ความเดิมตอนที่แล้ว อ่าน
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๒ : มรดกโลก Shirakawa go
Alone in Gifu ๑.๓ : Sanmachi เขาว่าที่นี่ Little Kyoto
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ : ที่ว่าการเมืองทาคะยะมะเก่า จ.กิฟุ
วันนี้ผมจะพาไปเที่ยวตลาดครับ ...
เช้านี้ ผมกลับมาที่ที่ว่าการเมืองทาคะยะมะเก่า อีกรอบ ไม่ใช่ว่าติดใจจะเข้าไปดูอีกหน แต่ผมมาตามหาตลาดครับ ในข้อมูลการท่องเที่ยวเขาแนะนำมา แน่นอนผมก็แหกขี้ตาตื่นมาทำธุระส่วนตัวเก็บข้าวของให้เรียบร้อยแล้วลงมาเช็กเอาท์ที่พัก แล้วขอเขาฝากกระเป๋าไว้สักแป๊บนึง เดี๋ยวจะกลับมาเอาใหม่ จากนั้นก็รีบจ้ำๆ เดินมาจนถึงที่นี่ ...
ตลาดแรกที่เรามาชื่อว่า “ตลาด จินยะ มาเอะ” (Jinya mae) นี้อยู่ด้านหน้าของทางเข้าที่ว่าการฯ ตามประวัติว่าเริ่มการค้ามาตั้งแต่เมื่อ ๓๐๐ ปีที่แล้ว แต่เดิมเป็นตลาดของชาวไร่ที่เลี้ยงไหมนำใบต้นหม่อนมาขาย ต่อมาได้อนุญาตให้เฉพาะเกษตรกรนำสินค้ามาวางแผงขาย ตั้งแต่ช่วง ๖ โมงเช้า ไปจนถึงราวๆ เที่ยง ... ส่วนผมมาตอน ๘ โมงกว่า น้องผู้สื่อข่าวโต๊ะเซเลปที่เคยมาแล้ว บอกผมว่า พี่ไม่ต้องรีบไปหรอก เช้าๆ ของยังไม่เยอะ ผมก็เลยเชื่อเขา
ถ้าพูดถึงตลาดเช้า ... มโนภาพของผมนึกถึงแหล่งที่มีอาหารทั้งวัตถุดิบ เนื้อ พืช และอาหารปรุงสุก มาเรียงรายแบกะดินหรือตั้งแผงวางขายให้ชาวบ้านแถวนั้นมาจับจ่ายซื้อเอาไปประกอบอาหารหรือรับประทานดำรงชีวิต แบบตลาดตามชุมชนท้องถิ่นในบ้านเรา
แต่ที่นี่คนละแบบเลยครับ เขาทำเป็นแผงลอยตั้งด้วยโครงเหล็กคลุมผ้าใบสีขาวเป็นหลังคาอยู่ ๒ แถว เป็นระเบียบ มีประมาณ ๑๐ กว่าร้านได้ ภายในมีโต๊ะกางวางสินค้าหลากหลาย คนขายส่วนใหญ่ล้วนเป็นรุ่นแม่ รุ่นยาย มาขาย บางร้านนี่มีรูปป้าเจ้าของร้านแปะอยู่หน้าร้านโชว์ไว้ด้วย ซึ่งสินค้าก็จะมีทั้งของสดอย่างผักต่างๆ บางร้านนี้สดขนาดติดโคลนมาเลยทีเดียว และก็ยังมี ดอกไม้ ข้าวสาร ของฝากก็มีแบบพวกผัก ผลไม้ดอง บางร้านมีให้ชิมด้วยนะ คุณป้าก็เชื้อเชิญจัง ผมก็ขัดศรัทธามิได้ ชิมไปหลายสิ่ง
นอกจากนี้ก็มีพวก แป้งโมจิ เมล็ดพันธุ์พืช และของฝากอย่าง ตุ๊กตาสะรุโบะโบะเครื่องรางประจำถิ่น ที่เป็นแบบทั้งผ้าและไม้ โดยรวมตลาดนี้น่าจะเน้นไปทางสินค้าทางการเกษตรมากกว่า ถ้าใครอยากมาหาของกินเล่นแบบผมนี่คงจะแห้วเหมือนกัน และของหลายอย่างราคานี่พอคิดเป็นเงินไทยก็ไม่ใช่ย่อยนะ มีร้านนึงขายแอปเปิ้ลลูกละ ๑๒๐ เยน เห็นราคาก็แอบสะอึกเล็กน้อย ก็เลยหยิบอันที่เขาปอกเอาไว้ให้ชิมลองกินดู ... คำแรกนี่โอ้โห ...มันหวาน กรอบ อร่อยแบบหาไม่ได้ในบ้านเราแฮะ เลยตั้งใจว่า เดี๋ยวพอไปตลาดอีกแห่งค่อยซื้อดีกว่า ... แต่ที่นี่นักท่องเที่ยวต่างชาติ กรุ๊ปทัวร์ก็มาลงเยอะเหมือนกันนะ ได้ยินภาษาไทยอันคุ้นเคยมาจากนักท่องเที่ยวหลายคนอยู่
จากที่ว่าการฯ ผมเดินทะลุย่านลิตเติ้ลเกียวโต ซังมาจิ มุ่งหน้าสู่ตลาดที่ ๒ แถวๆ สะพานคาจิ ที่มีรูปหล่อยักษ์แขนขายาว งวดนี้ผมเดินเข้าอีกซอยหนึ่ง แถวนี้ก็มีบ้านโบราณแต่ไม่มากและคึกคักเท่ากับซอยตรงกลาง ผมเจออะไรแปลกๆ เหมือนซุ้มประตูขนาดใหญ่ดูท่าน่าจะสูงราวๆ ตึกสามชั้น อยู่เนียนรวมกับบ้านหลังอื่น ซึ่งที่นี่ก็คือจุดจอดของรถเกี้ยวที่ใช้ในงานเทศกาลทาคะยะมะ ดูแล้วน่าจะใหญ่โตไม่น้อยเลยแฮะ เสียดายยยยยย ที่ไม่ได้ดูงานแห่
เดินไปจนทะลุถนนใหญ่แล้วก็เลี้ยวซ้ายไปทางสะพานข้ามแม่น้ำ ก็จะเจอกับตลาดที่ชื่อว่า “มิยะงะวะ”( Miyagawa Market) อยู่ริมแม่น้ำมิยะงะวะ ระหว่างสะพานคาจิ กับสะพานยาโยะอิ (Yayoi bashi) ที่นี่มีแผงลอยและร้านค้าราวๆ ๖๐ ร้านเลยทีเดียว ผมไม่แน่ใจนักว่าเปิดขายกันมานานเท่าไหร่แฮะ แต่เท่าที่ดูนี่คึกคักกว่าตรงตลาดจินยะมากๆ รวมทั้งสินค้าก็หลากหลายกว่า ที่สำคัญ มีของกินด้วย!!
