ผบ.ตร.ติง เหตุผู้ชุมนุมถูกทำร้าย ตร.ต้องให้ความสนใจ ดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก ชี้ หากเกิดขึ้นอีกผู้การจังหวัด จะต้องรับผิดชอบ พร้อมถือให้เป็นบทเรียนของ ตร.ที่ต้องระมัดระวัง ด้าน ผบช.ภ.4 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดมาลงโทษ สั่งตรวจสอบจากภาพถ่ายและพยาน “วัชรพล” เชื่อ ตร.ในพื้นที่ไม่มีการจัดให้ม็อบชนม็อบ
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกกลุ่มคนรักอุดรทำร้าย จนทำให้มีผู้ได้บาดเจ็บหลายราย ว่า ข้อห่วงใยของ ตร.ในส่วนการชุมนุมกรณีเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมใน 2 จังหวัด คือ อุดรธานี และ บุรีรัมย์ ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย รวมทั้งตำรวจ ผู้บัญชาการภาค และ ผู้บังการจังหวัดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสนใจ โดย ตร.จะมีการประชุมระดับรอง ผบ.ตร.และ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เพื่อกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ว่า ผบช.และ ผบก.จะต้องทำอะไรบ้างเมื่อมีการชุมนุมต้องชัดเจน หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก ผู้บังคับการต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
“ตำรวจไม่ต้องการให้เกิดเหตุผู้ชุมนุมปะทะกัน ผู้การจังหวัดต้องให้ความสนใจเมื่อมีความคิดเห็นแตกแยก 2 ฝ่ายค่อนข้างชัดเจน เมื่อมีการชุมนุมผู้การจะต้องจัดสถานที่ ต้องดูแลห้ามเกิดเหตุเช่นนี้อีก ถ้าเกิดเหตุผู้การจังหวัดจะต้องรับผิดชอบ ต้องลงไปจัดการด้วยตนเอง ความเสียหายของประเทศเกิดขึ้นมากตำรวจถือเป็นด่านหน้า เรากำลังดูว่ามีกฎหมายอื่นรองรับส่วนนี้หรือไม่ ในส่วนของทหารก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายความมั่นคง ซึ่งจะมีการหารือกับทหารอีกครั้ง เช่น กอ.รมน.ภาค และจังหวัด ถ้าสามารถจัดการได้ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด และตำรวจ จะช่วยกันดูแลตรงนี้ และทหารก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รายละเอียดจะไปศึกษากฎหมายอีกครั้ง โดยจะหารือระดับรอง ผบ.ตร.และผู้ช่วยในการนำกฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะ ส่วนจะเสนอรัฐบาลอย่างไรจะดูอีกครั้ง” ผบ.ตร.กล่าว
ด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษก ตร.กล่าวว่า ตร.ก็เกรงว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่ ในการดูแลความสงบเรียบร้องต้องพยามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ปะทะ แต่เหตุการณ์เช่นที่ จ.อุดรธานี บางครั้งก็เกินความคาดหมาย เวลาสั้น ก็เกิดการชุลมุน ถือเป็นบทเรียนที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวัง อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าใกล้กันหรือมีการยั่วยุ ซึ่งจะนำมาสู่การปะทะจนบาดเจ็บทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่จึงต้องเอาใจใส่จริงจังป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้น
เหตุที่อุดรธานี พล.ต.ท.วุฒิ วิทิตตานนท์ ผบช.ภ.4 ได้แถลงข่าวแล้วว่าตำรวจที่ดูแลไม่ได้นิ่งนอนใจ รวมทั้ง ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ปานสิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.ให้ไปดูแลร่วมกับตำรวจพื้นที่เรื่องการสืบสวนหาผู้กระทำผิด รวมทั้งตำรวจภูธร จ.อุดรธานี ก็มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีในเรื่องนี้ และกำลังตรวจสอบพยานหลักฐานจากภาพถ่าย และพยาน โดยจะดำเนินการตรวจสอบอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การคาดโทษ ผู้การจังหวัด จะดำเนินการอย่างไร ถึงขั้นโยกย้ายหรือไม่ พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า เป็นเรื่องของความบกพร่องในหน้าที่ ต้องดูระดับความรุนแรงของความบกพร่อง เพราะระเบียบวินัยตำรวจมีการกำหนดอย่างชัดเจน ถ้าถูกกล่าวหาว่า บกพร่องก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการว่าทำตามหน้าที่หรือไม่ คงบอกไม่ได้ว่าถึงขั้นไหนอย่างไร การลงโทษเป็นไปตามระเบียบ ผบ.ตร.เน้นย้ำเพราะเป็นหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเพราะน่าเชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดมากขึ้น
