“ลูกโอ๊ค” เบิกความยึดทรัพย์ “พ่อแม้ว” ยัน ซื้อขายหุ้นถูกต้อง มีการชำระเงินจริง ไม่ได้เป็นนอมินีถือหุ้นแทนผู้บังเกิดเกล้า ทำเป็นงงกับบรรทัดฐานกรมสรรพากร บอกเป็นผู้ถือหุ้นเรียกเก็บภาษีหมื่นล้าน แต่ คตส.ระบุถือหุ้นแทนต้องยึดทรัพย์ทั้งหมด นัดไต่สวนครั้งต่อไป 10 ก.ย.นี้
คลิกที่จอภาพเพื่อรับชม
วันนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน ไต่สวนพยานคดีที่อัยการสูงสุด ร้องขอให้ทรัพย์สินจำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งบุคคลในครอบครัวและผู้ร้องค้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ โดยขณะดำรงตำแหน่งใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
โดยในช่วงเช้าทนายความฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกร้องและทนายความฝ่ายผู้คัดค้าน นำพยานเข้าเบิกความรวม 3 ปากจนเสร็จสิ้นแล้ว ในช่วงบ่าย นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอายัดเดินทางมาพร้อมกับ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร น้องสาว เพื่อเข้าเบิกความ
นายพานทองแท้ เบิกความสรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บิดา เข้าบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จนถึงปี 2537 ต่อมาได้วางมือไปเพื่อลงเล่นการเมือง ต่อมา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ขณะนั้น) มารดาจึงเข้าบริหารงานต่อจนถึงปี 2539 แต่ยังคงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จนถึงปี 2543 ส่วนการได้มาของหุ้นชิน ของพยานนั้นได้รับโอนจากบิดา และมารดา โดยสุจริต โดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถามแบบไม่มีดอกเบี้ยรวม 6 ฉบับ เท่ากับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ได้รับมาค้ำประกันไว้ โดยก่อนโอนหุ้นให้บิดาบอกว่าจะลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว ให้พยานมารับช่วงต่อ ส่วนน้องๆ บิดามารดาได้ฝากฝังให้ช่วยดูแลให้คำปรึกษาทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องเงิน
นอกจากหุ้นชินแล้ว ยังได้รับโอนหุ้น บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ทหารไทย และ ไอเอฟซีที แบบไม่มีใบหุ้น โอนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างบัญชีบิดามารดา และบัญชีพยานในฐานะผู้รับโอน โดยพยานต้องชำระหนี้ค่าหุ้นให้มารดาประมาณ 5 พันล้านบาท และเป็นหนี้บิดาประมาณ 409 ล้านบาท เมื่อได้เงินจากการขายหุ้นตัวอื่นแล้วทยอยใช้เงินให้มารดา ไม่ได้ให้บิดา เพราะว่ามารดาเป็นผู้ดูแลเรื่องรายรับรายจ่ายของครอบครัว หลังจากได้รับเงินจากการขายหุ้นให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ แล้ว ได้ชำระเงินที่เหลือให้บิดาและมารดาจนครบถ้วน ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวหาว่า พยานจ่ายเงินมากกว่าจำนวนหุ้นที่ได้รับจากบิดามารดาไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากนั้นไม่เคยจ่ายเงินให้กับบิดาและมารดาอีก โดยนำเงินที่ได้มาไปลงทุนในบริษัทต่างๆ ฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย ส่วนที่มีการแยกลงทุนหลายบริษัท ฝากเงินไว้หลายธนาคารเพื่อป้องกันความเสี่ยง ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงการตรวจสอบของ คตส.
