พนักงานสอบสวนให้ประกัน “อริสมันต์-อดิศร” คนละ 5 แสน แต่ห้ามยุยง ปลุกระดม-ออกนอกประเทศ เตรียมรวบรวมพยานหลักฐานส่งฟ้องศาลต่อไป ด้านทนายพันธมิตรฯ เข้าขอตรวจรายชื่อตำรวจทำคดี 21 พันธมิตรฯ รับปากจะนำแกนนำ 21 คนที่เข้ามอบตัวก่อนหน้านี้มาให้ปากคำเพิ่มใน 30 วัน
วันนี้ (27 เม.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุพร พันธุ์เสือ โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า คณะพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้สอบปากคำนายอดิศร เพียงเกษ และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่เข้ามอบตัวตามหมายจับ ซึ่งเป็นความผิดที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างที่มีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามมาตรา 11 (1) เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์รุนแรงหรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความไม่สงบในบ้านเมือง ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการจลาจล พร้อมดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายภายหลังมีการเข้ามอบตัวสู้คดี
พล.ต.ต.สุพร กล่าวว่าต่อว่า พนักงานสอบสวนอนุญาตให้ผู้ต้องหาประกันตัวตามที่ร้องขอ แต่มีข้อห้ามต้องปฏิบัติตาม 3 ข้ออย่างเคร่งครัด คือ ห้ามออกนอกประเทศ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองยุยงหรือปลุกระดม และห้ามยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางคดีของพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสองได้ยอมรับข้อห้ามทั้งสามแต่โดยดี ซึ่งการการดำเนินการของพนักงานสอบสวนจากนี้จะรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดส่งฟ้องศาลตามขึ้นตอนต่อไป พร้อมเรียกร้องให้ผู้ต้องหาที่เหลือเข้ามอบตัวสู้คดีตำรวจยืนยันให้ความเป็นธรรมไม่มีเลือกปฏิบัติ 2 มาตรฐานแต่อย่างใด
ส่วนการดำเนินคดีต่อแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล ปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และการดำเนินคดีต่อนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในรูปแบบของคณะกรรมการสอบสวน
ด้าน นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรฯ เดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เข้าพบพนักงานสอบสวนยื่นเอกสารคำให้การเพิ่มเติมของผู้ต้องหาที่เข้ามอบตัวตามหมายจับ 21 คนก่อนหน้านี้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมขอตรวจสอบรายชื่อพนักงานสอบสวนนครบาลที่ทำคดีความผิดของ 21 แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯว่า มีพนักงานสอบสวนที่เป็นตำรวจขั้วอำนาจเก่าหรือไม่ เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมแจ้งต่อหัวหน้าพนักงานสอบสวนว่า จะนำตัวแกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 21 คนที่เข้ามอบตัวก่อนหน้านี้มาให้ปากคำเพิ่มเติมในอีก 30 วัน
ขณะเดียวกัน นายอดิศร กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการสอบปากคำของพนักงานสอบสวนและมีการให้ประกันตัวว่า ตนมามอบตัวตามที่ตำรวจออกหมายจับ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ทราบข้อกล่าวหาเลย เพิ่งมาทราบว่ามีข้อหามั่วสุมเกิน 10 คน ซึ่งหมายจับนี้ออกก่อนที่จะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และยังมีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเมื่อมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว เรายังขึ้นเวทีปราศรัยอยู่ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะดำเนินการไป แต่เราปฏิเสธ ทุกข้อกล่าวหา เพราะที่ผ่านมาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นถือว่าเป็นการชุมนุมด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ทุกประการ ซึ่งตนจะได้ต่อสู้ทางคดีต่อไป ซึ่งตนได้รับการอนุมัติการประกันตัวโดยใช้วงเงิน 500,000 บาท
