เปิดปฏิทิน คดีสำคัญขึ้นสู่ศาลฎีกาที่จะชี้ชะตาในเดือนหน้า กรกฎาคม 2551 ซึ่งมี 3 คดีดังถูกวิพากษ์ วิจารณ์กันมากที่สุด และทั้ง 3 คดีทางการเมือ จะมีส่วนเอี่ยวกับอดีตทนายความ หิ้ว -ถุงขนมยัดเงินสดสินบน 2 ล้าน ฝากให้ "เอาไปแบ่ง ๆ กัน" บนศาลฎีกาหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าคิด น่าติดตาม
เริ่มจากคดีแรก 21 มิ.ย.2550 คณะอัยการนำโดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นำคำฟ้องจำนวน 19 หน้า ที่นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด(ขณะนั้น)ลงนามเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100 และ 122 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ในการทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก จำนวน 33 ไร่มูลค่า 772 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูกิจการและสถาบันการเงิน อันเป็นการซื้อขายที่ดินต่ำกว่าราคาประเมิน 4,200 ล้านบาท โดยท้ายฟ้องอัยการขอให้ศาลริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดและได้มาจากการกระทำความผิด คือที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยหลักฐานสำคัญที่จะลงโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ หลังจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลและกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาชำระก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2546 ซึ่งต่อมาได้มีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบที่ดินวันที่ 30 ธ.ค.2546 โดยการทำนิติกรรมจำเลยที่ 1 (ทักษิณ)ได้ลงนามยินยอมพร้อมแสดงสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทข้าราชการการเมืองตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งการประกาศขายที่ดินโดยวิธีประกวดราคาวันที่ 25 พ.ย.2546 น่าเชื่อว่ามีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพราะ 1) การประกวดราคาไม่กำหนดราคาที่ดินขั้นต่ำ 2) กำหนดวางเงินในการยื่นซอง 100 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 10% ของราคากลาง และ3) มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาคารภายหลังที่จำเลยที่ 2 ประมูลได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
26 มิ.ย.50 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษา ขณะที่ ทักษิณ และ พจมาน ยังล่องหนอยู่ต่างประเทศ พร้อมกับได้ใช้ความพยายามที่จะไม่กลับมาต่อสู้คดี หลากหลายเล่ห์เหลี่ยม ไม่ว่าจะอ้างเรื่องความไม่ปลอดภัย ทำให้ศาลต้องออกหมายจับ และปิดหมายยังบ้านพักของจำเลยทั้ง 2 ขณะที่อัยการ ก็ใช้ความพยายาม ประสานขอตัวส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ไม่เป็นผล ทำอะไร ทักษิณ และ พจมาน ไม่ได้
10 ก.ค.50 องค์คณะผู้พิพากษา มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ภริยา ตกเป็นจำเลยที่ 1-2 เต็มตัว พร้อมกับให้ส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองทราบมาศาลฎีกาฯนัดแรกวันที่ 14 ส.ค.นี้ เวลา 13.30 น.ตามที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ที่บ้านพักจันทร์ส่องหล้า เลขที่ 472 ถ.จรัญสนิทวงศ์ 69 แขวง-เขตบางพลัด และจำเลยที่ 2 บ้านพักเลขที่ 526 ถ.พระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม.
25 ก.ย.50 ทักษิณ ยิ้มร่า หลัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาศาล ซึ่งถือเป็นการต่อลมหายใจของ จำเลยโกงชาติ อีกครั้งหนึ่ง
28 ก.พ.51 จำเลยทักษิณ กลับมาสู้คดี หลังพรรคพลังประชาชน ยึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ โดยภาพอดสูที่ ทักษิณ ได้สร้างภาพต่อสายตาลิ่วล้อคือ กราบพื้นสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่ร่วมกันโกง และหลังรายงานตัวต่อศาล ทักษิณ และ พจมาน ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ แต่ต้องแจ้งให้ศาลทราบ
30 เม.ย.51 การต่อสู้คดีในชั้นศาล เริ่มขึ้น โดยฝ่ายจำเลยยื่นพยาน 22 ปาก สู้คดีโดยยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด ขณะที่อัยการโจทก์ยื่นบัญชีพยาน 42 ปาก โดยศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์วันที่ 8 , 15 , 22 , 25 และ 29 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. และนัดไต่สวนพยานจำเลยทั้งสอง วันที่ 1,5,15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น.โดยให้นัดไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมไว้ในวันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น.
