ตำรวจไทย ประสานไปยังตำรวจจีน ขอข้อมูลแก๊งโทรศัพท์ข้ามประเทศ หลอกลวงเหยื่อให้ดอนเงินจากบัตรต่างๆ โดยมีพฤติกรรมสุ่มโทร.วันละประมาณ 100 สาย หากเหยื่อติดเบ็ด หลงกลเพียง 2-3 ราย จะได้เงินวันละราว 9 แสนบาท
วันนี้ (1 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผบช.ก.และเจ้าหน้าที่ตำรวจคณะทำงานสืบสวนปราบปรามการกระผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน และบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมขบวนการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ
พล.ต.อ.วงกต กล่าวว่า ขบวนการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ มีศูนย์ควบคุมการทำงานอยู่ที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ มีการใช้บุคคลและเทคโนโลยีในการฉ้อโกงประชาชนหลอกเอาเงินจากบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มและบัตรกดเงินต่างๆ ผ่านทางระบบโทรศัพท์ โดยจากการสืบสวนของชุดสืบสวนพบว่าผู้กระทำผิดอยู่ในประเทศจีน จึงได้ประสานงานไปยังสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมทำการสืบสวนติดตามคนร้ายที่ฉ้อโกง ประชาชนด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง เริ่มดำเนินการตามแผนงานตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.2550 ต่อมาตำรวจจีนได้รับมอบเอกสารและข้อมูลทางเทคนิคจากคณะทำงาน เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลในการสืบหาคนร้าย ซึ่งมีข้อมูลทางลึกพบว่า มี call center อีกหลายประเทศ และมีผู้เสียหายอีกหลายประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พล.ต.อ.วงกต กล่าวต่อว่า ในวันที่ 13 มี.ค.คณะทำงานสืบสวนปราบปราม ได้เดินทางร่วมประชุมกับคณะทำงานตำรวจจีน ที่เมืองซัวเถา ประเทศจีน คณะทำงานสืบสวนปราบปรามเรื่องนี้ กับชุดทำงานในพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้จากการสืบสวนเพิ่มเติมในช่วง 3 เดือน มาเข้าร่วมการประชุม สรุปข้อมูลปรากฎว่า มีข้อมูลหมายจับ ข้อมูลทางเทคนิคจากชุดปฏิบัติการ ทำให้ ทราบแหล่งซุกซ่อนของคนร้ายที่ลักลอบทำการฉ้อโกงประชาชน โดยใช้โทรศัพท์ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โทรเข้ามาหลอกลวงผู้เสียหายในประเทศไทย แล้วโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย
“เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการตำรวจไทย ร่วมกับตำรวจจีน ได้เข้าตรวจค้นอาคารโย่ว หยี ต้า ซ่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของ call center ให้หลอกผู้เสียหายที่เป็นชาวไทย พบข้อมูล ประเทศไทยมี 3 call center ได้ผู้ต้องหา 42 คน เป็นชาย 24 หญิง 18 คน ประเทศใต้หวัน พบ 2 call centerผู้ต้องหา 35 คน ประเทศเกาหลี พบ 2 call center ผู้ต้องหา 18 คน ประเทศจีน เป็นผู้ควบคุมการทำงาน ได้ผู้ต้องหา จำนวน 15 คน รวมผู้ต้องหาทั้งหมด 135 คน” พล.ต.อ.วงกต กล่าว
รอง ผบ.ตร.กล่าวต่อว่า จากนั้นได้ทำการสืบสวนขยายผลกลุ่มผู้ต้องหา พบว่า ตัวการสำคัญที่เป็นผู้ควบคุมผู้แลเครือข่ายจำนวน 12 คน ได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ซึ่งทั้ง 12 คนเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับที่ได้รวบรวมหลักฐานออกหมายจับไว้แล้วเมื่อประมาณเดือน พ.ย.- ธ.ค.2550 และเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2551 ก็สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่ร่วมกระทำความผิดได้ 3 คนประกอบด้วยจับกุมนายวีรยุทธ น้ำใจตรง พนักงานcall center น.ส.สุกัญญา ใจขันธ์ พนักงาน call center น.ส.พิมพร ศรธนู เป็นผู้เปิดบัญชี ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการติดตามตัว สำหรับผู้ต้องหาทั้ง 42 คนที่ถูกจับที่ประเทศจีน อยู่ระหว่างขอรับตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
ด้าน พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า การทำงานของแก๊งนี้ที่หลอกลวงมาประเทศไทยจะแบ่ง call center ออกเป็น 3 ชุด จะสุ่มหมายเลขในการโทร.มา โดยชุดแรกจะทำหน้าที่นำร่องหาข้อมูลของเหยื่อ ชุดที่ 2 จะปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือฝ่ายกฎหมาย ส่วนชุดที่ 3 จะปลอมเป็นจากแบงก์ชาติ จนกระทั่งให้เหยื่อไปทำบัญชีที่ตู้เอทีเอ็มจนเหยื่อโอนเงินไปให้ ซึ่งเฉพาะ call center ในประเทศไทย มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท
พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวต่อว่า การทำงานวันหนึ่งจะซุ่มโทร.ประมาณ 100 สาย ซึ่งจะประสบผลสำเร็จ 3-10 สาย หลอกเงินได้วันหนึ่งประมาณ 7-9 แสนบาท วันเสาร์ก็จะได้น้อยหน่อยประมาณ 2-3 แสนบาท ก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องการทำบัญชีทางการเงินต่างๆ ให้ติดต่อธนาคารโดยตรง ไม่ต้องหวาดกลัวถ้ามีธนาคารโทรมาบอกว่าเป็นหนี้ ไม่ต้องดำเนินการอะไรตอนนั้น เพราะขณะนี้อาชญากรรมทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากต้องระมัดระวัง ขบวนการนี้ถือว่าเป็นขบวนการที่ใหญ่มาก ซึ่งหลักจากจับกุมแก๊งนี้ได้แล้ว ก็ยังไม่ได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้อีก