เดินสำรวจไปเรื่อยๆ จะพบว่าตลาดนี้เน้นไปทางของฝาก และอาหารปรุงสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากตลาดแรกที่มีแต่ของสด และแน่นอนว่า แอปเปิ้ลที่ผมอยากกินก็ไม่มีขายที่ตลาดนี้ T-T ของส่วนใหญ่ก็มีพวกอาหารแห้ง ของดอง ขนม งานฝีมือของที่ระลึก บางร้านขายต้นไม้ เสื้อคลุมแบบญี่ปุ่น น้ำผึ้งและรังผึ้ง ยาจุดกันยุง เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำด้วยไม้ และงานศิลปะ อย่างการเขียนคำด้วยพู่กันแท่งเบ้อเริ่ม หรือรูปวาดด้วยสี
ส่วนผม ... เน้นมาที่ของกินครับ ... และไม่น่าเชื่อว่า ในที่สุด ผมก็ได้ลิ้มรสกับสิ่งนี้ ... “เนื้อฮิดะย่างย่างย่างย่างย่าง” ... (ใส่แอคโค่เหมือนรายการอาหาร) แถวนี้เห็นมีอยู่ ๒ ร้าน ร้านนึงเป็นป้าขายอยู่ในเคาน์เตอร์บาร์ มีภาษาไทยเขียนว่า อร่อยมาก แน่นอนว่า ผมไม่เลือกร้านนี้ครับ ... (กวนนะเรา)
มาชิมอีกร้านนึงที่มีลุงใส่ชุดเหมือนพ่อครัว ยืนปิ้งเนื้ออยู่ข้างทาง และที่สำคัญคือ ถูกมาก ไม้ละ ๔๐๐ เยน!! เพียงแค่สั่งแกก็บรรจงเอาเนื้อโรยพริกไทย และเกลือมาย่างบนเตาแก๊ส (เสียดายถ้าเป็นถ่านคงหอมอร่อยมาก) ย่างไปเรื่อยๆ จนสุกก็เสิร์ฟบนจานให้ยืนทาน กัดไปคำแรกนี่อื้อหือ ทั้งนุ่ม เหนียวกำลังดี เค็มนิดๆ จนอยากจะตะโกนว่าอร่อยยยยย แต่ก็กลัวเขาฟังไม่รู้เรื่อง เนื้อข้างในมันยังไม่สุกมาก แต่ก็อร่อยจนอยากจะซื้ออีก ... แต่ติดที่เงินในกระเป๋ามันไม่สนองเนี่ยล่ะ ฮ่าๆๆ
อีกร้านหนึ่งที่ผมเจอแล้วน่าสนใจจนต้องเสียตังค์ซื้อคือ ขนมญี่ปุ่น ที่ดูผลิตภัณฑ์แล้วลักษณะขนมทรงลูกเต๋าเหมือนเต้าส้อของบ้านเราเลยแฮะ บนป้ายในกรอบรูปเขียนภาษาอังกฤษว่า “โอะวะระ ทามะเท็ง” (Owara Tamaten) ไม่แน่ใจว่าหมายถึงชื่อขนมหรือชื่อร้าน ไอ้เจ้าขนมชนิดนี้ตามความเข้าใจของผม มันคือไข่ขาวนำไปตีให้ฟูแล้ว ตัดให้เป็นก้อนลูกเต๋า แต้มจุดด้วยน้ำวุ้นน้ำเชื่อม แล้วชุบในหม้อที่มีไข่แดงผสมกับเหล้าสาเกหวาน นำมาจี่บนกระทะให้เหลือง ดูยุ่งยากไม่น้อยเลยนะ
เขาขายก้อนละ ๑๐๐ เยน ก็ราวๆ ๓๒ บาท เป็นกล่องก็มี แต่สำหรับผมลองแค่ก้อนเดียวพอล่ะครับ ได้มาแบบอุ่นๆ พอกัดไปคำแรกนี่มันยวบลงไปเลยครับ ข้างในที่นึกว่าจะหนากลับนุ่ม เบา มีรสไข่ขาวชัด ตามมาด้วยรสหวานน้ำตาล มันก็แปลกดี
จากตลาดริมแม่น้ำมิยะงะวะ ผมเดินกลับมาที่ เจ ฮอปเปอร์ ฮิดะ ทาคะยะมะ เกสต์เฮาส์ เพื่อเอากระเป๋าสัมภาระแบกใส่หลังเดินทางต่อไปยังจุดหมายใหม่ จากที่พักนี่ก็ไม่ไกลจากสถานีรถไฟทาคะยะมะนัก ออกกำลังขาก้าวแป๊บเดียวก็ถึง พบคนมารอต่อคิวขึ้นรถไฟขบวนต่อไปกันเพียบเลยแฮะ พอรถไฟมาก็ได้เวลาโบกมือลามืออันเงียบสงบเมืองนี้เสียแล้ว ...
บ๊ายบาย ทาคะยะมะ
ขบวนที่ผมขึ้นคือรถสายด่วนพิเศษฮิดะ ไวด์ วิว มุ่งหน้าสู่ จ.โทะยะมะ กว่ารถจะออกนี่ก็ชุลมุนเหมือนกัน ทั้งผู้โดยสารที่เยอะ และผมเองก็ต้องยอมย้ายที่นั่ง ตามคำขอของครอบครัวฝรั่งกับลูกน้อยวัยไม่เกิน ๒ ขวบ จริงๆ บ้านนี้กับผมนี่เจอกันมาตั้งแต่ชิระคะวะโกะ แล้วครับ งวดนั้นแกโดนคนขับรถเรียกเก็บค่าโดยสารย้อนหลังตอนกลับมาถึงขนส่ง แล้วพอเห็นผมเดินลงมาแล้วชูพาสคล้ายๆ กัน ก็เลยสงสัยว่า ทำไมผมจึงไม่ต้องเสียค่าโดยสารเพิ่ม ผมก็เลยอธิบายบอกคุณใช้บัตรเบ่งคนละชนิดกัน เจอาร์ พาส ปกติไม่ครอบคลุมกับรถคันนี้ หลังจากนั้นมาผมก็เจอกันอีกที่ร้านอาหารปิ้งย่าง ที่ผมไม่ได้กิน และสุดท้ายก็ตอนนี้
เผอิญผมได้ที่นั่งติดริมหน้าต่าง แล้วมีที่ว่างอยู่ คุณสามีพร้อมหนูน้อยก็มานั่ง ส่วนเมียนั่งอีกที่นึง ทีนี้เขาก็เลยมาขอให้ผมเปลี่ยนที่นั่งกับเมียเขา ผมก็โอเค ไม่มีปัญหา เลยย้ายไป ทั้งคู่ก็ขอบคุณกันใหญ่ ก็น่าดีใจอยู่ ... แต่คนแม่งมองกันทั้งขบวนเลยครับ
พอนั่งได้สักพักก็มีเจ้าหน้าที่รถไฟไล่เดินตรวจตั๋วโดยสาร และทำการตรวจช่องวางสัมภาระเหนือหัวพร้อมเขียนอะไรบางอย่าง เดาเอาว่า น่าจะระบุไว้ว่าตรงนี้มีคนนี้นั่ง วางสิ่งนี้ไว้ เวลาลืมจะได้ตามคืนได้ หรือถ้ามีปัญหาก็ยังพอรู้เบาะแสว่าของใคร
ผมนั่งติดริมทางเดิน ผู้โดยสารข้างๆ เป็นชายวัยใกล้เกษียณ แต่งตัวภูมิฐาน นั่งไปสักพักแกเริ่มคุยกับผมแฮะ!! สรุปได้ใจความว่า แกเป็นวิศวกรระดับอาวุโส อยู่ที่นาโกย่า วันนี้วันหยุด เลยนั่งรถไฟมาเที่ยวที่ จ.โทะยะมะ มีจุดมุ่งหมายคือ ... กินซูชิ!! เฮ้ย ผมถึงกับตกใจ ลุงโหดมาก นั่งรถไฟมาตั้งไกลเพื่อกินซูชิ ลุงบอกมันสดและอร่อยมาก ลุงถามผมเรื่องอาชีพ ซึ่งแน่นอนว่า ผมมักจะบอกแค่เป็นพนักงานออฟฟิศตัวน้อย แกถามเรื่องวันหยุด เมืองไทย และอื่นๆ ก่อนจะมาเฉลยว่า ที่แกคุยกับเราเพราะ แกอยากฝึกฝนการใช้ภาษาครับ ... อยู่ในที่ทำงานไม่มีใครคุยอังกฤษกับแกเลย ... เออ... ดีแฮะ เวลาผมอยู่กรุงเทพฯ ผมก็ชอบคุยบอกทางชาวต่างชาติด้วยภาษาง่อยๆ เพื่อฝึกฝนเหมือนกัน
แม้จะไม่ได้อยู่ติดกระจกเพื่อดูวิว ไม่ได้แอบงีบเพราะลุงมัวแต่ชวนคุย แต่มันก็ดีเหมือนกันที่มีคนคุย แลกเปลี่ยนความรู้กัน บางทีมันก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ... ถ้ามีคนมาร่วมทางด้วยมันก็คงจะสนุกไม่น้อย ... แต่... พอมาคิดอีกที ด้วยสันดานแบบนี้ ไปคนเดียวน่าจะดีกว่า ฮ่าๆๆ ไม่นานนักรถไฟก็พามาถึง จ.โทะยะมะ ผมกล่าวอำลาลุงแล้วแยกย้ายกันไปตามเส้นทาง ส่วนผมก็เดินทางไปขึ้นรถไฟอีกขบวน แต่ไม่ใช่รถไฟธรรมดา เพราะมันคือรถไฟความเร็วสูง หรือว่า “ชินคังเซ็ง”
นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมเลยนะครับ!!
