“สราวุธ” เผย ที่ประชุม กต.ไม่มีมติย้าย 2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนไต่สวนชันสูตรศพคดีตากใบ หลังข่าวกรองมหาดไทย เตือนกลุ่มก่อการภาคใต้มีแผนปองร้าย แต่สั่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 ดูแลมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด พร้อมทั้งให้ใช้สิทธิ์ลาพักผ่อนได้
วันนี้ (26 มิ.ย.) นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) ภายหลังที่มีผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิต 78 ศพ ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส หลังมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่สลาย ยื่นคำร้องขอย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากมีรายงานข่าวกลุ่มก่อการร้ายจะใช้ความรุนแรง ว่า ในการประชุม กต.ซึ่งมี นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมวันนี้ ให้เป็นอำนาจของ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 9 ซึ่งดูแลพื้นที่ศาลจังหวัดภาคใต้ เพิ่มมาตรการดูแลเรื่องความปลอดภัยผู้พิพากษา โดย กต.ไม่มีมติให้ย้ายผู้พิพากษาออกจากพื้นที่
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยของผู้พิพากษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนและทหาร พร้อมอุปกรณ์ทั้งรถหุ้มเกราะ เสื้อกันกระสุน คอยดูแลความปลอดภัยอยู่แล้ว รวมทั้งอาวุธปืนที่ผู้พิพากษาจะมีไว้เพื่อป้องกันตัวด้วย
นายสราวุธ ยังกล่าวถึงการโยกย้ายผู้พิพากษาด้วยว่า จะพิจารณาจากสถานการณ์และเหตุจำเป็น เช่น หากผู้พิพากษาขาดแคลน ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาสามารถสั่งการให้ผู้พิพากษาย้ายมาทำหน้าที่ได้ ขณะที่การโยกย้ายผู้พิพากษานั้นโดยปกติจะต้องเป็นไปตามวาระทุกวันที่ 1 เม.ย.ของแต่ละปี ดังนั้น ในส่วนของผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ยื่นเรื่องขอย้าย หากจะต้องพิจารณาก็ต้องรอไปจนถึงวันที่ 1 เม.ย.2553 แต่อย่างไรก็ดีผู้พิพากษายังสามารถที่จะทำเรื่องขอลางานตามระเบียบราชการได้ หากต้องการลาพักผ่อน
“ที่ผ่านมา ประธานศาลฎีกา และคณะผู้บริหารศาลยุติธรรม เคยลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเพื่อให้ขวัญกำลังใจผู้พิพากษาทั้งยะลา ปัตตานี และนราธิวาส หมดแล้ว และคิดว่าเร็วๆ นี้ ผู้ใหญ่ก็คงจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสร้างขวัญกำลังใจอีก” นายสราวุธ กล่าว
ทั้งนี้ นายสราวุธ ยังชี้แจงถึงการพิจารณาสำนวนไต่สวนชันสูตรพลิกศพกรณีการสลายการชุมนุม อ.ตากใบ ด้วยว่า กระบวนการพิจารณาการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ เพื่อจะให้ทราบว่าผู้ที่เสียชีวิตคือใคร ตายที่ไหน วันและเวลาใด สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต และถ้าโดนใครทำร้าย ใครเป็นผู้ทำ โดยคำสั่งศาลให้ถือเป็นที่สุด แต่จะไม่ผูกพันกับการดำเนินคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่พนักงานอัยการหรือญาติผู้เสียชีวิต จะยื่นฟ้องต่อไป โดยในส่วนของการไต่สวนชันสูตรศพคดี อ.ตากใบ นั้น ก็เป็นการโอนคดีมายังศาลจังหวัดสงขลา และหลังจากที่ศาลมีคำสั่งการไต่สวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ได้ส่งให้พนักงานอัยการ เพื่อส่งต่อให้พนักงานสอบสวนซึ่งหากมีพยานหลักฐานว่าการเสียชีวิตมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องทำสำนวนคดีอาญาขึ้นใหม่แล้วยื่นให้อัยการพิจารณาสั่งคดีต่อไป เมื่อเกิดความไม่เข้าใจในกระบวนไต่สวนของศาล ก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องนื้ จึงขอย้ำว่าการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ไม่ได้ทำให้สิทธิ์ของการยื่นฟ้องคดีอาญา หรือแพ่งในภายหลัง หมดสิ้นไป อย่างไรก็ดี ขณะนี้สำนักงานศาลยุติธรรม กำลังตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ฝ่ายกิจการพิเศษสังกัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งเรื่องแผนปองร้ายผู้พิพากษานั้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร
นอกจากนี้ คดีการชันสูตรพลิกศพไม่ว่าจะเป็นคดีตากใบ หรือคดี โจ ด่านช้าง มัสยิดกรือเซะ ศาลก็ทำหน้าที่ไต่สวนเพื่อให้รู้ว่าตายอย่างไร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนตายหลังมีการเสียชีวิตระหว่างควบคุมตัว ซึ่งต้นตอปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิดในกระบวนการพิจารณาการไต่สวนชันสูตรศพของศาลเท่านั้น
ก.ต.นัดถกวาระพิเศษ! โจรใต้ปองร้าย 2 ผู้พิพากษาคดีตากใบ
วันนี้ (26 มิ.ย.) นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) ภายหลังที่มีผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิต 78 ศพ ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส หลังมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่สลาย ยื่นคำร้องขอย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากมีรายงานข่าวกลุ่มก่อการร้ายจะใช้ความรุนแรง ว่า ในการประชุม กต.ซึ่งมี นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมวันนี้ ให้เป็นอำนาจของ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 9 ซึ่งดูแลพื้นที่ศาลจังหวัดภาคใต้ เพิ่มมาตรการดูแลเรื่องความปลอดภัยผู้พิพากษา โดย กต.ไม่มีมติให้ย้ายผู้พิพากษาออกจากพื้นที่
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยของผู้พิพากษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนและทหาร พร้อมอุปกรณ์ทั้งรถหุ้มเกราะ เสื้อกันกระสุน คอยดูแลความปลอดภัยอยู่แล้ว รวมทั้งอาวุธปืนที่ผู้พิพากษาจะมีไว้เพื่อป้องกันตัวด้วย
นายสราวุธ ยังกล่าวถึงการโยกย้ายผู้พิพากษาด้วยว่า จะพิจารณาจากสถานการณ์และเหตุจำเป็น เช่น หากผู้พิพากษาขาดแคลน ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาสามารถสั่งการให้ผู้พิพากษาย้ายมาทำหน้าที่ได้ ขณะที่การโยกย้ายผู้พิพากษานั้นโดยปกติจะต้องเป็นไปตามวาระทุกวันที่ 1 เม.ย.ของแต่ละปี ดังนั้น ในส่วนของผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ยื่นเรื่องขอย้าย หากจะต้องพิจารณาก็ต้องรอไปจนถึงวันที่ 1 เม.ย.2553 แต่อย่างไรก็ดีผู้พิพากษายังสามารถที่จะทำเรื่องขอลางานตามระเบียบราชการได้ หากต้องการลาพักผ่อน
“ที่ผ่านมา ประธานศาลฎีกา และคณะผู้บริหารศาลยุติธรรม เคยลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเพื่อให้ขวัญกำลังใจผู้พิพากษาทั้งยะลา ปัตตานี และนราธิวาส หมดแล้ว และคิดว่าเร็วๆ นี้ ผู้ใหญ่ก็คงจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสร้างขวัญกำลังใจอีก” นายสราวุธ กล่าว
ทั้งนี้ นายสราวุธ ยังชี้แจงถึงการพิจารณาสำนวนไต่สวนชันสูตรพลิกศพกรณีการสลายการชุมนุม อ.ตากใบ ด้วยว่า กระบวนการพิจารณาการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ เพื่อจะให้ทราบว่าผู้ที่เสียชีวิตคือใคร ตายที่ไหน วันและเวลาใด สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต และถ้าโดนใครทำร้าย ใครเป็นผู้ทำ โดยคำสั่งศาลให้ถือเป็นที่สุด แต่จะไม่ผูกพันกับการดำเนินคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่พนักงานอัยการหรือญาติผู้เสียชีวิต จะยื่นฟ้องต่อไป โดยในส่วนของการไต่สวนชันสูตรศพคดี อ.ตากใบ นั้น ก็เป็นการโอนคดีมายังศาลจังหวัดสงขลา และหลังจากที่ศาลมีคำสั่งการไต่สวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ได้ส่งให้พนักงานอัยการ เพื่อส่งต่อให้พนักงานสอบสวนซึ่งหากมีพยานหลักฐานว่าการเสียชีวิตมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องทำสำนวนคดีอาญาขึ้นใหม่แล้วยื่นให้อัยการพิจารณาสั่งคดีต่อไป เมื่อเกิดความไม่เข้าใจในกระบวนไต่สวนของศาล ก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องนื้ จึงขอย้ำว่าการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ไม่ได้ทำให้สิทธิ์ของการยื่นฟ้องคดีอาญา หรือแพ่งในภายหลัง หมดสิ้นไป อย่างไรก็ดี ขณะนี้สำนักงานศาลยุติธรรม กำลังตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ฝ่ายกิจการพิเศษสังกัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งเรื่องแผนปองร้ายผู้พิพากษานั้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร
นอกจากนี้ คดีการชันสูตรพลิกศพไม่ว่าจะเป็นคดีตากใบ หรือคดี โจ ด่านช้าง มัสยิดกรือเซะ ศาลก็ทำหน้าที่ไต่สวนเพื่อให้รู้ว่าตายอย่างไร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนตายหลังมีการเสียชีวิตระหว่างควบคุมตัว ซึ่งต้นตอปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิดในกระบวนการพิจารณาการไต่สวนชันสูตรศพของศาลเท่านั้น
ก.ต.นัดถกวาระพิเศษ! โจรใต้ปองร้าย 2 ผู้พิพากษาคดีตากใบ