เมื่อถามว่า ตร.ในพื้นที่ปล่อยให้เกิดเหตุม็อบชนม็อบหรือไม่ โฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่คิดว่าตำรวจที่ดูแลจะทำเช่นนั้น แต่ว่าเป็นไปได้ว่าฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแลไม่ได้สนใจเท่าที่ควร และคิดว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์ ซึ่งต้องเปลี่ยนลักษณะการเตรียมการรับมือใหม่ โดยให้คิดว่าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ถือเป็นบทเรียนราคาแพง ทุกพื้นที่ต้องระวังเจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องสืบสวนหาข่าว เพราะหากมีการเตรียมการด้านการข่าวและประสานงานในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นสันติบาลในพื้นที่ ตำรวจพื้นที่ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถวางแผนและดึงบทบาทฝ่ายปกครองและทหารช่วยกันป้องกันปัญหาได้ ก็เป็นไปได้ที่การข่าวครั้งนี้ไม่เตรียมการไม่ครบถ้วน เหตุการณ์นี้จะทำให้ทุกคนได้คิด เพราะไม่ดีต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยขบวนการป้องกันต้องมีรูปแบบมากขึ้น
สำหรับกรณีที่ผู้ชุมนุมบางกลุ่มละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยการค้นรถเนื่องจากสงสัย ว่า มีฝ่ายตรงข้ามซุกซ่อนตัวมา พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า เรื่องนี้ตำรวจก็หนักใจเพราะเป็นเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินการของตำรวจถูกจำกัดในกรอบพอสมควร เราพยายามใช้หลักการตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยใช้ข้อบังคับกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา ตร.จึงพยายามผลักดันการควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะที่เคยเสนอสภานิติบัญญัติแต่ตกไปมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เนื่องจากบางข้อริดรอนสิทธิประชาชน โดยจะพิจารณาในที่ประชุม ตร.จากนั้นจะขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการทำประชาพิจารณ์ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งช่วงนี้สังคมน่าจะเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้
สำหรับจังหวัดอุดรธานี มีพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี (ผบก.ภ.อุดรธานี) โดยพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ย้ายจากผบก.ภ.มุกดาหารมาดำรงตำแหน่งผบก.อุดรธานีเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2551 ที่ผ่านมา เกียรติประวัติล่าสุด ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ด้านการปราบปรามยาเสพติดดีเด่น ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรมจาก พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2550 ณ ทำเนียบรัฐบาลด้วย
ก่อนหน้านี้เมื่อไม่นานที่ผ่านมา บก.ภ.อุดรธานี โดยพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ได้มีจัดประชุมชี้แจงการควบคุมฝูงชนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดด้วย แต่ก็มาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจนได้
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกกลุ่มคนรักอุดรทำร้าย จนทำให้มีผู้ได้บาดเจ็บหลายราย ว่า ข้อห่วงใยของ ตร.ในส่วนการชุมนุมกรณีเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมใน 2 จังหวัด คือ อุดรธานี และ บุรีรัมย์ ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย รวมทั้งตำรวจ ผู้บัญชาการภาค และ ผู้บังการจังหวัดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสนใจ โดย ตร.จะมีการประชุมระดับรอง ผบ.ตร.และ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เพื่อกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ว่า ผบช.และ ผบก.จะต้องทำอะไรบ้างเมื่อมีการชุมนุมต้องชัดเจน หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก ผู้บังคับการต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
“ตำรวจไม่ต้องการให้เกิดเหตุผู้ชุมนุมปะทะกัน ผู้การจังหวัดต้องให้ความสนใจเมื่อมีความคิดเห็นแตกแยก 2 ฝ่ายค่อนข้างชัดเจน เมื่อมีการชุมนุมผู้การจะต้องจัดสถานที่ ต้องดูแลห้ามเกิดเหตุเช่นนี้อีก ถ้าเกิดเหตุผู้การจังหวัดจะต้องรับผิดชอบ ต้องลงไปจัดการด้วยตนเอง ความเสียหายของประเทศเกิดขึ้นมากตำรวจถือเป็นด่านหน้า เรากำลังดูว่ามีกฎหมายอื่นรองรับส่วนนี้หรือไม่ ในส่วนของทหารก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายความมั่นคง ซึ่งจะมีการหารือกับทหารอีกครั้ง เช่น กอ.รมน.ภาค และจังหวัด ถ้าสามารถจัดการได้ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด และตำรวจ จะช่วยกันดูแลตรงนี้ และทหารก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รายละเอียดจะไปศึกษากฎหมายอีกครั้ง โดยจะหารือระดับรอง ผบ.ตร.และผู้ช่วยในการนำกฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะ ส่วนจะเสนอรัฐบาลอย่างไรจะดูอีกครั้ง” ผบ.ตร.กล่าว