ซึ่งสายนี้คือ “โฮะคุริคุ ชินคังเซ็ง” (Hokuriku Shinkansen) วิ่งจากกรุงโตเกียว ไปสุดสายที่ เมืองคานะซะวะ (Kanazawa) จ.อิชิกะวะ (Ishikawa) เดิมทีสายนี้เรียกว่า นากะโนะ ชินคังเซ็ง (Nagano Shinkansen) เพราะวิ่งไปถึงแค่ จ.นากะโนะ ต่อมาบริษัทการรถไฟเจอาร์ ก็ได้ก่อสร้างเชื่อมต่อไปถึง จ.อิชิกะวะ และเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมานี่เอง ก็เลยเปลี่ยนชื่อสายใหม่ ใช้รถรุ่น E7 ๑๒ ตู้ วิ่งจากโตเกียว – คานะซะวะ โดยเส้นทางนี้กำลังก่อสร้างไปจนถึง จ.ฟุคุอิ (Fukui) และมีแผนที่จะไปเชื่อมต่อกับสถานีชินโอซาก้าด้วย
ตู้โดยสารของรถไฟแบ่งเป็นแบบแกรนคลาส กรีน คาร์ และตู้ธรรมดา ที่สำคัญคือบัตรเบ่งทาคะยะมะ โฮคุริคุ พาส ของผมสามารถใช้ขึ้นฟรีได้ด้วย แต่ก็ขึ้นได้เพียงแค่จากสถานีไปสุดที่คานะซะวะ เท่านั้น เอาน่ะ แม้ระยะทางจะสั้นแต่อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเคยขึ้นชินคังเซ็งแล้วล่ะโว้ยยยยยยยยย
ส่วนภายในตัวรถก็คล้ายกับรถทั่วไป มีที่นั่ง ๒ ฝั่งแบ่งเป็น ๓ ที่นั่งกับที่นั่งคู่ (นึกภาพรถบขส.แดง อารมณ์แบบนั้น) แต่ผังหน้าต่างดูคล้ายกับวัสดุบนเครื่องบินเลยแฮะ พอรถเคลื่อนออกด้วยความเร็วเฉลี่ย ๒๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงนี่ แทบไม่รู้สึกอะไรเลยครับ ... ชิลๆ สบายๆ ประมาณ ๒๐ นาทีก็ถึงที่หมาย
แล้วผมมาทำไมที่คานะซะวะ? ... เอาจริงๆ นะ พอพูดชื่อนี้ขึ้นมา สิ่งแรกที่นึกถึงคือชื่อของ นางเอกภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่เมื่อสักราวๆ ๑๕ ปี ที่แล้ว นามว่า บุนโกะ คานะซะวะ แต่ผมไม่ได้มาตามหาเธอนะครับ ที่นี่ก็เป็นอีก ๑ เมืองทางผ่านที่ผมใช้เชื่อมต่อไปยังจุดหมายปลายทางของวันนื้ ด้วยความที่งกใช้บัตรเบ่งจะได้ไม่ต้องเสียเงินค่าโดยสารเพิ่ม ก็เลยต้องเสียเวลาไปทั้งวันกับการเดินทาง แต่มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นครับ อย่างน้อยเราก็ได้แวะมาที่เมืองนี้ เพื่อหาอะไรกินไง
“คานะซะวะ” น่าจะเป็นอำเภอเมืองของ จ.อิชิกะวะ เป็นเมืองนึงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรของชาวนา ที่เรียกว่า คางะ อิคกิ (Kaga ikki) ในสมัยราวๆ พ.ศ. ๒๐๓๑ ก่อนถูกไดเมียวโนบุนะงะ โอะดะปราบปราม และถูกปกครองโดยตระกูลมาเอะดะ (Maeda) ในรุ่นลูกของ โทะชิอิเอะ มาเอะดะ (Maeda Toshiie) ไดเมียวคนสำคัญ กลายเป็นเมืองที่เจริญทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเวลาต่อมา นอกจากนี้ คานะซะวะยังถือเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองที่รอดพ้นจากการถูกสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดถล่มในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วย
รถไฟจอดเทียบท่าชานชาลาที่ “สถานีเจอาร์ คานะซะวะ” ผมเดินออกมาสู่ภายนอก เห็นได้ว่าที่นี่โอ่อ่า และดูทันสมัยมาก ตามข้อมูลบอกว่า เพิ่งปรับปรุงเสร็จใหม่ๆ เมื่อปีที่แล้ว เพื่อรองรับการมาของรถไฟความเร็วสูง โดยมีโดมแก้วเรียกว่า โมะเทะนะชิ (Motenashi Dome) หมายความว่า ยินดีต้อนรับ ส่วนประตูทางเข้าทิศตะวันออก ก็มีซุ้มประตูไม้ขนาดใหญ่ ที่ชื่อ “สึสุมิ มง” (Tsuzumi mon) แทนสัญลักษณ์ของกลองพื้นบ้านญี่ปุ่น สึสุมิ (tsuzumi) ซุ้มนี้สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๘ ที่ไฮโซกว่านั้นก็คือ ด้านนอกมีนาฬิกาน้ำพุ ปรับเปลี่ยนกระแสน้ำเป็นตัวเลขบอกเวลาด้วย ... ว้าววววววววว
ไหนๆ มาเมืองนี้ก็ขอแวะพักเดินเล่นสัก ๒ - ๓ ชั่วโมงแล้วกันนะ มาถึงเวลาบ่ายๆ แบบนี้ต้องหาอะไรกิน ไปตลาดกันดีกว่าครับ ซึ่งเป้าหมายของผมอยู่ที่ “ตลาดโอมิโจะ” (Omicho Ichiba) ตลาดสดไม่ไกลจากสถานีรถไฟ ราวๆ ๑ กิโลเมตร คนส่วนใหญ่จะนั่งรถเมล์ไป แต่ผมไม่! ขอเดินดีกว่า ออกกำลังกายแก้เมื่อยหลังจากนั่งรถไฟมานาน พลางแบกเป้หนักกว่า ๘ กิโลไว้บนหลังกระเตงไปด้วย ให้ดูเท่เหมือนนักท่องเที่ยวแบ๊คแพค (แต่หน้าตาคุณดรงค์ นี่ออกแนวโฮมเลสมากกว่านะ)
เดินไปเรื่อยๆ ดูบ้านเมืองเขาค่อนข้างดูทันสมัย มีรถเมล์ รถยนต์วิ่งมากมาย ต่างจากเมืองทาคะยะมะเหมือนหลุดมาคนละที่เลย ไม่นานก็ถึงแยกไฟแดงฝั่งตรงข้ามตลาดที่ค่อนข้างสังเกตยากว่า นั่นใช่ทางเข้าตลาดมั้ย ดูเหมือนอาคาร สถานที่อะไรสักอย่างที่ไม่มีความบ่งบอกว่าเป็นตลาดเลย จนต้องถามคนท้องถิ่นว่าเนี่ยใช่หรือไม่ โชคดีที่เด็กสาววัยมัธยมเป็นผู้ตอบ ถึงแม้จะงงๆ ในการสื่อสาร (ถามอังกฤษ ตอบอังกฤษปนญี่ปุ่น) แต่สุดท้ายก็กลายเป็นน้องๆ ที่พาเราข้ามไปยังหน้าตลาด ... (ลืมขอถ่ายรูปมา T-T)
ตลาดสดแห่งนี้เขาว่าใหญ่ที่สุดในเมือง ตั้งแต่ยุคเอะโดะ ช่วง พ.ศ.๒๒๓๓ – ๒๒๖๔ ก่อนจะถูกไฟไหม้ในคราวที่เกิดอัคคีภัยใหญ่ ต่อมาในปี ๒๔๔๗ ก็ได้มีการสร้างตลาดสดขึ้นอีกครั้งบนที่นี้ โดยมีเป้าหมายสร้างให้เป็นครัวแห่งเมืองคานะซะวะ ปัจจุบันก็ยังคงเป็นแหล่งค้าอาหารทะเลที่คึกคัก โดยเฉพาะช่วงเช้าจะมีผู้มาจับจ่ายซื้อสินค้ากันจำนวนมาก มีร้านค้าตั้งในบริเวณนี้มากกว่า ๒๐๐ ร้าน เห็นว่ามี ๒ ชั้น ชั้นบนน่าจะเป็นพวกร้านอาหารพอดีไม่ได้ขึ้นไปดู และสิ่งที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็คือ ปูซูไว หรือปูหิมะตัวใหญ่มีขายกันเพียบไปหมด
นอกจากเนื้อสัตว์ ผัก และ ผลไม้ ก็ยังมีพวกดอกไม้ เครื่องครัว และเสื้อผ้าขายด้วย และที่นี่ก็ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมด้วย นักท่องเที่ยวมักมาหาอาหารกลางวันทานกัน ซึ่งร้านขายอาหารสดบางร้านก็เอาเก้าอี้มาวางตั้งให้ลูกค้าได้นั่งกินกันหน้าแผงเลย เช่น ไข่หอยเม่นสดๆ จากตัวหอยเม่น และแน่นอนว่า ที่นี่ย่อมมีร้านอาหารเด็ดๆ อยู่ด้วย ร้านแรกที่รุ่นน้องผมผู้มาอาศัยเมืองนี้ศึกษาต่อแนะนำก็คือ ร้านโมริ โมริ ซูชิ น้องบอกแพงนิดนึงแต่อร่อยมาก น่าเสียดายที่ผมไม่ได้ลอง เพราะเห็นคนต่อคิวยาวเหยียดแล้วนึกท้อ เลยแว่บไปดูอีกร้านที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
ร้านนี้มีชื่อว่า “ยามะซัง ซูชิ” (yamasan sushi) เปิดขายอยู่ในตลาดแห่งนี้มายาวนานกว่า ๖๐ ปี มีเมนูที่เห็นแล้วต้องอึ้งอย่าง “ข้าวหน้าทะเล” หรือ “ไคเซ็ง ดงบุริ” (Kaisen donburi) เป็นอาหารขึ้นชื่อของร้าน และแน่นอนว่า นี่คืออาหารกลางวันของผมครับ ...
หน้าร้านมีแบบจำลองอาหารวางโชว์อยู่ในตู้ให้ได้ดูว่าขายอะไร ระหว่างที่ผมไปถึงก็มีคนมาต่อคิวอยู่พอสมควร ตอนแรกว่าจะถอดใจ แต่ไหนๆ ก็มาแล้ว ยืนรอสักหน่อยดีกว่า ... ไปๆ มาๆ ไม่หน่อยล่ะครับ ปาเข้าไปตั้ง ๔๐ นาทีถึงได้คิวเข้าร้าน ภายในมีห้องแบบญี่ปุ่นสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่ม ส่วนถ้ามาเดี่ยวหรือคู่ ก็จะได้นั่งหน้าบาร์ เข้าทางผมเลยล่ะ จะได้เห็นเวลาพ่อครัวเขาทำ ทำกันยังไง ข้างหน้าที่นั่งผมเป็นคุณตากำลังยืนปั้นข้าว หั่นปลาอยู่ ดูกันเพลินเลย และผมก็สั่งเมนูยอดฮิตนั้นไป
ไม่นานนักอาหารสุดอลังการก็ถูกเสิร์ฟวางที่โต๊ะ เห็นครั้งแรกนี่แบบ เฮ้ย จะกินหมดมั้ยเนี่ย มันคือข้าวหน้าปลาและสัตว์ทะเลต่างๆ ประมาณ ๑๘ ชนิด แบบล้นถ้วยทรงกลม ประดับตกแต่งมาแบบสวยจนแทบไม่กล้ากิน เท่าที่ดูนี่มีกล้ามปูซูไว กุ้งหวาน ไข่ปลาแซลมอนที่แปะมาด้วยทองคำเปลว ไข่หอยเม่น หอยเชลล์โฮะตะเตะ ปลาหมึก แซลมอน กระพง ทูน่า ปลาไหลย่าง และปลาอื่นๆ หั่นมาเนื้อชิ้นค่อนข้างหนาเลยครับ แม้แต่มีเพียงแค่อย่างละชิ้น แต่ความฟินนี่ อื้อหือ .... อร่อยมากๆ โดยเฉพาะไข่หอยเม่น รสมันๆ อร่อยจริงๆ ไข่แซลมอนก็ไม่ได้เค็มและเลี่ยนแบบบางร้านในบ้านเรา
แต่แน่นอน วัตถุดิบแบบนี้ราคาก็คงไม่ถูกเท่าไหร่นัก ชามนี้ ๒,๗๐๐ เยน ก็เกือบ ๙๐๐ บาท!!! เป็นมื้อที่แพงที่สุดเท่าที่เคยเที่ยวมา ... ก็ยอมล่ะครับครั้งหนึ่งในชีวิต
อิ่มจากข้าวหน้าปลาก็ได้เวลาออกเที่ยวต่อ ดูจากนาฬิกามีเวลา ๑ ชั่วโมง ทำอะไรได้บ้าง? ผมเลือกที่จะเดินไป “ปราสาท คานะซะวะ” (Kanazawa jo) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของเมือง ดูจากแผนคงไม่น่าจะไกลมาก แต่เอาเข้าจริง ผมคิดผิดครับ มันไม่ใช่ว่าไกลแต่ทางเดินนั้นเป็นเนินเขาทำให้กินเวลาไปพอสมควรกว่าจะถึงสวนสาธารณะรอบปราสาท ยังครับ ยังไม่ถึง ต้องเดินไปอีกประมาณ ๒๐๐ เมตร จนถึงทางเข้าข้างหน้า
พอดูเวลา โอ้... เหลืออีก ๓๐ นาที ถ้าเข้าไปนี่คงกลับไม่ทันรถไฟแน่ๆ เลยได้แต่ยืนมองอยู่ทางเข้า ก่อนเดินจากลาอย่างเร่งรีบ กลับมาที่ตลาดโอมิโจะ หารถเมล์ไปยังสถานีเจอาร์ คานะซะวะ ซึ่งก็ไม่ได้ยากอะไร เสียค่าโดยสาร ๒๐๐ เยน ยืนไม่นานก็ถึง แล้วก็พลางนึกเสียดาย ...
เสียดายว่า ทำไมเราจึงไม่เลือกพักที่เมืองนี้สักคืนหรือเที่ยวเต็มๆ สักวันนะ เราอาจจะได้เที่ยวปราสาทคานะซะวะอย่างเต็มอิ่ม อาจได้ไปชมวัดนินจาเมียวริว (Myoryu ji) สวนเค็งโระ คุเอ็ง (Kenro kuen) ศาลเจ้าโอะมิยะ (Oyama Jinja) วัด และย่านเก่าๆ รวมทั้งอาหารอร่อยๆ อีกหลายๆ ร้าน ... เสียดายจริงๆ
ไว้ถ้ามีโอกาสมาแถวนี้อีกครั้ง ค่อยว่ากันนะ ... เมืองคานะซะวะ
อ่านต่อฉบับหน้า...
*หมายเหตุ*สาเหตุที่ฉบับนี้ใช้ชื่อภูมิภาคเป็นหัวข้อแทนชื่อจังหวัด เนื่องจากมีการเดินทางหลายพื้นที่ จึงเขียนว่า "จุบุ" ภาคกลางของญี่ปุ่นแทน
ข้อมูลบางส่วน : https://www.jreast.co.jp/e/routemaps/hokurikushinkansen.html
http://www.kanazawa-tourism.com/thai/guide/guide1_3.php?no=1
http://www.yamasan-susi.com/
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๒ : มรดกโลก Shirakawa go
Alone in Gifu ๑.๓ : Sanmachi เขาว่าที่นี่ Little Kyoto
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ : ที่ว่าการเมืองทาคะยะมะเก่า จ.กิฟุ
วันนี้ผมจะพาไปเที่ยวตลาดครับ ...
เช้านี้ ผมกลับมาที่ที่ว่าการเมืองทาคะยะมะเก่า อีกรอบ ไม่ใช่ว่าติดใจจะเข้าไปดูอีกหน แต่ผมมาตามหาตลาดครับ ในข้อมูลการท่องเที่ยวเขาแนะนำมา แน่นอนผมก็แหกขี้ตาตื่นมาทำธุระส่วนตัวเก็บข้าวของให้เรียบร้อยแล้วลงมาเช็กเอาท์ที่พัก แล้วขอเขาฝากกระเป๋าไว้สักแป๊บนึง เดี๋ยวจะกลับมาเอาใหม่ จากนั้นก็รีบจ้ำๆ เดินมาจนถึงที่นี่ ...
ตลาดแรกที่เรามาชื่อว่า “ตลาด จินยะ มาเอะ” (Jinya mae) นี้อยู่ด้านหน้าของทางเข้าที่ว่าการฯ ตามประวัติว่าเริ่มการค้ามาตั้งแต่เมื่อ ๓๐๐ ปีที่แล้ว แต่เดิมเป็นตลาดของชาวไร่ที่เลี้ยงไหมนำใบต้นหม่อนมาขาย ต่อมาได้อนุญาตให้เฉพาะเกษตรกรนำสินค้ามาวางแผงขาย ตั้งแต่ช่วง ๖ โมงเช้า ไปจนถึงราวๆ เที่ยง ... ส่วนผมมาตอน ๘ โมงกว่า น้องผู้สื่อข่าวโต๊ะเซเลปที่เคยมาแล้ว บอกผมว่า พี่ไม่ต้องรีบไปหรอก เช้าๆ ของยังไม่เยอะ ผมก็เลยเชื่อเขา
ถ้าพูดถึงตลาดเช้า ... มโนภาพของผมนึกถึงแหล่งที่มีอาหารทั้งวัตถุดิบ เนื้อ พืช และอาหารปรุงสุก มาเรียงรายแบกะดินหรือตั้งแผงวางขายให้ชาวบ้านแถวนั้นมาจับจ่ายซื้อเอาไปประกอบอาหารหรือรับประทานดำรงชีวิต แบบตลาดตามชุมชนท้องถิ่นในบ้านเรา
แต่ที่นี่คนละแบบเลยครับ เขาทำเป็นแผงลอยตั้งด้วยโครงเหล็กคลุมผ้าใบสีขาวเป็นหลังคาอยู่ ๒ แถว เป็นระเบียบ มีประมาณ ๑๐ กว่าร้านได้ ภายในมีโต๊ะกางวางสินค้าหลากหลาย คนขายส่วนใหญ่ล้วนเป็นรุ่นแม่ รุ่นยาย มาขาย บางร้านนี่มีรูปป้าเจ้าของร้านแปะอยู่หน้าร้านโชว์ไว้ด้วย ซึ่งสินค้าก็จะมีทั้งของสดอย่างผักต่างๆ บางร้านนี้สดขนาดติดโคลนมาเลยทีเดียว และก็ยังมี ดอกไม้ ข้าวสาร ของฝากก็มีแบบพวกผัก ผลไม้ดอง บางร้านมีให้ชิมด้วยนะ คุณป้าก็เชื้อเชิญจัง ผมก็ขัดศรัทธามิได้ ชิมไปหลายสิ่ง
นอกจากนี้ก็มีพวก แป้งโมจิ เมล็ดพันธุ์พืช และของฝากอย่าง ตุ๊กตาสะรุโบะโบะเครื่องรางประจำถิ่น ที่เป็นแบบทั้งผ้าและไม้ โดยรวมตลาดนี้น่าจะเน้นไปทางสินค้าทางการเกษตรมากกว่า ถ้าใครอยากมาหาของกินเล่นแบบผมนี่คงจะแห้วเหมือนกัน และของหลายอย่างราคานี่พอคิดเป็นเงินไทยก็ไม่ใช่ย่อยนะ มีร้านนึงขายแอปเปิ้ลลูกละ ๑๒๐ เยน เห็นราคาก็แอบสะอึกเล็กน้อย ก็เลยหยิบอันที่เขาปอกเอาไว้ให้ชิมลองกินดู ... คำแรกนี่โอ้โห ...มันหวาน กรอบ อร่อยแบบหาไม่ได้ในบ้านเราแฮะ เลยตั้งใจว่า เดี๋ยวพอไปตลาดอีกแห่งค่อยซื้อดีกว่า ... แต่ที่นี่นักท่องเที่ยวต่างชาติ กรุ๊ปทัวร์ก็มาลงเยอะเหมือนกันนะ ได้ยินภาษาไทยอันคุ้นเคยมาจากนักท่องเที่ยวหลายคนอยู่
จากที่ว่าการฯ ผมเดินทะลุย่านลิตเติ้ลเกียวโต ซังมาจิ มุ่งหน้าสู่ตลาดที่ ๒ แถวๆ สะพานคาจิ ที่มีรูปหล่อยักษ์แขนขายาว งวดนี้ผมเดินเข้าอีกซอยหนึ่ง แถวนี้ก็มีบ้านโบราณแต่ไม่มากและคึกคักเท่ากับซอยตรงกลาง ผมเจออะไรแปลกๆ เหมือนซุ้มประตูขนาดใหญ่ดูท่าน่าจะสูงราวๆ ตึกสามชั้น อยู่เนียนรวมกับบ้านหลังอื่น ซึ่งที่นี่ก็คือจุดจอดของรถเกี้ยวที่ใช้ในงานเทศกาลทาคะยะมะ ดูแล้วน่าจะใหญ่โตไม่น้อยเลยแฮะ เสียดายยยยยย ที่ไม่ได้ดูงานแห่
เดินไปจนทะลุถนนใหญ่แล้วก็เลี้ยวซ้ายไปทางสะพานข้ามแม่น้ำ ก็จะเจอกับตลาดที่ชื่อว่า “มิยะงะวะ”( Miyagawa Market) อยู่ริมแม่น้ำมิยะงะวะ ระหว่างสะพานคาจิ กับสะพานยาโยะอิ (Yayoi bashi) ที่นี่มีแผงลอยและร้านค้าราวๆ ๖๐ ร้านเลยทีเดียว ผมไม่แน่ใจนักว่าเปิดขายกันมานานเท่าไหร่แฮะ แต่เท่าที่ดูนี่คึกคักกว่าตรงตลาดจินยะมากๆ รวมทั้งสินค้าก็หลากหลายกว่า ที่สำคัญ มีของกินด้วย!!
เดินสำรวจไปเรื่อยๆ จะพบว่าตลาดนี้เน้นไปทางของฝาก และอาหารปรุงสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากตลาดแรกที่มีแต่ของสด และแน่นอนว่า แอปเปิ้ลที่ผมอยากกินก็ไม่มีขายที่ตลาดนี้ T-T ของส่วนใหญ่ก็มีพวกอาหารแห้ง ของดอง ขนม งานฝีมือของที่ระลึก บางร้านขายต้นไม้ เสื้อคลุมแบบญี่ปุ่น น้ำผึ้งและรังผึ้ง ยาจุดกันยุง เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำด้วยไม้ และงานศิลปะ อย่างการเขียนคำด้วยพู่กันแท่งเบ้อเริ่ม หรือรูปวาดด้วยสี
ส่วนผม ... เน้นมาที่ของกินครับ ... และไม่น่าเชื่อว่า ในที่สุด ผมก็ได้ลิ้มรสกับสิ่งนี้ ... “เนื้อฮิดะย่างย่างย่างย่างย่าง” ... (ใส่แอคโค่เหมือนรายการอาหาร) แถวนี้เห็นมีอยู่ ๒ ร้าน ร้านนึงเป็นป้าขายอยู่ในเคาน์เตอร์บาร์ มีภาษาไทยเขียนว่า อร่อยมาก แน่นอนว่า ผมไม่เลือกร้านนี้ครับ ... (กวนนะเรา)
มาชิมอีกร้านนึงที่มีลุงใส่ชุดเหมือนพ่อครัว ยืนปิ้งเนื้ออยู่ข้างทาง และที่สำคัญคือ ถูกมาก ไม้ละ ๔๐๐ เยน!! เพียงแค่สั่งแกก็บรรจงเอาเนื้อโรยพริกไทย และเกลือมาย่างบนเตาแก๊ส (เสียดายถ้าเป็นถ่านคงหอมอร่อยมาก) ย่างไปเรื่อยๆ จนสุกก็เสิร์ฟบนจานให้ยืนทาน กัดไปคำแรกนี่อื้อหือ ทั้งนุ่ม เหนียวกำลังดี เค็มนิดๆ จนอยากจะตะโกนว่าอร่อยยยยย แต่ก็กลัวเขาฟังไม่รู้เรื่อง เนื้อข้างในมันยังไม่สุกมาก แต่ก็อร่อยจนอยากจะซื้ออีก ... แต่ติดที่เงินในกระเป๋ามันไม่สนองเนี่ยล่ะ ฮ่าๆๆ
อีกร้านหนึ่งที่ผมเจอแล้วน่าสนใจจนต้องเสียตังค์ซื้อคือ ขนมญี่ปุ่น ที่ดูผลิตภัณฑ์แล้วลักษณะขนมทรงลูกเต๋าเหมือนเต้าส้อของบ้านเราเลยแฮะ บนป้ายในกรอบรูปเขียนภาษาอังกฤษว่า “โอะวะระ ทามะเท็ง” (Owara Tamaten) ไม่แน่ใจว่าหมายถึงชื่อขนมหรือชื่อร้าน ไอ้เจ้าขนมชนิดนี้ตามความเข้าใจของผม มันคือไข่ขาวนำไปตีให้ฟูแล้ว ตัดให้เป็นก้อนลูกเต๋า แต้มจุดด้วยน้ำวุ้นน้ำเชื่อม แล้วชุบในหม้อที่มีไข่แดงผสมกับเหล้าสาเกหวาน นำมาจี่บนกระทะให้เหลือง ดูยุ่งยากไม่น้อยเลยนะ
เขาขายก้อนละ ๑๐๐ เยน ก็ราวๆ ๓๒ บาท เป็นกล่องก็มี แต่สำหรับผมลองแค่ก้อนเดียวพอล่ะครับ ได้มาแบบอุ่นๆ พอกัดไปคำแรกนี่มันยวบลงไปเลยครับ ข้างในที่นึกว่าจะหนากลับนุ่ม เบา มีรสไข่ขาวชัด ตามมาด้วยรสหวานน้ำตาล มันก็แปลกดี
จากตลาดริมแม่น้ำมิยะงะวะ ผมเดินกลับมาที่ เจ ฮอปเปอร์ ฮิดะ ทาคะยะมะ เกสต์เฮาส์ เพื่อเอากระเป๋าสัมภาระแบกใส่หลังเดินทางต่อไปยังจุดหมายใหม่ จากที่พักนี่ก็ไม่ไกลจากสถานีรถไฟทาคะยะมะนัก ออกกำลังขาก้าวแป๊บเดียวก็ถึง พบคนมารอต่อคิวขึ้นรถไฟขบวนต่อไปกันเพียบเลยแฮะ พอรถไฟมาก็ได้เวลาโบกมือลามืออันเงียบสงบเมืองนี้เสียแล้ว ...
บ๊ายบาย ทาคะยะมะ
ขบวนที่ผมขึ้นคือรถสายด่วนพิเศษฮิดะ ไวด์ วิว มุ่งหน้าสู่ จ.โทะยะมะ กว่ารถจะออกนี่ก็ชุลมุนเหมือนกัน ทั้งผู้โดยสารที่เยอะ และผมเองก็ต้องยอมย้ายที่นั่ง ตามคำขอของครอบครัวฝรั่งกับลูกน้อยวัยไม่เกิน ๒ ขวบ จริงๆ บ้านนี้กับผมนี่เจอกันมาตั้งแต่ชิระคะวะโกะ แล้วครับ งวดนั้นแกโดนคนขับรถเรียกเก็บค่าโดยสารย้อนหลังตอนกลับมาถึงขนส่ง แล้วพอเห็นผมเดินลงมาแล้วชูพาสคล้ายๆ กัน ก็เลยสงสัยว่า ทำไมผมจึงไม่ต้องเสียค่าโดยสารเพิ่ม ผมก็เลยอธิบายบอกคุณใช้บัตรเบ่งคนละชนิดกัน เจอาร์ พาส ปกติไม่ครอบคลุมกับรถคันนี้ หลังจากนั้นมาผมก็เจอกันอีกที่ร้านอาหารปิ้งย่าง ที่ผมไม่ได้กิน และสุดท้ายก็ตอนนี้
เผอิญผมได้ที่นั่งติดริมหน้าต่าง แล้วมีที่ว่างอยู่ คุณสามีพร้อมหนูน้อยก็มานั่ง ส่วนเมียนั่งอีกที่นึง ทีนี้เขาก็เลยมาขอให้ผมเปลี่ยนที่นั่งกับเมียเขา ผมก็โอเค ไม่มีปัญหา เลยย้ายไป ทั้งคู่ก็ขอบคุณกันใหญ่ ก็น่าดีใจอยู่ ... แต่คนแม่งมองกันทั้งขบวนเลยครับ
พอนั่งได้สักพักก็มีเจ้าหน้าที่รถไฟไล่เดินตรวจตั๋วโดยสาร และทำการตรวจช่องวางสัมภาระเหนือหัวพร้อมเขียนอะไรบางอย่าง เดาเอาว่า น่าจะระบุไว้ว่าตรงนี้มีคนนี้นั่ง วางสิ่งนี้ไว้ เวลาลืมจะได้ตามคืนได้ หรือถ้ามีปัญหาก็ยังพอรู้เบาะแสว่าของใคร
ผมนั่งติดริมทางเดิน ผู้โดยสารข้างๆ เป็นชายวัยใกล้เกษียณ แต่งตัวภูมิฐาน นั่งไปสักพักแกเริ่มคุยกับผมแฮะ!! สรุปได้ใจความว่า แกเป็นวิศวกรระดับอาวุโส อยู่ที่นาโกย่า วันนี้วันหยุด เลยนั่งรถไฟมาเที่ยวที่ จ.โทะยะมะ มีจุดมุ่งหมายคือ ... กินซูชิ!! เฮ้ย ผมถึงกับตกใจ ลุงโหดมาก นั่งรถไฟมาตั้งไกลเพื่อกินซูชิ ลุงบอกมันสดและอร่อยมาก ลุงถามผมเรื่องอาชีพ ซึ่งแน่นอนว่า ผมมักจะบอกแค่เป็นพนักงานออฟฟิศตัวน้อย แกถามเรื่องวันหยุด เมืองไทย และอื่นๆ ก่อนจะมาเฉลยว่า ที่แกคุยกับเราเพราะ แกอยากฝึกฝนการใช้ภาษาครับ ... อยู่ในที่ทำงานไม่มีใครคุยอังกฤษกับแกเลย ... เออ... ดีแฮะ เวลาผมอยู่กรุงเทพฯ ผมก็ชอบคุยบอกทางชาวต่างชาติด้วยภาษาง่อยๆ เพื่อฝึกฝนเหมือนกัน
แม้จะไม่ได้อยู่ติดกระจกเพื่อดูวิว ไม่ได้แอบงีบเพราะลุงมัวแต่ชวนคุย แต่มันก็ดีเหมือนกันที่มีคนคุย แลกเปลี่ยนความรู้กัน บางทีมันก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ... ถ้ามีคนมาร่วมทางด้วยมันก็คงจะสนุกไม่น้อย ... แต่... พอมาคิดอีกที ด้วยสันดานแบบนี้ ไปคนเดียวน่าจะดีกว่า ฮ่าๆๆ ไม่นานนักรถไฟก็พามาถึง จ.โทะยะมะ ผมกล่าวอำลาลุงแล้วแยกย้ายกันไปตามเส้นทาง ส่วนผมก็เดินทางไปขึ้นรถไฟอีกขบวน แต่ไม่ใช่รถไฟธรรมดา เพราะมันคือรถไฟความเร็วสูง หรือว่า “ชินคังเซ็ง”
นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมเลยนะครับ!!
