“สุเทพ เทือกสุบรรณ” เดินทางเข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนเป็นครั้งที่สอง ยืนยันสั่งการทุกอย่างชอบด้วยกฎหมาย โดยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินรองรับ ซัดฝ่ายมีอำนาจ ที่ร่วมกันก่อเหตุมา พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
วันนี้ (14 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.15 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เดินทางมาเพื่อให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนที่ได้มีการนัดหมายเป็นครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเหตุการณ์ของวันที่ 13 พ.ค.และเหตุการณ์วันที่ 14, 16 และ 19 พ.ค.ปี 2553 พร้อมการต้อนรับของ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ น้องชายของนายสุเทพ ได้เดินทางมาต้อนรับก่อนนายสุเทพจะเดินทางมาถึง
นายสุเทพ เดินทางมาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม แต่งกายในชุดสูทสีเทา เดินทางมาพร้อมกับทนายความส่วนตัว โดยรถยนต์หรูยี่ห้อโตโยต้า กันกระสุนสีดำ พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหว รวมถึงเอกสารคำสั่งการมามอบให้พนักงานสอบสวนประกอบการให้ปากคำเพิ่มเติม ตามที่พนักงานสอบสวนเคยขอไว้เมื่อครั้งที่แล้ว และยืนยันพร้อมชี้แจงและตอบทุกคำถามที่พนักงานสอบสวนถาม จากนั้นได้เดินขึ้นชั้น 2 เข้าห้องสอบสวนทันที โดยมีกำลังตำรวจปราบจลาจลทั้ง 4 นาย คอยดูแลบริเวณด้านหน้า ห้ามไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวน 7 คน มายืนชูป้ายโดยมีข้อความว่า “ยินดีต้อนรับฆาตกรหน้าดำเข้าสู่ประตูนรก” และ “สั่งฆ่าประชาชน” พร้อมกับส่งเสียงโห่ร้องด่าตะโกนอีกว่า “ไอ้ฆาตกรสั่งฆ่า 91 ศพ” ตลอดทางที่รถยนต์ของนายสุเทพเคลื่อนรถเข้ามาภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมี นายวรัญชัย โชคชนะ เข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าเวลา 10.30 น.นายสุเทพ ได้ให้สัมภาษณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ว่า พนักงานสอบสวน 2 ชุด เชิญไปให้ปากคำตามที่มีพยานบางปากให้การว่า ผู้เสียชีวิตบางรายเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทำตามคำสั่งของ ศอฉ.ชุดแรก เกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 13 พ.ค.และเหตุการณ์วันที่ 14, 16 และ 19 พ.ค.ปี 2553 โดยวันนี้ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ รวมถึงภาพและคลิปมาเป็นแฟ้ม เพื่อแจกแจงให้พนักงานสอบสวนเข้าใจถึงการปฏิบัติการในช่วงเวลาดังกล่าว ว่า ศอฉ.ได้ดำเนินการสั่งการอย่างไร และการสั่งการของตนทำเป็นลายลักษณ์อักษรทุกอย่าง และก่อนสั่งการจะมีการประชุมหารือไตร่ตรองให้รอบคอบ จึงยืนยันได้ว่า การสั่งการของตนทุกอย่างชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รองรับ และเชื่อว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะคุ้มครองไม่ให้มีความผิด ทั้งทางเจ้าหน้าที่ และตน ตราบที่ยังไม่ออกนอกกรอบของกฎหมาย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทาง นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิด นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้ เพราะการออกคำสั่งในช่วงดังกล่าวมีกฎหมายรองรับ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ตนไม่อยากให้โต้เถียงกันไปไกล วันนี้เพียงแต่ว่าเมื่อมีผู้เสียชีวิต บางรายที่ทางดีเอสไอ มีข้อสงสัยว่า เสียชีวิตเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรับคำสั่งไปจากตนนั้น เขาก็ต้องไปไต่สวนดำเนินการตามวิธีการของกฎหมาย สอบพยานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูว่า มีข้อน่าสงสัยว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ถ้าเจ้าพนักงานมีความเห็นว่าน่าสงสัยว่าจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็มีสิทธิที่จะไปขอให้ศาลไต่สวน ว่า เป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ ยังมีอีกหลายขั้นตอน
