อัยการ เบิกตัว “พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ” ผู้ต้องโทษคำพิพากษาฎีกาคดีอุ้มแม่ลูกศรีธนะขัณฑ์ เป็นพยาน ในคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจซาอุฯ ซัดคนในวงการเล่า มีเบาะแสเอาศพเผาที่ชลบุรี แต่อ้างจำหน้าจำเลยไม่ได้ เหตุติดคุกนาน ย้ำ ไม่เคยมีเหตุโกรธพวกจำเลย
วันนี้ (23 มิ.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 902 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์สืบพยานโจทก์คดีหมายเลขดำ อ.119/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5, พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือ สมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย และร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 309, 310 สืบเนื่องจากกรณีที่ นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย หายตัวไปเมื่อปี 2533
นัดนี้ อัยการโจทก์ นำ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอุ้มแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ เพื่อรีดข้อมูลเพชรที่หายไปของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อับดุลอาซิซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ นายเกรียงไกร เตชะโม่ง อดีตคนงานไทยที่เข้าไปทำงาน ได้ลักเพชรเข้ามาในประเทศไทย มาเป็นพยานเบิกความเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่การติดตามเพชรซาอุ ระบุว่า ทางการซาอุฯ ได้ส่งตัว ร.ต.อ.ซาฮัด อัลซูลี่ เข้าร่วมประสานงานกับพยานเพื่อทำการสืบสวนหาเพชรซาอุที่ยังหายไป ระหว่างปี 2532-2533 พยานถูกกล่าวหาคดียักยอกทรัพย์เพชรซาอุ รวมถึงคดีฆ่านางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ภรรยากับลูกของ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชร พยานปากสำคัญคดีเพชรซาอุ ที่มี พล.ต.ท.ธนู หอมหวน หัวหน้าชุดพนักงานสอบสวน ซึ่งต่อมาวันที่ 1 ก.พ.33 ขณะพยานพักอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี ร.ต.อ.ซาฮัด ได้โทรศัพท์แจ้งพยานเพื่อขอกำลังคุ้มกันเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ ถูกฆ่าตาย 3 คน ซึ่ง ร.ต.อ.ซาฮัด อยู่ในเหตุการณ์ก็ได้วิ่งหนีเอาชีวิตรอดวันรุ่งขึ้นพยานจึงไปพบ ร.ต.อ.ซาฮัด ที่ศรีวัฒนาอพาร์ทเมนต์ กทม.ซึ่ง ร.ต.อ.ซาฮัด เล่าถึงเหตุการณ์ที่คนร้ายยิงเจ้าหน้าที่ทูตคนหนึ่งเสียชีวิตขณะลงจากรถยนต์
พล.ต.ท.ชลอ เบิกความต่อว่า พยานเคยร่วมรับประทานอาหารกับนายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี ก่อนหายตัวผ่านการแนะนำของ ร.ต.อ.ซาฮัด โดยหลังจากเหตุการณ์ฆ่าเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น มีคำสั่งให้ บช.น.ตั้งทีม กก.สส.บก.น.ใต้ ขึ้นทำการสอบสวนคดี ซึ่งแนวทางการสืบสวนเห็นว่า นายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของนักการทูตซาอุฯ เพราะมีความขัดแย้งกันเรื่องจัดส่งแรงงานไทย ขณะที่พยานได้ตั้งทีมขึ้นสืบสวนด้วยเช่นกัน และเมื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงข่าวเกี่ยวกับการหายตัวไปของ นายโมฮัมหมัด พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อธิบดีกรมตำรวจจึงเรียกพยาน พร้อมด้วย พล.ต.ท.ธนู และนายตำรวจรวม 10 นายเข้าประชุม ระหว่างการประชุม พล.ต.ท.ธนู กล่าวในที่ประชุมว่า คดี นายโมฮัมหมัด ให้เอาไปสอบ ไม่ได้ให้เอาไปฆ่า จนมีนายตำรวจโต้แย้งว่าพูดอย่างนี้จะเอาตัวรอดใช่หรือไม่ ซึ่งมีการโต้เถียงอยู่พักหนึ่ง พล.ต.อ.แสวง อธิบดีกรมตำรวจต้องสั่งให้ทุกคนหยุด แล้วภายหลัง พล.ต.อ.แสวง มีคำสั่งให้พยานหยุดการทำคดี
