ทนายความ 21 พันธมิตรฯ ขอเลื่อนเข้าพบพนักงานสอบสวนจากเดิม 2-5 มี.ค. ไปเป็นวันที่ 30 มี.ค. เวลา 09.00 น. เนื่องจากหมายเรียกกระชั้นชิดเตรียมตัวไม่ทัน ส่วนจะขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนจาก “สุชาติ-อำนวย-ภาณุพงษ์” เป็นคนอื่นหรือไม่ต้องรอหารือร่วมอีกครั้ง
วันนี้ (2 มี.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อเวลา 13.00 น. นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ถูกออกหมายเรียกจากเหตุปิดล้อมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จำนวน 21 ประกอบด้วย 1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล 2.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 3.นายสุริยะใส กตะศิลา 4.นายสำราญ รอดเพชร 5.นายสาวิตย์ แก้วหวาน 6.นายวีระ สมความคิด 7.นายกิตติชัย ใสสะอาด 8.นายสุชาติ ศรีสังข์ 9.นายพิภพ ธงไชย 10.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 11.นายอมร อมรรัตนานนท์ 12.นายศิริชัย ไม้งาม 13.นายพิชิต ชัยมงคล 14.นายอำนาจ พละมี 15.นายประยุทธ วีระกิตต์ 16.นายสมบูรณ์ ทองบุราน 17.นายประพันธ์ คูณมี 18.นายพิเชฐ พัฒนโชติ 19.นายศุภผล เอี่ยมเมธาวี 20.นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และ 21.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ในฐานะคณะพนักงานสอบสวน เพื่อยื่นหนังสือขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา ของผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย
นายนิติธร กล่าวว่า หลังทราบจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย และมีรายละเอียดให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าพบตั้งแต่วันที่ 2-5 มี.ค. แต่จนขณะนี้ผู้ต้องหาส่วนมากยังไม่ได้รับหมายเรียก แต่ก็มีความประสงค์จะพบพนักงานสอบสวน และพร้อมจะต่อสู้คดีตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน และจะขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนจากวันดังกล่าวเป็น วันที่ 30 มี.ค. เวลา 09.00 น. โดยทั้งหมดจะเข้าพบพนักงานสอบสวนพร้อมกัน ซึ่งส่วนนี้ต้องดูว่าพนักงานสอบสวนจะพิจารณาตามคำร้องหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ระยะเวลาที่ขอเข้าพบพนักงานสอบสอบสวนนั้นยาวนานไปหรือไม่ นายนิติธร กล่าวว่า ส่วนนี้ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ขอเลื่อนหากติดธุระเนื่องจากการออกหมายเรีบยกนั้นก็ออกมาในระยะกระชั้นชิดมาก ไม่สามารถเตรียมตัวทัน และพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียกได้อีกครั้ง และดูจากระยะเวลาแล้วไม่นานเกินไปอีกทั้งผู้ต้องหาทั้งหมดจะเดินทางเข้าพบในวันเดียวจึงเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้เรียบร้อยในวันเดียว
ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน มี พล.ต.ท.ภาณุพงษ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4 และ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.นั้น นายนิติธร กล่าวว่า ในส่วนของผู้ต้องหาจะมีการปรึกษากันเนื่องจากโดยหลักแล้วหากพนักงานสอบสวนมีส่วนได้เสียในคดีก็อาจจะทำให้เกิดอคติในการทำคดีได้ หรือการใช้ดุลยพินิจเกิดการโน้มเอียงได้ เพราะฉะนั้นตามหลักกฎหมายทั่วไปสามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของผู้ต้องหา
“การขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนนั้นไม่ได้มีการกำหนดว่าให้ผู้ใด เนื่องจากขณะนี้เป็นเพียงความเห็นของผู้ต้องหาบางท่านเท่านั้น แต่ส่วนที่หารือเข้ามาที่ฝ่ายกฎหมายยังไม่ได้หารือเรื่องนี้ และการที่ขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีส่วนกับเหตุการณ์ เช่น เป็น ผบ.เหตุการณ์ แม้ทาง ป.ป.ช.จะยังไม่ชี้มูล แต่ก็เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นของผู้ต้องหายังไม่ใช่มติของทั้งหมด ซึ่งคงจะต้องหารือเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง” นายนิติธร กล่าว
