“อำนวย นิ่มมะโน” ยังไม่หยุดขัดขวาง ป.ป.ช.สอบ 7 ตุลาเลือด ล่าสุดพบส่งหนังสือถึงนายกสมาคมตำรวจพวก “แม้ว” ขอล่ารายชื่อตำรวจ ยื่นถอดถอนกรรมการ ป.ป.ช.พ้นตำแหน่ง อ้าง คปค.แต่งตั้งมิชอบ ขณะที่นายกสมาคมตำรวจ เพื่อนร่วมรุ่น “สล้าง” อดีตเคลื่อนไหวให้ตำรวจเลือกทักษิณ และสนับสนุนการสลายพันธมิตรฯ หน้านครบาล
วันนี้ (13 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ตำรวจใช้อาวุธและแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเดินทางไปปิดล้อมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 เพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบาย จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่มีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธาน ได้สรุปผลการสอบสวน และส่งสำนวนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสั่งการสลายการชุมนุมดังกล่าว โดยมีทั้งนักการเมือง และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องหลายนายเข้าข่ายมีความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 83 อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ฯลฯ
ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เตรียมดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งนี้ หาก ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวน และชี้มูลความผิดกับนักการเมืองและนายตำรวจทั้งหมดแล้ว จะส่งผลให้นายตำรวจทั้งหมดต้องถูกให้ออกจากราชการ จึงทำให้มีนายตำรวจบางนาย พยายามหาช่องทางให้พ้นผิดจากกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.ต.ต.อำนวย ได้ทำหนังสือไม่ระบุวันที่ เดือนมกราคม 2552 ถึง นายกสมาคมตำรวจ (พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์) เรื่องขอให้กรรมการ ป.ป.ช.พ้นจากตำแหน่ง
โดยในเนื้อหาของหนังสือระบุว่า เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ปรากฎข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มีคุณสมบัติและสถานภาพไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนการปฎิบัติหน้าที่ขาดความเที่ยงธรรมมีการกระทำอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และการกระทำที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง อันเข้าข่ายที่จักได้มีการดำเนินการเพื่อมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ตามนัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 248 ดังนี้
1. ประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับยกเว้นขั้นตอนการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แม้จะได้มีประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้ถือว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ก็หามีผลให้การออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่มิชอบด้วยกฎหมายไปแล้ว เป็นการแต่งตั้งชอบด้วยกฎหมาย และมีผลย้อนหลังแต่ประการใดไม่ ซึ่งได้มีการทักท้วงจากหลายฝ่ายแล้ว โดยปรากฎตามสื่อมวลชน แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด อันเป็นการจูงใจฝ่าฝืนกฎหมาย และรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
2.การได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังมิได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ จากการปฏิบัติหน้าที่
3.การเลือกปฏิบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเร่งรีบพิจารณาในบางเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นการชุมนุมและเกิดการปะทะกันของผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย ที่จังหวัดอุดรธานี โดยชี้มูลกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ชี้มูลกรณี พงส.สภ.วังน้อย จว.พระนครศรีอยุธยา เสนอขอหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การชี้มูลดำเนินการทางวินัยเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ หรือดำเนินการเพื่อชี้มูลกล่าวหา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ทั้ง ๆ ที่มีเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการและคั่งค้างการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.อยู่หลายเรื่อง เช่น กรณีกล่าวหา คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ และการก่อสร้างบ้านพักมูลค่า 40 ล้านบาท คณะกรรมการ ป.ป.ช.กลับไม่เร่งรีบดำเนินการ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะดำเนินการพิจารณาเรื่องใด ควรเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของเรื่องที่ได้รับไว้ เพราะย่อมถือว่าทุกเรื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกันในอันที่จะตรวจสอบ
4.การออกแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนในลักษณะเป็นการชี้นำแสดงความเห็น ในเรื่องที่มีการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด ทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายและระเบียบก่อนดังเช่นกรณีการออกมาชี้มูลความผิดกรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ออกแถลงข่าวก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง พร้อมแสดงความเห็นในทำนองชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
5.คุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และต้องไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด แต่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ได้รับจ้างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงย่อมเป็นผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.
ข้าพเจ้ากับพวกจึงขอใช้สิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา (ผ่าน สมาคมตำรวจ) เพื่อนำเสนอเรื่องต่อวุฒิสภา พิจารณามีมติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ กรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่งตามนัย มาตรา 248 แห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และได้ลงลายมือชื่อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยแล้ว
พบ"วิสุทธิ์"เคยเคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ
สำหรับ พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์ นายกสมาคมตำรวจ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ (รองอ.ตร.) เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 14 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ภายหลังเกษียณอายุราชการ เข้าไปมีบทบาทในฐานะ นายกสมาคมตำรวจ โดยออกมารณรงค์ให้ตำรวจทั่วประเทศ ด้วยการทำหนังสือถึง ผู้กำกับทุกโรงพักทั่วประเทศให้เลือกพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อสมัยที่ 2 ในวันเลือกตั้งที่ 2 เมษายน 2549 อย่างเปิดเผย เพื่อสนับสนุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
นอกจากนี้ เมื่อครั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.กิตติวัฒน์ ในฐานะนายกสมาคมตำรวจ ได้ชักชวนอดีตบิ๊กตำรวจทั้งอดีต อ.ตร. และอดีตรอง อ.ตร.หลายนาย ออกมาคัดค้าน การปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ขณะนั้นมีกระแสข่าวว่า จะถูกโอนย้ายให้ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมด้วย
ต่อมา เมื่อเหตุการณ์ สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ของตำรวจเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากนั้น พล.ต.อ.วิสุทธิ์ ในฐานะนายกสมาคมตำรวจ ได้ออกแถลงการณ์ระบุใจความว่า สมาคมตำรวจขอแสดงความเสียใจต่อเหตุเผชิญหน้ากันทั้ง 2 ฝ่าย จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แม้จะไม่สนับสนุนความรุนแรง แต่ขอสนับสนุนการรักษากฎหมายของบ้านเมือง ซึ่งแสดงถึงความเป็นนิติรัฐ ส่วนมาตราการและขั้นตอนของตำรวจในการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อเปิดทางให้กับคณะรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุบานปลายและรุนแรงยิ่งขึ้นที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงเย็นและค่ำของวันเดียวกันนั้น เป็นมาตราการที่เหมาะสมแก่สถานการณ์ดังกล่าว
แฉเล่ห์ฉ้อฉล “อำนวย” ส่งคนแสร้งฟ้องศาล สกัด ป.ป.ช.เชือดคดี 7 ตุลาเลือด
วันนี้ (13 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ตำรวจใช้อาวุธและแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเดินทางไปปิดล้อมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 เพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบาย จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่มีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธาน ได้สรุปผลการสอบสวน และส่งสำนวนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสั่งการสลายการชุมนุมดังกล่าว โดยมีทั้งนักการเมือง และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องหลายนายเข้าข่ายมีความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 83 อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ฯลฯ
ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เตรียมดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งนี้ หาก ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวน และชี้มูลความผิดกับนักการเมืองและนายตำรวจทั้งหมดแล้ว จะส่งผลให้นายตำรวจทั้งหมดต้องถูกให้ออกจากราชการ จึงทำให้มีนายตำรวจบางนาย พยายามหาช่องทางให้พ้นผิดจากกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.ต.ต.อำนวย ได้ทำหนังสือไม่ระบุวันที่ เดือนมกราคม 2552 ถึง นายกสมาคมตำรวจ (พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์) เรื่องขอให้กรรมการ ป.ป.ช.พ้นจากตำแหน่ง
โดยในเนื้อหาของหนังสือระบุว่า เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ปรากฎข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มีคุณสมบัติและสถานภาพไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนการปฎิบัติหน้าที่ขาดความเที่ยงธรรมมีการกระทำอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และการกระทำที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง อันเข้าข่ายที่จักได้มีการดำเนินการเพื่อมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ตามนัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 248 ดังนี้
1. ประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับยกเว้นขั้นตอนการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แม้จะได้มีประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้ถือว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ก็หามีผลให้การออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่มิชอบด้วยกฎหมายไปแล้ว เป็นการแต่งตั้งชอบด้วยกฎหมาย และมีผลย้อนหลังแต่ประการใดไม่ ซึ่งได้มีการทักท้วงจากหลายฝ่ายแล้ว โดยปรากฎตามสื่อมวลชน แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด อันเป็นการจูงใจฝ่าฝืนกฎหมาย และรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
2.การได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังมิได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ จากการปฏิบัติหน้าที่
3.การเลือกปฏิบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเร่งรีบพิจารณาในบางเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นการชุมนุมและเกิดการปะทะกันของผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย ที่จังหวัดอุดรธานี โดยชี้มูลกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ชี้มูลกรณี พงส.สภ.วังน้อย จว.พระนครศรีอยุธยา เสนอขอหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การชี้มูลดำเนินการทางวินัยเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ หรือดำเนินการเพื่อชี้มูลกล่าวหา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ทั้ง ๆ ที่มีเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการและคั่งค้างการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.อยู่หลายเรื่อง เช่น กรณีกล่าวหา คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ และการก่อสร้างบ้านพักมูลค่า 40 ล้านบาท คณะกรรมการ ป.ป.ช.กลับไม่เร่งรีบดำเนินการ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะดำเนินการพิจารณาเรื่องใด ควรเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของเรื่องที่ได้รับไว้ เพราะย่อมถือว่าทุกเรื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกันในอันที่จะตรวจสอบ
4.การออกแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนในลักษณะเป็นการชี้นำแสดงความเห็น ในเรื่องที่มีการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด ทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายและระเบียบก่อนดังเช่นกรณีการออกมาชี้มูลความผิดกรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ออกแถลงข่าวก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง พร้อมแสดงความเห็นในทำนองชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
5.คุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และต้องไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด แต่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ได้รับจ้างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงย่อมเป็นผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.
ข้าพเจ้ากับพวกจึงขอใช้สิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา (ผ่าน สมาคมตำรวจ) เพื่อนำเสนอเรื่องต่อวุฒิสภา พิจารณามีมติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ กรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่งตามนัย มาตรา 248 แห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และได้ลงลายมือชื่อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยแล้ว
พบ"วิสุทธิ์"เคยเคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ
สำหรับ พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์ นายกสมาคมตำรวจ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ (รองอ.ตร.) เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 14 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ภายหลังเกษียณอายุราชการ เข้าไปมีบทบาทในฐานะ นายกสมาคมตำรวจ โดยออกมารณรงค์ให้ตำรวจทั่วประเทศ ด้วยการทำหนังสือถึง ผู้กำกับทุกโรงพักทั่วประเทศให้เลือกพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อสมัยที่ 2 ในวันเลือกตั้งที่ 2 เมษายน 2549 อย่างเปิดเผย เพื่อสนับสนุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
นอกจากนี้ เมื่อครั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.กิตติวัฒน์ ในฐานะนายกสมาคมตำรวจ ได้ชักชวนอดีตบิ๊กตำรวจทั้งอดีต อ.ตร. และอดีตรอง อ.ตร.หลายนาย ออกมาคัดค้าน การปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ขณะนั้นมีกระแสข่าวว่า จะถูกโอนย้ายให้ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมด้วย
ต่อมา เมื่อเหตุการณ์ สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ของตำรวจเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากนั้น พล.ต.อ.วิสุทธิ์ ในฐานะนายกสมาคมตำรวจ ได้ออกแถลงการณ์ระบุใจความว่า สมาคมตำรวจขอแสดงความเสียใจต่อเหตุเผชิญหน้ากันทั้ง 2 ฝ่าย จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แม้จะไม่สนับสนุนความรุนแรง แต่ขอสนับสนุนการรักษากฎหมายของบ้านเมือง ซึ่งแสดงถึงความเป็นนิติรัฐ ส่วนมาตราการและขั้นตอนของตำรวจในการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อเปิดทางให้กับคณะรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุบานปลายและรุนแรงยิ่งขึ้นที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงเย็นและค่ำของวันเดียวกันนั้น เป็นมาตราการที่เหมาะสมแก่สถานการณ์ดังกล่าว
แฉเล่ห์ฉ้อฉล “อำนวย” ส่งคนแสร้งฟ้องศาล สกัด ป.ป.ช.เชือดคดี 7 ตุลาเลือด