นายอดิศร กล่าวต่อว่า เหตุที่มามอบตัววันนี้ ทำไมไม่มาก่อนหน้านี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเป็นนักการเมือง เคยเป็นผู้แทนราษฎร ไม่อยากมาและถูกควบคุมโดยการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มาจากผู้แทนราษฎร กลัวจะบาดหมาง แคลงใจกันในอนาคต หากจะมีโอกาสทำงานร่วมกัน เมื่อเสร็จสิ้นการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว จึงมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม
"คิดว่าการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยในปัจจุบัน ถือว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง 2 ประการ 2 แนวทางอย่างชัดเจน ฝ่ายเสื้อแดงเห็นว่าประเทศชาติยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องดำเนินการต่อสู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีกฎหมายหรือความรุนแรงใด ๆ ที่จะมาสกัดกั้นไม่ใช้คนเสื้อแดงเชื่อย่างนั้น อีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายเสื้อเหลืองก็มีความเชื่อด้วยความสนิทใจ เพราะฉะนั้นการเมืองต้องแก้ไขด้วยปัญหาของการเมือง ตนอยากให้บ้านเมืองมีความสันติ มีความสงบไม่แตกต่างจาก นายกรัฐมนตรี อยากให้แนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยสันติวิธี ไม่อยากใช้ความรุนแรง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นความรุนแรงอยู่ในตัว ไม่อยากให้มีความรู้สึกที่ติดกับนายกรัฐมนตรีที่มาจากพลเรือน ต้องประกาศ พ.ร.ก." นายอดิศร กล่าว
นายอดิศร กล่าวอีกว่า การประชุม 2 สภา ถือเป็นทางออกทางหนึ่ง ความคิดเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. ถือว่ามีความหมาย นายกรัฐมนตรีเอง ก็ดูแลว่ายอมรับฟังความคิดเห็น ฟังเหตุฟังผล ถ้าการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา ถ้าผลออกมาว่ารัฐใช้ความรุนแรง เชื่อว่า นายกรัฐมนตรีก็น่าจะมีคำตอบ ในตัวเองอยู่แล้ว ถือเป็นสิ่งที่ดีตามระบอบประชาธิปไตย
"ในคดีฝ่ายเสื้อแดงรู้สึกว่าตำรวจจะขยันขันแข็งพอสมควร แต่ในคดีฝ่ายเสื้อเหลือง เช่น นายกษิต ภิรมย์ ที่ยึดสนามบิน ตอนนี้ยังไม่เห็นว่ามีการทำอะไร ในส่วนนี้ก็เป็นที่สงสัยของคนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยว่า 2 มาตราฐานนี้เกิดขึ้นจริง จึงอยากให้ดำเนินการแบบตนที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ และตำรวจก็ให้อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี" นายอดิศร กล่าว
วันนี้ (27 เม.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุพร พันธุ์เสือ โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า คณะพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้สอบปากคำนายอดิศร เพียงเกษ และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่เข้ามอบตัวตามหมายจับ ซึ่งเป็นความผิดที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างที่มีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามมาตรา 11 (1) เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์รุนแรงหรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความไม่สงบในบ้านเมือง ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการจลาจล พร้อมดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายภายหลังมีการเข้ามอบตัวสู้คดี
พล.ต.ต.สุพร กล่าวว่าต่อว่า พนักงานสอบสวนอนุญาตให้ผู้ต้องหาประกันตัวตามที่ร้องขอ แต่มีข้อห้ามต้องปฏิบัติตาม 3 ข้ออย่างเคร่งครัด คือ ห้ามออกนอกประเทศ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองยุยงหรือปลุกระดม และห้ามยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางคดีของพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสองได้ยอมรับข้อห้ามทั้งสามแต่โดยดี ซึ่งการการดำเนินการของพนักงานสอบสวนจากนี้จะรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดส่งฟ้องศาลตามขึ้นตอนต่อไป พร้อมเรียกร้องให้ผู้ต้องหาที่เหลือเข้ามอบตัวสู้คดีตำรวจยืนยันให้ความเป็นธรรมไม่มีเลือกปฏิบัติ 2 มาตรฐานแต่อย่างใด
ส่วนการดำเนินคดีต่อแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล ปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และการดำเนินคดีต่อนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในรูปแบบของคณะกรรมการสอบสวน