ซึ่งสายนี้คือ “โฮะคุริคุ ชินคังเซ็ง” (Hokuriku Shinkansen) วิ่งจากกรุงโตเกียว ไปสุดสายที่ เมืองคานะซะวะ (Kanazawa) จ.อิชิกะวะ (Ishikawa) เดิมทีสายนี้เรียกว่า นากะโนะ ชินคังเซ็ง (Nagano Shinkansen) เพราะวิ่งไปถึงแค่ จ.นากะโนะ ต่อมาบริษัทการรถไฟเจอาร์ ก็ได้ก่อสร้างเชื่อมต่อไปถึง จ.อิชิกะวะ และเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมานี่เอง ก็เลยเปลี่ยนชื่อสายใหม่ ใช้รถรุ่น E7 ๑๒ ตู้ วิ่งจากโตเกียว – คานะซะวะ โดยเส้นทางนี้กำลังก่อสร้างไปจนถึง จ.ฟุคุอิ (Fukui) และมีแผนที่จะไปเชื่อมต่อกับสถานีชินโอซาก้าด้วย
ตู้โดยสารของรถไฟแบ่งเป็นแบบแกรนคลาส กรีน คาร์ และตู้ธรรมดา ที่สำคัญคือบัตรเบ่งทาคะยะมะ โฮคุริคุ พาส ของผมสามารถใช้ขึ้นฟรีได้ด้วย แต่ก็ขึ้นได้เพียงแค่จากสถานีไปสุดที่คานะซะวะ เท่านั้น เอาน่ะ แม้ระยะทางจะสั้นแต่อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเคยขึ้นชินคังเซ็งแล้วล่ะโว้ยยยยยยยยย
ส่วนภายในตัวรถก็คล้ายกับรถทั่วไป มีที่นั่ง ๒ ฝั่งแบ่งเป็น ๓ ที่นั่งกับที่นั่งคู่ (นึกภาพรถบขส.แดง อารมณ์แบบนั้น) แต่ผังหน้าต่างดูคล้ายกับวัสดุบนเครื่องบินเลยแฮะ พอรถเคลื่อนออกด้วยความเร็วเฉลี่ย ๒๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงนี่ แทบไม่รู้สึกอะไรเลยครับ ... ชิลๆ สบายๆ ประมาณ ๒๐ นาทีก็ถึงที่หมาย
แล้วผมมาทำไมที่คานะซะวะ? ... เอาจริงๆ นะ พอพูดชื่อนี้ขึ้นมา สิ่งแรกที่นึกถึงคือชื่อของ นางเอกภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่เมื่อสักราวๆ ๑๕ ปี ที่แล้ว นามว่า บุนโกะ คานะซะวะ แต่ผมไม่ได้มาตามหาเธอนะครับ ที่นี่ก็เป็นอีก ๑ เมืองทางผ่านที่ผมใช้เชื่อมต่อไปยังจุดหมายปลายทางของวันนื้ ด้วยความที่งกใช้บัตรเบ่งจะได้ไม่ต้องเสียเงินค่าโดยสารเพิ่ม ก็เลยต้องเสียเวลาไปทั้งวันกับการเดินทาง แต่มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นครับ อย่างน้อยเราก็ได้แวะมาที่เมืองนี้ เพื่อหาอะไรกินไง
“คานะซะวะ” น่าจะเป็นอำเภอเมืองของ จ.อิชิกะวะ เป็นเมืองนึงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรของชาวนา ที่เรียกว่า คางะ อิคกิ (Kaga ikki) ในสมัยราวๆ พ.ศ. ๒๐๓๑ ก่อนถูกไดเมียวโนบุนะงะ โอะดะปราบปราม และถูกปกครองโดยตระกูลมาเอะดะ (Maeda) ในรุ่นลูกของ โทะชิอิเอะ มาเอะดะ (Maeda Toshiie) ไดเมียวคนสำคัญ กลายเป็นเมืองที่เจริญทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเวลาต่อมา นอกจากนี้ คานะซะวะยังถือเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองที่รอดพ้นจากการถูกสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดถล่มในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วย
รถไฟจอดเทียบท่าชานชาลาที่ “สถานีเจอาร์ คานะซะวะ” ผมเดินออกมาสู่ภายนอก เห็นได้ว่าที่นี่โอ่อ่า และดูทันสมัยมาก ตามข้อมูลบอกว่า เพิ่งปรับปรุงเสร็จใหม่ๆ เมื่อปีที่แล้ว เพื่อรองรับการมาของรถไฟความเร็วสูง โดยมีโดมแก้วเรียกว่า โมะเทะนะชิ (Motenashi Dome) หมายความว่า ยินดีต้อนรับ ส่วนประตูทางเข้าทิศตะวันออก ก็มีซุ้มประตูไม้ขนาดใหญ่ ที่ชื่อ “สึสุมิ มง” (Tsuzumi mon) แทนสัญลักษณ์ของกลองพื้นบ้านญี่ปุ่น สึสุมิ (tsuzumi) ซุ้มนี้สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๘ ที่ไฮโซกว่านั้นก็คือ ด้านนอกมีนาฬิกาน้ำพุ ปรับเปลี่ยนกระแสน้ำเป็นตัวเลขบอกเวลาด้วย ... ว้าววววววววว
ไหนๆ มาเมืองนี้ก็ขอแวะพักเดินเล่นสัก ๒ - ๓ ชั่วโมงแล้วกันนะ มาถึงเวลาบ่ายๆ แบบนี้ต้องหาอะไรกิน ไปตลาดกันดีกว่าครับ ซึ่งเป้าหมายของผมอยู่ที่ “ตลาดโอมิโจะ” (Omicho Ichiba) ตลาดสดไม่ไกลจากสถานีรถไฟ ราวๆ ๑ กิโลเมตร คนส่วนใหญ่จะนั่งรถเมล์ไป แต่ผมไม่! ขอเดินดีกว่า ออกกำลังกายแก้เมื่อยหลังจากนั่งรถไฟมานาน พลางแบกเป้หนักกว่า ๘ กิโลไว้บนหลังกระเตงไปด้วย ให้ดูเท่เหมือนนักท่องเที่ยวแบ๊คแพค (แต่หน้าตาคุณดรงค์ นี่ออกแนวโฮมเลสมากกว่านะ)
เดินไปเรื่อยๆ ดูบ้านเมืองเขาค่อนข้างดูทันสมัย มีรถเมล์ รถยนต์วิ่งมากมาย ต่างจากเมืองทาคะยะมะเหมือนหลุดมาคนละที่เลย ไม่นานก็ถึงแยกไฟแดงฝั่งตรงข้ามตลาดที่ค่อนข้างสังเกตยากว่า นั่นใช่ทางเข้าตลาดมั้ย ดูเหมือนอาคาร สถานที่อะไรสักอย่างที่ไม่มีความบ่งบอกว่าเป็นตลาดเลย จนต้องถามคนท้องถิ่นว่าเนี่ยใช่หรือไม่ โชคดีที่เด็กสาววัยมัธยมเป็นผู้ตอบ ถึงแม้จะงงๆ ในการสื่อสาร (ถามอังกฤษ ตอบอังกฤษปนญี่ปุ่น) แต่สุดท้ายก็กลายเป็นน้องๆ ที่พาเราข้ามไปยังหน้าตลาด ... (ลืมขอถ่ายรูปมา T-T)
ตลาดสดแห่งนี้เขาว่าใหญ่ที่สุดในเมือง ตั้งแต่ยุคเอะโดะ ช่วง พ.ศ.๒๒๓๓ – ๒๒๖๔ ก่อนจะถูกไฟไหม้ในคราวที่เกิดอัคคีภัยใหญ่ ต่อมาในปี ๒๔๔๗ ก็ได้มีการสร้างตลาดสดขึ้นอีกครั้งบนที่นี้ โดยมีเป้าหมายสร้างให้เป็นครัวแห่งเมืองคานะซะวะ ปัจจุบันก็ยังคงเป็นแหล่งค้าอาหารทะเลที่คึกคัก โดยเฉพาะช่วงเช้าจะมีผู้มาจับจ่ายซื้อสินค้ากันจำนวนมาก มีร้านค้าตั้งในบริเวณนี้มากกว่า ๒๐๐ ร้าน เห็นว่ามี ๒ ชั้น ชั้นบนน่าจะเป็นพวกร้านอาหารพอดีไม่ได้ขึ้นไปดู และสิ่งที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็คือ ปูซูไว หรือปูหิมะตัวใหญ่มีขายกันเพียบไปหมด
นอกจากเนื้อสัตว์ ผัก และ ผลไม้ ก็ยังมีพวกดอกไม้ เครื่องครัว และเสื้อผ้าขายด้วย และที่นี่ก็ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมด้วย นักท่องเที่ยวมักมาหาอาหารกลางวันทานกัน ซึ่งร้านขายอาหารสดบางร้านก็เอาเก้าอี้มาวางตั้งให้ลูกค้าได้นั่งกินกันหน้าแผงเลย เช่น ไข่หอยเม่นสดๆ จากตัวหอยเม่น และแน่นอนว่า ที่นี่ย่อมมีร้านอาหารเด็ดๆ อยู่ด้วย ร้านแรกที่รุ่นน้องผมผู้มาอาศัยเมืองนี้ศึกษาต่อแนะนำก็คือ ร้านโมริ โมริ ซูชิ น้องบอกแพงนิดนึงแต่อร่อยมาก น่าเสียดายที่ผมไม่ได้ลอง เพราะเห็นคนต่อคิวยาวเหยียดแล้วนึกท้อ เลยแว่บไปดูอีกร้านที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
ร้านนี้มีชื่อว่า “ยามะซัง ซูชิ” (yamasan sushi) เปิดขายอยู่ในตลาดแห่งนี้มายาวนานกว่า ๖๐ ปี มีเมนูที่เห็นแล้วต้องอึ้งอย่าง “ข้าวหน้าทะเล” หรือ “ไคเซ็ง ดงบุริ” (Kaisen donburi) เป็นอาหารขึ้นชื่อของร้าน และแน่นอนว่า นี่คืออาหารกลางวันของผมครับ ...
หน้าร้านมีแบบจำลองอาหารวางโชว์อยู่ในตู้ให้ได้ดูว่าขายอะไร ระหว่างที่ผมไปถึงก็มีคนมาต่อคิวอยู่พอสมควร ตอนแรกว่าจะถอดใจ แต่ไหนๆ ก็มาแล้ว ยืนรอสักหน่อยดีกว่า ... ไปๆ มาๆ ไม่หน่อยล่ะครับ ปาเข้าไปตั้ง ๔๐ นาทีถึงได้คิวเข้าร้าน ภายในมีห้องแบบญี่ปุ่นสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่ม ส่วนถ้ามาเดี่ยวหรือคู่ ก็จะได้นั่งหน้าบาร์ เข้าทางผมเลยล่ะ จะได้เห็นเวลาพ่อครัวเขาทำ ทำกันยังไง ข้างหน้าที่นั่งผมเป็นคุณตากำลังยืนปั้นข้าว หั่นปลาอยู่ ดูกันเพลินเลย และผมก็สั่งเมนูยอดฮิตนั้นไป
ไม่นานนักอาหารสุดอลังการก็ถูกเสิร์ฟวางที่โต๊ะ เห็นครั้งแรกนี่แบบ เฮ้ย จะกินหมดมั้ยเนี่ย มันคือข้าวหน้าปลาและสัตว์ทะเลต่างๆ ประมาณ ๑๘ ชนิด แบบล้นถ้วยทรงกลม ประดับตกแต่งมาแบบสวยจนแทบไม่กล้ากิน เท่าที่ดูนี่มีกล้ามปูซูไว กุ้งหวาน ไข่ปลาแซลมอนที่แปะมาด้วยทองคำเปลว ไข่หอยเม่น หอยเชลล์โฮะตะเตะ ปลาหมึก แซลมอน กระพง ทูน่า ปลาไหลย่าง และปลาอื่นๆ หั่นมาเนื้อชิ้นค่อนข้างหนาเลยครับ แม้แต่มีเพียงแค่อย่างละชิ้น แต่ความฟินนี่ อื้อหือ .... อร่อยมากๆ โดยเฉพาะไข่หอยเม่น รสมันๆ อร่อยจริงๆ ไข่แซลมอนก็ไม่ได้เค็มและเลี่ยนแบบบางร้านในบ้านเรา
แต่แน่นอน วัตถุดิบแบบนี้ราคาก็คงไม่ถูกเท่าไหร่นัก ชามนี้ ๒,๗๐๐ เยน ก็เกือบ ๙๐๐ บาท!!! เป็นมื้อที่แพงที่สุดเท่าที่เคยเที่ยวมา ... ก็ยอมล่ะครับครั้งหนึ่งในชีวิต
อิ่มจากข้าวหน้าปลาก็ได้เวลาออกเที่ยวต่อ ดูจากนาฬิกามีเวลา ๑ ชั่วโมง ทำอะไรได้บ้าง? ผมเลือกที่จะเดินไป “ปราสาท คานะซะวะ” (Kanazawa jo) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของเมือง ดูจากแผนคงไม่น่าจะไกลมาก แต่เอาเข้าจริง ผมคิดผิดครับ มันไม่ใช่ว่าไกลแต่ทางเดินนั้นเป็นเนินเขาทำให้กินเวลาไปพอสมควรกว่าจะถึงสวนสาธารณะรอบปราสาท ยังครับ ยังไม่ถึง ต้องเดินไปอีกประมาณ ๒๐๐ เมตร จนถึงทางเข้าข้างหน้า
พอดูเวลา โอ้... เหลืออีก ๓๐ นาที ถ้าเข้าไปนี่คงกลับไม่ทันรถไฟแน่ๆ เลยได้แต่ยืนมองอยู่ทางเข้า ก่อนเดินจากลาอย่างเร่งรีบ กลับมาที่ตลาดโอมิโจะ หารถเมล์ไปยังสถานีเจอาร์ คานะซะวะ ซึ่งก็ไม่ได้ยากอะไร เสียค่าโดยสาร ๒๐๐ เยน ยืนไม่นานก็ถึง แล้วก็พลางนึกเสียดาย ...
เสียดายว่า ทำไมเราจึงไม่เลือกพักที่เมืองนี้สักคืนหรือเที่ยวเต็มๆ สักวันนะ เราอาจจะได้เที่ยวปราสาทคานะซะวะอย่างเต็มอิ่ม อาจได้ไปชมวัดนินจาเมียวริว (Myoryu ji) สวนเค็งโระ คุเอ็ง (Kenro kuen) ศาลเจ้าโอะมิยะ (Oyama Jinja) วัด และย่านเก่าๆ รวมทั้งอาหารอร่อยๆ อีกหลายๆ ร้าน ... เสียดายจริงๆ
ไว้ถ้ามีโอกาสมาแถวนี้อีกครั้ง ค่อยว่ากันนะ ... เมืองคานะซะวะ
อ่านต่อฉบับหน้า...
*หมายเหตุ*สาเหตุที่ฉบับนี้ใช้ชื่อภูมิภาคเป็นหัวข้อแทนชื่อจังหวัด เนื่องจากมีการเดินทางหลายพื้นที่ จึงเขียนว่า "จุบุ" ภาคกลางของญี่ปุ่นแทน
ข้อมูลบางส่วน : https://www.jreast.co.jp/e/routemaps/hokurikushinkansen.html
http://www.kanazawa-tourism.com/thai/guide/guide1_3.php?no=1
http://www.yamasan-susi.com/