คดีที่ "นังมายา-นังเอก หรือนังเพ็ญ" จักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหา ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการเป็นผู้บรรยายกล่าวบรรยายพิเศษเป็นภาษาอังกฤษที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ตั้งเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2550 โน้น มาถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 2 ปีเต็มแล้ว คดีนี้ มีอุปสรรคตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ มุ่งกิจการดี พนักงานสอบสวน สน.บางมด ช่วยราชการ สน.พหลโยธิน เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีต่อนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ที่ว่ามีอุสรรค เพราะขณะนั้น "นังเอก" นิกเนมเดิมของนายจักรภพ มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นถึง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่ผู้ฟ้องร้องให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามดำเนินคดีกับรัฐมนตรีนั้น เป็นใครมาจากไหนไม่มีใครรู้ แต่มารู้ภายหลังว่า เขาเป็นนายตำรวจยศพ.ต.ท. และเป็นข้าราชการตำรวจที่มีความจงรักภักดีอย่างสูงส่งเพียงเท่านั้น
คดีเริ่มพบกับอุปสรรคตั้งแต่ในชั้นพนักงานสอบสวน จนนกระทั่งสำนวนคดีถึงมืออัยการ ก็ยังไม่มีการรส่งฟ้องต่อศาล จนกระทั่ง"นังเอก" หรือ "นังเพ็ญ"เผ่นหนีไปกบดานยังนอกประเทศ และจนถึงขณะนี้ อัยการก็ยังไม่ส่งฟ้อง โดยอ้างว่า เอกสารภาษาอังกฤษที่ถอดมาจากคำพูดของนายจักรภพยังแปลไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ด้วยสามัญสำนึกง่ายๆของบุคคลทั่วไป จึงเกิดคำถามขึ้นว่า เอกสารดังกล่าวใช้เวลาถึง 2 ปี ยังแปลกันไม่เสร็จหรืออย่างไร
เมื่อย้อนกลับไปดูการสั่งเลื่อนคดีในการที่จะฟ้องนายจักรภพนั้น ถูกดำเนินการมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนและในชั้นพนักงานอัยการรวมทั้งหมด 5 ครั้ง ประกอบด้วย
ในชั้นพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2551 ทนายความนายจักรภพ ไปกองปราบ ร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก และต่อมาได้โทรศัพท์แจ้งตำรวจ ขอเลื่อนส่งตัว และสำนวนคดีไปให้อัยการ จากนั้นมีการยื้อ จนต้องเริ่มต้นขั้นตอนใหม่ ด้วยการสอบพยานเพิ่ม ส่งให้คณะกรรมการหลายระดับพิจารณา ก่อนจะสรุปสำนวนสั่งฟ้องและส่งให้กับอัยกาาร
ในชั้นอัยการ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2552 อัยการเได้ลื่อนสั่งคดีออกไปโดยระบุว่า พบข้อบกพร่องบางประการเกี่ยวกับการแปลความถ้อยคำ จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามไปทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็น
15 มิ.ย. 2552 อัยการนัดเลื่อนสสั่งคดีอีก เนื่องจากพนักงานสอบสวนยังสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเรื่องการแปลเอกสาร และสอบพยานในส่วนที่ผู้ต้องหาร้องขอยังไม่แล้วเสร็จ คณะทำงานอัยการ จึงได้ทำหนังสือเร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร็ว และให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีออกไปอีก
17 ก.ค. 2552 ทนายความ นายจักรภพ เดินทางมาพบอัยการ พร้อมยื่นเรื่องขอเลื่อนนัดฟังคำสั่ง ขณะที่อัยการยังต้องรอผลการสอบสวนเพิ่มเติม ดังนั้น จึงเลื่อนนัดการสั่งคดีออกไปก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