วันนี้ (1 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผบช.ก.และเจ้าหน้าที่ตำรวจคณะทำงานสืบสวนปราบปรามการกระผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน และบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมขบวนการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ
พล.ต.อ.วงกต กล่าวว่า ขบวนการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ มีศูนย์ควบคุมการทำงานอยู่ที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ มีการใช้บุคคลและเทคโนโลยีในการฉ้อโกงประชาชนหลอกเอาเงินจากบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มและบัตรกดเงินต่างๆ ผ่านทางระบบโทรศัพท์ โดยจากการสืบสวนของชุดสืบสวนพบว่าผู้กระทำผิดอยู่ในประเทศจีน จึงได้ประสานงานไปยังสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมทำการสืบสวนติดตามคนร้ายที่ฉ้อโกง ประชาชนด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง เริ่มดำเนินการตามแผนงานตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.2550 ต่อมาตำรวจจีนได้รับมอบเอกสารและข้อมูลทางเทคนิคจากคณะทำงาน เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลในการสืบหาคนร้าย ซึ่งมีข้อมูลทางลึกพบว่า มี call center อีกหลายประเทศ และมีผู้เสียหายอีกหลายประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พล.ต.อ.วงกต กล่าวต่อว่า ในวันที่ 13 มี.ค.คณะทำงานสืบสวนปราบปราม ได้เดินทางร่วมประชุมกับคณะทำงานตำรวจจีน ที่เมืองซัวเถา ประเทศจีน คณะทำงานสืบสวนปราบปรามเรื่องนี้ กับชุดทำงานในพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้จากการสืบสวนเพิ่มเติมในช่วง 3 เดือน มาเข้าร่วมการประชุม สรุปข้อมูลปรากฎว่า มีข้อมูลหมายจับ ข้อมูลทางเทคนิคจากชุดปฏิบัติการ ทำให้ ทราบแหล่งซุกซ่อนของคนร้ายที่ลักลอบทำการฉ้อโกงประชาชน โดยใช้โทรศัพท์ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โทรเข้ามาหลอกลวงผู้เสียหายในประเทศไทย แล้วโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย
“เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการตำรวจไทย ร่วมกับตำรวจจีน ได้เข้าตรวจค้นอาคารโย่ว หยี ต้า ซ่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของ call center ให้หลอกผู้เสียหายที่เป็นชาวไทย พบข้อมูล ประเทศไทยมี 3 call center ได้ผู้ต้องหา 42 คน เป็นชาย 24 หญิง 18 คน ประเทศใต้หวัน พบ 2 call centerผู้ต้องหา 35 คน ประเทศเกาหลี พบ 2 call center ผู้ต้องหา 18 คน ประเทศจีน เป็นผู้ควบคุมการทำงาน ได้ผู้ต้องหา จำนวน 15 คน รวมผู้ต้องหาทั้งหมด 135 คน” พล.ต.อ.วงกต กล่าว
รอง ผบ.ตร.กล่าวต่อว่า จากนั้นได้ทำการสืบสวนขยายผลกลุ่มผู้ต้องหา พบว่า ตัวการสำคัญที่เป็นผู้ควบคุมผู้แลเครือข่ายจำนวน 12 คน ได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ซึ่งทั้ง 12 คนเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับที่ได้รวบรวมหลักฐานออกหมายจับไว้แล้วเมื่อประมาณเดือน พ.ย.- ธ.ค.2550 และเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2551 ก็สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่ร่วมกระทำความผิดได้ 3 คนประกอบด้วยจับกุมนายวีรยุทธ น้ำใจตรง พนักงานcall center น.ส.สุกัญญา ใจขันธ์ พนักงาน call center น.ส.พิมพร ศรธนู เป็นผู้เปิดบัญชี ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการติดตามตัว สำหรับผู้ต้องหาทั้ง 42 คนที่ถูกจับที่ประเทศจีน อยู่ระหว่างขอรับตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
ด้าน พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า การทำงานของแก๊งนี้ที่หลอกลวงมาประเทศไทยจะแบ่ง call center ออกเป็น 3 ชุด จะสุ่มหมายเลขในการโทร.มา โดยชุดแรกจะทำหน้าที่นำร่องหาข้อมูลของเหยื่อ ชุดที่ 2 จะปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือฝ่ายกฎหมาย ส่วนชุดที่ 3 จะปลอมเป็นจากแบงก์ชาติ จนกระทั่งให้เหยื่อไปทำบัญชีที่ตู้เอทีเอ็มจนเหยื่อโอนเงินไปให้ ซึ่งเฉพาะ call center ในประเทศไทย มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท
พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวต่อว่า การทำงานวันหนึ่งจะซุ่มโทร.ประมาณ 100 สาย ซึ่งจะประสบผลสำเร็จ 3-10 สาย หลอกเงินได้วันหนึ่งประมาณ 7-9 แสนบาท วันเสาร์ก็จะได้น้อยหน่อยประมาณ 2-3 แสนบาท ก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องการทำบัญชีทางการเงินต่างๆ ให้ติดต่อธนาคารโดยตรง ไม่ต้องหวาดกลัวถ้ามีธนาคารโทรมาบอกว่าเป็นหนี้ ไม่ต้องดำเนินการอะไรตอนนั้น เพราะขณะนี้อาชญากรรมทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากต้องระมัดระวัง ขบวนการนี้ถือว่าเป็นขบวนการที่ใหญ่มาก ซึ่งหลักจากจับกุมแก๊งนี้ได้แล้ว ก็ยังไม่ได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้อีก