ภารกิจการสืบสวนสอบสวนครั้งสำคัญของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด บก.น.2 ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 24 ก.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดอนเมือง ได้รับแจ้งว่ามีการวิ่งราวทรัพย์เกิดขึ้น ที่บริษัทจัดหางาน ซาป้า อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส จำกัด เลขที่ 161/414-411 ภายในซอยวิภาวดี 76 ถนนวิภาวดี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง โดยคนร้ายได้ฉกเอาเพชรแอฟริกาใต้ คัลเลอร์เลส น้ำหนัก 2,100 กะรัต ที่ยังไม่ได้เจียระไน ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 315 ล้านบาทวิ่งขึ้นรถ จยย.หลบหนีออกไปจากร้านอย่างง่ายดายและรวดเร็ว ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนขึ้นมาทันที
ภายหลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผบก.น.2 ได้เร่งให้ชุดสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ ซึ่งประกอบด้วย พ.ต.อ. เจริญ ศรีศศลักษณ์ รอง ผบก.น.2 พ.ต.อ. สรรค์หกิจ บำรุงสุขสวัสติ ผกก.สส.บก.น.2 พ.ต.อ. ณรงค์ฤทธิ์ พรหมสวัสดิ์ ผกก.สน.ดอนเมือง พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พงส. (สบ 3) สน.ดอนเมือง เร่งติดตามคนร้าและคลี่คลายคดีนี้ให้ได้โดยเร็ว
การสอบสวนเริ่มต้นขึ้นก็พบว่า เจ้าของ "โคตรเพชร" ก้อนมหึมาที่ถูกคนร้ายฉกไปก็คือ นายจักรพันธ์ ประมวลสุข อายุ 71 ปี ชาว จ.จันทบุรี โดยนายจักรพันธ์ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและสื่อมวลชนด้วยสีหน้าอันเคร่งเครียดและจริงจัง ว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ได้ขอซื้อเพชรต่อจากเพื่อนที่ไปเที่ยวแอฟริกามา จำนวน 2 ก้อน ในราคาก้อนละ 500,000 บาท โดยเพชรก้อนแรก มีน้ำหนักประมาณ 1,750 กะรัต ส่วนเพชรที่ถูกฉกไปน้ำหนักประมาณ 2,100 กะรัต มูลค่า 315 ล้านบาท และยังมีใบรับรองเพชร หรือใบเซอร์ ที่อ้างว่าได้มาอย่างถูกต้อง มาแสดงให้ดูอีกด้วย ทำเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจและคนที่รู้ข่าวถึงกับตะลึงในมูลค่าของเพชรที่ถูกฉกไป แต่ก็ยังพบข้อสงสัยหลายประเด็นเกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งต้องรีบหาความกระจ่างทำความจริงให้ปรากฏ
เหตุการณ์การฉกเพชรก้อนมหึมาก้อนนี้ เกิดขึ้นเมื่อนายจักรพันธ์อยากที่จะนำเพชรออกมาขาย แต่ไม่ได้ติดต่อขายผ่านผู้ที่อยู่ในแวดวงการค้าเพชรพลอย กลับติดต่อขายเพชรผ่านนายหน้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน โดยมีคนแนะนำมาให้อีกทอดหนึ่ง นายหน้าคนดังกล่าว ก็คือ นางรินทร์ลภัส ปุณยจิรพัฒน์ อายุ 58 ปี เจ้าของบริษัทจัดหางานแต่มีอาชีพเสริมคือ เป็นนายหน้าติดต่อซื้อขายเพชรพลอย ซึ่งนางรินทร์ลภัสก็ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า มีชาวต่างชาติหลายรายติดต่อเข้ามาขอซื้อเพชร แต่ให้ราคาต่ำนายจักรพันธ์จึงยังไม่ยอมขาย จนกระทั่งมีเศรษฐีชาวดูไบมาขอซื้อ แต่ยังไม่ทันนัดวางมัดจำกันก็มีคนร้ายทำทีเข้ามาติดต่อขอซื้อเพชรเช่นกัน โดยอ้างว่าเป็นลูกน้องของนักการเมือง ทำให้นางรินทร์ลภัส นัดคนร้ายมาดูเพชรในวันถัดไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่การนัดดูเพชรที่มีมูลค่ามหาศาลขาดการระมัดระวังและไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดหรือข้อมูลของลูกค้าที่มาติดต่อซื้อเพชรเลย อีกทั้งเมื่อคนร้ายมาดูเพชรตามที่นัดหมายนางรินทร์ลภัสและนายจักรพันธ์ขาดความระมัดระวังอย่างเห็นได้ชัด ปล่อยให้ลูกค้าถือเพชรเดินลงมาส่องที่ด้านล่างเพียงเพราะลูกค้าอ้างว่ามองเห็นประกายเพชรไม่ถนัดขอนำลงมาส่องกลางแดด จังหวะนี้เองทำให้คนร้ายที่ถือเพชรวิ่งออกจากร้านขึ้นรถ จยย.หลบหนีไปอย่าลอยนวล
หลังจากเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งสอบปากคำผู้เสียหายและพยานพร้อมทั้งรวบรวมหลักฐานเอกสารต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่ได้ปักใจเชื่อคำให้การของนางรินทร์ลภัสนายหน้า เนื่องจากให้การวกไปวนมา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาตัวนายจักรพันธ์เดินทางไปยังโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ย่านสีลม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบมูลค่าที่แท้จริงของเพชรอีกหนึ่งเม็ด แต่นายจักรพันธ์ยังคงไม่ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพชรดังกล่าว โดยอ้างเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงของเพชรที่ถูกขโมยไปได้
เหตุการณ์ผ่านไปเพียงไม่กี่วัน พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พงส. (สบ 3) สน.ดอนเมือง ก็ได้ออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้ เนื่องจากผู้เสียหายได้ชี้ตัวยืนยันว่า คนร้ายที่ฉกเพชร คือนายพรหมมา จันทร์มะลิ อายุ 51 ปี ชาวจังหวัดเชียงราย แต่ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องมึนไปตามๆกันเมื่อนายพรหมมา ออกมายืนยันความบริสุทธิ์ว่าไม่ใช้ผู้ต้องหา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมหลักฐานทั้งหมดก่อนจะโร่พาผู้เสียหายเดินทางไปถึง จ.เชียงรายเพื่อยืนยันว่านายพรหมมาใช่ผู้ต้องหาที่ฉกเพชรตัวจริงหรือไม่ ผลปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงกับหน้าแตก เมื่อผู้เสียหายยืนยันว่าไม่ใช่ ทำเอาต้องรีบถอนหมายจับกันแทบไม่ทัน
พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ พรหมสวัสดิ์ ผกก.สน.ดอนเมือง เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่เป็นบุคคลตามหมายจับไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนร้ายเสมอไป นั่นเป็นเพียงขบวนการเริ่มต้น ผู้ถูกออกหมายจับสามารถออกมาแสดงความบริสุทธิ์ได้ ที่สำคัญรูปถ่ายหรือภาพสเก็ตซ์อาจจะไม่เหมือนกับตัวจริง จึงทำให้มีการชี้ผิดตัวเกิดขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งใคร สุดท้ายพล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ต้องออกมายืดอกรับแทนลูกน้องว่า ตำรวจบกพร่องในการออกหมายจับดังกล่าวจริง แต่ประเด็นนี้ จะโทษตำรวจเสียทั้งหมดคงไมม่ได้ ต้องโทษเจ้าของเพชรที่ยืนยันกับตำรวจเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า ผู้ที่ถูกออกหมายจับเป็นคนร้าย อย่างไรก็ตาม ตำรวจคงปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่ได้ อย่างน้อยไคงไปไปเยี่ยวยาผู้เสียหายบ้าง
ถัดมาไม่กี่วัน คนร้ายติดต่อไปยังเจ้าของเพชร ต่อรองว่าจะนำโคตรเพชรไปคืน แต่ต้องมีการถอนแจ้งความ ซึ่งเจ้าของเพชรก็ตกลงตามนั้น ในที่สุด คนร้ายได้นำโคตรเพชรที่ว่า ใส่กล่องเครื่องดื่มบำรุงกำลัง นั่งรถแท็กซี่นำไปคืนให้ยังบริเวณที่เกิดเหตุ ที่ถุกคนร้ายชิงเพชรไป
เรื่องยังไม่จบเพียงแค่นั้น เมื่อเจ้าของได้เพชรคืนแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนได้เดินทางไปที่ International Gemological Institute (IGI) เขตสาทร กทม. เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองเพชรดังกล่าวที่นายจักรพันธ์นำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ได้ตรวจสอบเอกสารพบว่าเป็นการสวมใบรับประกันขึ้นมา ซึ่งใบรับรองดังกล่าวเป็นของพลอยก้อนหนึ่ง แต่มีการสวมเป็นเพชรเม็ดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงจะพิจารณาแจ้งข้อหาปลอมแปลงเอกสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พนักงานสอบสวน (สบ.3) นำเพชรไปตรวจสอบที่ บริษัทบางกอก เจมส์ แอนด์ จิเวอร์รี่แฟร์ ย่านสีลม เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเพชรจริงหรือไม่และมีมูลค่าเท่าไร โดยผู้ที่ทำการตรวจสอบเพชร คือ นายสมชาย พรจินดารักษ์ ประธานบริษัท บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวอร์รี่แฟร์ และนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเพชรดังกล่าว ที่ถูกคนร้ายฉกไปนั้นเป็นเพียงแร่ชนิดหนึ่ง ชื่อ "คิวบิกเซอร์โคเนีย" ไม่ใช่เพชรแอฟริกาอย่างที่มีการแจ้งความเอาไว้ ส่วนใบเซอร์ที่นายจักพันธ์เจ้าของเพชรนำมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นพบว่าเป็นของปลอม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้นำไปให้ สถาบันอัญมณีศาสตร์สากล (International Gemological Institute) หรือ IGI ตรวจสอบแล้ว ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันว่าไม่ได้มีการออกใบรับรองดังกล่าวให้แต่อย่างใด
สุดท้าย ความจริงก็ปรากฏออกมาว่า โคตรเพชร 2,100 กะรัต ราคา 315 ล้านบาทก้อนนั้น เป็นแค่แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อแร่"คิวบิกเซอร์โคเนีย" มีราคาซื้อขายกันตามท้องตลาดในราคากิโลกรัมละ 500 บาท และโตรรเพชรที่หลงเข้าใจกันว่ามูลคค่า 315 ล้านนั้น ที่แท้ เป็นแร่คิวบิกฯนี่เอง มีน้ำหนักเพียง 4 ขีด ราคาประมาณ 200 บาทเท่านั้น
เรื่องนี้ คงยังไม่จบลงง่ายๆ โดยเราเชื่อว่า ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด อาจเป็นแก๊งต้มตุ๋น หรือ 18 มงกุฏ ที่อาจใช้สถานการณ์ และเหตุการณ์ สร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มมูลค่าให้กับโคตรเพชรเม็ดที่ว่า ซึ่งเรื่องอย่างนี้ คงต้องฝากไว้ให้กับตำรวจ ได้ไว้ลายกันเสียหน่อย หลังจากถูกแก๊งนี้ ถลกเสื้อสีกากี ถอดลายมาแล้วครั้งหนึ่งด้วยการออกหมายจับผิดฝาผิดตัว อีกทั้งยังเชื่อมั่นว่า งานชิ้นนี้ ไม่เกินความสามารถของตำรวจนครบาลไปได้ ไม่ใช่เพื่อรักษาฟอร์มตำรวจ แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนบริสุทธิ์ ต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งนี้อีกต่อไป
ทศพร ผลโยธิน ข้อมูล - รวบรวม
ทีมข่าวอาชญากรรม เรียบเรียง
ภายหลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผบก.น.2 ได้เร่งให้ชุดสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ ซึ่งประกอบด้วย พ.ต.อ. เจริญ ศรีศศลักษณ์ รอง ผบก.น.2 พ.ต.อ. สรรค์หกิจ บำรุงสุขสวัสติ ผกก.สส.บก.น.2 พ.ต.อ. ณรงค์ฤทธิ์ พรหมสวัสดิ์ ผกก.สน.ดอนเมือง พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พงส. (สบ 3) สน.ดอนเมือง เร่งติดตามคนร้าและคลี่คลายคดีนี้ให้ได้โดยเร็ว
การสอบสวนเริ่มต้นขึ้นก็พบว่า เจ้าของ "โคตรเพชร" ก้อนมหึมาที่ถูกคนร้ายฉกไปก็คือ นายจักรพันธ์ ประมวลสุข อายุ 71 ปี ชาว จ.จันทบุรี โดยนายจักรพันธ์ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและสื่อมวลชนด้วยสีหน้าอันเคร่งเครียดและจริงจัง ว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ได้ขอซื้อเพชรต่อจากเพื่อนที่ไปเที่ยวแอฟริกามา จำนวน 2 ก้อน ในราคาก้อนละ 500,000 บาท โดยเพชรก้อนแรก มีน้ำหนักประมาณ 1,750 กะรัต ส่วนเพชรที่ถูกฉกไปน้ำหนักประมาณ 2,100 กะรัต มูลค่า 315 ล้านบาท และยังมีใบรับรองเพชร หรือใบเซอร์ ที่อ้างว่าได้มาอย่างถูกต้อง มาแสดงให้ดูอีกด้วย ทำเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจและคนที่รู้ข่าวถึงกับตะลึงในมูลค่าของเพชรที่ถูกฉกไป แต่ก็ยังพบข้อสงสัยหลายประเด็นเกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งต้องรีบหาความกระจ่างทำความจริงให้ปรากฏ
เหตุการณ์การฉกเพชรก้อนมหึมาก้อนนี้ เกิดขึ้นเมื่อนายจักรพันธ์อยากที่จะนำเพชรออกมาขาย แต่ไม่ได้ติดต่อขายผ่านผู้ที่อยู่ในแวดวงการค้าเพชรพลอย กลับติดต่อขายเพชรผ่านนายหน้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน โดยมีคนแนะนำมาให้อีกทอดหนึ่ง นายหน้าคนดังกล่าว ก็คือ นางรินทร์ลภัส ปุณยจิรพัฒน์ อายุ 58 ปี เจ้าของบริษัทจัดหางานแต่มีอาชีพเสริมคือ เป็นนายหน้าติดต่อซื้อขายเพชรพลอย ซึ่งนางรินทร์ลภัสก็ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า มีชาวต่างชาติหลายรายติดต่อเข้ามาขอซื้อเพชร แต่ให้ราคาต่ำนายจักรพันธ์จึงยังไม่ยอมขาย จนกระทั่งมีเศรษฐีชาวดูไบมาขอซื้อ แต่ยังไม่ทันนัดวางมัดจำกันก็มีคนร้ายทำทีเข้ามาติดต่อขอซื้อเพชรเช่นกัน โดยอ้างว่าเป็นลูกน้องของนักการเมือง ทำให้นางรินทร์ลภัส นัดคนร้ายมาดูเพชรในวันถัดไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่การนัดดูเพชรที่มีมูลค่ามหาศาลขาดการระมัดระวังและไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดหรือข้อมูลของลูกค้าที่มาติดต่อซื้อเพชรเลย อีกทั้งเมื่อคนร้ายมาดูเพชรตามที่นัดหมายนางรินทร์ลภัสและนายจักรพันธ์ขาดความระมัดระวังอย่างเห็นได้ชัด ปล่อยให้ลูกค้าถือเพชรเดินลงมาส่องที่ด้านล่างเพียงเพราะลูกค้าอ้างว่ามองเห็นประกายเพชรไม่ถนัดขอนำลงมาส่องกลางแดด จังหวะนี้เองทำให้คนร้ายที่ถือเพชรวิ่งออกจากร้านขึ้นรถ จยย.หลบหนีไปอย่าลอยนวล
หลังจากเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งสอบปากคำผู้เสียหายและพยานพร้อมทั้งรวบรวมหลักฐานเอกสารต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่ได้ปักใจเชื่อคำให้การของนางรินทร์ลภัสนายหน้า เนื่องจากให้การวกไปวนมา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาตัวนายจักรพันธ์เดินทางไปยังโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ย่านสีลม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบมูลค่าที่แท้จริงของเพชรอีกหนึ่งเม็ด แต่นายจักรพันธ์ยังคงไม่ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพชรดังกล่าว โดยอ้างเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงของเพชรที่ถูกขโมยไปได้
เหตุการณ์ผ่านไปเพียงไม่กี่วัน พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พงส. (สบ 3) สน.ดอนเมือง ก็ได้ออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้ เนื่องจากผู้เสียหายได้ชี้ตัวยืนยันว่า คนร้ายที่ฉกเพชร คือนายพรหมมา จันทร์มะลิ อายุ 51 ปี ชาวจังหวัดเชียงราย แต่ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องมึนไปตามๆกันเมื่อนายพรหมมา ออกมายืนยันความบริสุทธิ์ว่าไม่ใช้ผู้ต้องหา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมหลักฐานทั้งหมดก่อนจะโร่พาผู้เสียหายเดินทางไปถึง จ.เชียงรายเพื่อยืนยันว่านายพรหมมาใช่ผู้ต้องหาที่ฉกเพชรตัวจริงหรือไม่ ผลปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงกับหน้าแตก เมื่อผู้เสียหายยืนยันว่าไม่ใช่ ทำเอาต้องรีบถอนหมายจับกันแทบไม่ทัน
พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ พรหมสวัสดิ์ ผกก.สน.ดอนเมือง เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่เป็นบุคคลตามหมายจับไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนร้ายเสมอไป นั่นเป็นเพียงขบวนการเริ่มต้น ผู้ถูกออกหมายจับสามารถออกมาแสดงความบริสุทธิ์ได้ ที่สำคัญรูปถ่ายหรือภาพสเก็ตซ์อาจจะไม่เหมือนกับตัวจริง จึงทำให้มีการชี้ผิดตัวเกิดขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งใคร สุดท้ายพล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ต้องออกมายืดอกรับแทนลูกน้องว่า ตำรวจบกพร่องในการออกหมายจับดังกล่าวจริง แต่ประเด็นนี้ จะโทษตำรวจเสียทั้งหมดคงไมม่ได้ ต้องโทษเจ้าของเพชรที่ยืนยันกับตำรวจเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า ผู้ที่ถูกออกหมายจับเป็นคนร้าย อย่างไรก็ตาม ตำรวจคงปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่ได้ อย่างน้อยไคงไปไปเยี่ยวยาผู้เสียหายบ้าง
ถัดมาไม่กี่วัน คนร้ายติดต่อไปยังเจ้าของเพชร ต่อรองว่าจะนำโคตรเพชรไปคืน แต่ต้องมีการถอนแจ้งความ ซึ่งเจ้าของเพชรก็ตกลงตามนั้น ในที่สุด คนร้ายได้นำโคตรเพชรที่ว่า ใส่กล่องเครื่องดื่มบำรุงกำลัง นั่งรถแท็กซี่นำไปคืนให้ยังบริเวณที่เกิดเหตุ ที่ถุกคนร้ายชิงเพชรไป
เรื่องยังไม่จบเพียงแค่นั้น เมื่อเจ้าของได้เพชรคืนแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนได้เดินทางไปที่ International Gemological Institute (IGI) เขตสาทร กทม. เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองเพชรดังกล่าวที่นายจักรพันธ์นำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ได้ตรวจสอบเอกสารพบว่าเป็นการสวมใบรับประกันขึ้นมา ซึ่งใบรับรองดังกล่าวเป็นของพลอยก้อนหนึ่ง แต่มีการสวมเป็นเพชรเม็ดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงจะพิจารณาแจ้งข้อหาปลอมแปลงเอกสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ พนักงานสอบสวน (สบ.3) นำเพชรไปตรวจสอบที่ บริษัทบางกอก เจมส์ แอนด์ จิเวอร์รี่แฟร์ ย่านสีลม เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเพชรจริงหรือไม่และมีมูลค่าเท่าไร โดยผู้ที่ทำการตรวจสอบเพชร คือ นายสมชาย พรจินดารักษ์ ประธานบริษัท บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวอร์รี่แฟร์ และนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเพชรดังกล่าว ที่ถูกคนร้ายฉกไปนั้นเป็นเพียงแร่ชนิดหนึ่ง ชื่อ "คิวบิกเซอร์โคเนีย" ไม่ใช่เพชรแอฟริกาอย่างที่มีการแจ้งความเอาไว้ ส่วนใบเซอร์ที่นายจักพันธ์เจ้าของเพชรนำมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นพบว่าเป็นของปลอม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้นำไปให้ สถาบันอัญมณีศาสตร์สากล (International Gemological Institute) หรือ IGI ตรวจสอบแล้ว ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันว่าไม่ได้มีการออกใบรับรองดังกล่าวให้แต่อย่างใด
สุดท้าย ความจริงก็ปรากฏออกมาว่า โคตรเพชร 2,100 กะรัต ราคา 315 ล้านบาทก้อนนั้น เป็นแค่แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อแร่"คิวบิกเซอร์โคเนีย" มีราคาซื้อขายกันตามท้องตลาดในราคากิโลกรัมละ 500 บาท และโตรรเพชรที่หลงเข้าใจกันว่ามูลคค่า 315 ล้านนั้น ที่แท้ เป็นแร่คิวบิกฯนี่เอง มีน้ำหนักเพียง 4 ขีด ราคาประมาณ 200 บาทเท่านั้น
เรื่องนี้ คงยังไม่จบลงง่ายๆ โดยเราเชื่อว่า ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด อาจเป็นแก๊งต้มตุ๋น หรือ 18 มงกุฏ ที่อาจใช้สถานการณ์ และเหตุการณ์ สร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มมูลค่าให้กับโคตรเพชรเม็ดที่ว่า ซึ่งเรื่องอย่างนี้ คงต้องฝากไว้ให้กับตำรวจ ได้ไว้ลายกันเสียหน่อย หลังจากถูกแก๊งนี้ ถลกเสื้อสีกากี ถอดลายมาแล้วครั้งหนึ่งด้วยการออกหมายจับผิดฝาผิดตัว อีกทั้งยังเชื่อมั่นว่า งานชิ้นนี้ ไม่เกินความสามารถของตำรวจนครบาลไปได้ ไม่ใช่เพื่อรักษาฟอร์มตำรวจ แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนบริสุทธิ์ ต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งนี้อีกต่อไป
ทศพร ผลโยธิน ข้อมูล - รวบรวม
ทีมข่าวอาชญากรรม เรียบเรียง