กรณีที่มีการตัดสินจำคุก 38 ปี กับตำรวจที่ยิงกระทรวงกลาโหม ในช่วงเกิดเหตุการณ์จะมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการฟังการสอบสวนหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตอนนั้น ตอนที่เราช่วยกันแก้ปัญหา มีคนเอาจรวดอาร์พีจี มาว่า จะยิงกระทรวงกลาโหม พวกฝ่ายที่ร่วมก่อเหตุ กล่าวหาว่า ตนสร้างเรื่องอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเขาก็สารภาพ แต่ที่น่าตกใจ คือ เขาสารภาพว่าไม่ได้รับคำสั่งให้ยิงกระทรวงกลาโหม แต่ให้ยิงวัดพระแก้ว เพื่อทำลายสัญลักษณ์ ความเป็นศูนย์รวมของประเทศ แต่สุดท้ายศาลก็สั่งลงโทษ แต่ก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างตัวผู้กระทำผิดกับผู้ว่าจ้าง และกระบวนการของเขาได้
“อีกฝ่ายหนึ่งพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เขียนประวัติศาสตร์ใหม่ พวกคนที่เข้าไปมีอำนวจในเวลานี้ ส่วนใหญ่ก็ร่วมกันก่อเหตุ จึงใช้อำนาจที่ตนมีอยู่เพื่อดำเนินการ แต่ผมไม่หวั่นไหว เพราะอยู่ในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ยึดหลักกฎหมาย และต้องเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม” นายสุเทพ กล่าว
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงคลิปที่จะไปเปิดให้พนักงานสอบสวนดู ซึ่งเป็นทั้งคลิปที่สื่อไทยและสื่อต่างชาติ ถ่ายเอาไว้และคนไทย และคนทั้งโลกเคยเห็นมาแล้ว นายสุเทพ ตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ก็เตรียมใจเอาไว้ก่อนแล้ว”
วันนี้ (14 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.15 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เดินทางมาเพื่อให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนที่ได้มีการนัดหมายเป็นครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเหตุการณ์ของวันที่ 13 พ.ค.และเหตุการณ์วันที่ 14, 16 และ 19 พ.ค.ปี 2553 พร้อมการต้อนรับของ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ น้องชายของนายสุเทพ ได้เดินทางมาต้อนรับก่อนนายสุเทพจะเดินทางมาถึง
นายสุเทพ เดินทางมาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม แต่งกายในชุดสูทสีเทา เดินทางมาพร้อมกับทนายความส่วนตัว โดยรถยนต์หรูยี่ห้อโตโยต้า กันกระสุนสีดำ พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหว รวมถึงเอกสารคำสั่งการมามอบให้พนักงานสอบสวนประกอบการให้ปากคำเพิ่มเติม ตามที่พนักงานสอบสวนเคยขอไว้เมื่อครั้งที่แล้ว และยืนยันพร้อมชี้แจงและตอบทุกคำถามที่พนักงานสอบสวนถาม จากนั้นได้เดินขึ้นชั้น 2 เข้าห้องสอบสวนทันที โดยมีกำลังตำรวจปราบจลาจลทั้ง 4 นาย คอยดูแลบริเวณด้านหน้า ห้ามไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวน 7 คน มายืนชูป้ายโดยมีข้อความว่า “ยินดีต้อนรับฆาตกรหน้าดำเข้าสู่ประตูนรก” และ “สั่งฆ่าประชาชน” พร้อมกับส่งเสียงโห่ร้องด่าตะโกนอีกว่า “ไอ้ฆาตกรสั่งฆ่า 91 ศพ” ตลอดทางที่รถยนต์ของนายสุเทพเคลื่อนรถเข้ามาภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมี นายวรัญชัย โชคชนะ เข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าเวลา 10.30 น.