และล่าสุด 4 ก.ย. อัยการ มีคำสั่งเลื่อนนัดสั่งคดีออกไปอีก เนื่องจากหัวหน้าคณะทำงานอัยการคดีนี้ ยังไม่ส่งผลสรุปความเห็นอัยการเกี่ยวกับการสั่งคดีนายจักรภพมาให้พิจารณา อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังไม่ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นการแปลเอกสารคำบรรยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้งยังไม่ส่งผลการสอบปากคำพยานบุคคลที่นายจักรภพร้องขอความเป็นธรรมให้สอบเพิ่มเติมมาให้ ทำให้อัยการยังไม่สรุปว่า จะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง และให้เลื่อนออกไปอีก 1 เดือน
ส่วนการดำเนินคดีกับนายจักรภพนั้น มีขั้นตอนที่ถุกยื้อไปยื้อมาหลายครั้งหลสายหน โดยเฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งคงต้องย้อนกลับไปดูการดำเนินการฟ้องร้องนายจักรภพ ตั้งแต่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามรับเรื่องของพ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ไว้ แล้วต้องนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นเบื้องสูง
24 มี.ค.2551 พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ มุ่งกิจการดี พนักงานสอบสวน (สบ 2) สน.บางมด ช่วยราชการ สน.พหลโยธิน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.จตุพร งามสุวิชชากุล พนักงานสอบสวน (สบ 2) กลุ่มงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีที่ นายจักรภพ แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟทีทีซี) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 โดยมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง มีการกล่าวถึงระบบราชาธิปไตยเปรียบเทียบกับประชาธิปไตย ระบบอุปถัมภ์กับสังคมไทย โดยนำแผ่นดีวีดีบันทึกการแถลงข่าวพร้อมกับเอกสารคำแปลภาษาจากอังกฤษเป็นภาษาไทยตามเนื้อหาในแผ่นดีวีดีดังกล่าว มอบให้กับพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
21 พ.ค.2551 พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษก ตร. (ยศ-ตำแหน่งขณะนั้น) ระบุว่า ยังไม่มีความคืบหน้า กองการต่างประเทศ ตร.ยังแปลความหมายของคำกล่าวของนายจักรภพไม่เรียบร้อย ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ หากแปลความหมายมาแล้วพบว่าเข้าข่ายความผิดตามข้อกล่าวหาการพิจารณาจะเชิญนายจักรภพ มาให้ปากคำหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจการพิจารณาของพนักสอบสวนกองบังคับการปราบปราม
22 พ.ค.2551 คณะพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เรียกประชุม เพื่อพิจารณาว่า คำกล่าวของนายจักรภพจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ และผลการประชุมครั้งนั้น พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง ผบช.ก. ฐานะรอง โฆษก ตร. ระบุว่า ทางกองการต่างประเทศได้แปลเอกสารดังกล่าวเสร็จแล้ว โดยจะส่งพนักงานสอบสวนในการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินคดีก็จะต้องยึดการแปลของกองการต่างประเทศเป็นหลัก และหากคดีถึงขั้นพิจารณาในชั้นศาลก็ต้องยึดคำแปลของกองการต่างประเทศเป็นหลักเช่นกัน เพราะถือเป็นผู้ชำนาญการ
23 พ.ค.2551 นายจักรภพ ออกมาพูดเป็นครั้งแรกถึงคดีของตนเองที่ตกเป็นผู้ต้องหาในวันเกิดของนายวัระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม เวลา 14.00 น.จะแถลงข่าวที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ถึงท่าทีการเมือง และกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นสถาบันเบื้องสูง เพราะในฐานะที่เป็นพสกนิกร ต่างก็เดือดร้อนใจ และเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวหา หากไม่ชี้แจงหรืออธิบายคงไม่ได้ ซึ่งการชี้แจงต้องสมบูรณ์ และต้องรู้เลยว่า ใครที่ต้องการทำอะไรอยู่กับบ้านเมือง
