เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น คงหนีไม่พ้น มหากาพย์เพชรซาอุฯอันลือลั่น สลับซับซ้อน เริ่มตั้งปี พ.ศ.2532 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ซาอุฯ ก็สะดุดลงหลายครั้งหลายคราว แม้ปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่คดีเพชรซาอุฯจะยังไม่สามารถปิดฉากของคดีลงได้ เพราะทางการซาอุฯ โดยเฉพาะเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด (Prince Faisal Bin Fahd Bin Abdul Aziz) เจ้าของเครื่องเพชรมูลค่ามหาศาล ที่ต้องการ"บลูไดมอนด์" อันเป็นเพชรต้นตระกูลกลับคืนสู่พระราชวังเพียงอย่างเดียว หลังจากที่เจ้าเสือร้าย "เกรียงไกร เตชะโม่ง" หนุ่มขายแรงงานชาวลำปาง โจรกรรมเครื่องเพชรทั้งหมดมาจากพระราชวังของกษัตริย์ไฟซาล ถือเป็นจุดเรื่มต้นของคดีความ - ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
แม้เรื่องราวของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเพชรซาอุฯ ที่ถูกระบุว่า เป็นเรื่องราวที่ "ต้องอาถรรพ์" อย่างพล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผบช.ประจำกรมตำรวจ จะถูกศาลฏีกาพิพากษาตัดสินประหารชีวิต ในคดีอุ้มฆ่านางดาราวดี และด.ช.เสรี สองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ อันเป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์คดีเพชรซาอุฯไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีคดีที่เกี่ยวเนื่องถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซาอุดีอาระเบียกับไทยอีกหลายคดี ที่ทางการซาอุฯต้องการให้ไทย ได้แสดงจุดยืน และความจริงใจในการคลี่คลายคดี เพราะตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา ในสายตาของทางการซาอุฯมองเพียงว่า ไทย ไม่มีความจริงใจในการคลี่คลายคดีต่างๆที่เกิดขึ้นกับพลเมืองซาอุดิอาระเบียในผืนแผ่นดินไทย จึงได้ลดชั้นความสัมพันธ์ลงเหลือเพียงแค่ส่ง"อุปทูต"มาประจำประเทศไทยเท่านั้น
อีกคดีที่ทางการซาอุฯให้ความสำคัญ โดยต้องการมองว่า ไทยจะมีความจริงใจแค่ไหนในการคลี่คลายคดี ซึ่งกำลังจะหมดอายุความลงในวันที่ 12 ก.พ.ศกนี้ นั่นคือ การหายตัวไปของ นายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย และยังมีศักดิ์เป็นพระญาติของกษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบียด้วย ที่ปัจจุบัน ยังไม่พบตัว หรือเบาะแสใดๆทั้งสิ้น
เมื่อย้อนถึงเหตุการณ์การหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่นั้น นายมูฮัมหมัดนายอัลรูไวรี่ ขับรถหมายเลขทะเบียน 3 ข- 9867 กทม. ออกจากบ้านไปทำงานเวลาบ่ายสามโมง แล้วหายตัวไป ต่อมาทางการซาอุฯเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ โดยตำรวจได้ออกสืบสวนตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ไม่พบ จนวันที่ 15 ก.พ.33 ได้พบรถยนต์จอดอยู่ที่ลานจอดรถของรพ.กรุงเทพคริสเตียน แต่ไม่พบ นายอัลรูไวรี่ เมื่อสอบถาม นางจามารี ซึ่งเป็นญาติก็ไม่ทราบ และได้เดินทางกลับประเทศซาอุฯไป ทางตำรวจจึงส่งรูปถ่ายพร้อมตำหนิรูปพรรณ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีคำสั่งให้สืบหาตัวแต่ก็ไม่พบ จนกระทั่งมีการก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอขึ้น ทางตำรวจจึงได้โอนเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษรับผิดชอบ และตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการสืบสวนสอบสวนต่อ ก็ยังไม่พบตัวนายอัลรูไวรี่แต่อย่างใด
คดีความการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ จางหายไปกับวันเวลานับสิบปี จนกระทั่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษในสมัยของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นอธิบดี ได้ปัดฝุ่นคดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ขึ้นมา ท่ามกลางความสงสัยที่ พ.ต.อ.ทวี หยิบยกคดีนี้ขึ้นมาในสถานการณ์ที่เก้าอี้อธิบดีของเขาเริ่มสั่นคอน และนั่น เป็นจุดเริ่มต้นของการออกหมายเรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และจ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ปิดบังซ่อนเร้นทำ ลายศพ ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำหรือไม่กระทำการใด โดยดีเอสไอระบุว่า "มีพยานหลักฐานใหม่" ซึ่งมีน้ำหนักพอที่จะสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีนี้ได้
พล.ต.ท.สมคิด บอกไว้เมื่อครั้งถูกดีเอสไอเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า การสอบสวนคดีนี้ ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรูไวลี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม ครั้งนี้ จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรูไวลี ซึ่งสื่อมวลชนจะทราบในวันที่ท่านเดินทางมาเบิกความ” พล.ต.ท.สมคิด กล่าวไว้
มาถึงปัจจุบัน อายุความแห่งคดีใกล้จะหมดลงไปทุกวัน คดีการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ กลับถูกนำขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง และมีนัยยะสำคัญเมื่อนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ในวันที่ 11 มกราคมนี้ อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย จะเดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพูดคุยเรื่องความคืบหน้าคดีการหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ โดยการหารือครั้งนี้ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย กำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเห็นได้ว่า คดีนี้มีความคืบหน้าไปมาก และเป็นเรื่องที่ทางซาอุดีอาระเบีย เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะผลักดันให้คดีดังกล่าวมีความคืบหน้าสืบไป
นอกเหนือจากนัยยะสำคัญที่อุปทูตซาอุฯจะเข้าพบนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีนัยยะที่สำคัญยิ่งกับคดีนี้ นั่นคือ ในวันที่ 12 มกราคมนี้ พนักงานอัยการ แสดงความมั่นใจว่า จะสามารถสั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาในคดีได้ทันเวลาที่อายุความของคดีจะหมดไปในวันเดียวกัน หลังจากที่ดีเอสไอมีคำสั่งฟ้องและส่งไม้ต่อให้กับพนักงานอัยการ ตามคำยืนยันของนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ที่ระบุว่า "คดีนี้ผู้ต้องหายืนคำร้องขอความเป็นธรรม ต่อ อัยการสูงสุด(อสส.)ให้พิจารณาสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบเพิ่มเติมอีก 8 ประเด็น เมื่อ อสส.ได้รับหนังสือก็ส่งมาให้ตน จึงได้มอบหมายให้นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เจ้าของสำนวนนำไปพิจารณา ส่วนจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อนวันนัดสั่งคดีในวันที่ 12 ม.ค.นี้ หรือต้องเลื่อนการสั่งคดีออกไปคงตอบไม่ได้ แต่คดีนี้จะขาดอายุความในเดือน ก.พ.ตามปกติอัยการควรต้องสั่งคดีก่อนที่คดีก่อนที่จะขาดอายุความ
ขณะที่นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ออกมายืนยันเช่นกันว่า "ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหาว่าเป็นสาระสำคัญที่จะต้องสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ รวมทั้งประเด็นที่ผู้ต้องหาร้องว่าการดำเนินคดีซ้ำซ้อนนั้นจริงหรือไม่ด้วย โดยยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจะสั่งคดีไปในแนวทางใด อย่างไรก็ดี ส่วนตัวมั่นใจว่าจะสามารถมีคำสั่งทั้งส่วนคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหา และคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหา ทันกำหนดนัดสั่งคดีในวันที่ 12 ม.ค.นี้"