นายพานทองแท้ เบิกความต่อว่า การขายหุ้นให้กับ น.ส.พิณทองทา น้องสาว จำนวน 367 ล้านหุ้นนั้น เพราะน้องสาวต้องการที่จะลงทุน ซึ่งได้ขายหุ้นให้กับน้องสาวรวม 2 ครั้ง โดยแม้พยานจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ก็ไม่เคยเข้าร่วมประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยมอบหมายให้นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวมารดา เข้าประชุมแทน โดยไม่ได้มอบอำนาจการออกเสียงให้ เพราะที่ประชุมมี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมมารดาที่มีความสนิทสนมกับครอบครัวดูแลอยู่แล้ว โดยเมื่อถือครองหุ้นชิน ได้รับเงินปันผลตั้งแต่ปี 2546-2548 รวม 6 ครั้ง นำเงินไปจ่ายค่าหุ้นให้บิดามารดา และนำไปฝากธนาคาร
นายพานทองแท้ เบิกความต่อว่า เริ่มเข้าเป็นกรรมการในบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์จำกัด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 ก่อนที่จะซื้อหุ้นจำนวน 1 หุ้น มูลค่า 1 เหรียญจากบิดาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 และเป็นของขวัญวันเกิดให้กับพยาน ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม โดยบิดานำเงินดังกล่าวไปใส่กรอบไว้ เพราะเป็นเงินเหรียญเรียกที่ได้รับจากพยาน โดยบริษัท แอมเพิลริช เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ไม่ได้ประกอบกิจการใดนอกเหนือจากการถือครองหุ้นชิน โดยการประชุมกรรมการสามารถประชุมทางโทรศัพท์ กรรมการและผู้ถือหุ้นสามารถลงนามในหนังสือเวียนได้ ต่อมาบริษัท แอมเพิลริช จำหน่ายหุ้นเพิ่ม พยานได้ซื้อไว้อีก 3 หุ้น อีกหุ้น น.ส.พิณทองทา ซื้อไว้ โดยระหว่างถือครองหุ้นชิน ได้รับเงินปันผลจำนวน 40 ล้านเหรียญ นำเงินไปฝากที่ธนาคารในประเทศสิงคโปร์ เพื่อกินดอกเบี้ย
ต่อมามีการโอนหุ้นชินที่บริษัท แอมเพิลริช ให้พยานและน้องสาวคนละจำนวน 164.6 ล้านหุ้น ด้วยวิธีการซื้อขาย ต่อมา นายบรรณพจน์ ได้ติดต่อกลุ่มทุนเทมาเส็กเพื่อขายหุ้นชิน และมาบอกพยานว่า เหตุที่ต้องขาย เนื่องจากต่อไปจะมีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคตที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3จี ซึ่งต้องลงทุนสูง จึงไปปรึกษากับน้องสาว และแจ้งให้บิดาทราบ จึงตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด โดยบิดาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายหุ้น เพียงแต่ถามว่าขายราคาเท่าไร การขายหุ้นทั้งหมดเป็นการตัดสินใจของพยานกับน้องสาว และมีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์
นายพานทองแท้ เบิกความว่า ที่ คตส.ตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินที่ซื้อมาจากบริษัท แอมเพิลริช ราคาหุ้นละ 1 บาท นำมาขายต่อให้เทมาเส็กราคาหุ้นละ 49.25 บาท นั้น ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี คตส.จึงทำหนังสือลับมากให้กรรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีพยานและน้องสาวคนละ 5 พันล้านบาทเศษ ซึ่งตัวเลขที่กรมสรรพากรเรียกเก็บเป็นตัวเลขเดียวกับในหนังสือของ คตส.โดยกรรมสรรพากรแจ้งให้ทราบว่า ที่เรียกเก็บภาษี เพราะพยานเป็นเจ้าของหุ้น เป็นผู้มีรายได้จากการซื้อขายหุ้นจึงต้องเสียภาษี แต่ที่ คตส.ดำเนินคดียึดทรัพย์ครอบครัวพยาน โดยกล่าวหาว่า พยาน น้องสาว และเครือญาติถือหุ้นแทนบิดา
“ผมไม่แน่ใจว่าบรรทัดฐานคดีนี้อยู่ตรงไหน ตอนแรกบอกผมถือหุ้นชิน ขายหุ้นได้เงินมาต้องเสียภาษี ตอนหลังกลับมาบอกว่าผมถือหุ้นแทนพ่อ ผมและพ่อเป็นคนละคนกัน เหมือนถูกใช้อำนาจการเมืองมายึดทรัพย์ผม ผมพูดไม่ออกเลย” นายพานทองแท้ เบิกความ
นายพานทองแท้ เบิกความว่า คดีนี้ชั้นไต่สวน คตส.ใช้คำถามในลักษณะชี้นำ พยานยังตอบคำถามไม่เสร็จก็สรุปว่าหมายความว่าอย่างนั้นอย่างนี้นะ ซึ่งเป็นคำตอบที่ คตส.ถามนำ เป็นการสอบสวนที่แย่มาก พยานถูกรุมบีบโดยกลุ่มคนที่เป็นปฎิปักษ์กับบิดา และได้รับการต้อนรับที่ไม่ดีต่อหน้าสื่อมวลชน คตส.ยิ้มแย้มต้อนรับ แต่พอลับหลังแล้วให้ทหารค้นตัวพยานไม่ให้นำโทรศัพท์มือถือ และทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน
ต่อมา นายพานทองแท้ เบิกความตอบคำถามอัยการผู้ร้อง สรุปว่า ก่อนรับโอนหุ้นจากบิดามารดา พยานมีเงินสดอยู่ในเซฟที่บ้านประมาณ 10 ล้าน ไม่มีเงินฝากในบัญชีหรือทรัพย์สินอื่น ส่วนเมื่อได้ขายหุ้นไปแล้ว พยานมีเงินมากกว่าบิดาและมารดา แต่ไม่ทราบว่ามากกว่าเท่าไร รวมทั้งไม่ทราบบิดาและมารดาจะมีเงินรวมกันเท่าใด
