คำพิพากษายกฟ้องคดี “ทักษิณ” ฟ้องหมิ่น “สุเทพ” แฉอยากกลับมาเป็นประธานาธิบดี ศาลชี้ชัดมีหลักฐาน พฤติกรรมโจทก์อันไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์-จ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ อ้างผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญมาก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตย พร้อมยอมรับคนเสื้อแดงเป็นพลังสนับสนุนที่สำคัญของโจทก์ โดยมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
จากกรณีเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำ อ.425/2552 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยนายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา จำเลยได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทำนองว่า “โจทก์ไม่ยอมแพ้ทางการเมือง และต้องการจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี”
โดยคดีนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า ข้อความที่โจทก์กล่าวให้สัมภาษณ์เป็นการติชมโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ไม่ได้มุ่งใส่ความให้โจทก์ได้รับวามเสียหาย คดีจึงไม่มีมูล พิพากษาให้ยกฟ้อง
และทันทีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ประชาชนจำนวนมากต่างให้ความสนใจต่อคดีดังกล่าว โดยเฉพาะพยานหลักฐานในคดีเกี่ยวกับพฤติกรรมของโจทก์ (ทักษิณ) เป็นไปอย่างไร จึงทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลย(สุเทพ) ติชมโดยสุจริตใจ
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนผู้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เกิดความกระจ่างในคำพิพากษามากขึ้น “ทีมข่าวอาชญากรรม เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์” จึงขอนำเสนอ ย่อคำพิพากษา ในคดีดังกล่าวดังนี้ ...
... คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ข้อหาหมิ่นประมาทที่ศาลอาญา สืบเนื่องจากนายสุเทพได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดีและยังได้กล่าวอภิปรายในสภาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า “ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชอบระบอบประธานาธิบดีในจิตใจส่วนลึกของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยากเป็นประธานาธิบดี” จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
ศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องและได้นัดฟังคำพิพากษาในวันนี้ (22 มิ.ย.2552) เวลา 09.00 น.ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) ทั้งนี้ ศาลได้พิเคราะห์จากพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2544 ถึง 2549 ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์เหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนโจทก์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี รายละเอียดปรากฏตามหนังสือฯ เอกสารหมาย ล.4 และในส่วนตัวโจทก์เองก็ได้แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ คือ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 โจทก์ได้พูดกลับกลุ่มบุคคลที่หอประชุมอินดอร์สเตดียมหัวหมาก ด้วยข้อความไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ได้พูดในรายการนายกทักษิณ คุยกับประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของโจทก์ โดยใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 โจทก์ได้พูดต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่ามีผู้บารมีเหนือรัฐธรรมนูญมาก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป จนทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การกระทำของโจทก์ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าโจทก์ไม่ปกป้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏตามหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล.26 และ ล.27
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วได้มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โจทก์ได้โทรศัพท์พูดคุยกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน ระหว่างสัมมนาที่โรงแรมที่อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยโจทก์ยอมรับว่าคนเสื้อแดงเป็นพลังสนับสนุนที่สำคัญของโจทก์ ตามเอกสารหมาย ล.1 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงทุกครั้งได้นำรูปของโจทก์ขึ้นนำขบวน ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.12, ล.15 โจทก์ยังได้พูดคุยกับกลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และ พรรคเพื่อไทย ขึ้นกล่าวปราศัยบนเวทีของคนเสื้อแดง นอกจากนี้ ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ได้อภิปรายยอมรับต่อที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า “พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย มีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกัน และพรรคเพื่อไทยก็ได้จัดทำเสื้อแดงเตรียมไว้ให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551” ตามเอกสารหมาย ล.10, ล.11 และการชุมนุมของคนเสื้อแดงทุกครั้งมักจะพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550, วันที่ 10 มิถุนายน 2551, วันที่ 15 สิงหาคม 2251 โดยเฉพาะการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ติดไว้ที่ฉากหลังเวที