ถัดมาคดีที่สาธารณชนทั่วประเทศให้ความสนใจอีกคดีคือ คดีใบแดง "ยุทธ ตู้เย็น"ซึ่งจ่อคิวเชือดในชั้นศาลฎีกา
8 พ.ค.51 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง นายกำธร โพธิ์สุวัฒนากุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะรวม 3 คน ออกนั่งบัลลังก์สืบพยานคดีหมายเลขดำที่ ลต.38/2551 ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ผู้ร้อง และ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.สัดส่วนกลุ่มที่ 1 และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และ น.ส.ละออง ติยะไพรัช น้องสาว นายยงยุทธ ส.ส.แบ่งเขต 3 จ.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ผู้คัดค้านที่ 1-2 กระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ.2550 ด้วยการทุจริตการเลือกตั้งด้วยการแจกเงินให้กับกลุ่มกำนัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นตัวแทน (หัวคะแนน) ของ นายยงยุทธ แจกเงินซื้อเสียงเพื่อให้มีการลงคะแนนเลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชาชน โดย กกต.ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายยงยุทธ ซึ่งให้ถูกใบแดง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในเขต 3 จังหวัดเชียงราย ที่ น.ส.ละออง ถูกให้ใบเหลือง
คดีนี้ นายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนัน ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย อายุ 52 ปี ถือเป็นประจักษ์พยานสำคัญ โดยนายชัยวัฒน์ เบิกความยืนยันต่อศาลว่า เมื่อตุลาคม 2550 ด.ต.เทพรัตน์ เขื่อนคุณา สภ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นผู้ติดตาม นายยงยุทธ ได้ ติดต่อผ่านโทรศัพท์ให้เดินทางมา กทม.เพื่อพบ นายยุงยุทธ กับคณะกำนันตำบลใน อ.แม่จัน และนายบรรจง ยางยืน นายกเทศมนตรีตำบลจันจว้า โดย 2 ครั้งแรกที่ติดต่อบอกให้มาทางรถตู้ แต่ไม่ได้มา ครั้งที่สามบอกให้เดินทางโดยเครื่องบินจึงเดินทางมา ซึ่งตนสำรองจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน 3.8 หมื่นบาท เดินทางออกมาจาก จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2550 เวลา 13.00 น.ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ มีรถตู้มารับเดินทางไปที่ทำการพรรคไทยรักไทยเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการพรรคพลังประชาชน นายบรรจง จึงพาขึ้นไปชั้น 4 บอกว่า จะไปพบ นายยงยุทธ ซึ่งรอประมาณ 3 ชม.นายบรรจง จึงพาไปโรงแรมจำชื่อไม่ได้ ไปพบ นายยงยุทธ ที่ห้องรับรองชั้น 2 โดยนายยงยุทธ ขอร้องให้ช่วย น.ส.ละออง และนายอิทธิเดช แก้วหลวง ในการเลือกตั้งให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ซึ่งพยานและกลุ่มกำนัน รับปากว่าจะช่วย น.ส.ละออง กับ ส.จ.หล้า หรือ ส.ต.ต.ชมชาติ กัปปาหะ ผู้สมัครอีกคน เนื่องจากเป็นคน อ.แม่จัน แต่จะไม่ช่วย นายอิทธิเดช เพราะไม่ใช่คนในพื้นที่ หลังจากนั้น นายยงยุทธ ก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้อีก ตนกับพวกจึงขอให้ นายยงยุทธ ทวงถามหนี้สินของ นายชูชาติ จันทวลย์ ที่ปรึกษา นายยงยุทธ สมัยเป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายชูชาติ ติดหนี้ตน 2.5 แสนบาท จากที่ตนรับเหมาสร้างถนนต่อนายชูชาติ และยังเป็นหนี้กำนันคนอื่นด้วย โดยนายยงยุทธ รับปากว่าจะทวงถามหนี้ให้ซึ่งใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 30 นาที และนายยงยุทธ กลับไปก่อนโดยนายบรรจงเดินอออกไปส่ง ส่วนตนและกลุ่มกำนันนั่งกินข้าว จากนั้นนายบรรจงเรียกทุกคนออกไปข้างนอกพร้อมส่งซองปิดผนึกให้ตนกับพวกทั้ง 10 คน โดยระบุว่า “นายฝากมาให้” และหลังจากนั้น ตนและกลุ่มกำนันพากันเข้าไปในห้องน้ำและเปิดซองดูพบว่า มีเงินสด 20,000 บาท ซึ่งพยานเชื่อว่าที่นายบรรจงบอกว่า “นาย” หมายถึง นายยงยุทธ เพราะ นายยงยุทธ เป็นผู้นัดมาเจอที่โรงแรม โดยพยานยังได้ทวงถามเงินค่าตั๋วเครื่องบินกับ นายบรรจง ซึ่ง นายบรรจง ได้ควักเงินสดจำนวน 40,000 บาท ให้พยานด้วย
