้กำลังใจองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช.และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยึดมั่นในความถูกต้องเพื่อรักษากติกาบ้านเมือง ไม่ต้องสนใจหมั่นไหวกับกลุ่มสร้างกระแสที่ถูกสร้างอย่างเป็นขบวนการ และกลุ่มคนที่พยายามสร้างกระแสยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน และข้อความอื่นที่พาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฎหมาย พยายามอยู่เหนือกฎหมายนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และยังมีการทำพิธี สะเดาะเคราะห์เมืองแก้การทำผิดกฎหมายของนายกรัฐมนตรีของประเทศ ด้วยการหาพระมาสวดมนต์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ตอบจดหมายของผู้ที่ใช้ชื่อพลังเงียบว่าเห็นด้วยกับสิ่งที่เขียนมาเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลทั่วไปให้เข้าใจว่าขณะที่โจทก์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ทำผิดกฎหมายแล้วจึงได้สร้างกระแสเป็นระบบ เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญหลอกลวงประชาชนให้ร่วมปกป้องการกระทำที่ไม่สรจริตของโจทก์และยังใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรกแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 และแถลงขอโทษโทษใน นสพ.รายวัน 7 ฉบับ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า น.ต.ประสงค์ จำเลยที่ 1 และ นายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม จำเลยที่ 4 มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ฯให้ลงโทษจำคุก คนละ 3 เดือน และปรับคนละ 5 หมื่นบาท แต่จำเลยทั้งสองไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้ลงตีพิมพ์คำพิพากษาย่อใน นสพ.รายวัน 3 ฉบับเป็นเวลา 7 วัน จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 พิพากษายืน ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาว่าข้อความที่ลงในคอลัมน์เป็นการแสดงความคิดเห็นเป็นห่วงเป็นใยในกติกาบ้านเมือง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดในคอลัมน์แล้วเห็นได้ว่าเป็นการติติงตัวโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น กรณีมีคนกลุ่มหนึ่งไปรวมกลุ่มถือป้ายสนับสนุนโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปที่หน้าสำนักงานศาลรับธรรมนูญ ในช่วงที่โจทก์ถูกดำเนินคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่มีการวิจารณ์ และไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่มาสนับสนุน ข้อความที่นำมาตีพิมพ์ในคอลัมน์จึงถือเป็นการติชมโดยเป็นธรรมในวิสัยของประชานย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3) การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ ส่วนจำเลยที่ 4 ในฐานะบรรณาธิการ นสพ.เมื่อปรากฏว่า ขณะการพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บังคับใช้โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่ง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ไม่ได้บัญญัติให้ บรรณาธิการ นสพ.ต้องรับผิดชอบในข้อความที่ลงตีพิมพ์ จำเลยที่ 4 จึงพ้นจากการกระทำผิด ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1และ4 ฟังขึ้นพิพากษากลับให้ยกฟ้อง