xs
xsm
sm
md
lg

ศาลตั้งพนักงานบังคับคดีขับไล่พันธมิตรฯ

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ป้ายผ้าผูกติดแผงเหล็กที่ตำรวจนำไปติดตั้งบริเวณทางเข้าไปยังทำเนียบฯของกลุ่มพันธมิตรฯ
ศาลแพ่ง ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สั่ง พันธมิตร ฯ ออกจากทำเนียบ หลังผู้ชุมนุมยังปักหลักไม่รื้อเวที – เปิดถนนพิษณุโลก – ราชดำเนิน ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ขณะที่ “ ทนายพันธมิตร” ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมร้องทุเลาการบังคับคดี ยันชุมนุมตาม รธน.

วันนี้(28 ส.ค.)เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายเมธี ใจสมุทร ทนายความของผู้รับมอบอำนาจจากนายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในคดีที่ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 5 แกนนำพันธมิตร และนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เป็นจำเลย เรื่องละเมิดและขับไล่ออกจากทำเนียบฯ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา เดินทางเข้ายื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หลังจากที่กลุ่มพันธมิตร ฯ ยังไม่ออกจากพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ตามคำสั่งศาล

โดยนายเมธี ทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งหมายให้กับแกนนำพันธมิตรไปบางส่วนแล้ว ที่เหลือยังส่งไม่ได้เพราะไม่มีคนมารับแทน อย่างไรก็ตามคำสั่งนี้ย่อมมีผลทันทีตั้งแต่ที่ศาลอ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 27 ส.ค. และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง 1ในแกนนำพันธมิตรฯก็ได้รับโดยชอบแล้วเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เราจึงนำข้อมูลตรงนี้แถลงต่อศาลว่าจำเลยทั้ง 6 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จึงขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ต้องรอฟังคำสั่งศาลว่าจะมีคำสั่งออกมาอย่างไร

ต่อมาศาลได้เปิดห้องพิจารณาคดี 403 ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวน นายเมธี ทนายความโจทก์ โดยเมื่อเวลา 16.30 น.ศาลจึงได้มีคำสั่งว่า เรื่องนี้โจทก์ร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้ง 6 ออกจากทำเนียบฯและบริเวณพื้นที่ทำเนียบฯทั้งหมด โดยให้จำเลยทั้ง 6 ดำเนินการ รื้อถอนเวทีปราศรัย รวมทั้งสิ่งกีดขวางอื่นๆออกไปจากบริเวณดังกล่าว และให้จำเลยทั้ง 6 เปิดพื้นที่ถนนพิษณุโลก-ถนนราชดำเนิน เพื่อให้ประชาชน คณะรัฐมนตรี โจทก์ ข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงานในทำเนียบ สามรารถเข้าออกเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสะดวก จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งจากการไต่สวนโจทก์ยืนยันว่าจำเลยที่ 1-6 ยังอยู่ในพื้นที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล หลังจากที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลจึงมีคำสั่งให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดี จัดการให้เป็นไปตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

ด้านนายเมธี ทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งหมายให้กับแกนนำพันธมิตรไปบางส่วนแล้ว ที่เหลือยังส่งไม่ได้เพราะไม่มีคนมารับแทน อย่างไรก็ตามคำสั่งนี้ย่อมมีผลทันทีตั้งแต่ที่ศาลอ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 27 ส.ค. และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง 1ในแกนนำพันธมิตรฯก็ได้รับโดยชอบแล้วเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เราจึงนำข้อมูลตรงนี้แถลงต่อศาลว่าจำเลยทั้ง 6 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จึงขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ต้องรอฟังคำสั่งศาลว่าจะมีคำสั่งออกมาอย่างไร

ส่วนที่ทนายพันธมิตรจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราวนั้น นายเมธี ทนายความ กล่าวว่า เป็นกระบวนการตามกฎหมาย ที่สามารถกระทำได้ แต่จะสิ้นสุดแค่ชั้นอุทธรณ์ ไม่น่าจะมีฎีกา เมื่อถามว่าการที่มาขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เป็นผู้ประสานมาหรือไม่ นายเมธี กล่าวว่า อาจมีส่วน เพราะมีการสอบถามมาว่าทางสำนักเลขาฯได้ดำเนินการอย่างไรบ้างแล้ว เพราะถ้ามีการบังคับคดีก็ต้องขอความร่วมมือจากตำรวจ เมื่อถามว่าหากกลุ่มพันธมิตรฯยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะมีผลอย่างไร นายเมธี กล่าวว่า อาจจะมีการออกหมายจับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนการบังคับคดีตามคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 ทวิ กำหนดว่าถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล โจทก์มีอำนาจร้องขอศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี มาตรา 296 ตรี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจลื้อถอนสิ่งกีดขวาง และขนย้ายสิ่งของ ของจำเลย หากการขนย้ายมีค่าใช้จ่ายให้จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบ มาตรา 296 จัตวา (1) ถ้าจำเลยไม่ออกจากสถานที่ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องศาลมีคำสั่งจับกุมคุกขังจำเลย ตามมาตรา 300 ศาลจำคุกจำเลยได้ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน จนกว่าจำเลยจะยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่รอฟังคำสั่งศาล นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ที่เดินทางมาติดตามการยื่นคำร้องขับไล่กลุ่มพันธมิตรในทุกครั้ง ซึ่งนั่งรออยู่หน้าห้องพิจารณา ได้สอบถามผู้สื่อข่าวว่า “ เป็นคู่ความหรือไม่ อยู่ฝ่ายไหนพันธมิตรฯ หรือ สำนักนายก ถ้าอยู่ฝ่ายพันธมิตร ให้นั่งฝั่งขวา อยู่ฝ่ายสำนักนายกให้นั่งฝั่งซ้าย” ทำให้สื่อข่าวมองว่าเป็นการชี้นำให้เลือกข้าง สื่อมวลชนส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจไม่สัมภาษณ์นายศุภชัย ภายหลังศาลมีคำสั่ง

ขณะเดียวกัน วันนี้เมื่อเวลา 15.00 น. นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความแกนนำพันธมิตรฯ ได้เดินทางมายื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยคำร้อง 15 หน้าสรุปว่า การที่จำเลยต้องมาชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบฯ ถนนพิษณุโลก และถนนราชดำเนิน เนื่องจากรัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของจำเลย และสร้างความร้าวฉานในสังคม โดยใช้สื่อของรัฐคือสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที โจมตีหน่วยงานของรัฐที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล และประชาชนผู้ออกมาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการชุมนุมของจำเลยและกลุ่มประชาชน มีเหตุผลของความชอบธรรม การที่โจทก์อ้างว่าไม่สามารถเดินทางมาทำงานที่ทำเนียบได้ จำเลยเห็นว่าโจทก์ยังคงเดินทางไปมาได้ไม่ได้เป็นการขัดขวางต่อเสรีภาพในการเดินทางของโจทก์ เพียงแต่โจทก์อาจไม่รับความสะดวกบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาในขณะที่มีการชุมนุมสาธารณะในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการที่จำเลยและประชาชนจำนวนมากไปร่วมชุมนุมสาธารณะนั้นก็เป็นการเรียกร้องตรวจสอบการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของบุคคลในกลุ่มของบุคคลในรัฐบาล ซึ่งการใช้สิทธิ์ชุมนุมทางการเมืองโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นไปตามมาตรา 63 ประกอบ 29 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการที่ศาลแพ่งออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณา ซึ่งมิใช่กฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสารธารณะนั้นมาใช้บังคับ ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ จึงเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

จำเลยทั้ง 6 ยังยืนยันด้วยว่าการเข้าไปทำเนียบฯของกลุ่มประชาชนที่มาร่วมชุมนุมนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะทำเนียบฯเป็นสถานที่ราชการ เป็นสาธารณะสถานที่บุคคลสามารถจะเข้าไปได้ และไม่ได้เป็นการบุกรุกเพราะเจ้าหน้าที่ทำเนียบฯได้เปิดประตูให้เข้าไปได้ และประชาชนก็อยู่บริเวณสนามหญ้าในทำเนียบเท่านั้นไม่ได้เข้าไปในตัวอาคารและทำลายทรัพย์สินแต่อย่างใด นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นอุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายด้วยว่าการที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบฯ และให้รื้อถอนเวทีปราศรัยรวมทั้งสิ่งกีดขวางอื่นๆเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีแพ่งต้องใช้บังคับกับจำเลยเท่านั้น ซึ่งบุคคลผู้มาชุมนุมไม่ใช่บริวารของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจสั่งการหรือบังคับให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดได้ ดังนั้นการที่ศาลแพ่งมีคำสั่งรวมไปถึงบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีย่อมเป็นการสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งได้ จึงขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกคำสั่งที่ศาลแพ่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว และหากศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีอำนาจนำบทบัญญัติตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 ซึ่งมิใช่กฎหมายเฉพาะเพื่อการชุมนุมสาธารณะมาใช้บังคับ สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้สิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 จำเลยทั้ง 6 ก็เห็นว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายของวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากศาลอุทธรณ์จะใช้บทบัญญัติดังกล่าวมาบังคับ ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยปัญหาความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเสียก่อน

โดยจำเลยทั้ง 6 ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย โดยระบุว่าจำเลยทั้ง 6 เห็นว่า เมื่อรัฐบาลใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศจึงเป็นหน้าที่ที่ประชาชนจะชุมนุมโดยใช้สันติวิธีในการต่อต้านรัฐบาล ที่ทำการเป็นปฏิปักษ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเมื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการชุมนุมจึงต้องมีต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะปฏิบัติตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม กรณีจึงมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีเพื่อรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ไว้ก่อน แต่หากศาลชั้นต้นเห็นว่ายังไม่สมควรจะสั่งคำร้องนี้ขอให้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเป็นการด่วนตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 231

ทั้งนี้ศาลแพ่งรับคำอุทธรณ์ และคำร้องทุเลาบังคับคดี ไว้พิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป

ด้าน นายสุวัตร ทนายความ กล่าวว่า ตนเห็นว่าคำสั่งคุ้มครองยังไม่ถูกต้องตามข้อกฎหมาย และได้ยื่นอุทธรณ์มีประเด็นหลัก 3 ข้อคือ 1.การที่คือการพันธมิตรฯชุมนุมนั้นเราอ้างสิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ การที่โจทก์มาร้องให้ออกนั้นอ้างสิทธิ์ตามประมวลพิจารณาความแพ่งเรื่องขับไล่ เรื่องละเมิด เรื่องนี้ได้ขอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ศาลแพ่งไม่ได้ส่งให้ตามขอเราจึงต้องอุทธรณ์ต่อ

นายสุวัตร กล่าวต่อว่า เมื่อวานนี้ (27 ส.ค.) ศาลให้สืบพยานโจทก์ 3 ปาก และตนไดขอสืบพยานจำเลย แต่ศาลตัดเลย หมายความว่าศาลไม่ได้ฟังสิ่งที่จำเลยจะพูด ศาลรับฟังเพียงพยานโจทก์ฝั่งเดียว เราเห็นว่าตรงนี้ยังคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะไม่ได้รับฟังทั้ง 2 ฝ่าย และพยานโจทก์โกหกไปอย่างไรศาลก็ไม่รู้ เพราะเราไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานมาชี้แจงได้ 3. ศาลมีคำสั่งว่าให้พันธมิตร 6 คนนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเราเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเป็นบุคคลนอกฟ้อง ไม่ได้เป็นจำเลย ในคดีนี้ เขามาตามสิทธิของเขา ถ้าศาลสั่งให้เอาเขาออกแล้วเขาไม่ออกเราก็ไม่มีสิทธิจะไปอุ้มเขาออก ดังนั้นคำสั่งอันนี้เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลสั่งเกินคำขอไป จึงต้องยื่นอุทธรณ์

นายสุวัตร กล่าวด้วยว่า ได้มีการยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี เมื่อศาลสั่งมาให้ทำอะไรแต่เรายังไม่ทำ ยังไม่อยากทำ เช่นฟ้องขับไล่เราออกจากบ้าน เราบอกว่าเรายังไม่ออกจะขออุทธรณ์ เมื่อเรายื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เราก็ต้องยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีเพื่อยังไม่ให้มีการบังคับคดี และเมื่อยื่นไปแล้วจะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์เป็นคนสั่ง และเมื่อศาลอุทธรณ์มีความเห็นอย่างไรแล้วเรื่องการนำวิธีการชั่วคราวมาใช้จะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งการขอทุเลาคำสั่งคุ้มครองนั้นจะขอทุเลาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่ง และถ้าศาลสั่งทุเลาให้ก็จะอยู่ไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เมื่อถามว่าถ้าศาลยกคำร้องนี้จะดำเนินการอย่างไร นายสุวัตร กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นค่อยว่ากันอีกที แต่เวลานั้นอย่าเพิ่งไปคิดถึงเลย เพราะเราคงไม่อยู่กันถึงเป็นเดือนเป็นปี จะอยู่แค่ 2 -3 วัน ยังไงก็ต้องออกอยู่แล้ว เพราะเมื่อศาลสั่งเราก็เคารพ ต้องปฏิบัติ จะหลีกเลี่ยงไม่ได้

“เมื่อมีช่องทางต่อสู้ตามกฎหมาย ก็ต้องสู้ ที่ผมทำไม่ใช่เป็นการดื้อแพ่ง แต่เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเหมือนเราเช่าบ้านเขาอยู่ เราบอกว่าไม่เช่าเราซื้อแล้วบ้านหลังนี้ เขามาฟ้องขับไล่เรา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาไล่เราก็ยังมีข้อต่อสู้ว่า จริงๆเราซื้อแล้ว ถ้าพิพากษาให้เราออกไปเลยเราก็จะเสียหาย ดังนั้นเราจึงขอทุเลาการบังคับคดี ” นายสุวัตร กล่าว

นายสุวัตร กล่าวอีกว่า ในส่วนของการขอเพิกถอนหมายจับ 9 แกนนำพันธมิตรฯ ของศาลอาญาเราไปขอคัดเอกสารมาหมดแล้ว เพื่อมาดูว่าที่ตั้งข้อหากบฏตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 , 115 ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะพันธมิตรฯไม่ใช่กบฏ คำว่ากบฏหมายถึงยึดอำนาจรัฐโดยใช้อาวุธ แต่พันธมิตรเรียกร้องให้รักษารัฐธรรมนูญไว้ อย่าแก้รัฐธรรมนูญ ให้รัฐบาลปฏิบัติตามกฎหมายดำเนินคดีต่อคนผิดและเอามาลงโทษ ฉะนั้นข้อหากบฏถือว่าเป็นการแจ้งความเท็จ ตนจะดำเนินการฟ้องร้องคนที่ไปแจ้งความอีกทีหนึ่ง และเมื่อได้เอกสารแล้วจะทำคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ 9 คน ถ้าศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนให้ก็จะอุทธรณ์ต่อ ยกตัวอย่างคดีแบบนี้เคยมีให้เห็นอยู่แล้ว คือคดีของนายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่เคยถูกออกหมายจับแล้วท่านอยู่ต่างประเทศ ท่านจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ ศาลอยุธยาไม่ยกเลิก ก็ได้อุทธรณ์ไป และก็ได้รับการเพิกถอนหมายจับทั้งหมด

นายสุวัตร กล่าวยังถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ทนายความกับกลุ่มพันธมิตรฯแตกคอกัน แล้วจะไม่ว่าความให้อีกว่า ไม่เป็นความจริง เราไม่ได้แตกคอกัน การที่จะไม่ว่าความให้ต่อไปอีกนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะตนกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นเพื่อนกัน
ประชาภิวัฒน์ไม่ถอย-รถไฟหยุดวิ่ง!
ผู้จัดการรายวัน/ภูมิภาค – แกนนำพันธมิตร พร้อมสู้ในชั้นศาล หลังรัฐบาลเล่นเกมพึ่งคำสั่งศาลฯ เตรียมนำคำวินิจฉัยของศาลแพ่งยื่นศาลอุทธรณ์ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ “สนธิ” ตอก “สุรพล ทวนทอง” อย่าพูดมาก ตำรวจมั่ว ตั้งข้อกล่าวหาผิดๆ สาดใส่พันธมิตรฯ “จำลอง” ลั่นไม่เลิก พร้อมส่งไม้ “พัลลภ” ที่ประกาศพร้อมขึ้นเวที รบเชิงรุก สหภาพแรงงานรถไฟใจเด็ดลุยอารยะขัดขืนหยุดวิ่งแล้ว เลขาฯ สรส.ชี้มีผลวันนี้ ขณะที่ 9โมงเช้าวันนี้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเข้าแจ้งแกนนำบอกศาลแพ่งมีหมายออกแล้ว “สื่อเทศ”ชี้ สมัครไม่อาจทำตามคำขู่ที่จะใช้กำลังเข้าสลาย และจับกุมแกนนำ
กำลังโหลดความคิดเห็น