วันนี้ (2 มี.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อเวลา 13.00 น. นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ถูกออกหมายเรียกจากเหตุปิดล้อมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จำนวน 21 ประกอบด้วย 1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล 2.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 3.นายสุริยะใส กตะศิลา 4.นายสำราญ รอดเพชร 5.นายสาวิตย์ แก้วหวาน 6.นายวีระ สมความคิด 7.นายกิตติชัย ใสสะอาด 8.นายสุชาติ ศรีสังข์ 9.นายพิภพ ธงไชย 10.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 11.นายอมร อมรรัตนานนท์ 12.นายศิริชัย ไม้งาม 13.นายพิชิต ชัยมงคล 14.นายอำนาจ พละมี 15.นายประยุทธ วีระกิตต์ 16.นายสมบูรณ์ ทองบุราน 17.นายประพันธ์ คูณมี 18.นายพิเชฐ พัฒนโชติ 19.นายศุภผล เอี่ยมเมธาวี 20.นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และ 21.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ในฐานะคณะพนักงานสอบสวน เพื่อยื่นหนังสือขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา ของผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย
นายนิติธร กล่าวว่า หลังทราบจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย และมีรายละเอียดให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าพบตั้งแต่วันที่ 2-5 มี.ค. แต่จนขณะนี้ผู้ต้องหาส่วนมากยังไม่ได้รับหมายเรียก แต่ก็มีความประสงค์จะพบพนักงานสอบสวน และพร้อมจะต่อสู้คดีตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน และจะขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนจากวันดังกล่าวเป็น วันที่ 30 มี.ค. เวลา 09.00 น. โดยทั้งหมดจะเข้าพบพนักงานสอบสวนพร้อมกัน ซึ่งส่วนนี้ต้องดูว่าพนักงานสอบสวนจะพิจารณาตามคำร้องหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ระยะเวลาที่ขอเข้าพบพนักงานสอบสอบสวนนั้นยาวนานไปหรือไม่ นายนิติธร กล่าวว่า ส่วนนี้ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ขอเลื่อนหากติดธุระเนื่องจากการออกหมายเรีบยกนั้นก็ออกมาในระยะกระชั้นชิดมาก ไม่สามารถเตรียมตัวทัน และพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียกได้อีกครั้ง และดูจากระยะเวลาแล้วไม่นานเกินไปอีกทั้งผู้ต้องหาทั้งหมดจะเดินทางเข้าพบในวันเดียวจึงเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้เรียบร้อยในวันเดียว
ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน มี พล.ต.ท.ภาณุพงษ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4 และ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.นั้น นายนิติธร กล่าวว่า ในส่วนของผู้ต้องหาจะมีการปรึกษากันเนื่องจากโดยหลักแล้วหากพนักงานสอบสวนมีส่วนได้เสียในคดีก็อาจจะทำให้เกิดอคติในการทำคดีได้ หรือการใช้ดุลยพินิจเกิดการโน้มเอียงได้ เพราะฉะนั้นตามหลักกฎหมายทั่วไปสามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของผู้ต้องหา
“การขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนนั้นไม่ได้มีการกำหนดว่าให้ผู้ใด เนื่องจากขณะนี้เป็นเพียงความเห็นของผู้ต้องหาบางท่านเท่านั้น แต่ส่วนที่หารือเข้ามาที่ฝ่ายกฎหมายยังไม่ได้หารือเรื่องนี้ และการที่ขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีส่วนกับเหตุการณ์ เช่น เป็น ผบ.เหตุการณ์ แม้ทาง ป.ป.ช.จะยังไม่ชี้มูล แต่ก็เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นของผู้ต้องหายังไม่ใช่มติของทั้งหมด ซึ่งคงจะต้องหารือเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง” นายนิติธร กล่าว