พล.ต.ท.ชลอ เบิกความต่อว่า ด้วยสายเลือดความเป็นนักสืบ จึงยังทำงานของ ตัวเองต่อไปจนพบเบาะแสจากคนในวงการที่เล่าให้พยานฟังว่า ภายหลังนายโมฮัมหมัด ถูกฆ่า จำเลยทั้ง 5 ได้ร่วมกันนำศพไปเผาที่ จ.ชลบุรี โดยมี จ.ส.ต.สุรเดช อุดมดี เป็นผู้นำศพไปเผา ซึ่งปัจจุบัน จ.ส.ต.สุรเดช เปิดร้านอาหารซีฟู๊ดย่าน จุฬาฯ นอกจากนี้ยังทราบว่ารถของนายโมฮัมหมัด มีตำรวจชื่อ “ต้อย” ที่เป็นภรรยาของคนในวงการพยานขับรถนำไปจอดทิ้งไว้ที่ รพ.กรุงเทพคริสเตียน ซึ่งต่อมาปี 2536 มีการดำเนินคดีกับ พล.ต.ท.สมคิด กับพวก แต่ขณะนั้นอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง กระทั่งเมื่อ 2549 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีคำสั่งให้รื้อคดีขึ้นมาใหม่ ซึ่งพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ได้สอบปากคำตนในฐานะพยาน 2 ครั้ง ซึ่งพยานให้ความร่วมมือ ส่วนจำเลยทั้ง 5 พยานทราบเพียงว่าเป็นตำรวจแต่ไม่รู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองมาก่อน ขณะที่พยานจำใบหน้าของจำเลยทั้ง 5 ไม่ได้ เนื่องจากติดคุกมานาน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพยานกับ พล.ต.ท.ธนู นั้นมีเรื่องขัดแย้งกันในการชิงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจกันมาก่อน
ภายหลังสืบพยานปาก พล.ต.ท.ชลอ เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
วันนี้ (23 มิ.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 902 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์สืบพยานโจทก์คดีหมายเลขดำ อ.119/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5, พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือ สมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย และร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 309, 310 สืบเนื่องจากกรณีที่ นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย หายตัวไปเมื่อปี 2533
นัดนี้ อัยการโจทก์ นำ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอุ้มแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ เพื่อรีดข้อมูลเพชรที่หายไปของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อับดุลอาซิซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ นายเกรียงไกร เตชะโม่ง อดีตคนงานไทยที่เข้าไปทำงาน ได้ลักเพชรเข้ามาในประเทศไทย มาเป็นพยานเบิกความเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่การติดตามเพชรซาอุ ระบุว่า ทางการซาอุฯ ได้ส่งตัว ร.ต.อ.ซาฮัด อัลซูลี่ เข้าร่วมประสานงานกับพยานเพื่อทำการสืบสวนหาเพชรซาอุที่ยังหายไป ระหว่างปี 2532-2533 พยานถูกกล่าวหาคดียักยอกทรัพย์เพชรซาอุ รวมถึงคดีฆ่านางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ภรรยากับลูกของ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชร พยานปากสำคัญคดีเพชรซาอุ ที่มี พล.