สอบสวนกลาง แถลงรับตัวผู้ต้องหาชาวไทย ขบวนการฉ้อโกงประชาชนข้ามชาติ หลังตำรวจจีน บุกทลายพร้อมจับกุมผู้ต้องหาชาวไทยรวม 40 คน ขณะที่ชาวจีน ตัวการใหญ่ ยังหลบหนี
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 10.30 น.พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบช.ก.พร้อมด้วย พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก.แถลงข่าว การรับตัวผู้ต้องหาชาวไทย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นชาย 23 คน หญิง 17 คน ทั้งหมดถูกจับกุมข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ (VOIP GATEWAY : Voice Over Internet Protocol) ซึ่งหลอกลวงผู้เสียหายชาวไทยที่มีบัตรเครดิตให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม โดยตำรวจ บช.ก. ร่วมกับตำรวจจีน เข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดในห้องพัก อาคารโย่ว หยีต้าซ่า อพาร์ตเมนต์ใหญ่ใจกลางเมืองซัวเถา สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
พล.ต.ท.สมยศ กล่าวว่า ผู้เสียหายที่เป็นเหยื่อแก๊งดังกล่าวมีทั้งชาวไทย จีน ไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซีย กว่า 5,000 ราย เฉพาะผู้เสียหายชาวไทยประมาณ 1,000 ราย แต่เข้าร้องทุกข์ต่อตำรวจเพียง 500 ราย มูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ขบวนการนี้มีชาวจีนเป็นตัวการใหญ่ และว่าจ้างชาวไทยให้ไปทำหน้าที่คอลล์เซ็นเตอร์เพื่อโทร.ติดต่อหลอกลวงเหยื่อในประเทศไทย โดยมีต้นทางการติดต่อโทรศัพท์มาจากจีน จึงได้รวบรวมหลักฐานและประสานจากการจีน จนสามารถทลายเครือข่ายแก๊งมิจฉาชีพดังกล่าวลงได้ โดยผู้ต้องหาชาวไทยที่จับกุมได้ถูกทางการจีนควบคุมตัวไว้ กระทั่งมีการประสานส่งตัวผู้ต้องหาชาวไทยทั้งหมดกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย
พล.ต.ท.สมยศ กล่าวด้วยว่า สำหรับพฤติการณ์ของคนร้ายจะทำงานเป็นขบวนการ ส่วนวิธีการหลอกลวงเหยื่อนั้นจะอ้างว่า เหยื่อเป็นผู้ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือถูกโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต เมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็จะสมอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทบัตรเครดิต หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อหลอกเหยื่อให้ไปทำธุรกรรมหรือแก้ไขข้อผิดพลาดที่ตู้เอทีเอ็มแต่จริงๆแล้วเป็นการหลอกให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มไปเข้าบัญชีที่แก๊งคนร้ายเปิดไว้ ทั้งนี้ในการจับกุมแก๊งดังกล่าวทราบว่ายังมีผู้ต้องหาชาติต่างๆที่ถูกว่าจ้างให้ไปทำงานเป็นคอลเซ็นเตอร์อีกประมาณ 300 คน ส่วนหัวหน้าแก๊งชาวจีนบางส่วนยังไม่สามารถติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้ซึ่งตำรวจไทยจะได้มีการประสานกับทางการจีนเพื่อขยายผลเรื่องดังกล่าวต่อไป
ด้าน พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า กรณีที่คนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรนั้นมีผู้เสียหายบางรายหลงเชื่อจนสูญเสียเงินไปเป็นล้านบาท ซึ่งตำรวจได้ประสานข้อมูลกับทางการจีนเพื่อสกัดกั้นแก๊งคนร้ายกลุ่มนี้แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าขบวนการใหม่นี้น่าจะเป็นเครือข่ายเดียวกันกับแก๊งที่ถูกจับกุมไปแล้ว ส่วนข้อมูลภาษีของเหยื่อก็อาจจะมีการโจรกรรมมาจากระบบอินเตอร์เน็ตที่เปิดให้บริการยื่นภาษีแบบออนไลน์ จึงอยากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังเพราะอาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว
นายประสิทธิ พึ่งอนุ อายุ 46 ปี หนึ่งในกลุ่มผู้ต้องหาให้การว่า ก่อนหน้านี้ มีคนจีนที่พูดไทยได้ มาชวนให้ไปทำงานที่ประเทศจีน โดยบอกว่าเป็นงานรับโทรศัพท์รายได้ดี เมื่อเดินทางไปถึงก็ถูกยึดหนังสือเดินทางไว้ทำให้หนีไปไหนไม่ได้ จากนั้นทุกเช้าคนจีนที่เป็นคนคุมงานก็จะนำเบอร์โทรศัพท์มาให้โทรไปหาเหยื่อ โดยแต่ละรายจะบอกว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล จากนั้นจะส่งไม้ต่อให้เพื่อนอีกคนโทร.ไปหาเหยื่อ ซึ่งในแต่ละเดือนก็จะได้ค่าจ้างประมาณ 20,000 บาท
ด้าน นางวิรวรรณ วงศ์สิงห์ขัน อายุ 43 ปี ชาว จ.ลำปาง รับสารภาพว่าตนทำหน้าที่คอลเซ็นเตอร์สายสุดท้าย หลังจากที่คนก่อนหลอกถามเหยื่อแล้ว ซึ่งตนก็จะสอบถามข้อมูลเครดิตว่ามีวงเงินเท่าไร ในบัญชีมีเงินเท่าไร หากเหยื่อหลงเชื่อก็จะพูดให้ไปที่หน้าตู้เอทีเอ็มเพื่อให้ทำธุรกรรม โดยจะหลอกว่าขอให้พิมพ์ตัวเลขชุดหนึ่งเข้าไป เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรให้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย แต่ความจริงๆแล้วตัวเลขชุดนี้เป็นจำนวนเงินที่จะโอนโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว ที่ผ่านมามีเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้ต่ำสุด 3,000 บาท สูงสุดถึง 600,000 บาท
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 10.30 น.พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบช.ก.พร้อมด้วย พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก.แถลงข่าว การรับตัวผู้ต้องหาชาวไทย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นชาย 23 คน หญิง 17 คน ทั้งหมดถูกจับกุมข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ (VOIP GATEWAY : Voice Over Internet Protocol) ซึ่งหลอกลวงผู้เสียหายชาวไทยที่มีบัตรเครดิตให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม โดยตำรวจ บช.ก. ร่วมกับตำรวจจีน เข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดในห้องพัก อาคารโย่ว หยีต้าซ่า อพาร์ตเมนต์ใหญ่ใจกลางเมืองซัวเถา สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
พล.ต.ท.สมยศ กล่าวว่า ผู้เสียหายที่เป็นเหยื่อแก๊งดังกล่าวมีทั้งชาวไทย จีน ไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซีย กว่า 5,000 ราย เฉพาะผู้เสียหายชาวไทยประมาณ 1,000 ราย แต่เข้าร้องทุกข์ต่อตำรวจเพียง 500 ราย มูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ขบวนการนี้มีชาวจีนเป็นตัวการใหญ่ และว่าจ้างชาวไทยให้ไปทำหน้าที่คอลล์เซ็นเตอร์เพื่อโทร.ติดต่อหลอกลวงเหยื่อในประเทศไทย โดยมีต้นทางการติดต่อโทรศัพท์มาจากจีน จึงได้รวบรวมหลักฐานและประสานจากการจีน จนสามารถทลายเครือข่ายแก๊งมิจฉาชีพดังกล่าวลงได้ โดยผู้ต้องหาชาวไทยที่จับกุมได้ถูกทางการจีนควบคุมตัวไว้ กระทั่งมีการประสานส่งตัวผู้ต้องหาชาวไทยทั้งหมดกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย
พล.ต.ท.สมยศ กล่าวด้วยว่า สำหรับพฤติการณ์ของคนร้ายจะทำงานเป็นขบวนการ ส่วนวิธีการหลอกลวงเหยื่อนั้นจะอ้างว่า เหยื่อเป็นผู้ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือถูกโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต เมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็จะสมอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทบัตรเครดิต หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อหลอกเหยื่อให้ไปทำธุรกรรมหรือแก้ไขข้อผิดพลาดที่ตู้เอทีเอ็มแต่จริงๆแล้วเป็นการหลอกให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มไปเข้าบัญชีที่แก๊งคนร้ายเปิดไว้ ทั้งนี้ในการจับกุมแก๊งดังกล่าวทราบว่ายังมีผู้ต้องหาชาติต่างๆที่ถูกว่าจ้างให้ไปทำงานเป็นคอลเซ็นเตอร์อีกประมาณ 300 คน ส่วนหัวหน้าแก๊งชาวจีนบางส่วนยังไม่สามารถติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้ซึ่งตำรวจไทยจะได้มีการประสานกับทางการจีนเพื่อขยายผลเรื่องดังกล่าวต่อไป
ด้าน พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า กรณีที่คนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรนั้นมีผู้เสียหายบางรายหลงเชื่อจนสูญเสียเงินไปเป็นล้านบาท ซึ่งตำรวจได้ประสานข้อมูลกับทางการจีนเพื่อสกัดกั้นแก๊งคนร้ายกลุ่มนี้แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าขบวนการใหม่นี้น่าจะเป็นเครือข่ายเดียวกันกับแก๊งที่ถูกจับกุมไปแล้ว ส่วนข้อมูลภาษีของเหยื่อก็อาจจะมีการโจรกรรมมาจากระบบอินเตอร์เน็ตที่เปิดให้บริการยื่นภาษีแบบออนไลน์ จึงอยากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังเพราะอาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว
นายประสิทธิ พึ่งอนุ อายุ 46 ปี หนึ่งในกลุ่มผู้ต้องหาให้การว่า ก่อนหน้านี้ มีคนจีนที่พูดไทยได้ มาชวนให้ไปทำงานที่ประเทศจีน โดยบอกว่าเป็นงานรับโทรศัพท์รายได้ดี เมื่อเดินทางไปถึงก็ถูกยึดหนังสือเดินทางไว้ทำให้หนีไปไหนไม่ได้ จากนั้นทุกเช้าคนจีนที่เป็นคนคุมงานก็จะนำเบอร์โทรศัพท์มาให้โทรไปหาเหยื่อ โดยแต่ละรายจะบอกว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล จากนั้นจะส่งไม้ต่อให้เพื่อนอีกคนโทร.ไปหาเหยื่อ ซึ่งในแต่ละเดือนก็จะได้ค่าจ้างประมาณ 20,000 บาท
ด้าน นางวิรวรรณ วงศ์สิงห์ขัน อายุ 43 ปี ชาว จ.ลำปาง รับสารภาพว่าตนทำหน้าที่คอลเซ็นเตอร์สายสุดท้าย หลังจากที่คนก่อนหลอกถามเหยื่อแล้ว ซึ่งตนก็จะสอบถามข้อมูลเครดิตว่ามีวงเงินเท่าไร ในบัญชีมีเงินเท่าไร หากเหยื่อหลงเชื่อก็จะพูดให้ไปที่หน้าตู้เอทีเอ็มเพื่อให้ทำธุรกรรม โดยจะหลอกว่าขอให้พิมพ์ตัวเลขชุดหนึ่งเข้าไป เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรให้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย แต่ความจริงๆแล้วตัวเลขชุดนี้เป็นจำนวนเงินที่จะโอนโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว ที่ผ่านมามีเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้ต่ำสุด 3,000 บาท สูงสุดถึง 600,000 บาท