อัยการถามว่า ทราบหรือไม่ว่าเงินอีก 9,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ถูกอายัดไว้อยู่ที่ใด หรือนำไปลงทุนที่ใด นายพานทองแท้ ตอบว่า ไม่ทราบ เพราะทรัพย์สินที่มี คตส.รู้หมดว่าอยู่ที่ใดและอายัดไว้แล้ว และเงินที่นำไปลงทุนหรือฝากธนาคารสามารถตรวจสอบได้
สุดท้ายศาลได้สอบถาม นายพานทองแท้ เกี่ยวกับประเด็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหาว่าอนุมัติเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมจากบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ซึ่งนายพานทองแท้ เป็นผู้ถือหุ้นและนายพานทองแท้ ได้ติดตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ไปประเทศพม่าพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประมาณ 10 คน นายพานทองแท้ ตอบว่า ไม่ทราบจำรายละเอียดไม่ได้ เพราะเดินทางไปกับบิดาบ่อย
ภายหลังศาลไต่สวนนายพานทองแท้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 10 กันยายน เวลา 09.30 น.
ต่อมา นายพานทองแท้ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มาเบิกความในวันนี้ เพราะจะได้พูดความจริงให้สังคมรับรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ครอบครัวตนไม่ได้ทำอะไรผิด ใครที่เคยเห็นว่าตนผิด หากทราบข่าวคำเบิกความของตนในวันนี้ ก็จะเข้าใจ คดีที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะ คตส.
คลิกที่จอภาพเพื่อรับชม
วันนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน ไต่สวนพยานคดีที่อัยการสูงสุด ร้องขอให้ทรัพย์สินจำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งบุคคลในครอบครัวและผู้ร้องค้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ โดยขณะดำรงตำแหน่งใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
โดยในช่วงเช้าทนายความฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกร้องและทนายความฝ่ายผู้คัดค้าน นำพยานเข้าเบิกความรวม 3 ปากจนเสร็จสิ้นแล้ว ในช่วงบ่าย นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอายัดเดินทางมาพร้อมกับ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร น้องสาว เพื่อเข้าเบิกความ
นายพานทองแท้ เบิกความสรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บิดา เข้าบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จนถึงปี 2537 ต่อมาได้วางมือไปเพื่อลงเล่นการเมือง ต่อมา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ขณะนั้น) มารดาจึงเข้าบริหารงานต่อจนถึงปี 2539 แต่ยังคงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จนถึงปี 2543 ส่วนการได้มาของหุ้นชิน ของพยานนั้นได้รับโอนจากบิดา และมารดา โดยสุจริต โดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถามแบบไม่มีดอกเบี้ยรวม 6 ฉบับ เท่ากับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ได้รับมาค้ำประกันไว้ โดยก่อนโอนหุ้นให้บิดาบอกว่าจะลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว ให้พยานมารับช่วงต่อ ส่วนน้องๆ บิดามารดาได้ฝากฝังให้ช่วยดูแลให้คำปรึกษาทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องเงิน
นอกจากหุ้นชินแล้ว ยังได้รับโอนหุ้น บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ทหารไทย และ ไอเอฟซีที แบบไม่มีใบหุ้น โอนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างบัญชีบิดามารดา และบัญชีพยานในฐานะผู้รับโอน โดยพยานต้องชำระหนี้ค่าหุ้นให้มารดาประมาณ 5 พันล้านบาท และเป็นหนี้บิดาประมาณ 409 ล้านบาท เมื่อได้เงินจากการขายหุ้นตัวอื่นแล้วทยอยใช้เงินให้มารดา ไม่ได้ให้บิดา เพราะว่ามารดาเป็นผู้ดูแลเรื่องรายรับรายจ่ายของครอบครัว หลังจากได้รับเงินจากการขายหุ้นให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ แล้ว ได้ชำระเงินที่เหลือให้บิดาและมารดาจนครบถ้วน ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวหาว่า พยานจ่ายเงินมากกว่าจำนวนหุ้นที่ได้รับจากบิดามารดาไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากนั้นไม่เคยจ่ายเงินให้กับบิดาและมารดาอีก โดยนำเงินที่ได้มาไปลงทุนในบริษัทต่างๆ ฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย ส่วนที่มีการแยกลงทุนหลายบริษัท ฝากเงินไว้หลายธนาคารเพื่อป้องกันความเสี่ยง ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงการตรวจสอบของ คตส.