29 พ.ค. 2551 คณะกรรมการพิจารณาคดีการสอบสวนเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ บช.ก. มีมติสรุปกรณีนายจักรภพที่พูดพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า มีพฤติการณ์เป็นความผิดตามมาตรา 112 คือผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี
5 มิ.ย. 2551 นายจักรภพ แอบส่งทนายความ เป็นตัวแทนไปเจรจากับคณะพนักงานสอบสวนบช.ก. โดยมีขั้นตอนที่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้คณะกรรมการระดับ บช.ก.ลงความเห็นเสนอให้คณะกรรมการระดับ ตร. เพื่อส่งอัยการดำเนินคดีต่อ แม้ในวันนั้น นายจักรภพๆไม่ไปพบตำรวจ แต่ตำรวจก็ไม่ได้ออกหมายเรียก หรือหมายจับ
12 มิ.ย. 2551 นายจักรภพ พร้อมแก๊งนปก. ไปพบพนักงานสอบสวนกองปราบฯ สู้คดีพร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด แต่ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ขณะที่ตำรวจอำนวยความสะดวกเต็มที่ ให้กลับบ้านได้โดยไม่ต้องประกันตัว อ้างเหตุผลเพราะยังไม่ได้ออกหมายเรียก และยังไม่ใช่ผู้ต้องหา โดยระบุ จะใช้เวลา 2 สัปดาห์สรุปสำนวนส่งผบ.ตร. ให้มีความเห็นทางคดีอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ ผบช.ก.คนเก่า(พล.ต.ท.อดิศร)เคยชี้ขาดแล้วว่าผิดชัดเจน (ผบช.ก.เปลี่ยนจากพล.ต.ท.อดิศร นนทรีย์ เป็นพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง) โดยมีขั้นตอนในระดับ ตร. ระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จะต้องส่งเรื่องมาให้กับคณะกรรมการในระดับ ตร.ซึ่งมี พล.ต.อ.วงกต มณีริณทร์ รอง ผบ.ตร.ฝ่ายกฎหมายและสอบสวนเป็นประธานดูหลักฐานพยานที่รวบรวมมาได้ กลั่นกรองว่ามีความเห็นอย่างไร
25 มิ.ย.2551 พล.ต.ต.สมเดช ขาวขำ รองผบช.ก. หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีนี้ ระบุว่า จะต้องรอเอกสารชี้แจงข้อกล่าวหาของนายจักรภพ รวมถึงเอกสารคำแปลถ้อยคำที่นายจักรภพปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนที่นายจักรภพเป็นผู้แปล โดยนายจักรภพนัดส่งมอบเอกสารทั้งหมดมาให้พนักงานสอบสวนต้นเดือน ก.ค และจะสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอให้คณะกรรมการระดับบช.ก.ลงความเห็น จากนั้นจะเสนอต่อให้คณะกรรมการระดับ ตร. ที่มี พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.ฝ่ายกฎหมายและสอบสวนเป็นประธานพิจารณาอีกครั้งเพื่อส่งอัยการดำเนินคดีต่อ
30 มิ.ย. 2551 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้รับแจ้งจากใครด้วยวาจา และยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการระดับ ตร.พิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายจักรภพ เพ็ญแขแต่อย่างใด และยังไม่ทราบเรื่องใดๆ โดยขั้นตอนทุกอย่างอยู่ที่พนักงานสอบสวน อยู่ทางฝ่ายปราบปรามเค้าดูแลกันอยู่
2 ก.ค. 2551 นายจักรภพ นำคำแปลส่วนตนไปส่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม
24 ก.ค. 2551 พนักงานสอบสวนบก.ป. ส่งสรุปสำนวน 400 หน้า ให้คณะกรรมการระดับบช.ก.ลงความเห็น ก่อนจะส่งคณะกรรมการระดับ ตร.ชี้ขาดอีกชั้น
15 ส.ค. 2551 คณะกรรมการระดับบช.ก.ประชุมสรุปผล มีความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายจักรภพ
19 ส.ค. 2551 คณะกรรมการระดับ บช.กได้เห็นชอบสรุปสำนวนฟ้อง ส่งไปยังคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าคณะกรรมการสอบสวน พิจารณาอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับ บช.ก.หรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น
9 ก.ย. 2551 ที่ประชุมบอร์ด ตร.เห็นด้วยสั่งฟ้องนายจักรภพ โดยพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รองผบ.ตร. ระบุว่า พยานหลักฐานเพียงพอ พร้อมเสนอ ผบ.ตร.พิจารณาก่อนส่งให้อัยการสั่งฟ้องต่อ
16 ก.ย. 2551 ทนายความนายจักรภพ ไปกองปราบ ร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก
19 ก.ย. 2551 นายจักรภพโทรศัพท์แจ้งตำรวจ ขอเลื่อนส่งตัว และสำนวนคดีไปให้อัยการ
25 ก.ย. 2551 พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ โยนให้ผบ.ตร. พิจารณาจะให้สอบพยาน 18 ปากตามที่นายจักรภพร้องขอหรือไม่
28 ต.ค. 2551 เริ่มต้นคดีใหม่ ผบ.ตร.ให้สอบพยานเพิ่ม และต้องให้คณะกรรมการระดับบช.ก.-ระดับ ตร.พิจารณาอีกครั้ง
23 ธ.ค.2551 บช.ก.(พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา เป็นประธาน)มีความเห็นชี้มูลคดีนายจักรภพหมิ่นเบื้องสูง ตามที่คณะกรรมการชุดก่อนมีความเห็นสั่งฟ้องไปแล้ว โดยให้กรรมการระดับ ตร.มีความเห็นส่งฟ้องให้อัยการต่อไป
13 ม.ค.2552 พนักงานสอบสวนกองปราบปราม นำสำนวนคดีส่งอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง ขณะที่อัยการนัดสั่งคดีอีก 30 วัน ส่วนนายจักรภพ ระบุตำรวจทำสำนวนบกพร่องหลายประเด็น โดยเฉพาะการแปลถ้อยคำจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเตรียมขอความเป็นธรรมให้อัยการสอบพยานเพิ่มเติมอีก ซึ่งอัยการก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สั่งให้มีการเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง จนถึง ณ ปัจจุบัน การสรุปสำนวนคดีว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็ยังไม่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล เพราะสาเหตุเพียงว่า "ยังแปลเอกสารไม่เสร็จสมบูรณ์"
ที่ว่ามีอุสรรค เพราะขณะนั้น "นังเอก" นิกเนมเดิมของนายจักรภพ มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นถึง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่ผู้ฟ้องร้องให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามดำเนินคดีกับรัฐมนตรีนั้น เป็นใครมาจากไหนไม่มีใครรู้ แต่มารู้ภายหลังว่า เขาเป็นนายตำรวจยศพ.ต.ท. และเป็นข้าราชการตำรวจที่มีความจงรักภักดีอย่างสูงส่งเพียงเท่านั้น
คดีเริ่มพบกับอุปสรรคตั้งแต่ในชั้นพนักงานสอบสวน จนนกระทั่งสำนวนคดีถึงมืออัยการ ก็ยังไม่มีการรส่งฟ้องต่อศาล จนกระทั่ง"นังเอก" หรือ "นังเพ็ญ"เผ่นหนีไปกบดานยังนอกประเทศ และจนถึงขณะนี้ อัยการก็ยังไม่ส่งฟ้อง โดยอ้างว่า เอกสารภาษาอังกฤษที่ถอดมาจากคำพูดของนายจักรภพยังแปลไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ด้วยสามัญสำนึกง่ายๆของบุคคลทั่วไป จึงเกิดคำถามขึ้นว่า เอกสารดังกล่าวใช้เวลาถึง 2 ปี ยังแปลกันไม่เสร็จหรืออย่างไร
เมื่อย้อนกลับไปดูการสั่งเลื่อนคดีในการที่จะฟ้องนายจักรภพนั้น ถูกดำเนินการมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนและในชั้นพนักงานอัยการรวมทั้งหมด 5 ครั้ง ประกอบด้วย