14 พ.ค.51 นายยงยุทธ ขึ้นศาลไต่สวนสู้คดีใบแดง ยันไม่เคยนัดพบกำนันแจกซอง 2 แสน ซัด “กำนันชัยวัฒน์” พยานปากเอกเต็มสูบ แถมติดแบล็กลิสต์ค้ายาต้องเข้าบำบัดสมัยรัฐบาลทำสงครามปราบยาเสพติด และได้กล่าวว่ากำนันชัยวัฒน์เคยร้องขอให้ตนเองช่วยลบชื่อก่อนลงสมัครกำนัน อีกทั้งยังร่ำรวยผิดปกติแอบใส่ชื่อเมียในที่ดินกว่า 10 ล้าน
11 มิ.ย.51 “กำนันชัยวัฒน์ ” พยานปากเอก ร้องศาลฎีกา ว่านายยงยุทธ ส่งหลักฐานปลอมสวมชื่อเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่จะชี้ให้ศาลเห็นว่า นายยงยุทธ สร้างหลักฐานเท็จ มีการปกปิดและเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ผิดไปจากความเป็นจริงเพื่อให้สอดคล้องกับข้อต่อสู้ที่อ้างว่าถูกจัดฉากโดยพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
โดยคดี"ยุทธใบแดง" ศาลนัดชี้ชะตา 8 ก.ค.นี้เวลา 16.00 น.ดังนั้น ต้องติดตามกันอย่างไม่กระพริบตา คดีนี้จะเป็นมวยล้มต้มคนดู หรือจะเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ส่งแรงสั่นกระเทือนทำให้พรรคพลังประชาชนต้องยุบพรรค ดั่ง พรรคไทยรักไทยอีกครั้ง
สุดท้าย เพื่อกันลืม...คดีทุจริตคลองด่านที่ นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลย
13 ก.พ.51 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไต่สวนพยานโจทก์ คดีดำ อม.2/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ 157 ในการใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
17 เม.ย.51 ศาลออกหมายเรียกนักการเมือง “บรรหาร-เสนาะ-ไตรรงค์-วิษณุ” กับอดีตเจ้าหน้าที่ที่ดินรวม 10 คน ไต่สวนเพิ่มคดีคลองด่าน ส่วน “วัฒนา จำเลย” ยังคงยืนยันไม่ได้ทำผิด บอกเป็นการถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง พร้อมให้สัมภาษณ์ กล่าวท้าทายว่า หากผิดจริงให้เอาไปประหารชีวิต
2 พ.ค.51 นายวัฒนา เข้าเบิกความปากสุดท้าย ปฏิเสธ ไม่ผิด
6 พ.ค.51 “เติ้ง-เหนาะ-ไตรรงค์-บัญญัติ จันทน์เสนะ” ขึ้นเบิกความ เน้นสอบประเด็นข่มขู่เจ้าหน้าที่ที่ดินออกโฉนดมิชอบโดยพยานทั้งหมดเบิกความทำนองเดียวกันว่า ตามระเบียบ รมว.เจ้ากระทรวง เป็นผู้เสนอรายชื่อข้าราชการกับนายกรัฐมนตรีก่อนจึงจะนำเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณา อนุมัติ ซึ่ง รมว.กระทรวงอื่นสามารถทักท้วงหรือเสนอแนะนำตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงอื่นได้ แต่โดยมารยาทแล้วจะไม่ทำกัน และข้อทักท้วงหรือเสนอแนะมักจะไม่มีการบันทึกลงในรายงานการประชุม ครม. เมื่อศาลสอบถามพยานว่าทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาการซื้อที่ดินทำโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน นายเสนาะ ตอบว่า ไม่เคยศึกษารายละเอียด รู้ข้อมูลเหมือนที่สังคมรู้ แต่ในฐานะที่อยู่ในวงการการเมือง และรู้สึกไม่สบายใจที่มีเรื่องฉาวโฉ่เกิดขึ้นจนต้องมีการตั้งคณะกรรมการต่างๆมาตรวจสอบ จนเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระ จนในที่สุดมาถึงการพิจารณาคดีของศาล
8 พ.ค.51 ศาลฎีกานักการเมืองไต่สวนจำเลย คือ นายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งนายวัฒนาได้ขึ้นเบิกความแก้ต่างให้กับตัวเอง พร้อมระบุถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลั่นแกล้ง อย่างไรก็ตาม ศาลสั่งคู่ความแถลงปิดคดี 25 มิ.ย.พร้อมนัดอ่านคำพิพากษา ชี้ชะตา “วัฒนา - ทุจริตที่ดินคลองด่าน” 9 ก.ค.นี้ เวลา 13.00 น.
