การติดตามความคืบหน้าในหลายคดีที่เกิดขึ้นในไทยของทางการซาอุดิอาระเบีย โดยคดีที่ทางการซาอุฯให้ความสำคัญ ซึ่งต้องการมองว่า ไทยจะมีความจริงใจแค่ไหนในการคลี่คลายคดี นั่นคือ การหายตัวไปของ นายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย และยังมีศักดิ์เป็นพระญาติของกษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบียด้วย ที่ปัจจุบัน ยังไม่พบตัว หรือเบาะแสใดๆทั้งสิ้น
เมื่อย้อนถึงเหตุการณ์การหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่นั้น นายมูฮัมหมัดนายอัลรูไวรี่ ขับรถหมายเลขทะเบียน 3 ข- 9867 กทม. ออกจากบ้านไปทำงานเวลาบ่ายสามโมง แล้วหายตัวไป ต่อมาทางการซาอุฯเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ โดยตำรวจได้ออกสืบสวนตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ไม่พบ จนวันที่ 15 ก.พ.33 ได้พบรถยนต์จอดอยู่ที่ลานจอดรถของรพ.กรุงเทพคริสเตียน แต่ไม่พบ นายอัลรู ไวรี่ เมื่อสอบถาม นางจามารี ซึ่งเป็นญาติก็ไม่ทราบ และได้เดินทางกลับประเทศซาอุฯไป ทางตำรวจจึงส่งรูปถ่ายพร้อมตำหนิรูปพรรณ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีคำสั่งให้สืบหาตัวแต่ก็ไม่พบ จนกระทั่งมีการก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอขึ้น ทางตำรวจจึงได้โอนเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษรับผิดชอบ และตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการสืบสวนสอบสวนต่อ ก็ยังไม่พบตัวนายอัลรูไวรี่แต่อย่างใด
คดีความการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ จางหายไปกับวันเวลานับสิบปี จนกระทั่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษในสมัยของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นอธิบดี ได้ปัดฝุ่นคดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ขึ้นมา และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการออกหมายเรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และจ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ปิดบังซ่อนเร้นทำ ลายศพ ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำหรือไม่กระทำการใด โดยดีเอสไอระบุว่า "มีพยานหลักฐานใหม่" ซึ่งมีน้ำหนักพอที่จะสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีนี้ได้
พล.ต.ท.สมคิด บอกไว้เมื่อครั้งถูกดีเอสไอเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า การสอบสวนคดีนี้ ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรู ไวรี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม ครั้งนี้ จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรู ไวรี่ ด้วย” พล.ต.ท.สมคิด กล่าวไว้ พร้อมกันนี้ พล.ต.ท.สมคิด ยังได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการให้พิจารณาก่อนมีคำสั่งใด ๆ ออกมาด้วย
ต่อมา เมื่อวันที่ 11 ม.ค. พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี นายตำรวจนอกราชการ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีอุ้มฆ่านายอัลรู ไวรี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ได้ยื่นฟ้อง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย รองอธิบดีดีเอสไอ, พ.ต.ท.เบญจพล จันทวรรณ พนักงานสอบสวนดีเอสไอ, นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว และนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ซึ่งเข้าร่วมสอบสวนคดี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 และ 157 ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้เพื่อมีคำสั่งต่อไป โดยนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 5 เม.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
และล่าสุดในวันนี้ (12 ม.ค.) นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ออกมาชี้ชัดหลังพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5 ผบช.ภ.5, พ.ต.อ. สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่านายอัลรู ไวรี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ได้เดินทางมาพร้อมทนายเข้าพบเพื่อฟังคำสั่งในคดีดังกล่าว ว่า อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อหาหน่วงเหนี่ยว ปกปิดการกระทำอื่นของตน และหลีกเลี่ยงความผิดอาญา ความผิดอื่นที่ตนได้กระทำ และร่วมกันหน่วงเหนี่ยวทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยอัยการเชื่อว่าพยานหลักฐานใหม่ที่ดีเอสไอได้มามีความชัดเจนเพียงพอ
เมื่อมาถึงนาทีนี้ แม้คดีใกล้จะหมดอายุความ ในวันที่ 12 ก.พ.ศกนี้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทำงานของกระบวนการยุติธรรม ที่ได้แสดงความจริงจัง และจริงใจสะท้อนให้เห็นถึงความคืบหน้าของคดีการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ ซึ่งการที่อัยการสั่งฟ้อง "พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม" กับพวก ในวันนี้ (12 ม.ค.) ถือเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย กำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเห็นได้ว่า คดีนี้มีความคืบหน้าไปมาก และเป็นเรื่องที่ทางซาอุดีอาระเบีย เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะผลักดันให้คดีดังกล่าวมีความคืบหน้าสืบไป