ในชั้นพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2551 ทนายความนายจักรภพ ไปกองปราบ ร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก และต่อมาได้โทรศัพท์แจ้งตำรวจ ขอเลื่อนส่งตัว และสำนวนคดีไปให้อัยการ จากนั้นมีการยื้อ จนต้องเริ่มต้นขั้นตอนใหม่ ด้วยการสอบพยานเพิ่ม ส่งให้คณะกรรมการหลายระดับพิจารณา ก่อนจะสรุปสำนวนสั่งฟ้องและส่งให้กับอัยกาาร
ในชั้นอัยการ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2552 อัยการเได้ลื่อนสั่งคดีออกไปโดยระบุว่า พบข้อบกพร่องบางประการเกี่ยวกับการแปลความถ้อยคำ จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามไปทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็น
15 มิ.ย. 2552 อัยการนัดเลื่อนสสั่งคดีอีก เนื่องจากพนักงานสอบสวนยังสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเรื่องการแปลเอกสาร และสอบพยานในส่วนที่ผู้ต้องหาร้องขอยังไม่แล้วเสร็จ คณะทำงานอัยการ จึงได้ทำหนังสือเร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร็ว และให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีออกไปอีก
17 ก.ค. 2552 ทนายความ นายจักรภพ เดินทางมาพบอัยการ พร้อมยื่นเรื่องขอเลื่อนนัดฟังคำสั่ง ขณะที่อัยการยังต้องรอผลการสอบสวนเพิ่มเติม ดังนั้น จึงเลื่อนนัดการสั่งคดีออกไปก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
และล่าสุด 4 ก.ย. อัยการ มีคำสั่งเลื่อนนัดสั่งคดีออกไปอีก เนื่องจากหัวหน้าคณะทำงานอัยการคดีนี้ ยังไม่ส่งผลสรุปความเห็นอัยการเกี่ยวกับการสั่งคดีนายจักรภพมาให้พิจารณา อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังไม่ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นการแปลเอกสารคำบรรยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้งยังไม่ส่งผลการสอบปากคำพยานบุคคลที่นายจักรภพร้องขอความเป็นธรรมให้สอบเพิ่มเติมมาให้ ทำให้อัยการยังไม่สรุปว่า จะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง และให้เลื่อนออกไปอีก 1 เดือน
ส่วนการดำเนินคดีกับนายจักรภพนั้น มีขั้นตอนที่ถุกยื้อไปยื้อมาหลายครั้งหลสายหน โดยเฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งคงต้องย้อนกลับไปดูการดำเนินการฟ้องร้องนายจักรภพ ตั้งแต่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามรับเรื่องของพ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ไว้ แล้วต้องนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นเบื้องสูง
24 มี.ค.2551 พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ มุ่งกิจการดี พนักงานสอบสวน (สบ 2) สน.บางมด ช่วยราชการ สน.พหลโยธิน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.จตุพร งามสุวิชชากุล พนักงานสอบสวน (สบ 2) กลุ่มงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีที่ นายจักรภพ แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟทีทีซี) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 โดยมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง มีการกล่าวถึงระบบราชาธิปไตยเปรียบเทียบกับประชาธิปไตย ระบบอุปถัมภ์กับสังคมไทย โดยนำแผ่นดีวีดีบันทึกการแถลงข่าวพร้อมกับเอกสารคำแปลภาษาจากอังกฤษเป็นภาษาไทยตามเนื้อหาในแผ่นดีวีดีดังกล่าว มอบให้กับพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
21 พ.ค.2551 พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษก ตร. (ยศ-ตำแหน่งขณะนั้น) ระบุว่า ยังไม่มีความคืบหน้า กองการต่างประเทศ ตร.ยังแปลความหมายของคำกล่าวของนายจักรภพไม่เรียบร้อย ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ หากแปลความหมายมาแล้วพบว่าเข้าข่ายความผิดตามข้อกล่าวหาการพิจารณาจะเชิญนายจักรภพ มาให้ปากคำหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจการพิจารณาของพนักสอบสวนกองบังคับการปราบปราม
22 พ.ค.2551 คณะพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เรียกประชุม เพื่อพิจารณาว่า คำกล่าวของนายจักรภพจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ และผลการประชุมครั้งนั้น พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง ผบช.ก. ฐานะรอง โฆษก ตร. ระบุว่า ทางกองการต่างประเทศได้แปลเอกสารดังกล่าวเสร็จแล้ว โดยจะส่งพนักงานสอบสวนในการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินคดีก็จะต้องยึดการแปลของกองการต่างประเทศเป็นหลัก และหากคดีถึงขั้นพิจารณาในชั้นศาลก็ต้องยึดคำแปลของกองการต่างประเทศเป็นหลักเช่นกัน เพราะถือเป็นผู้ชำนาญการ
23 พ.ค.2551 นายจักรภพ ออกมาพูดเป็นครั้งแรกถึงคดีของตนเองที่ตกเป็นผู้ต้องหาในวันเกิดของนายวัระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม เวลา 14.00 น.จะแถลงข่าวที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ถึงท่าทีการเมือง และกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นสถาบันเบื้องสูง เพราะในฐานะที่เป็นพสกนิกร ต่างก็เดือดร้อนใจ และเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวหา หากไม่ชี้แจงหรืออธิบายคงไม่ได้ ซึ่งการชี้แจงต้องสมบูรณ์ และต้องรู้เลยว่า ใครที่ต้องการทำอะไรอยู่กับบ้านเมือง
29 พ.ค. 2551 คณะกรรมการพิจารณาคดีการสอบสวนเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ บช.ก. มีมติสรุปกรณีนายจักรภพที่พูดพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า มีพฤติการณ์เป็นความผิดตามมาตรา 112 คือผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี
5 มิ.ย. 2551 นายจักรภพ แอบส่งทนายความ เป็นตัวแทนไปเจรจากับคณะพนักงานสอบสวนบช.ก. โดยมีขั้นตอนที่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้คณะกรรมการระดับ บช.ก.ลงความเห็นเสนอให้คณะกรรมการระดับ ตร. เพื่อส่งอัยการดำเนินคดีต่อ แม้ในวันนั้น นายจักรภพๆไม่ไปพบตำรวจ แต่ตำรวจก็ไม่ได้ออกหมายเรียก หรือหมายจับ
12 มิ.ย. 2551 นายจักรภพ พร้อมแก๊งนปก. ไปพบพนักงานสอบสวนกองปราบฯ สู้คดีพร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด แต่ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ขณะที่ตำรวจอำนวยความสะดวกเต็มที่ ให้กลับบ้านได้โดยไม่ต้องประกันตัว อ้างเหตุผลเพราะยังไม่ได้ออกหมายเรียก และยังไม่ใช่ผู้ต้องหา โดยระบุ จะใช้เวลา 2 สัปดาห์สรุปสำนวนส่งผบ.ตร. ให้มีความเห็นทางคดีอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ ผบช.ก.คนเก่า(พล.ต.ท.อดิศร)เคยชี้ขาดแล้วว่าผิดชัดเจน (ผบช.ก.เปลี่ยนจากพล.ต.ท.อดิศร นนทรีย์ เป็นพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง) โดยมีขั้นตอนในระดับ ตร. ระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จะต้องส่งเรื่องมาให้กับคณะกรรมการในระดับ ตร.ซึ่งมี พล.ต.อ.วงกต มณีริณทร์ รอง ผบ.ตร.ฝ่ายกฎหมายและสอบสวนเป็นประธานดูหลักฐานพยานที่รวบรวมมาได้ กลั่นกรองว่ามีความเห็นอย่างไร