คดีดังเกี่ยวข้องกับนักการเมือง ทั้งระดับ "นายใหญ่" ในรัฐบาลเงา หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด จะต้องตกระกำลำบาก หลีกหลีภัยออกนอกประเทศ หรือต้องเข้าซังเตหรือไม่ คดีลูกน้องอย่าง "ยุทธ ใบแดง" จะทำให้พรรคการเมืองใหญ่แกนนำรัฐบาลต้องล้มไม่เป็นท่าหรือไม่ และ คดีทุจริตที่ดินคลองด่าน ที่มี "วัฒนา อัศวเหม" เป็นจำเลย ต้องได้รับโทษในชั้นศาลฎีกา ชี้ขาดในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือไม่ เราคนไทยทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ต้องเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิด เงิน อำนาจ อธรรม จะชนะ ความถูกต้อง ความยุติธรรม หรือไม่ คอยดูกันต่อไป
เริ่มจากคดีแรก 21 มิ.ย.2550 คณะอัยการนำโดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นำคำฟ้องจำนวน 19 หน้า ที่นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด(ขณะนั้น)ลงนามเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100 และ 122 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ในการทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก จำนวน 33 ไร่มูลค่า 772 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูกิจการและสถาบันการเงิน อันเป็นการซื้อขายที่ดินต่ำกว่าราคาประเมิน 4,200 ล้านบาท โดยท้ายฟ้องอัยการขอให้ศาลริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดและได้มาจากการกระทำความผิด คือที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยหลักฐานสำคัญที่จะลงโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ หลังจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลและกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาชำระก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2546 ซึ่งต่อมาได้มีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบที่ดินวันที่ 30 ธ.ค.2546 โดยการทำนิติกรรมจำเลยที่ 1 (ทักษิณ)ได้ลงนามยินยอมพร้อมแสดงสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทข้าราชการการเมืองตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งการประกาศขายที่ดินโดยวิธีประกวดราคาวันที่ 25 พ.ย.2546 น่าเชื่อว่ามีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพราะ 1) การประกวดราคาไม่กำหนดราคาที่ดินขั้นต่ำ 2) กำหนดวางเงินในการยื่นซอง 100 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 10% ของราคากลาง และ3) มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาคารภายหลังที่จำเลยที่ 2 ประมูลได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
26 มิ.ย.50 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษา ขณะที่ ทักษิณ และ พจมาน ยังล่องหนอยู่ต่างประเทศ พร้อมกับได้ใช้ความพยายามที่จะไม่กลับมาต่อสู้คดี หลากหลายเล่ห์เหลี่ยม ไม่ว่าจะอ้างเรื่องความไม่ปลอดภัย ทำให้ศาลต้องออกหมายจับ และปิดหมายยังบ้านพักของจำเลยทั้ง 2 ขณะที่อัยการ ก็ใช้ความพยายาม ประสานขอตัวส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ไม่เป็นผล ทำอะไร ทักษิณ และ พจมาน ไม่ได้
10 ก.ค.50 องค์คณะผู้พิพากษา มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ภริยา ตกเป็นจำเลยที่ 1-2 เต็มตัว พร้อมกับให้ส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองทราบมาศาลฎีกาฯนัดแรกวันที่ 14 ส.ค.นี้ เวลา 13.30 น.ตามที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ที่บ้านพักจันทร์ส่องหล้า เลขที่ 472 ถ.จรัญสนิทวงศ์ 69 แขวง-เขตบางพลัด และจำเลยที่ 2 บ้านพักเลขที่ 526 ถ.พระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม.
25 ก.ย.50 ทักษิณ ยิ้มร่า หลัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาศาล ซึ่งถือเป็นการต่อลมหายใจของ จำเลยโกงชาติ อีกครั้งหนึ่ง
28 ก.พ.51 จำเลยทักษิณ กลับมาสู้คดี หลังพรรคพลังประชาชน ยึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ โดยภาพอดสูที่ ทักษิณ ได้สร้างภาพต่อสายตาลิ่วล้อคือ กราบพื้นสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่ร่วมกันโกง และหลังรายงานตัวต่อศาล ทักษิณ และ พจมาน ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ แต่ต้องแจ้งให้ศาลทราบ
30 เม.ย.51 การต่อสู้คดีในชั้นศาล เริ่มขึ้น โดยฝ่ายจำเลยยื่นพยาน 22 ปาก สู้คดีโดยยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด ขณะที่อัยการโจทก์ยื่นบัญชีพยาน 42 ปาก โดยศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์วันที่ 8 , 15 , 22 , 25 และ 29 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. และนัดไต่สวนพยานจำเลยทั้งสอง วันที่ 1,5,15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น.โดยให้นัดไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมไว้ในวันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น.
ถัดมาคดีที่สาธารณชนทั่วประเทศให้ความสนใจอีกคดีคือ คดีใบแดง "ยุทธ ตู้เย็น"ซึ่งจ่อคิวเชือดในชั้นศาลฎีกา
8 พ.ค.51 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง นายกำธร โพธิ์สุวัฒนากุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะรวม 3 คน ออกนั่งบัลลังก์สืบพยานคดีหมายเลขดำที่ ลต.38/2551 ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ผู้ร้อง และ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.สัดส่วนกลุ่มที่ 1 และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และ น.ส.ละออง ติยะไพรัช น้องสาว นายยงยุทธ ส.ส.แบ่งเขต 3 จ.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ผู้คัดค้านที่ 1-2 กระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ.2550 ด้วยการทุจริตการเลือกตั้งด้วยการแจกเงินให้กับกลุ่มกำนัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นตัวแทน (หัวคะแนน) ของ นายยงยุทธ แจกเงินซื้อเสียงเพื่อให้มีการลงคะแนนเลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชาชน โดย กกต.ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายยงยุทธ ซึ่งให้ถูกใบแดง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในเขต 3 จังหวัดเชียงราย ที่ น.ส.ละออง ถูกให้ใบเหลือง
คดีนี้ นายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนัน ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย อายุ 52 ปี ถือเป็นประจักษ์พยานสำคัญ โดยนายชัยวัฒน์ เบิกความยืนยันต่อศาลว่า เมื่อตุลาคม 2550 ด.ต.เทพรัตน์ เขื่อนคุณา สภ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นผู้ติดตาม นายยงยุทธ ได้ ติดต่อผ่านโทรศัพท์ให้เดินทางมา กทม.เพื่อพบ นายยุงยุทธ กับคณะกำนันตำบลใน อ.