บทสรุปของ "พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม" อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ ณ วันนี้ แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณาของกระบวนการชั้นศาล ซึ่งต้องต่อสู้กันและรอการพิสูจน์ความจริงกันต่อไป
เมื่อย้อนถึงเหตุการณ์การหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่นั้น นายมูฮัมหมัดนายอัลรูไวรี่ ขับรถหมายเลขทะเบียน 3 ข- 9867 กทม. ออกจากบ้านไปทำงานเวลาบ่ายสามโมง แล้วหายตัวไป ต่อมาทางการซาอุฯเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ โดยตำรวจได้ออกสืบสวนตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ไม่พบ จนวันที่ 15 ก.พ.33 ได้พบรถยนต์จอดอยู่ที่ลานจอดรถของรพ.กรุงเทพคริสเตียน แต่ไม่พบ นายอัลรู ไวรี่ เมื่อสอบถาม นางจามารี ซึ่งเป็นญาติก็ไม่ทราบ และได้เดินทางกลับประเทศซาอุฯไป ทางตำรวจจึงส่งรูปถ่ายพร้อมตำหนิรูปพรรณ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีคำสั่งให้สืบหาตัวแต่ก็ไม่พบ จนกระทั่งมีการก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอขึ้น ทางตำรวจจึงได้โอนเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษรับผิดชอบ และตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการสืบสวนสอบสวนต่อ ก็ยังไม่พบตัวนายอัลรูไวรี่แต่อย่างใด
คดีความการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ จางหายไปกับวันเวลานับสิบปี จนกระทั่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษในสมัยของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นอธิบดี ได้ปัดฝุ่นคดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ขึ้นมา และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการออกหมายเรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และจ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ปิดบังซ่อนเร้นทำ ลายศพ ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำหรือไม่กระทำการใด โดยดีเอสไอระบุว่า "มีพยานหลักฐานใหม่" ซึ่งมีน้ำหนักพอที่จะสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีนี้ได้
พล.ต.ท.สมคิด บอกไว้เมื่อครั้งถูกดีเอสไอเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า การสอบสวนคดีนี้ ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรู ไวรี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม ครั้งนี้ จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรู ไวรี่ ด้วย” พล.ต.ท.สมคิด กล่าวไว้ พร้อมกันนี้ พล.ต.ท.สมคิด ยังได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการให้พิจารณาก่อนมีคำสั่งใด ๆ ออกมาด้วย
ต่อมา เมื่อวันที่ 11 ม.ค. พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี นายตำรวจนอกราชการ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีอุ้มฆ่านายอัลรู ไวรี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ได้ยื่นฟ้อง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย รองอธิบดีดีเอสไอ, พ.ต.ท.เบญจพล จันทวรรณ พนักงานสอบสวนดีเอสไอ, นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว และนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ซึ่งเข้าร่วมสอบสวนคดี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 และ 157 ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้เพื่อมีคำสั่งต่อไป โดยนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 5 เม.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
และล่าสุดในวันนี้ (12 ม.ค.) นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ออกมาชี้ชัดหลังพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5 ผบช.ภ.5, พ.ต.อ. สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่านายอัลรู ไวรี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ได้เดินทางมาพร้อมทนายเข้าพบเพื่อฟังคำสั่งในคดีดังกล่าว ว่า อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อหาหน่วงเหนี่ยว ปกปิดการกระทำอื่นของตน และหลีกเลี่ยงความผิดอาญา ความผิดอื่นที่ตนได้กระทำ และร่วมกันหน่วงเหนี่ยวทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยอัยการเชื่อว่าพยานหลักฐานใหม่ที่ดีเอสไอได้มามีความชัดเจนเพียงพอ
เมื่อมาถึงนาทีนี้ แม้คดีใกล้จะหมดอายุความ ในวันที่ 12 ก.พ.ศกนี้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทำงานของกระบวนการยุติธรรม ที่ได้แสดงความจริงจัง และจริงใจสะท้อนให้เห็นถึงความคืบหน้าของคดีการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ ซึ่งการที่อัยการสั่งฟ้อง "พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม" กับพวก ในวันนี้ (12 ม.ค.) ถือเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย กำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเห็นได้ว่า คดีนี้มีความคืบหน้าไปมาก และเป็นเรื่องที่ทางซาอุดีอาระเบีย เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะผลักดันให้คดีดังกล่าวมีความคืบหน้าสืบไป
บทสรุปของ "พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม" อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ ณ วันนี้ แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณาของกระบวนการชั้นศาล ซึ่งต้องต่อสู้กันและรอการพิสูจน์ความจริงกันต่อไป