นัยยะสำคัญทั้ง 2 ประการชี้ให้เห็นว่า คดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับประเทศ ทั้งไทย และซาอุดิอารเบีย ดังนั้น แม้ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาอย่าง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม กับพวก จะร้องขอความเป็นธรรมไปยังอัยการสูงสุดในประเด็นต่างๆอย่างไรก็ตาม เชื่อแน่ว่า คดีนี้ จะถูกนำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล และจะกลายเป็นอีกหนึ่งมหากาพย์แห่งคดี ไม่แพ้มหากาพย์เพชรซาอุฯแน่นอน
แม้เรื่องราวของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเพชรซาอุฯ ที่ถูกระบุว่า เป็นเรื่องราวที่ "ต้องอาถรรพ์" อย่างพล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผบช.ประจำกรมตำรวจ จะถูกศาลฏีกาพิพากษาตัดสินประหารชีวิต ในคดีอุ้มฆ่านางดาราวดี และด.ช.เสรี สองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ อันเป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์คดีเพชรซาอุฯไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีคดีที่เกี่ยวเนื่องถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซาอุดีอาระเบียกับไทยอีกหลายคดี ที่ทางการซาอุฯต้องการให้ไทย ได้แสดงจุดยืน และความจริงใจในการคลี่คลายคดี เพราะตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา ในสายตาของทางการซาอุฯมองเพียงว่า ไทย ไม่มีความจริงใจในการคลี่คลายคดีต่างๆที่เกิดขึ้นกับพลเมืองซาอุดิอาระเบียในผืนแผ่นดินไทย จึงได้ลดชั้นความสัมพันธ์ลงเหลือเพียงแค่ส่ง"อุปทูต"มาประจำประเทศไทยเท่านั้น
อีกคดีที่ทางการซาอุฯให้ความสำคัญ โดยต้องการมองว่า ไทยจะมีความจริงใจแค่ไหนในการคลี่คลายคดี ซึ่งกำลังจะหมดอายุความลงในวันที่ 12 ก.พ.ศกนี้ นั่นคือ การหายตัวไปของ นายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย และยังมีศักดิ์เป็นพระญาติของกษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบียด้วย ที่ปัจจุบัน ยังไม่พบตัว หรือเบาะแสใดๆทั้งสิ้น
เมื่อย้อนถึงเหตุการณ์การหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่นั้น นายมูฮัมหมัดนายอัลรูไวรี่ ขับรถหมายเลขทะเบียน 3 ข- 9867 กทม. ออกจากบ้านไปทำงานเวลาบ่ายสามโมง แล้วหายตัวไป ต่อมาทางการซาอุฯเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ โดยตำรวจได้ออกสืบสวนตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ไม่พบ จนวันที่ 15 ก.พ.33 ได้พบรถยนต์จอดอยู่ที่ลานจอดรถของรพ.กรุงเทพคริสเตียน แต่ไม่พบ นายอัลรูไวรี่ เมื่อสอบถาม นางจามารี ซึ่งเป็นญาติก็ไม่ทราบ และได้เดินทางกลับประเทศซาอุฯไป ทางตำรวจจึงส่งรูปถ่ายพร้อมตำหนิรูปพรรณ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีคำสั่งให้สืบหาตัวแต่ก็ไม่พบ จนกระทั่งมีการก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอขึ้น ทางตำรวจจึงได้โอนเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษรับผิดชอบ และตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการสืบสวนสอบสวนต่อ ก็ยังไม่พบตัวนายอัลรูไวรี่แต่อย่างใด
คดีความการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ จางหายไปกับวันเวลานับสิบปี จนกระทั่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษในสมัยของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นอธิบดี ได้ปัดฝุ่นคดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ขึ้นมา ท่ามกลางความสงสัยที่ พ.ต.อ.ทวี หยิบยกคดีนี้ขึ้นมาในสถานการณ์ที่เก้าอี้อธิบดีของเขาเริ่มสั่นคอน และนั่น เป็นจุดเริ่มต้นของการออกหมายเรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน, พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี, พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และจ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ปิดบังซ่อนเร้นทำ ลายศพ ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำหรือไม่กระทำการใด โดยดีเอสไอระบุว่า "มีพยานหลักฐานใหม่" ซึ่งมีน้ำหนักพอที่จะสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีนี้ได้
พล.ต.ท.สมคิด บอกไว้เมื่อครั้งถูกดีเอสไอเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า การสอบสวนคดีนี้ ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรูไวลี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม ครั้งนี้ จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรูไวลี ซึ่งสื่อมวลชนจะทราบในวันที่ท่านเดินทางมาเบิกความ” พล.ต.ท.สมคิด กล่าวไว้
มาถึงปัจจุบัน อายุความแห่งคดีใกล้จะหมดลงไปทุกวัน คดีการหายตัวไปของนายอัลรูไวรี่ กลับถูกนำขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง และมีนัยยะสำคัญเมื่อนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ในวันที่ 11 มกราคมนี้ อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย จะเดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพูดคุยเรื่องความคืบหน้าคดีการหายตัวไปของนายมูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ โดยการหารือครั้งนี้ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย กำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเห็นได้ว่า คดีนี้มีความคืบหน้าไปมาก และเป็นเรื่องที่ทางซาอุดีอาระเบีย เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะผลักดันให้คดีดังกล่าวมีความคืบหน้าสืบไป
นอกเหนือจากนัยยะสำคัญที่อุปทูตซาอุฯจะเข้าพบนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีนัยยะที่สำคัญยิ่งกับคดีนี้ นั่นคือ ในวันที่ 12 มกราคมนี้ พนักงานอัยการ แสดงความมั่นใจว่า จะสามารถสั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาในคดีได้ทันเวลาที่อายุความของคดีจะหมดไปในวันเดียวกัน หลังจากที่ดีเอสไอมีคำสั่งฟ้องและส่งไม้ต่อให้กับพนักงานอัยการ ตามคำยืนยันของนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ที่ระบุว่า "คดีนี้ผู้ต้องหายืนคำร้องขอความเป็นธรรม ต่อ อัยการสูงสุด(อสส.)ให้พิจารณาสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบเพิ่มเติมอีก 8 ประเด็น เมื่อ อสส.ได้รับหนังสือก็ส่งมาให้ตน จึงได้มอบหมายให้นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เจ้าของสำนวนนำไปพิจารณา ส่วนจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อนวันนัดสั่งคดีในวันที่ 12 ม.ค.นี้ หรือต้องเลื่อนการสั่งคดีออกไปคงตอบไม่ได้ แต่คดีนี้จะขาดอายุความในเดือน ก.พ.ตามปกติอัยการควรต้องสั่งคดีก่อนที่คดีก่อนที่จะขาดอายุความ
ขณะที่นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ออกมายืนยันเช่นกันว่า "ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหาว่าเป็นสาระสำคัญที่จะต้องสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ รวมทั้งประเด็นที่ผู้ต้องหาร้องว่าการดำเนินคดีซ้ำซ้อนนั้นจริงหรือไม่ด้วย โดยยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจะสั่งคดีไปในแนวทางใด อย่างไรก็ดี ส่วนตัวมั่นใจว่าจะสามารถมีคำสั่งทั้งส่วนคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหา และคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหา ทันกำหนดนัดสั่งคดีในวันที่ 12 ม.ค.นี้"
นัยยะสำคัญทั้ง 2 ประการชี้ให้เห็นว่า คดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯผู้นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับประเทศ ทั้งไทย และซาอุดิอารเบีย ดังนั้น แม้ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาอย่าง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม กับพวก จะร้องขอความเป็นธรรมไปยังอัยการสูงสุดในประเด็นต่างๆอย่างไรก็ตาม เชื่อแน่ว่า คดีนี้ จะถูกนำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล และจะกลายเป็นอีกหนึ่งมหากาพย์แห่งคดี ไม่แพ้มหากาพย์เพชรซาอุฯแน่นอน