นายพานทองแท้ เบิกความต่อว่า การขายหุ้นให้กับ น.ส.พิณทองทา น้องสาว จำนวน 367 ล้านหุ้นนั้น เพราะน้องสาวต้องการที่จะลงทุน ซึ่งได้ขายหุ้นให้กับน้องสาวรวม 2 ครั้ง โดยแม้พยานจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ก็ไม่เคยเข้าร่วมประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยมอบหมายให้นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวมารดา เข้าประชุมแทน โดยไม่ได้มอบอำนาจการออกเสียงให้ เพราะที่ประชุมมี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมมารดาที่มีความสนิทสนมกับครอบครัวดูแลอยู่แล้ว โดยเมื่อถือครองหุ้นชิน ได้รับเงินปันผลตั้งแต่ปี 2546-2548 รวม 6 ครั้ง นำเงินไปจ่ายค่าหุ้นให้บิดามารดา และนำไปฝากธนาคาร
นายพานทองแท้ เบิกความต่อว่า เริ่มเข้าเป็นกรรมการในบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์จำกัด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 ก่อนที่จะซื้อหุ้นจำนวน 1 หุ้น มูลค่า 1 เหรียญจากบิดาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 และเป็นของขวัญวันเกิดให้กับพยาน ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม โดยบิดานำเงินดังกล่าวไปใส่กรอบไว้ เพราะเป็นเงินเหรียญเรียกที่ได้รับจากพยาน โดยบริษัท แอมเพิลริช เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ไม่ได้ประกอบกิจการใดนอกเหนือจากการถือครองหุ้นชิน โดยการประชุมกรรมการสามารถประชุมทางโทรศัพท์ กรรมการและผู้ถือหุ้นสามารถลงนามในหนังสือเวียนได้ ต่อมาบริษัท แอมเพิลริช จำหน่ายหุ้นเพิ่ม พยานได้ซื้อไว้อีก 3 หุ้น อีกหุ้น น.ส.พิณทองทา ซื้อไว้ โดยระหว่างถือครองหุ้นชิน ได้รับเงินปันผลจำนวน 40 ล้านเหรียญ นำเงินไปฝากที่ธนาคารในประเทศสิงคโปร์ เพื่อกินดอกเบี้ย
ต่อมามีการโอนหุ้นชินที่บริษัท แอมเพิลริช ให้พยานและน้องสาวคนละจำนวน 164.6 ล้านหุ้น ด้วยวิธีการซื้อขาย ต่อมา นายบรรณพจน์ ได้ติดต่อกลุ่มทุนเทมาเส็กเพื่อขายหุ้นชิน และมาบอกพยานว่า เหตุที่ต้องขาย เนื่องจากต่อไปจะมีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคตที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3จี ซึ่งต้องลงทุนสูง จึงไปปรึกษากับน้องสาว และแจ้งให้บิดาทราบ จึงตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด โดยบิดาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายหุ้น เพียงแต่ถามว่าขายราคาเท่าไร การขายหุ้นทั้งหมดเป็นการตัดสินใจของพยานกับน้องสาว และมีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์