โดยมีข้อความที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.14 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้งและมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปรากฎตามเอกสารหมาย ล.16 ล.21 จากพฤติกรรมของโจทก์เป็นผลให้ พล.ต.อ.วิสิษฐ เดชกุญชร เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์หลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.31
นอกจากนี้ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ก็ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โจทก์จ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ตามหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 เม.ย. 2552 ซึ่งโจทก็น่าจะหยุดการกระทำอันไม่บังควรดังกล่าว แต่โจทก์กลับไม่หยุด และในทางกลับกันโจทก็กลับให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเซี่ยลไทม์ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า” ตามหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 พ.ค.2552 โจทก์ยังได้ให้การสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า จนนำไปสู่การจลาจล ซึ่งชวนให้เห็นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโดยประชาชนตามคำชักชวนของโจทก์
ทั้งนี้ เพราะโจทก์กับกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมรู้อยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยรูปแบบอื่นตามที่โจทก์ต้องการไม่อาจทำได้โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ม.291 วรรค 2 จากพฤติการณ์ของโจทก์และกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาที่ส่อไปในทางที่สอดคล้องกับคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโน จำเลยอยู่ในฐานะอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้ เพราะจำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 123 บัญญัติว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องกล่าวปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาว่าจะปฏิบัติหน้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ และตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 175 บัญญัติว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เครารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งจำเลยและประชาชนผู้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะปกป้องพระมหากษัตริย์ให้ผู้ใดล่วงละเมิด
นอกจากนี้ การที่จำเลยพูดให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2552 ว่า โจทก์คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี นั้นสืบเนื่องจากกรณีที่ โจทก์ได้พูดคุยกับผู้ร่วมสัมมนาว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์เป็นเสือหิวเสือโหย ดังนั้น ตามที่จำเลยวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของโจทก์ แล้วสรุปว่าวันหนึ่งโจทก์จะกลับมาเป็นประธานาธิบดี จึงน่าเชื่อว่าจำเลยกล่าวไปโดยมีเจตนาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์และคนเสื้อแดงมิให้กระทำการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ จากสถานะของจำเลยจึงอยู่ในฐานะและมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นหรือข้อความนั้นได้ การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามครองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (1) การกระทำของจำเลย จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
จากกรณีเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำ อ.425/2552 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยนายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา จำเลยได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทำนองว่า “โจทก์ไม่ยอมแพ้ทางการเมือง และต้องการจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี”
โดยคดีนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า ข้อความที่โจทก์กล่าวให้สัมภาษณ์เป็นการติชมโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ไม่ได้มุ่งใส่ความให้โจทก์ได้รับวามเสียหาย คดีจึงไม่มีมูล พิพากษาให้ยกฟ้อง
และทันทีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ประชาชนจำนวนมากต่างให้ความสนใจต่อคดีดังกล่าว โดยเฉพาะพยานหลักฐานในคดีเกี่ยวกับพฤติกรรมของโจทก์ (ทักษิณ) เป็นไปอย่างไร จึงทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลย(สุเทพ) ติชมโดยสุจริตใจ
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนผู้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เกิดความกระจ่างในคำพิพากษามากขึ้น “ทีมข่าวอาชญากรรม เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์” จึงขอนำเสนอ ย่อคำพิพากษา ในคดีดังกล่าวดังนี้ ...
... คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ข้อหาหมิ่นประมาทที่ศาลอาญา สืบเนื่องจากนายสุเทพได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดีและยังได้กล่าวอภิปรายในสภาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า “ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชอบระบอบประธานาธิบดีในจิตใจส่วนลึกของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยากเป็นประธานาธิบดี” จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
ศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องและได้นัดฟังคำพิพากษาในวันนี้ (22 มิ.ย.2552) เวลา 09.00 น.ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) ทั้งนี้ ศาลได้พิเคราะห์จากพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2544 ถึง 2549 ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์เหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนโจทก์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี รายละเอียดปรากฏตามหนังสือฯ เอกสารหมาย ล.4 และในส่วนตัวโจทก์เองก็ได้แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ คือ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 โจทก์ได้พูดกลับกลุ่มบุคคลที่หอประชุมอินดอร์สเตดียมหัวหมาก ด้วยข้อความไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ได้พูดในรายการนายกทักษิณ คุยกับประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของโจทก์ โดยใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 โจทก์ได้พูดต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่ามีผู้บารมีเหนือรัฐธรรมนูญมาก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป จนทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การกระทำของโจทก์ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าโจทก์ไม่ปกป้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏตามหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล.26 และ ล.27
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วได้มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โจทก์ได้โทรศัพท์พูดคุยกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน ระหว่างสัมมนาที่โรงแรมที่อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยโจทก์ยอมรับว่าคนเสื้อแดงเป็นพลังสนับสนุนที่สำคัญของโจทก์ ตามเอกสารหมาย ล.1 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงทุกครั้งได้นำรูปของโจทก์ขึ้นนำขบวน ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.12, ล.15 โจทก์ยังได้พูดคุยกับกลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และ พรรคเพื่อไทย ขึ้นกล่าวปราศัยบนเวทีของคนเสื้อแดง นอกจากนี้ ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ได้อภิปรายยอมรับต่อที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า “พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย มีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกัน และพรรคเพื่อไทยก็ได้จัดทำเสื้อแดงเตรียมไว้ให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551” ตามเอกสารหมาย ล.10, ล.11 และการชุมนุมของคนเสื้อแดงทุกครั้งมักจะพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550, วันที่ 10 มิถุนายน 2551, วันที่ 15 สิงหาคม 2251 โดยเฉพาะการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ติดไว้ที่ฉากหลังเวที
โดยมีข้อความที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.14 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้งและมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปรากฎตามเอกสารหมาย ล.16 ล.21 จากพฤติกรรมของโจทก์เป็นผลให้ พล.ต.อ.วิสิษฐ เดชกุญชร เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์หลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.31
นอกจากนี้ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ก็ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โจทก์จ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ตามหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 เม.ย. 2552 ซึ่งโจทก็น่าจะหยุดการกระทำอันไม่บังควรดังกล่าว แต่โจทก์กลับไม่หยุด และในทางกลับกันโจทก็กลับให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเซี่ยลไทม์ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า” ตามหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 พ.ค.2552 โจทก์ยังได้ให้การสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า จนนำไปสู่การจลาจล ซึ่งชวนให้เห็นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโดยประชาชนตามคำชักชวนของโจทก์
ทั้งนี้ เพราะโจทก์กับกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมรู้อยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยรูปแบบอื่นตามที่โจทก์ต้องการไม่อาจทำได้โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ม.291 วรรค 2 จากพฤติการณ์ของโจทก์และกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาที่ส่อไปในทางที่สอดคล้องกับคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโน จำเลยอยู่ในฐานะอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้ เพราะจำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 123 บัญญัติว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องกล่าวปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาว่าจะปฏิบัติหน้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ และตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 175 บัญญัติว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เครารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งจำเลยและประชาชนผู้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะปกป้องพระมหากษัตริย์ให้ผู้ใดล่วงละเมิด
นอกจากนี้ การที่จำเลยพูดให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2552 ว่า โจทก์คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี นั้นสืบเนื่องจากกรณีที่ โจทก์ได้พูดคุยกับผู้ร่วมสัมมนาว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์เป็นเสือหิวเสือโหย ดังนั้น ตามที่จำเลยวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของโจทก์ แล้วสรุปว่าวันหนึ่งโจทก์จะกลับมาเป็นประธานาธิบดี จึงน่าเชื่อว่าจำเลยกล่าวไปโดยมีเจตนาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์และคนเสื้อแดงมิให้กระทำการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ จากสถานะของจำเลยจึงอยู่ในฐานะและมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นหรือข้อความนั้นได้ การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามครองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (1) การกระทำของจำเลย จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง