ตั้งแต่ก่อตั้งศาลยุติธรรมไทย ยังไม่เคยปรากฏว่ามีคำพิพากษาจำคุกผู้ใดนานเป็นหมื่นหรือแสนปีมาก่อน เนื่องจากอายุโดยเฉลี่ยของคนเราประมาณ 60-70 ปี มีน้อยคนนักที่อายุเกินกว่า 100 ปี และเมื่อเดือนมีนาคมต้นปีที่ผ่านมา มีคดีหนึ่งที่น่าสนใจจะบันทึกไว้เป็นคดีประวัติศาสตร์ ซึ่งศาลได้พิพากษาจำคุกจำเลยเป็นเวลา 1 แสนกว่าปี
คดีนั้นคือ คดีแชร์ลูกโซ่หมายเลขดำที่ ด.4756/2537 ของศาลอาญา ถ.รัชดาฯ ซึ่งศาลตัดสินเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด, นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และ นายอรรณพ กุลเสวตร์ อดีตผู้จัดการสาขาศูนย์สีลม เป็นเวลานาน 120,945 ปี ฐานฉ้อโกงประชาชน โฆษณาหลอกลวงชวนเชื่อให้สมัครบัตรสมาชิกท่องเที่ยว พักฟรี 4 วัน 4 คืน ตลอดระยะเวลา 20 ปี
ย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี 2535-2536 บริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ได้เปิดดำเนินธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือ ไทม์แชริ่ง โดยพฤติการณ์เข้าข่ายธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เนื่องจากจะมีการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนทั่วไปมาสมัครเป็นสมาชิก โดยเงื่อนไขการเป็นสมาชิกมี 2 ประเภท คือ ประเภทบัตรเงิน ลูกค้าต้องจ่าย 30,000 บาท และประเภทบัตรทอง ลูกค้าต้องจ่าย 60,000 บาท โดยอ้างว่า ถ้าสมัครสมาชิกแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เพราะตลอดเวลา 20 ปี สามารถพักฟรีตามโรงแรม หรือรีสอร์ตต่างๆ ที่จัดไว้ ปีละ 4 วัน 4 คืน รวม 80 วัน 80 คืน โดยไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะต้องชำระค่าบำรุงด้วยอีกปีละ 2,500 บาท และ 4,500 บาท แต่มาแจ้งภายหลังเมื่อได้มีการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว และยังกำหนดเงื่อนไขอีกว่าหากลูกค้ารายใดไม่จ่ายค่าบำรุงรายปี ก็ไม่จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ หรือได้รับผลตอบแทนต่างๆ ตามที่บอกไว้ได้ และยังชักชวนอีกว่าถ้าสมาชิกรายใดสมัครเป็นพนักงานฝ่ายขายอิสระ และหาสมาชิกรายใหม่ได้ ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินให้อีกจำนวน 5,000 บาท ต่อลูกค้า 1 คน หากหาสมาชิกรายใหม่ได้ถึง 4 คน ก็จะได้รับค่าตอบแทน 20,000 บาท ตลอดเวลา 20 ปี โดยไม่ต้องหาสมาชิกใหม่อีก ซึ่งการสมัครเป็นพนักงานฝ่ายขายอิสระ สมาชิกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มปีละ 1,500 บาท โดยบริษัทสัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้ทุกวันที่ 10, 20 และ 25 ของเดือน แต่เมื่อคำนวณการจ่ายค่าตอบแทน ก็จะพบว่า มีการจ่ายค่าผลตอบแทนให้สูงสุดถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดและเกินกว่าที่ผู้ประกอบกิจการสุจริตทั่วไปจะทำได้ แต่ก็ยังมีประชาชนที่หลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกจำนวนมาก ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีที่บริษัทเป็นกิจการ ปรากฏว่า มีประชาชนที่หลงเชื่อ แห่กันมาสมัครเป็นสมาชิกมากถึง 24,189 คน
หลังจากที่รู้ว่าถูกหลอกลวงและฉ้อโกง ก็ได้ไปยื่นร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการคลัง พร้อมทั้งมีการยื่นเรื่องต่อศาลศาลล้มละลายกลาง กระทั่งต่อมาศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทและกรรมการบริหาร รวมเป็นเงิน 163.252 ล้านบาท พร้อมทั้งมีคำสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญานั้น ทางพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด, น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัท, น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและผู้ถือหุ้น, นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และ นายอรรณพ กุลเสวตร์ อดีตผู้จัดการสาขาศูนย์สีลมจำเลยที่ 1-5 ว่า ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและเป็นความผิดตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4, 5, 12 และมาตรา 15 ในเมื่อวันที่ 18 ส.ค.2537 ระหว่างนั้นมีการสืบพยานโจทก์-จำเลยต่อสู้คดีกันเป็นระยะเวลายาวนาน 13 ปี
ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ดังกล่าว สั่งให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ จำเลยที่ 2, นายแสงทอง จำเลยที่ 4 และ นายอรรณพ จำเลยที่ 5 ฐานร่วมกันพูดชักชวนโดยการหลอกลวงด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงประชาชนควรรู้ อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เพราะจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมการที่มีอำนาจในบริษัท เป็นผู้วางแผนนโยบายการตลาด รวมทั้งเป็นผู้จัดการอบรมชักชวนให้มีการสมัครสมาชิก ซึ่งศาลระบุความผิดนั้นผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุด ฐานฉ้อโกงประชาชน ลงโทษจำคุกคนละ 24,189 กระทงๆ ละ 5 ปี ดังนั้น เมื่อนับรวมโทษแล้ว จึงให้จำคุกคนละ 120,945 ปี
แต่เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แล้ว ระบุไว้ว่าให้จำคุกจำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้เพียง 20 ปีเท่านั้น ศาลจึงพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 2, 4 และ 5 คนละ 20 ปี ส่วน นายอรรณพ จำเลยที่ 5 ศาลให้นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายดำที่ ย.8853/2544 หมายเลขแดงที่ ย.14433/2544 ด้วย ซึ่งศาลอาญาพิพากษาได้จำคุกนายอรรณพ จำเลยที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี ฐานมีเสพติดประเภทยาอี จำนวน 92 เม็ด และคีตามีน (ยาเค) จำนวน 10 ขวด เพื่อจำหน่าย ตามความผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 เนื่องจากพบว่าไม่เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการวางแผนบริหารนโยบายดังกล่าว
จากคดีดังกล่าว ทำให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปควรจะหาช่องทางมาหากินโดยสุจริต ไม่หลงมัวเมาไปกับความโลภที่คนอื่นมาหยิบยื่นให้ โดยเสนอผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง เพราะอาจจะถูกหลอกกลายเป็นเหยื่อของการโฆษณาชักจูงได้อย่างง่ายดาย แม้สุดท้ายคนผิดจะถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับเวลาและทรัพย์สินเงินทองที่สูญเสียไป
คดีนั้นคือ คดีแชร์ลูกโซ่หมายเลขดำที่ ด.4756/2537 ของศาลอาญา ถ.รัชดาฯ ซึ่งศาลตัดสินเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด, นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และ นายอรรณพ กุลเสวตร์ อดีตผู้จัดการสาขาศูนย์สีลม เป็นเวลานาน 120,945 ปี ฐานฉ้อโกงประชาชน โฆษณาหลอกลวงชวนเชื่อให้สมัครบัตรสมาชิกท่องเที่ยว พักฟรี 4 วัน 4 คืน ตลอดระยะเวลา 20 ปี
ย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี 2535-2536 บริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ได้เปิดดำเนินธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือ ไทม์แชริ่ง โดยพฤติการณ์เข้าข่ายธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เนื่องจากจะมีการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนทั่วไปมาสมัครเป็นสมาชิก โดยเงื่อนไขการเป็นสมาชิกมี 2 ประเภท คือ ประเภทบัตรเงิน ลูกค้าต้องจ่าย 30,000 บาท และประเภทบัตรทอง ลูกค้าต้องจ่าย 60,000 บาท โดยอ้างว่า ถ้าสมัครสมาชิกแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เพราะตลอดเวลา 20 ปี สามารถพักฟรีตามโรงแรม หรือรีสอร์ตต่างๆ ที่จัดไว้ ปีละ 4 วัน 4 คืน รวม 80 วัน 80 คืน โดยไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะต้องชำระค่าบำรุงด้วยอีกปีละ 2,500 บาท และ 4,500 บาท แต่มาแจ้งภายหลังเมื่อได้มีการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว และยังกำหนดเงื่อนไขอีกว่าหากลูกค้ารายใดไม่จ่ายค่าบำรุงรายปี ก็ไม่จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ หรือได้รับผลตอบแทนต่างๆ ตามที่บอกไว้ได้ และยังชักชวนอีกว่าถ้าสมาชิกรายใดสมัครเป็นพนักงานฝ่ายขายอิสระ และหาสมาชิกรายใหม่ได้ ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินให้อีกจำนวน 5,000 บาท ต่อลูกค้า 1 คน หากหาสมาชิกรายใหม่ได้ถึง 4 คน ก็จะได้รับค่าตอบแทน 20,000 บาท ตลอดเวลา 20 ปี โดยไม่ต้องหาสมาชิกใหม่อีก ซึ่งการสมัครเป็นพนักงานฝ่ายขายอิสระ สมาชิกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มปีละ 1,500 บาท โดยบริษัทสัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้ทุกวันที่ 10, 20 และ 25 ของเดือน แต่เมื่อคำนวณการจ่ายค่าตอบแทน ก็จะพบว่า มีการจ่ายค่าผลตอบแทนให้สูงสุดถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดและเกินกว่าที่ผู้ประกอบกิจการสุจริตทั่วไปจะทำได้ แต่ก็ยังมีประชาชนที่หลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกจำนวนมาก ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีที่บริษัทเป็นกิจการ ปรากฏว่า มีประชาชนที่หลงเชื่อ แห่กันมาสมัครเป็นสมาชิกมากถึง 24,189 คน
หลังจากที่รู้ว่าถูกหลอกลวงและฉ้อโกง ก็ได้ไปยื่นร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการคลัง พร้อมทั้งมีการยื่นเรื่องต่อศาลศาลล้มละลายกลาง กระทั่งต่อมาศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทและกรรมการบริหาร รวมเป็นเงิน 163.252 ล้านบาท พร้อมทั้งมีคำสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญานั้น ทางพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด, น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัท, น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและผู้ถือหุ้น, นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และ นายอรรณพ กุลเสวตร์ อดีตผู้จัดการสาขาศูนย์สีลมจำเลยที่ 1-5 ว่า ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและเป็นความผิดตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4, 5, 12 และมาตรา 15 ในเมื่อวันที่ 18 ส.ค.2537 ระหว่างนั้นมีการสืบพยานโจทก์-จำเลยต่อสู้คดีกันเป็นระยะเวลายาวนาน 13 ปี
ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ดังกล่าว สั่งให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ จำเลยที่ 2, นายแสงทอง จำเลยที่ 4 และ นายอรรณพ จำเลยที่ 5 ฐานร่วมกันพูดชักชวนโดยการหลอกลวงด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงประชาชนควรรู้ อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เพราะจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมการที่มีอำนาจในบริษัท เป็นผู้วางแผนนโยบายการตลาด รวมทั้งเป็นผู้จัดการอบรมชักชวนให้มีการสมัครสมาชิก ซึ่งศาลระบุความผิดนั้นผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุด ฐานฉ้อโกงประชาชน ลงโทษจำคุกคนละ 24,189 กระทงๆ ละ 5 ปี ดังนั้น เมื่อนับรวมโทษแล้ว จึงให้จำคุกคนละ 120,945 ปี
แต่เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แล้ว ระบุไว้ว่าให้จำคุกจำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้เพียง 20 ปีเท่านั้น ศาลจึงพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 2, 4 และ 5 คนละ 20 ปี ส่วน นายอรรณพ จำเลยที่ 5 ศาลให้นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายดำที่ ย.8853/2544 หมายเลขแดงที่ ย.14433/2544 ด้วย ซึ่งศาลอาญาพิพากษาได้จำคุกนายอรรณพ จำเลยที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี ฐานมีเสพติดประเภทยาอี จำนวน 92 เม็ด และคีตามีน (ยาเค) จำนวน 10 ขวด เพื่อจำหน่าย ตามความผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 เนื่องจากพบว่าไม่เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการวางแผนบริหารนโยบายดังกล่าว
จากคดีดังกล่าว ทำให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปควรจะหาช่องทางมาหากินโดยสุจริต ไม่หลงมัวเมาไปกับความโลภที่คนอื่นมาหยิบยื่นให้ โดยเสนอผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง เพราะอาจจะถูกหลอกกลายเป็นเหยื่อของการโฆษณาชักจูงได้อย่างง่ายดาย แม้สุดท้ายคนผิดจะถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับเวลาและทรัพย์สินเงินทองที่สูญเสียไป