นายสุเทพ ได้ให้สัมภาษณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ว่า พนักงานสอบสวน 2 ชุด เชิญไปให้ปากคำตามที่มีพยานบางปากให้การว่า ผู้เสียชีวิตบางรายเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทำตามคำสั่งของ ศอฉ.ชุดแรก เกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 13 พ.ค.และเหตุการณ์วันที่ 14, 16 และ 19 พ.ค.ปี 2553 โดยวันนี้ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ รวมถึงภาพและคลิปมาเป็นแฟ้ม เพื่อแจกแจงให้พนักงานสอบสวนเข้าใจถึงการปฏิบัติการในช่วงเวลาดังกล่าว ว่า ศอฉ.ได้ดำเนินการสั่งการอย่างไร และการสั่งการของตนทำเป็นลายลักษณ์อักษรทุกอย่าง และก่อนสั่งการจะมีการประชุมหารือไตร่ตรองให้รอบคอบ จึงยืนยันได้ว่า การสั่งการของตนทุกอย่างชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รองรับ และเชื่อว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะคุ้มครองไม่ให้มีความผิด ทั้งทางเจ้าหน้าที่ และตน ตราบที่ยังไม่ออกนอกกรอบของกฎหมาย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทาง นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิด นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้ เพราะการออกคำสั่งในช่วงดังกล่าวมีกฎหมายรองรับ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ตนไม่อยากให้โต้เถียงกันไปไกล วันนี้เพียงแต่ว่าเมื่อมีผู้เสียชีวิต บางรายที่ทางดีเอสไอ มีข้อสงสัยว่า เสียชีวิตเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรับคำสั่งไปจากตนนั้น เขาก็ต้องไปไต่สวนดำเนินการตามวิธีการของกฎหมาย สอบพยานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูว่า มีข้อน่าสงสัยว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ถ้าเจ้าพนักงานมีความเห็นว่าน่าสงสัยว่าจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็มีสิทธิที่จะไปขอให้ศาลไต่สวน ว่า เป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ ยังมีอีกหลายขั้นตอน
กรณีที่มีการตัดสินจำคุก 38 ปี กับตำรวจที่ยิงกระทรวงกลาโหม ในช่วงเกิดเหตุการณ์จะมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการฟังการสอบสวนหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตอนนั้น ตอนที่เราช่วยกันแก้ปัญหา มีคนเอาจรวดอาร์พีจี มาว่า จะยิงกระทรวงกลาโหม พวกฝ่ายที่ร่วมก่อเหตุ กล่าวหาว่า ตนสร้างเรื่องอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเขาก็สารภาพ แต่ที่น่าตกใจ คือ เขาสารภาพว่าไม่ได้รับคำสั่งให้ยิงกระทรวงกลาโหม แต่ให้ยิงวัดพระแก้ว เพื่อทำลายสัญลักษณ์ ความเป็นศูนย์รวมของประเทศ แต่สุดท้ายศาลก็สั่งลงโทษ แต่ก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างตัวผู้กระทำผิดกับผู้ว่าจ้าง และกระบวนการของเขาได้
“อีกฝ่ายหนึ่งพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เขียนประวัติศาสตร์ใหม่ พวกคนที่เข้าไปมีอำนวจในเวลานี้ ส่วนใหญ่ก็ร่วมกันก่อเหตุ จึงใช้อำนาจที่ตนมีอยู่เพื่อดำเนินการ แต่ผมไม่หวั่นไหว เพราะอยู่ในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ยึดหลักกฎหมาย และต้องเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม” นายสุเทพ กล่าว
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงคลิปที่จะไปเปิดให้พนักงานสอบสวนดู ซึ่งเป็นทั้งคลิปที่สื่อไทยและสื่อต่างชาติ ถ่ายเอาไว้และคนไทย และคนทั้งโลกเคยเห็นมาแล้ว นายสุเทพ ตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ก็เตรียมใจเอาไว้ก่อนแล้ว”