ด้าน นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรฯ เดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เข้าพบพนักงานสอบสวนยื่นเอกสารคำให้การเพิ่มเติมของผู้ต้องหาที่เข้ามอบตัวตามหมายจับ 21 คนก่อนหน้านี้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมขอตรวจสอบรายชื่อพนักงานสอบสวนนครบาลที่ทำคดีความผิดของ 21 แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯว่า มีพนักงานสอบสวนที่เป็นตำรวจขั้วอำนาจเก่าหรือไม่ เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมแจ้งต่อหัวหน้าพนักงานสอบสวนว่า จะนำตัวแกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 21 คนที่เข้ามอบตัวก่อนหน้านี้มาให้ปากคำเพิ่มเติมในอีก 30 วัน
ขณะเดียวกัน นายอดิศร กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการสอบปากคำของพนักงานสอบสวนและมีการให้ประกันตัวว่า ตนมามอบตัวตามที่ตำรวจออกหมายจับ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ทราบข้อกล่าวหาเลย เพิ่งมาทราบว่ามีข้อหามั่วสุมเกิน 10 คน ซึ่งหมายจับนี้ออกก่อนที่จะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และยังมีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเมื่อมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว เรายังขึ้นเวทีปราศรัยอยู่ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะดำเนินการไป แต่เราปฏิเสธ ทุกข้อกล่าวหา เพราะที่ผ่านมาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นถือว่าเป็นการชุมนุมด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ทุกประการ ซึ่งตนจะได้ต่อสู้ทางคดีต่อไป ซึ่งตนได้รับการอนุมัติการประกันตัวโดยใช้วงเงิน 500,000 บาท
นายอดิศร กล่าวต่อว่า เหตุที่มามอบตัววันนี้ ทำไมไม่มาก่อนหน้านี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเป็นนักการเมือง เคยเป็นผู้แทนราษฎร ไม่อยากมาและถูกควบคุมโดยการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มาจากผู้แทนราษฎร กลัวจะบาดหมาง แคลงใจกันในอนาคต หากจะมีโอกาสทำงานร่วมกัน เมื่อเสร็จสิ้นการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว จึงมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม
"คิดว่าการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยในปัจจุบัน ถือว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง 2 ประการ 2 แนวทางอย่างชัดเจน ฝ่ายเสื้อแดงเห็นว่าประเทศชาติยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องดำเนินการต่อสู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีกฎหมายหรือความรุนแรงใด ๆ ที่จะมาสกัดกั้นไม่ใช้คนเสื้อแดงเชื่อย่างนั้น อีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายเสื้อเหลืองก็มีความเชื่อด้วยความสนิทใจ เพราะฉะนั้นการเมืองต้องแก้ไขด้วยปัญหาของการเมือง ตนอยากให้บ้านเมืองมีความสันติ มีความสงบไม่แตกต่างจาก นายกรัฐมนตรี อยากให้แนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยสันติวิธี ไม่อยากใช้ความรุนแรง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นความรุนแรงอยู่ในตัว ไม่อยากให้มีความรู้สึกที่ติดกับนายกรัฐมนตรีที่มาจากพลเรือน ต้องประกาศ พ.ร.ก." นายอดิศร กล่าว
นายอดิศร กล่าวอีกว่า การประชุม 2 สภา ถือเป็นทางออกทางหนึ่ง ความคิดเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. ถือว่ามีความหมาย นายกรัฐมนตรีเอง ก็ดูแลว่ายอมรับฟังความคิดเห็น ฟังเหตุฟังผล ถ้าการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา ถ้าผลออกมาว่ารัฐใช้ความรุนแรง เชื่อว่า นายกรัฐมนตรีก็น่าจะมีคำตอบ ในตัวเองอยู่แล้ว ถือเป็นสิ่งที่ดีตามระบอบประชาธิปไตย
"ในคดีฝ่ายเสื้อแดงรู้สึกว่าตำรวจจะขยันขันแข็งพอสมควร แต่ในคดีฝ่ายเสื้อเหลือง เช่น นายกษิต ภิรมย์ ที่ยึดสนามบิน ตอนนี้ยังไม่เห็นว่ามีการทำอะไร ในส่วนนี้ก็เป็นที่สงสัยของคนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยว่า 2 มาตราฐานนี้เกิดขึ้นจริง จึงอยากให้ดำเนินการแบบตนที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ และตำรวจก็ให้อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี" นายอดิศร กล่าว