25 มิ.ย.2551 พล.ต.ต.สมเดช ขาวขำ รองผบช.ก. หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีนี้ ระบุว่า จะต้องรอเอกสารชี้แจงข้อกล่าวหาของนายจักรภพ รวมถึงเอกสารคำแปลถ้อยคำที่นายจักรภพปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนที่นายจักรภพเป็นผู้แปล โดยนายจักรภพนัดส่งมอบเอกสารทั้งหมดมาให้พนักงานสอบสวนต้นเดือน ก.ค และจะสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอให้คณะกรรมการระดับบช.ก.ลงความเห็น จากนั้นจะเสนอต่อให้คณะกรรมการระดับ ตร. ที่มี พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.ฝ่ายกฎหมายและสอบสวนเป็นประธานพิจารณาอีกครั้งเพื่อส่งอัยการดำเนินคดีต่อ
30 มิ.ย. 2551 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้รับแจ้งจากใครด้วยวาจา และยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการระดับ ตร.พิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายจักรภพ เพ็ญแขแต่อย่างใด และยังไม่ทราบเรื่องใดๆ โดยขั้นตอนทุกอย่างอยู่ที่พนักงานสอบสวน อยู่ทางฝ่ายปราบปรามเค้าดูแลกันอยู่
2 ก.ค. 2551 นายจักรภพ นำคำแปลส่วนตนไปส่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม
24 ก.ค. 2551 พนักงานสอบสวนบก.ป. ส่งสรุปสำนวน 400 หน้า ให้คณะกรรมการระดับบช.ก.ลงความเห็น ก่อนจะส่งคณะกรรมการระดับ ตร.ชี้ขาดอีกชั้น
15 ส.ค. 2551 คณะกรรมการระดับบช.ก.ประชุมสรุปผล มีความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายจักรภพ
19 ส.ค. 2551 คณะกรรมการระดับ บช.กได้เห็นชอบสรุปสำนวนฟ้อง ส่งไปยังคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าคณะกรรมการสอบสวน พิจารณาอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับ บช.ก.หรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น
9 ก.ย. 2551 ที่ประชุมบอร์ด ตร.เห็นด้วยสั่งฟ้องนายจักรภพ โดยพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รองผบ.ตร. ระบุว่า พยานหลักฐานเพียงพอ พร้อมเสนอ ผบ.ตร.พิจารณาก่อนส่งให้อัยการสั่งฟ้องต่อ
16 ก.ย. 2551 ทนายความนายจักรภพ ไปกองปราบ ร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก
19 ก.ย. 2551 นายจักรภพโทรศัพท์แจ้งตำรวจ ขอเลื่อนส่งตัว และสำนวนคดีไปให้อัยการ
25 ก.ย. 2551 พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ โยนให้ผบ.ตร. พิจารณาจะให้สอบพยาน 18 ปากตามที่นายจักรภพร้องขอหรือไม่
28 ต.ค. 2551 เริ่มต้นคดีใหม่ ผบ.ตร.ให้สอบพยานเพิ่ม และต้องให้คณะกรรมการระดับบช.ก.-ระดับ ตร.พิจารณาอีกครั้ง
23 ธ.ค.2551 บช.ก.(พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา เป็นประธาน)มีความเห็นชี้มูลคดีนายจักรภพหมิ่นเบื้องสูง ตามที่คณะกรรมการชุดก่อนมีความเห็นสั่งฟ้องไปแล้ว โดยให้กรรมการระดับ ตร.มีความเห็นส่งฟ้องให้อัยการต่อไป
13 ม.ค.2552 พนักงานสอบสวนกองปราบปราม นำสำนวนคดีส่งอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง ขณะที่อัยการนัดสั่งคดีอีก 30 วัน ส่วนนายจักรภพ ระบุตำรวจทำสำนวนบกพร่องหลายประเด็น โดยเฉพาะการแปลถ้อยคำจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเตรียมขอความเป็นธรรมให้อัยการสอบพยานเพิ่มเติมอีก ซึ่งอัยการก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สั่งให้มีการเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง จนถึง ณ ปัจจุบัน การสรุปสำนวนคดีว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็ยังไม่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล เพราะสาเหตุเพียงว่า "ยังแปลเอกสารไม่เสร็จสมบูรณ์"