แม่จัน และนายบรรจง ยางยืน นายกเทศมนตรีตำบลจันจว้า โดย 2 ครั้งแรกที่ติดต่อบอกให้มาทางรถตู้ แต่ไม่ได้มา ครั้งที่สามบอกให้เดินทางโดยเครื่องบินจึงเดินทางมา ซึ่งตนสำรองจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน 3.8 หมื่นบาท เดินทางออกมาจาก จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2550 เวลา 13.00 น.ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ มีรถตู้มารับเดินทางไปที่ทำการพรรคไทยรักไทยเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการพรรคพลังประชาชน นายบรรจง จึงพาขึ้นไปชั้น 4 บอกว่า จะไปพบ นายยงยุทธ ซึ่งรอประมาณ 3 ชม.นายบรรจง จึงพาไปโรงแรมจำชื่อไม่ได้ ไปพบ นายยงยุทธ ที่ห้องรับรองชั้น 2 โดยนายยงยุทธ ขอร้องให้ช่วย น.ส.ละออง และนายอิทธิเดช แก้วหลวง ในการเลือกตั้งให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ซึ่งพยานและกลุ่มกำนัน รับปากว่าจะช่วย น.ส.ละออง กับ ส.จ.หล้า หรือ ส.ต.ต.ชมชาติ กัปปาหะ ผู้สมัครอีกคน เนื่องจากเป็นคน อ.แม่จัน แต่จะไม่ช่วย นายอิทธิเดช เพราะไม่ใช่คนในพื้นที่ หลังจากนั้น นายยงยุทธ ก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้อีก ตนกับพวกจึงขอให้ นายยงยุทธ ทวงถามหนี้สินของ นายชูชาติ จันทวลย์ ที่ปรึกษา นายยงยุทธ สมัยเป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายชูชาติ ติดหนี้ตน 2.5 แสนบาท จากที่ตนรับเหมาสร้างถนนต่อนายชูชาติ และยังเป็นหนี้กำนันคนอื่นด้วย โดยนายยงยุทธ รับปากว่าจะทวงถามหนี้ให้ซึ่งใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 30 นาที และนายยงยุทธ กลับไปก่อนโดยนายบรรจงเดินอออกไปส่ง ส่วนตนและกลุ่มกำนันนั่งกินข้าว จากนั้นนายบรรจงเรียกทุกคนออกไปข้างนอกพร้อมส่งซองปิดผนึกให้ตนกับพวกทั้ง 10 คน โดยระบุว่า “นายฝากมาให้” และหลังจากนั้น ตนและกลุ่มกำนันพากันเข้าไปในห้องน้ำและเปิดซองดูพบว่า มีเงินสด 20,000 บาท ซึ่งพยานเชื่อว่าที่นายบรรจงบอกว่า “นาย” หมายถึง นายยงยุทธ เพราะ นายยงยุทธ เป็นผู้นัดมาเจอที่โรงแรม โดยพยานยังได้ทวงถามเงินค่าตั๋วเครื่องบินกับ นายบรรจง ซึ่ง นายบรรจง ได้ควักเงินสดจำนวน 40,000 บาท ให้พยานด้วย
14 พ.ค.51 นายยงยุทธ ขึ้นศาลไต่สวนสู้คดีใบแดง ยันไม่เคยนัดพบกำนันแจกซอง 2 แสน ซัด “กำนันชัยวัฒน์” พยานปากเอกเต็มสูบ แถมติดแบล็กลิสต์ค้ายาต้องเข้าบำบัดสมัยรัฐบาลทำสงครามปราบยาเสพติด และได้กล่าวว่ากำนันชัยวัฒน์เคยร้องขอให้ตนเองช่วยลบชื่อก่อนลงสมัครกำนัน อีกทั้งยังร่ำรวยผิดปกติแอบใส่ชื่อเมียในที่ดินกว่า 10 ล้าน
11 มิ.ย.51 “กำนันชัยวัฒน์ ” พยานปากเอก ร้องศาลฎีกา ว่านายยงยุทธ ส่งหลักฐานปลอมสวมชื่อเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่จะชี้ให้ศาลเห็นว่า นายยงยุทธ สร้างหลักฐานเท็จ มีการปกปิดและเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ผิดไปจากความเป็นจริงเพื่อให้สอดคล้องกับข้อต่อสู้ที่อ้างว่าถูกจัดฉากโดยพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
โดยคดี"ยุทธใบแดง" ศาลนัดชี้ชะตา 8 ก.ค.นี้เวลา 16.00 น.ดังนั้น ต้องติดตามกันอย่างไม่กระพริบตา คดีนี้จะเป็นมวยล้มต้มคนดู หรือจะเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ส่งแรงสั่นกระเทือนทำให้พรรคพลังประชาชนต้องยุบพรรค ดั่ง พรรคไทยรักไทยอีกครั้ง