ต.ท.ธนู หอมหวน หัวหน้าชุดพนักงานสอบสวน ซึ่งต่อมาวันที่ 1 ก.พ.33 ขณะพยานพักอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี ร.ต.อ.ซาฮัด ได้โทรศัพท์แจ้งพยานเพื่อขอกำลังคุ้มกันเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ ถูกฆ่าตาย 3 คน ซึ่ง ร.ต.อ.ซาฮัด อยู่ในเหตุการณ์ก็ได้วิ่งหนีเอาชีวิตรอดวันรุ่งขึ้นพยานจึงไปพบ ร.ต.อ.ซาฮัด ที่ศรีวัฒนาอพาร์ทเมนต์ กทม.ซึ่ง ร.ต.อ.ซาฮัด เล่าถึงเหตุการณ์ที่คนร้ายยิงเจ้าหน้าที่ทูตคนหนึ่งเสียชีวิตขณะลงจากรถยนต์
พล.ต.ท.ชลอ เบิกความต่อว่า พยานเคยร่วมรับประทานอาหารกับนายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี ก่อนหายตัวผ่านการแนะนำของ ร.ต.อ.ซาฮัด โดยหลังจากเหตุการณ์ฆ่าเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น มีคำสั่งให้ บช.น.ตั้งทีม กก.สส.บก.น.ใต้ ขึ้นทำการสอบสวนคดี ซึ่งแนวทางการสืบสวนเห็นว่า นายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของนักการทูตซาอุฯ เพราะมีความขัดแย้งกันเรื่องจัดส่งแรงงานไทย ขณะที่พยานได้ตั้งทีมขึ้นสืบสวนด้วยเช่นกัน และเมื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงข่าวเกี่ยวกับการหายตัวไปของ นายโมฮัมหมัด พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อธิบดีกรมตำรวจจึงเรียกพยาน พร้อมด้วย พล.ต.ท.ธนู และนายตำรวจรวม 10 นายเข้าประชุม ระหว่างการประชุม พล.ต.ท.ธนู กล่าวในที่ประชุมว่า คดี นายโมฮัมหมัด ให้เอาไปสอบ ไม่ได้ให้เอาไปฆ่า จนมีนายตำรวจโต้แย้งว่าพูดอย่างนี้จะเอาตัวรอดใช่หรือไม่ ซึ่งมีการโต้เถียงอยู่พักหนึ่ง พล.ต.อ.แสวง อธิบดีกรมตำรวจต้องสั่งให้ทุกคนหยุด แล้วภายหลัง พล.ต.อ.แสวง มีคำสั่งให้พยานหยุดการทำคดี
พล.ต.ท.ชลอ เบิกความต่อว่า ด้วยสายเลือดความเป็นนักสืบ จึงยังทำงานของ ตัวเองต่อไปจนพบเบาะแสจากคนในวงการที่เล่าให้พยานฟังว่า ภายหลังนายโมฮัมหมัด ถูกฆ่า จำเลยทั้ง 5 ได้ร่วมกันนำศพไปเผาที่ จ.ชลบุรี โดยมี จ.ส.ต.สุรเดช อุดมดี เป็นผู้นำศพไปเผา ซึ่งปัจจุบัน จ.ส.ต.สุรเดช เปิดร้านอาหารซีฟู๊ดย่าน จุฬาฯ นอกจากนี้ยังทราบว่ารถของนายโมฮัมหมัด มีตำรวจชื่อ “ต้อย” ที่เป็นภรรยาของคนในวงการพยานขับรถนำไปจอดทิ้งไว้ที่ รพ.กรุงเทพคริสเตียน ซึ่งต่อมาปี 2536 มีการดำเนินคดีกับ พล.ต.ท.สมคิด กับพวก แต่ขณะนั้นอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง กระทั่งเมื่อ 2549 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีคำสั่งให้รื้อคดีขึ้นมาใหม่ ซึ่งพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ได้สอบปากคำตนในฐานะพยาน 2 ครั้ง ซึ่งพยานให้ความร่วมมือ ส่วนจำเลยทั้ง 5 พยานทราบเพียงว่าเป็นตำรวจแต่ไม่รู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองมาก่อน ขณะที่พยานจำใบหน้าของจำเลยทั้ง 5 ไม่ได้ เนื่องจากติดคุกมานาน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพยานกับ พล.ต.ท.ธนู นั้นมีเรื่องขัดแย้งกันในการชิงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจกันมาก่อน
ภายหลังสืบพยานปาก พล.ต.ท.ชลอ เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.