นายพานทองแท้ เบิกความว่า ที่ คตส.ตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินที่ซื้อมาจากบริษัท แอมเพิลริช ราคาหุ้นละ 1 บาท นำมาขายต่อให้เทมาเส็กราคาหุ้นละ 49.25 บาท นั้น ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี คตส.จึงทำหนังสือลับมากให้กรรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีพยานและน้องสาวคนละ 5 พันล้านบาทเศษ ซึ่งตัวเลขที่กรมสรรพากรเรียกเก็บเป็นตัวเลขเดียวกับในหนังสือของ คตส.โดยกรรมสรรพากรแจ้งให้ทราบว่า ที่เรียกเก็บภาษี เพราะพยานเป็นเจ้าของหุ้น เป็นผู้มีรายได้จากการซื้อขายหุ้นจึงต้องเสียภาษี แต่ที่ คตส.ดำเนินคดียึดทรัพย์ครอบครัวพยาน โดยกล่าวหาว่า พยาน น้องสาว และเครือญาติถือหุ้นแทนบิดา
“ผมไม่แน่ใจว่าบรรทัดฐานคดีนี้อยู่ตรงไหน ตอนแรกบอกผมถือหุ้นชิน ขายหุ้นได้เงินมาต้องเสียภาษี ตอนหลังกลับมาบอกว่าผมถือหุ้นแทนพ่อ ผมและพ่อเป็นคนละคนกัน เหมือนถูกใช้อำนาจการเมืองมายึดทรัพย์ผม ผมพูดไม่ออกเลย” นายพานทองแท้ เบิกความ
นายพานทองแท้ เบิกความว่า คดีนี้ชั้นไต่สวน คตส.ใช้คำถามในลักษณะชี้นำ พยานยังตอบคำถามไม่เสร็จก็สรุปว่าหมายความว่าอย่างนั้นอย่างนี้นะ ซึ่งเป็นคำตอบที่ คตส.ถามนำ เป็นการสอบสวนที่แย่มาก พยานถูกรุมบีบโดยกลุ่มคนที่เป็นปฎิปักษ์กับบิดา และได้รับการต้อนรับที่ไม่ดีต่อหน้าสื่อมวลชน คตส.ยิ้มแย้มต้อนรับ แต่พอลับหลังแล้วให้ทหารค้นตัวพยานไม่ให้นำโทรศัพท์มือถือ และทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน
ต่อมา นายพานทองแท้ เบิกความตอบคำถามอัยการผู้ร้อง สรุปว่า ก่อนรับโอนหุ้นจากบิดามารดา พยานมีเงินสดอยู่ในเซฟที่บ้านประมาณ 10 ล้าน ไม่มีเงินฝากในบัญชีหรือทรัพย์สินอื่น ส่วนเมื่อได้ขายหุ้นไปแล้ว พยานมีเงินมากกว่าบิดาและมารดา แต่ไม่ทราบว่ามากกว่าเท่าไร รวมทั้งไม่ทราบบิดาและมารดาจะมีเงินรวมกันเท่าใด
อัยการถามว่า ทราบหรือไม่ว่าเงินอีก 9,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ถูกอายัดไว้อยู่ที่ใด หรือนำไปลงทุนที่ใด นายพานทองแท้ ตอบว่า ไม่ทราบ เพราะทรัพย์สินที่มี คตส.รู้หมดว่าอยู่ที่ใดและอายัดไว้แล้ว และเงินที่นำไปลงทุนหรือฝากธนาคารสามารถตรวจสอบได้
สุดท้ายศาลได้สอบถาม นายพานทองแท้ เกี่ยวกับประเด็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหาว่าอนุมัติเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมจากบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ซึ่งนายพานทองแท้ เป็นผู้ถือหุ้นและนายพานทองแท้ ได้ติดตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ไปประเทศพม่าพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประมาณ 10 คน นายพานทองแท้ ตอบว่า ไม่ทราบจำรายละเอียดไม่ได้ เพราะเดินทางไปกับบิดาบ่อย
ภายหลังศาลไต่สวนนายพานทองแท้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 10 กันยายน เวลา 09.30 น.
ต่อมา นายพานทองแท้ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มาเบิกความในวันนี้ เพราะจะได้พูดความจริงให้สังคมรับรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ครอบครัวตนไม่ได้ทำอะไรผิด ใครที่เคยเห็นว่าตนผิด หากทราบข่าวคำเบิกความของตนในวันนี้ ก็จะเข้าใจ คดีที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะ คตส.