สุดท้าย เพื่อกันลืม...คดีทุจริตคลองด่านที่ นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลย
13 ก.พ.51 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไต่สวนพยานโจทก์ คดีดำ อม.2/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ 157 ในการใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
17 เม.ย.51 ศาลออกหมายเรียกนักการเมือง “บรรหาร-เสนาะ-ไตรรงค์-วิษณุ” กับอดีตเจ้าหน้าที่ที่ดินรวม 10 คน ไต่สวนเพิ่มคดีคลองด่าน ส่วน “วัฒนา จำเลย” ยังคงยืนยันไม่ได้ทำผิด บอกเป็นการถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง พร้อมให้สัมภาษณ์ กล่าวท้าทายว่า หากผิดจริงให้เอาไปประหารชีวิต
2 พ.ค.51 นายวัฒนา เข้าเบิกความปากสุดท้าย ปฏิเสธ ไม่ผิด
6 พ.ค.51 “เติ้ง-เหนาะ-ไตรรงค์-บัญญัติ จันทน์เสนะ” ขึ้นเบิกความ เน้นสอบประเด็นข่มขู่เจ้าหน้าที่ที่ดินออกโฉนดมิชอบโดยพยานทั้งหมดเบิกความทำนองเดียวกันว่า ตามระเบียบ รมว.เจ้ากระทรวง เป็นผู้เสนอรายชื่อข้าราชการกับนายกรัฐมนตรีก่อนจึงจะนำเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณา อนุมัติ ซึ่ง รมว.กระทรวงอื่นสามารถทักท้วงหรือเสนอแนะนำตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงอื่นได้ แต่โดยมารยาทแล้วจะไม่ทำกัน และข้อทักท้วงหรือเสนอแนะมักจะไม่มีการบันทึกลงในรายงานการประชุม ครม. เมื่อศาลสอบถามพยานว่าทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาการซื้อที่ดินทำโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน นายเสนาะ ตอบว่า ไม่เคยศึกษารายละเอียด รู้ข้อมูลเหมือนที่สังคมรู้ แต่ในฐานะที่อยู่ในวงการการเมือง และรู้สึกไม่สบายใจที่มีเรื่องฉาวโฉ่เกิดขึ้นจนต้องมีการตั้งคณะกรรมการต่างๆมาตรวจสอบ จนเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระ จนในที่สุดมาถึงการพิจารณาคดีของศาล
8 พ.ค.51 ศาลฎีกานักการเมืองไต่สวนจำเลย คือ นายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งนายวัฒนาได้ขึ้นเบิกความแก้ต่างให้กับตัวเอง พร้อมระบุถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลั่นแกล้ง อย่างไรก็ตาม ศาลสั่งคู่ความแถลงปิดคดี 25 มิ.ย.พร้อมนัดอ่านคำพิพากษา ชี้ชะตา “วัฒนา - ทุจริตที่ดินคลองด่าน” 9 ก.ค.นี้ เวลา 13.00 น.
คดีดังเกี่ยวข้องกับนักการเมือง ทั้งระดับ "นายใหญ่" ในรัฐบาลเงา หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด จะต้องตกระกำลำบาก หลีกหลีภัยออกนอกประเทศ หรือต้องเข้าซังเตหรือไม่ คดีลูกน้องอย่าง "ยุทธ ใบแดง" จะทำให้พรรคการเมืองใหญ่แกนนำรัฐบาลต้องล้มไม่เป็นท่าหรือไม่ และ คดีทุจริตที่ดินคลองด่าน ที่มี "วัฒนา อัศวเหม" เป็นจำเลย ต้องได้รับโทษในชั้นศาลฎีกา ชี้ขาดในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือไม่ เราคนไทยทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ต้องเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิด เงิน อำนาจ อธรรม จะชนะ ความถูกต้อง ความยุติธรรม หรือไม่ คอยดูกันต่อไป