ด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษก ตร.กล่าวว่า ตร.ก็เกรงว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่ ในการดูแลความสงบเรียบร้องต้องพยามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ปะทะ แต่เหตุการณ์เช่นที่ จ.อุดรธานี บางครั้งก็เกินความคาดหมาย เวลาสั้น ก็เกิดการชุลมุน ถือเป็นบทเรียนที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวัง อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าใกล้กันหรือมีการยั่วยุ ซึ่งจะนำมาสู่การปะทะจนบาดเจ็บทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่จึงต้องเอาใจใส่จริงจังป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้น
เหตุที่อุดรธานี พล.ต.ท.วุฒิ วิทิตตานนท์ ผบช.ภ.4 ได้แถลงข่าวแล้วว่าตำรวจที่ดูแลไม่ได้นิ่งนอนใจ รวมทั้ง ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ปานสิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.ให้ไปดูแลร่วมกับตำรวจพื้นที่เรื่องการสืบสวนหาผู้กระทำผิด รวมทั้งตำรวจภูธร จ.อุดรธานี ก็มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีในเรื่องนี้ และกำลังตรวจสอบพยานหลักฐานจากภาพถ่าย และพยาน โดยจะดำเนินการตรวจสอบอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การคาดโทษ ผู้การจังหวัด จะดำเนินการอย่างไร ถึงขั้นโยกย้ายหรือไม่ พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า เป็นเรื่องของความบกพร่องในหน้าที่ ต้องดูระดับความรุนแรงของความบกพร่อง เพราะระเบียบวินัยตำรวจมีการกำหนดอย่างชัดเจน ถ้าถูกกล่าวหาว่า บกพร่องก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการว่าทำตามหน้าที่หรือไม่ คงบอกไม่ได้ว่าถึงขั้นไหนอย่างไร การลงโทษเป็นไปตามระเบียบ ผบ.ตร.เน้นย้ำเพราะเป็นหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเพราะน่าเชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดมากขึ้น
เมื่อถามว่า ตร.ในพื้นที่ปล่อยให้เกิดเหตุม็อบชนม็อบหรือไม่ โฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่คิดว่าตำรวจที่ดูแลจะทำเช่นนั้น แต่ว่าเป็นไปได้ว่าฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแลไม่ได้สนใจเท่าที่ควร และคิดว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์ ซึ่งต้องเปลี่ยนลักษณะการเตรียมการรับมือใหม่ โดยให้คิดว่าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ถือเป็นบทเรียนราคาแพง ทุกพื้นที่ต้องระวังเจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องสืบสวนหาข่าว เพราะหากมีการเตรียมการด้านการข่าวและประสานงานในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นสันติบาลในพื้นที่ ตำรวจพื้นที่ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถวางแผนและดึงบทบาทฝ่ายปกครองและทหารช่วยกันป้องกันปัญหาได้ ก็เป็นไปได้ที่การข่าวครั้งนี้ไม่เตรียมการไม่ครบถ้วน เหตุการณ์นี้จะทำให้ทุกคนได้คิด เพราะไม่ดีต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยขบวนการป้องกันต้องมีรูปแบบมากขึ้น
สำหรับกรณีที่ผู้ชุมนุมบางกลุ่มละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยการค้นรถเนื่องจากสงสัย ว่า มีฝ่ายตรงข้ามซุกซ่อนตัวมา พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า เรื่องนี้ตำรวจก็หนักใจเพราะเป็นเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินการของตำรวจถูกจำกัดในกรอบพอสมควร เราพยายามใช้หลักการตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยใช้ข้อบังคับกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา ตร.จึงพยายามผลักดันการควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะที่เคยเสนอสภานิติบัญญัติแต่ตกไปมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เนื่องจากบางข้อริดรอนสิทธิประชาชน โดยจะพิจารณาในที่ประชุม ตร.จากนั้นจะขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการทำประชาพิจารณ์ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งช่วงนี้สังคมน่าจะเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้
สำหรับจังหวัดอุดรธานี มีพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี (ผบก.ภ.อุดรธานี) โดยพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ย้ายจากผบก.ภ.มุกดาหารมาดำรงตำแหน่งผบก.อุดรธานีเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2551 ที่ผ่านมา เกียรติประวัติล่าสุด ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ด้านการปราบปรามยาเสพติดดีเด่น ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรมจาก พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2550 ณ ทำเนียบรัฐบาลด้วย
ก่อนหน้านี้เมื่อไม่นานที่ผ่านมา บก.ภ.อุดรธานี โดยพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ได้มีจัดประชุมชี้แจงการควบคุมฝูงชนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดด้วย แต่ก็มาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจนได้