ความเดิมตอนที่แล้ว อ่าน
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ : สถานีขนส่งรถโดยสารทาคะยะมะ โนฮิ (Takayama Nohi bus center)
จุดหมายที่เราจะไปในวันนี้ก็คือ “หมู่บ้านมรดกโลก ชิระคะวะ” (Shirakawa go) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองทาคะยะมะ ราวๆ เกือบ ๕๐ กิโลเมตรได้ แต่ก่อนไปเราต้องมารอรถที่นี่ครับ ๐๙.๕๐ น. คือกำหนดเวลาที่รถโดยสารจะออกจากท่า นั่นทำให้ผมต้องรีบมาที่สถานีขนส่ง แต่หัววัน ส่วนหนึ่งก็เพราะกลัวตกรถ ประเทศนี้เขาค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องความตรงต่อเวลาอย่างมาก ถ้ามาสายไปแค่นาทีเดียวก็จบเลย
แต่อันที่จริงก็คือ กลัวมันจะมีปัญหากับบัตรผ่านที่เราถืออยู่ ถ้าจำกันได้ ผมได้แลกพาสทาคะยะมะ โฮคุริคุ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางขึ้นรถไฟไปท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม (เพราะจ่ายไปหมดแล้ว) และไอ้พาสเนี่ย มันก็ยังสามารถพาเรานั่งรถโดยสารสายนี้ไปยังหมู่บ้านชิระคะวะ ได้อีกด้วย ซึ่งปกติแล้ว ถ้าไม่ได้ใช้พาสเราต้องเสียค่าโดยสารไปกลับเป็นจำนวนถึง ๔,๔๒๐ เยนเลยทีเดียว นอกจากนี้พาสมันยังใช้นั่งรถโดยสารโฮคะเท็ทสึ (Hokatetsu) เดินทางจากใจกลางชิระคะวะ โกะ ต่อไปยังหมู่บ้านโกคะยะมะ (Gokayama) มรดกโลกอีกแห่งที่ไม่ไกลกันมากใน จ.โทยะมะ และไปสู่เมืองคานะซะวะ จ.อิชิคะวะ หรือนั่งรถโดยสารสายคาเอ็ทสึโนะ (Kaetsuno) ไปยังสถานีรถไฟชิน ทาคะโอกะ (Shin Takaoka) จ.โทยะมะ ได้อีกด้วย
ก็เลยต้องรีบมาเพื่อเข้าไปถามประชาสัมพันธ์ของทางบริษัทเดินรถ โนฮิ ว่าบัตรเบ่งนี้ใช้ยังไง เขาก็บอกว่า แค่คุณไปยืนรอที่ท่ารถก่อนเวลาที่กำหนด พอรถมาคุณก็ขึ้นไปได้ทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ไม่สามารถสำรองที่นั่งได้และไม่สามารถใช้กับรอบรถโดยสารที่มีการสำรองที่นั่งได้ พูดง่ายๆ ก็คือวัดดวงกันหน้างานนั่นล่ะครับ
พอถามไถ่เสร็จก็เดินออกไปเตร็ดเตร่ หาน้ำและนั่งกินขนม (เล่าไปแล้ว) จนจวนใกล้เวลาก็เดินกลับมายังท่ารถหมายเลข ๔ ที่จอดของรถบัสสายชิระคะวะ แต่ทว่า .... คนมายืนรอกันเยอะมาก!! จนหางแถวนี่เกือบสุดความยาวของตัวอาคารสถานีเลยทีเดียว มีทั้งชาวญี่ปุ่น และชาวต่างชาติ พวกจีน ฝรั่ง นี่ก็เพียบ รอคอยรถกันสลอน จนผมเริ่มคิดในใจว่า ... เฮ้ย คนเยอะขนาดนี้ หรือกูจะได้ไปรอบหน้า ๑๐.๕๐ น.วะ ... ชักใจไม่ดีแต่ก็ยังยืนรอ อย่างน้อยก็มีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกหลายราย รอไปจนกระทั่งเวลานัดหมายรถบัสก็มาจอดตามกำหนด ... แน่นอนว่า ผมไม่ได้ขึ้นคันนี้ครับ รถเต็มจริงๆ ด้วย แต่สักพักเจ้าหน้าที่เขาก็เปิดทางบอกให้เราเดินไปขึ้นรถอีกคันที่ต่อท้ายอยู่ ... เฮ้อ โล่งอก นึกว่าจะไม่ได้ไปซะแล้ว
รถบัสลายสีเขียวคันนี้ก็ดูไม่ต่างกับรถทัวร์บ้านเราเท่าไหร่ มี ๔ แถว นั่งเป็นคู่ ผมเลือกที่นั่งริมหน้าต่าง ชมทัศนียภาพริมทางที่ต้องขึ้นลงเขา ได้เห็นหิมะด้วย โอ้เย้ นี่มันครั้งแรกในชีวิตที่ได้พบกับหิมะจริงๆ ที่ไม่ใช่เมืองหิมะ ในสวนสนุกดรีมเวิร์ลด์ แม้มันจะเริ่มละลายจนไม่สวยงามแล้ว แต่ก็ยังคงความเป็นก้อนน้ำแข็งให้ได้เห็นบ้าง ... ตื่นเต้นจัง ... นั่งไปไม่นานราวๆ ๕๐ นาที รถก็พามาถึงป้ายหมู่บ้านชิระคะวะ ที่หมายของเรา ซึ่งหมู่บ้านชิระคะวะ นี้อยู่ในตำบลโอโนะ (Ono gun) ทางตอนเหนือสุดของ จ.กิฟุ
รถจอดลงตรงหน้าศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวชิระคะวะโกะ (Shirakawa go tourist information center.) ให้เราเดินไปสอบถามหรือขอแผนที่ ซึ่งมีหลายภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย เท่าที่ยืนอยู่ตรงนี้ก็ได้ยินเสียงสำเนียงอันคุ้นเคยคับคล้ายๆ ผู้สนทนาจะเป็นชาวสยามเหมือนกันอยู่ไม่ไกลมาก ... (เราก็เนียนฟังไป แย่จริงๆ)
ซึ่งที่นี่เขาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก” จากองค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เมื่อปี ๒๕๓๘ ในส่วนของ “หมู่บ้านชาวนาสไตล์กัสโช ซุคุริ” (gassho-zukuri) ร่วมกับที่โกคะยะมะด้วย และส่วนที่เรามาถึงนี้อยู่ในพื้นที่ “โองิมะจิ” (Ogimachi) หมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในชิระคะวะ เป็นแหล่งที่มีบ้านสไตล์พนมมืออยู่มากมายหลายหลังให้ได้เดินสำรวจกัน และแน่นอนว่า ต่างจากที่หมู่บ้านพื้นเมืองชาวฮิดะแน่ๆ เพราะหลายๆ หลังยังคงมีคนอาศัยอยู่จริง บ้างก็เป็นร้านอาหาร เกสต์เฮาส์ พิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้า วัด ทุกสิ่งล้วนยังมีการใช้งานจริงทั้งหมด เพียงแต่ไม่มีรั้วกั้นเอาไว้ จึงมีคำเตือนก่อนออกสำรวจว่าไม่ควรเดินเข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะอาจเป็นการรบกวนหรือทำลายทรัพย์สินของชาวบ้านได้
เอาล่ะ ผมมีเวลา ๒ ชั่วโมงนิดๆ !! ในการเดินสำรวจพื้นที่ มาดูกันสิว่า จะได้เข้าสักกี่ที่กันนะ...
ฝั่งตรงข้ามของศูนย์ข้อมูลฯ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ กัสโช ซุคุริ มินคะเอ็ง (Gassho-zukuri Minkaen) พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเสียค่าเข้า ๖๐๐ เยน ดูในแผนที่แล้วคาดว่าคงคล้ายกับที่ผมไปมาเมื่อวานเลยไม่เข้าดีกว่า จึงเดินเข้าสู่หมู่บ้านด้วยการข้ามสะพานเล็กๆ ข้ามแม่น้ำโชคะวะ (Shokawa) ซึ่งตรงฝั่งนี้ก็มีจุดชมวิวให้ได้ถ่ายรูปเล่นด้วย จนสุดทางก็จะพบกับบ้านโบราณหลายๆ หลัง แต่วันนี้มองไปทางไหนก็เจอแต่นักท่องเที่ยวพรึ่บเลยแหะ
อย่างที่บอกไว้ว่า ที่นี่คือหมู่บ้านขนาดใหญ่ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายจุด ในเวลาที่มีอยู่แค่นี้ ผมจึงต้องเลือกไปเฉพาะที่ที่คิดว่าสำคัญ ซึ่งที่แรกก็คือ “วัดเมียวเซน” (Myozen ji) วัดสำคัญของหมู่บ้าน และอยู่ไม่ไกลจากสะพานนี้เท่าไหร่นัก แต่เชื่อมั้ยว่า มองแว่บแรกไม่รู้ว่า ตรงนี้เป็นวัด เห็นหอระฆัง และบ้านโบราณมีลายหน้าจั่วสวยๆ ก็ยังคิดเพลินๆ ไปว่า เออ บ้านนี้สวยดีแหะ แต่พอเดินผ่านไปได้นิดนึง เห็นป้ายหลุมฝังศพ ก็เริ่มเอ๊ะใจ เลยมามองแผนที่ แล้วก็เพ่งมองไปที่บ้านหลังนั้นอีกที อืมม์.. สงสัยจะเลยมาแล้วแหะ เลยต้องเดินย้อนกลับมา
วัดนี้ตามข้อมูลว่าสร้างราวๆ พ.ศ.๒๒๙๑ โดยวิหารหลักที่เห็นนี้เริ่มสร้างเมื่อปี ๒๓๔๙ แล้วเสร็จในปี ๒๓๗๐ ว่ากันว่าใช้ช่างไม้ทั้งหมด ๙,๑๙๑ คนเลยทีเดียว ส่วนประตูทางเข้าที่มีหอระฆังอยู่ด้านบนนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๔ ซึ่งก็มีรายงานว่าใช้คนสร้างถึง ๑,๔๒๕ คน ว่าแต่ .. เข้าในวิหารทางไหนล่ะเนี่ย
ด้านข้างๆ กันมีบ้านหลังใหญ่อยู่ติดกัน ที่นั่นแต่เดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สร้างราวๆ ปี ๒๓๖๐ ต่อมาได้กลายเป็น ”พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดเมียวเซ็น” (Myozenji Kuri kyodokan ) ในปัจจุบัน เสียค่าเข้าชมคนละ ๓๐๐ เยน เวลาเปิด – ปิดในแต่ฤดูไม่เท่ากัน อย่างเดือนมีนาคมนี้ เปิด ๙ โมงเช้า – ๔ โมงเย็น ซึ่งทางเข้านั้น อยู่ตรงกลางอาคารครับ
พอจ่ายค่าเข้าเสร็จ ก็เดินเข้ามา .. สัมผัสแรกคือกลิ่นควันเผาถ่านคลุ้งมาก พลางคิดในใจว่า พี่จะหนาวอะไรขนาดนั้นนะ ทางเดินเขาบังคับให้เดินขึ้นบันอาคาร มีบันไดแคบๆ ขึ้นลงได้แค่คนเดียว เวลาจะขึ้นหรือลงก็ต้องรอกันสักหน่อย ซึ่งภายในนี้มีทั้งหมดราวๆ ๕ ชั้นได้ แต่ละชั้นก็จะมีการจัดแสดงรูปวาดวิถีของชาวบ้าน เช่น การทำนา ตั้งแต่เริ่มดำนา ไปจนสีข้าว และการทำกสิกรรมอื่นๆ พร้อมอุปกรณ์ของจริงวางเรียงรายให้ได้ชม ... สำหรับชาวต่างชาติอย่างผมต้องใช้คำว่า ชม อย่างเดียว เพราะที่เขียนบรรยายไว้ล้วนเป็นภาษาท้องถิ่นทั้งสิ้น ...T-T
ที่ตลกก็คือ ที่นี่เขามีบริการถ่ายรูปฟรีด้วย!! เขาจะมีช่างภาพมาตั้งกล้องรออยู่ที่หน้าต่าง พร้อมเก้าอี้ยาว และพร๊อพประกอบไว้ถ่ายรูปประกอบฉากด้านหลังที่เห็นวิวหมู่บ้านอย่างสวยงาม พอมีนักท่องเที่ยวเดินผ่านแกก็จะชวนให้ถ่ายรูปฟรี!! ห๊ะ!! ฟรี ... คำนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผมต้องถามย้ำอีกครั้งว่า ฟรีจริงหรือ? เขาก็บอกว่า ใช่ ถ่ายภาพฟรีพร้อมได้ภาพที่ระลึกกลับบ้านด้วย เฮ้ย... เอาสิครับ คนงกอย่างผมมีหรือจะพลาด นั่งลงให้เขาถ่ายรูปโดยเร็ว พอลั่นชัตเตอร์เสร็จ เขาก็ให้ไปรอรับภาพ ... อะไรจะใจดีขนาดนั้น ..
พอไปถึงจุดรับภาพ ผมเห็นนักท่องเที่ยวชาวนิฮง ๒ คนกำลังยื่นควักตังค์ด้วย ก็เริ่มรู้สึกแปลกๆ เอ๋... ยังไงหว่า? จนถึงตาเรารับภาพ เขาก็ยื่นรูปให้เรา เป็นรูปถ่ายภาพวิวหมู่บ้าน และวัด ขนาดโปสการ์ด ส่วนรูปเราอยู่ด้านล่างสุดมีขนาดน่าจะเล็กกว่าภาพถ่ายรูปติดบัตรอีก แล้วเขาก็เอารูปเราใบใหญ่มาให้ดูแล้วชี้ไปที่ป้าย มันเขียนไว้ว่า ๕๐๐ เยน!!! เฮ้ย บ้าน่า ตั้ง ๑๕๐ บาทเลยเหรอวะ (ถ้าจำราคาไม่ผิด น่าจะราวๆ นี้ ) ผมยืนงงอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนกล่าวปฏิเสธแล้วรีบเดินจากมา ... ก็พี่เล่นบอกไม่หมดนี่หว่า
เดินขึ้นไปจนถึงชั้นบน มีจุดชมวิวให้ได้ถ่ายรูปบรรยากาศด้านนอก ก็สวยดีครับ
พอชมจนจุใจก็ลงสู่ชั้นล่าง เพื่อเดินทางเข้าสู่วิหารตามทางเชื่อมด้านหลังอาคาร ภายใน แบ่งเป็น ๒ โซน คือห้องโถงขนาดใหญ่ ภาพวาดภิกษุอยู่บนฝาผนัง และส่วนที่เป็นโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป และเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม มีภาพวาดนกอยู่บนบานประตูและมีการแกะสลักไม้ลายสัตว์ในเทพนิยายอยู่ด้านบน ซึ่งกั้นไม่ให้คนภายนอกเข้าไป ในนี้มีการเปิดเทปเสียงสวดมนต์เป็นซาวนด์ประกอบการเยี่ยมชมด้วย แต่เท่าที่สังเกตไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาเลยแหะ
จุดสุดท้ายที่วัดเปิดให้เยี่ยมชมก็คือห้องตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เดาเอาว่าน่าจะเป็นห้องรับรอง เพราะภายในมีเบาะรองนั่ง ล้อมรอบกองไฟที่เพลิงกำลังเผาไหม้ถ่านให้ความร้อนแก่กาต้มน้ำ ที่มาของกลิ่นควันโขมงอยู่นี่เองจ้า ...
วัดนี้รู้สึกผมจะชิลล์เกินไปหน่อย เหลือบดูนาฬิกาใช้เวลาไปตั้งชั่วโมงนึง โอ้คุณพระ เอายังไงดีล่ะเนี่ย เวลามีไม่มากผมจึงต้องเลือกเดินขึ้นไปจุดชมวิวก่อนดีกว่า เพราะมันอยู่ค่อนข้างไกลพอสมควร ระหว่างทางก็เดินผ่านบ้านเก่าหลายๆ หลัง ไร่นา ยุ้งฉาง เจอหิมะก้อนสุดท้ายที่กำลังละลายด้วย อันนี้ดีใจมาก แม้จะดูสกปรก แต่ก็ขอจับสักนิดนึง คนมันไม่เคยนิ
พูดถึงบ้านเก่า ในหมู่บ้านนี้ก็มีบ้านอยู่ ๓ หลังที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม อันได้แก่ บ้านวาดะ (Wada ke) บ้านหลังที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน ซึ่งเจ้าของเคยเป็นผู้นำของหมู่บ้านและเป็น ๑ ในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในละแวกนี้ , บ้าน กันดะ (Kanda ke) ๑ ในบ้านที่คงอนุรักษ์สภาพได้สวยงามที่สุด และ บ้าน นางะเซะ (Nagase ke) เจ้าของบ้านแต่ก่อนเคยเป็นหมอประจำตระกูล มาเอะดะ (Maeda) แห่งปราสาทคานะซะวะ ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่นี่ ซึ่งภายในจะมีเครื่องมือทางการแพทย์ และของขวัญจากตระกูลมาเอะดะ มาให้ได้ชม โดยทั้งหมดต้องเสียค่าเข้าชมหลังละ ๓๐๐ เยนด้วย ...
ก็ไม่รู้จะทันได้เข้าชมสักหลังมั้ยนะ
สภาพอากาศตอนนี้แดดจ้าเหลือเกิน แต่ก็ไม่ได้ร้อนเท่าไหร่เพราะอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ผมเดินมาจนถึงทางขึ้นเป็นทางลาดชันเทปูนอย่างดีจนรถสามารถขึ้นไปได้ (มั้ง) แต่เส้นทางเดินนี้จะปิดไม่ให้ขึ้นในช่วงฤดูหนาว คาดว่าให้ขับรถอ้อมไปอีกด้านแทน พอเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จะเจอจุดชมวิวแรก และเมื่อขึ้นไปด้านบนก็จะถึงจุดชมวิวสูงสุด มีร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ตรงนี้ก็เป็นจุดพักของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน รวมทั้งคนไทยที่ไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวด้วย
ทีนี้ ผมเหลือบไปเห็นในแผนที่บอกว่า แถวนี้เคยมีปราสาทตั้งอยู่ ก็เลยไปถามแม่ค้า เขาก็ชี้บอกทางว่า มันอยู่ตรงจุดชมวิวแรกนั่นล่ะ? ... ใช่ครับ ตรงนี้ถ้าใครไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่ามันมีลานกว้างๆ อยู่ในป่า มีหินก้อนใหญ่ที่ถูกแกะสลักเขียนอักษรญี่ปุ่น และป้ายเหล็กที่ระบุแผนที่ของพื้นที่เอาไว้ นอกจากนั้นก็ยังมีที่ศาลเพียงตาเล็กๆ ถูกปิดล้อมด้วยแผ่นไม้ด้วย ที่นี่เขาว่าแต่ก่อนเคยเป็นที่ตั้งของ "ปราสาทโองิมะจิ" ชื่อเดียวกับหมู่บ้านเนี่ยล่ะ
และตรงนี้ก็มีทางลงไปสู่ด้านล่างด้วยนะ ตอนแรกผมก็เดินโง่ๆ หาอยู่ แล้วเผอิญเห็นกลุ่มเด็กหนุ่มญี่ปุ่นเพิ่งเดินขึ้นมาทำท่าเหนื่อยหอบ ผมเลยเข้าไปถามทาง เขาบอกว่า ก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผมก็เลยตัดสินใจ ... เดินลงไปตามทางนั้น แก๊งนั้นก็มองผมแบบงงๆ เออ ไอ้ลุงคนนี้มันประหลาดดีแท้ แต่เอาเข้าจริงมันก็ไม่ได้โหดอะไรมากหรอกครับ แค่บันไดดินเป็นขั้นๆ ที่ลัดเลาะไล่ระดับลงเขาเอง เพียงแค่มันชัน และไม่ค่อยมีใครเขามากันเท่านั้น
ซึ่งไอ้ทางนี้มันพามาบรรจบที่ตรงถนนใหญ่ และค่อนข้างไกลจากสะพานข้ามแม่น้ำที่จุดจอดรถทัวร์พอสมควร แล้วผมก็เดินถ่ายรูปตามถนนไปสักพัก พลางเหลือบมองนาฬิกา อ้าวเฮ้ย เหลือเวลาไม่ถึง ๑๐ นาทีจะถึงเวลารถออกจากท่าแล้ว!! ซวยแล้วสิครับ จากตรงนี้น่าจะราวเกือบ ๑ กิโลเมตรได้กระมัง ทำไงล่ะ รีบเดินสิครับ เดินสลับวิ่งเหยาะพลางดูนาฬิกาเป็นระยะๆ แบบแทบจะไม่ได้หยุดพักเลย ในสภาพร่างกายที่เหนื่อยล้าจนข้ามสะพานมาถึงท่ารถ ปรากฏว่า เลยเวลานัดหมาย ๑๓.๑๕ น.แถมไม่มีรถจอดอยู่ด้วย
เวรล่ะสิ!! ทำไงดีล่ะ ... ระหว่างนั้นผมก็เห็นมีคนกำลังต่อคิวอยู่ที่ท่ารถ เลยเดินเข้าไปถามพนักงาน เอาพาสยื่นให้เขาดู เขาก็ไล่ให้มาต่อแถว แล้วบอกให้รอสักพัก ผมก็ยอมยืนรอแบบงงๆ ไม่นานนัก รถบัสก็มาจอด พร้อมกับเชิญผู้โดยสารที่ตกค้างจากรถคันก่อนหน้านี้ขึ้นบนรถ โอ้ สวรรค์ ได้กลับแล้ว
จริงๆ ก็น่าเสียดายเหมือนกัน ที่กะเวลาไว้เพียงแค่ ๒ ชั่วโมงนิดๆ ... ซึ่งมันก็อาจจะมากพอสำหรับคนที่ชอบเดินเที่ยวถ่ายรูปเล่น ชมบ้าน ชมวิว ไม่เน้นเข้าสถานที่ต่างๆ แต่ตัวผมกลับรู้สึกผิดที่เผื่อเวลาให้กับที่นี่น้อยเกินไป เลยไม่ได้เข้าชมบ้านที่น่าสนใจสักหลัง T-T และก็คิดขึ้นมาว่า ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะลองนอนค้างเรียวกังในบ้านโบราณ สักคืนก็คงจะดีไม่น้อย ...
ไว้คราวหน้าค่อยว่ากัน
รถโนฮิบัส พาผู้โดยสารกลับมาที่ท่ารถทาคะยะมะ ผมก็หลับๆ ตื่นๆ ไปหลายครั้งเหมือนกัน สงสัยจะเพลีย และก็หิวด้วย แวะหาอะไรกินหน่อยดีกว่า ... ซึ่งมื้อนี้ผมตัดสินใจว่าจะกิน “จุกะ ราเม็ง” (Chuka ramen) บะหมี่แบบจีนที่เขาว่าเป็น ๑ ในอาหารที่ควรลิ้มลองในเมืองนี้ และร้านนี้ “โกะอุริ” (Gouri) คือเป้าหมายของผมครับ ร้านอยู่ในซอยเล็กๆ ตรงข้ามสถานีรถไฟทาคะยะมะ ในเว็บไซต์อาหารของญี่ปุ่นมีคนโหวตให้คะแนนที่นี่เยอะพอสมควร อย่างนี้ต้องลองครับ
ภายในร้านมีโต๊ะ ๓ โต๊ะ กับที่นั่งหน้าบาร์ลวกก๋วยเตี๋ยว มีเจ๊ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของร้านยืนลวกเส้น ส่วนลูกสาววัยประมาณ ม.ต้นทำหน้าที่เสิร์ฟ ... เมนูที่ผมสั่งก็คือราเม็งธรรมดา ๗๐๐ เยน สิ่งที่ได้ก็คือราเม็งชามใหญ่ น้ำซุปสีน้ำตาลเข้ม ใส่ต้นหอมญี่ปุ่นซอย หน่อไม้สดหั่นแนวยาว และหมูชาชู (หมูมัดต้ม) ๑ แผ่น แต่ขนาดใหญ่เหมือนกัน ลองชิมน้ำซุปคำแรกนี่ อื้อหือเลยครับ .... เค็มสุดๆ รสโชยุเข้มข้นมาก ราวกับเทซอสลงไปเลยทีเดียว เส้นบะหมี่คล้ายๆ กับบะหมี่แป้งล้วนบ้านเรา อารมณ์เหมือนไปกินบะหมี่จับกังเลยทีเดียว แต่ที่ต้องยกนิ้วให้เขาคือเนื้อหมู ทั้งขนาดที่ใหญ่และหนา เนื้อก็เหนียวนุ่มเคี้ยวง่าย แต่ก็เค็มครับ กินไปก็พยายามทำความเข้าใจวิถีของเขาไป ...อืมมม์ สงสัยเขาคงติดรสเค็มกันเนอะ ...ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่คุ้นชินเท่าไหร่ สุดท้ายก็ยอมแพ้ เหลือแต่น้ำนองไว้ให้เขาดูต่างหน้า T-T
เมื่อท้องอิ่มก็ได้เวลาออกเดินทาง ซึ่งไอ้สาเหตุที่ผมให้เวลากับที่ชิระคะวะ น้อย ส่วนหนึ่งก็เพราะผมเหลือเวลาเที่ยวอยู่ในทาคะยะมะแค่เพียงวันนี้วันเดียวเท่านั้น เลยต้องสละเวลาที่โน้นเพื่อมารีบกลับมาเก็บในเมืองนี้ให้ได้มากที่สุด
ก็ไม่รู้ว่า จะไปได้สักกี่ที่กันนะ...
อ่านต่อฉบับหน้า...
ข้อมูลบางส่วน : http://shirakawa-go.org/kankou/guide/192/
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ : สถานีขนส่งรถโดยสารทาคะยะมะ โนฮิ (Takayama Nohi bus center)
จุดหมายที่เราจะไปในวันนี้ก็คือ “หมู่บ้านมรดกโลก ชิระคะวะ” (Shirakawa go) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองทาคะยะมะ ราวๆ เกือบ ๕๐ กิโลเมตรได้ แต่ก่อนไปเราต้องมารอรถที่นี่ครับ ๐๙.๕๐ น. คือกำหนดเวลาที่รถโดยสารจะออกจากท่า นั่นทำให้ผมต้องรีบมาที่สถานีขนส่ง แต่หัววัน ส่วนหนึ่งก็เพราะกลัวตกรถ ประเทศนี้เขาค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องความตรงต่อเวลาอย่างมาก ถ้ามาสายไปแค่นาทีเดียวก็จบเลย
แต่อันที่จริงก็คือ กลัวมันจะมีปัญหากับบัตรผ่านที่เราถืออยู่ ถ้าจำกันได้ ผมได้แลกพาสทาคะยะมะ โฮคุริคุ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางขึ้นรถไฟไปท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม (เพราะจ่ายไปหมดแล้ว) และไอ้พาสเนี่ย มันก็ยังสามารถพาเรานั่งรถโดยสารสายนี้ไปยังหมู่บ้านชิระคะวะ ได้อีกด้วย ซึ่งปกติแล้ว ถ้าไม่ได้ใช้พาสเราต้องเสียค่าโดยสารไปกลับเป็นจำนวนถึง ๔,๔๒๐ เยนเลยทีเดียว นอกจากนี้พาสมันยังใช้นั่งรถโดยสารโฮคะเท็ทสึ (Hokatetsu) เดินทางจากใจกลางชิระคะวะ โกะ ต่อไปยังหมู่บ้านโกคะยะมะ (Gokayama) มรดกโลกอีกแห่งที่ไม่ไกลกันมากใน จ.โทยะมะ และไปสู่เมืองคานะซะวะ จ.อิชิคะวะ หรือนั่งรถโดยสารสายคาเอ็ทสึโนะ (Kaetsuno) ไปยังสถานีรถไฟชิน ทาคะโอกะ (Shin Takaoka) จ.โทยะมะ ได้อีกด้วย
ก็เลยต้องรีบมาเพื่อเข้าไปถามประชาสัมพันธ์ของทางบริษัทเดินรถ โนฮิ ว่าบัตรเบ่งนี้ใช้ยังไง เขาก็บอกว่า แค่คุณไปยืนรอที่ท่ารถก่อนเวลาที่กำหนด พอรถมาคุณก็ขึ้นไปได้ทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ไม่สามารถสำรองที่นั่งได้และไม่สามารถใช้กับรอบรถโดยสารที่มีการสำรองที่นั่งได้ พูดง่ายๆ ก็คือวัดดวงกันหน้างานนั่นล่ะครับ
พอถามไถ่เสร็จก็เดินออกไปเตร็ดเตร่ หาน้ำและนั่งกินขนม (เล่าไปแล้ว) จนจวนใกล้เวลาก็เดินกลับมายังท่ารถหมายเลข ๔ ที่จอดของรถบัสสายชิระคะวะ แต่ทว่า .... คนมายืนรอกันเยอะมาก!! จนหางแถวนี่เกือบสุดความยาวของตัวอาคารสถานีเลยทีเดียว มีทั้งชาวญี่ปุ่น และชาวต่างชาติ พวกจีน ฝรั่ง นี่ก็เพียบ รอคอยรถกันสลอน จนผมเริ่มคิดในใจว่า ... เฮ้ย คนเยอะขนาดนี้ หรือกูจะได้ไปรอบหน้า ๑๐.๕๐ น.วะ ... ชักใจไม่ดีแต่ก็ยังยืนรอ อย่างน้อยก็มีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกหลายราย รอไปจนกระทั่งเวลานัดหมายรถบัสก็มาจอดตามกำหนด ... แน่นอนว่า ผมไม่ได้ขึ้นคันนี้ครับ รถเต็มจริงๆ ด้วย แต่สักพักเจ้าหน้าที่เขาก็เปิดทางบอกให้เราเดินไปขึ้นรถอีกคันที่ต่อท้ายอยู่ ... เฮ้อ โล่งอก นึกว่าจะไม่ได้ไปซะแล้ว
รถบัสลายสีเขียวคันนี้ก็ดูไม่ต่างกับรถทัวร์บ้านเราเท่าไหร่ มี ๔ แถว นั่งเป็นคู่ ผมเลือกที่นั่งริมหน้าต่าง ชมทัศนียภาพริมทางที่ต้องขึ้นลงเขา ได้เห็นหิมะด้วย โอ้เย้ นี่มันครั้งแรกในชีวิตที่ได้พบกับหิมะจริงๆ ที่ไม่ใช่เมืองหิมะ ในสวนสนุกดรีมเวิร์ลด์ แม้มันจะเริ่มละลายจนไม่สวยงามแล้ว แต่ก็ยังคงความเป็นก้อนน้ำแข็งให้ได้เห็นบ้าง ... ตื่นเต้นจัง ... นั่งไปไม่นานราวๆ ๕๐ นาที รถก็พามาถึงป้ายหมู่บ้านชิระคะวะ ที่หมายของเรา ซึ่งหมู่บ้านชิระคะวะ นี้อยู่ในตำบลโอโนะ (Ono gun) ทางตอนเหนือสุดของ จ.กิฟุ
รถจอดลงตรงหน้าศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวชิระคะวะโกะ (Shirakawa go tourist information center.) ให้เราเดินไปสอบถามหรือขอแผนที่ ซึ่งมีหลายภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย เท่าที่ยืนอยู่ตรงนี้ก็ได้ยินเสียงสำเนียงอันคุ้นเคยคับคล้ายๆ ผู้สนทนาจะเป็นชาวสยามเหมือนกันอยู่ไม่ไกลมาก ... (เราก็เนียนฟังไป แย่จริงๆ)
ซึ่งที่นี่เขาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก” จากองค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เมื่อปี ๒๕๓๘ ในส่วนของ “หมู่บ้านชาวนาสไตล์กัสโช ซุคุริ” (gassho-zukuri) ร่วมกับที่โกคะยะมะด้วย และส่วนที่เรามาถึงนี้อยู่ในพื้นที่ “โองิมะจิ” (Ogimachi) หมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในชิระคะวะ เป็นแหล่งที่มีบ้านสไตล์พนมมืออยู่มากมายหลายหลังให้ได้เดินสำรวจกัน และแน่นอนว่า ต่างจากที่หมู่บ้านพื้นเมืองชาวฮิดะแน่ๆ เพราะหลายๆ หลังยังคงมีคนอาศัยอยู่จริง บ้างก็เป็นร้านอาหาร เกสต์เฮาส์ พิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้า วัด ทุกสิ่งล้วนยังมีการใช้งานจริงทั้งหมด เพียงแต่ไม่มีรั้วกั้นเอาไว้ จึงมีคำเตือนก่อนออกสำรวจว่าไม่ควรเดินเข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะอาจเป็นการรบกวนหรือทำลายทรัพย์สินของชาวบ้านได้
เอาล่ะ ผมมีเวลา ๒ ชั่วโมงนิดๆ !! ในการเดินสำรวจพื้นที่ มาดูกันสิว่า จะได้เข้าสักกี่ที่กันนะ...
ฝั่งตรงข้ามของศูนย์ข้อมูลฯ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ กัสโช ซุคุริ มินคะเอ็ง (Gassho-zukuri Minkaen) พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเสียค่าเข้า ๖๐๐ เยน ดูในแผนที่แล้วคาดว่าคงคล้ายกับที่ผมไปมาเมื่อวานเลยไม่เข้าดีกว่า จึงเดินเข้าสู่หมู่บ้านด้วยการข้ามสะพานเล็กๆ ข้ามแม่น้ำโชคะวะ (Shokawa) ซึ่งตรงฝั่งนี้ก็มีจุดชมวิวให้ได้ถ่ายรูปเล่นด้วย จนสุดทางก็จะพบกับบ้านโบราณหลายๆ หลัง แต่วันนี้มองไปทางไหนก็เจอแต่นักท่องเที่ยวพรึ่บเลยแหะ
อย่างที่บอกไว้ว่า ที่นี่คือหมู่บ้านขนาดใหญ่ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายจุด ในเวลาที่มีอยู่แค่นี้ ผมจึงต้องเลือกไปเฉพาะที่ที่คิดว่าสำคัญ ซึ่งที่แรกก็คือ “วัดเมียวเซน” (Myozen ji) วัดสำคัญของหมู่บ้าน และอยู่ไม่ไกลจากสะพานนี้เท่าไหร่นัก แต่เชื่อมั้ยว่า มองแว่บแรกไม่รู้ว่า ตรงนี้เป็นวัด เห็นหอระฆัง และบ้านโบราณมีลายหน้าจั่วสวยๆ ก็ยังคิดเพลินๆ ไปว่า เออ บ้านนี้สวยดีแหะ แต่พอเดินผ่านไปได้นิดนึง เห็นป้ายหลุมฝังศพ ก็เริ่มเอ๊ะใจ เลยมามองแผนที่ แล้วก็เพ่งมองไปที่บ้านหลังนั้นอีกที อืมม์.. สงสัยจะเลยมาแล้วแหะ เลยต้องเดินย้อนกลับมา
วัดนี้ตามข้อมูลว่าสร้างราวๆ พ.ศ.๒๒๙๑ โดยวิหารหลักที่เห็นนี้เริ่มสร้างเมื่อปี ๒๓๔๙ แล้วเสร็จในปี ๒๓๗๐ ว่ากันว่าใช้ช่างไม้ทั้งหมด ๙,๑๙๑ คนเลยทีเดียว ส่วนประตูทางเข้าที่มีหอระฆังอยู่ด้านบนนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๔ ซึ่งก็มีรายงานว่าใช้คนสร้างถึง ๑,๔๒๕ คน ว่าแต่ .. เข้าในวิหารทางไหนล่ะเนี่ย
ด้านข้างๆ กันมีบ้านหลังใหญ่อยู่ติดกัน ที่นั่นแต่เดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สร้างราวๆ ปี ๒๓๖๐ ต่อมาได้กลายเป็น ”พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดเมียวเซ็น” (Myozenji Kuri kyodokan ) ในปัจจุบัน เสียค่าเข้าชมคนละ ๓๐๐ เยน เวลาเปิด – ปิดในแต่ฤดูไม่เท่ากัน อย่างเดือนมีนาคมนี้ เปิด ๙ โมงเช้า – ๔ โมงเย็น ซึ่งทางเข้านั้น อยู่ตรงกลางอาคารครับ
พอจ่ายค่าเข้าเสร็จ ก็เดินเข้ามา .. สัมผัสแรกคือกลิ่นควันเผาถ่านคลุ้งมาก พลางคิดในใจว่า พี่จะหนาวอะไรขนาดนั้นนะ ทางเดินเขาบังคับให้เดินขึ้นบันอาคาร มีบันไดแคบๆ ขึ้นลงได้แค่คนเดียว เวลาจะขึ้นหรือลงก็ต้องรอกันสักหน่อย ซึ่งภายในนี้มีทั้งหมดราวๆ ๕ ชั้นได้ แต่ละชั้นก็จะมีการจัดแสดงรูปวาดวิถีของชาวบ้าน เช่น การทำนา ตั้งแต่เริ่มดำนา ไปจนสีข้าว และการทำกสิกรรมอื่นๆ พร้อมอุปกรณ์ของจริงวางเรียงรายให้ได้ชม ... สำหรับชาวต่างชาติอย่างผมต้องใช้คำว่า ชม อย่างเดียว เพราะที่เขียนบรรยายไว้ล้วนเป็นภาษาท้องถิ่นทั้งสิ้น ...T-T
ที่ตลกก็คือ ที่นี่เขามีบริการถ่ายรูปฟรีด้วย!! เขาจะมีช่างภาพมาตั้งกล้องรออยู่ที่หน้าต่าง พร้อมเก้าอี้ยาว และพร๊อพประกอบไว้ถ่ายรูปประกอบฉากด้านหลังที่เห็นวิวหมู่บ้านอย่างสวยงาม พอมีนักท่องเที่ยวเดินผ่านแกก็จะชวนให้ถ่ายรูปฟรี!! ห๊ะ!! ฟรี ... คำนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผมต้องถามย้ำอีกครั้งว่า ฟรีจริงหรือ? เขาก็บอกว่า ใช่ ถ่ายภาพฟรีพร้อมได้ภาพที่ระลึกกลับบ้านด้วย เฮ้ย... เอาสิครับ คนงกอย่างผมมีหรือจะพลาด นั่งลงให้เขาถ่ายรูปโดยเร็ว พอลั่นชัตเตอร์เสร็จ เขาก็ให้ไปรอรับภาพ ... อะไรจะใจดีขนาดนั้น ..
พอไปถึงจุดรับภาพ ผมเห็นนักท่องเที่ยวชาวนิฮง ๒ คนกำลังยื่นควักตังค์ด้วย ก็เริ่มรู้สึกแปลกๆ เอ๋... ยังไงหว่า? จนถึงตาเรารับภาพ เขาก็ยื่นรูปให้เรา เป็นรูปถ่ายภาพวิวหมู่บ้าน และวัด ขนาดโปสการ์ด ส่วนรูปเราอยู่ด้านล่างสุดมีขนาดน่าจะเล็กกว่าภาพถ่ายรูปติดบัตรอีก แล้วเขาก็เอารูปเราใบใหญ่มาให้ดูแล้วชี้ไปที่ป้าย มันเขียนไว้ว่า ๕๐๐ เยน!!! เฮ้ย บ้าน่า ตั้ง ๑๕๐ บาทเลยเหรอวะ (ถ้าจำราคาไม่ผิด น่าจะราวๆ นี้ ) ผมยืนงงอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนกล่าวปฏิเสธแล้วรีบเดินจากมา ... ก็พี่เล่นบอกไม่หมดนี่หว่า
เดินขึ้นไปจนถึงชั้นบน มีจุดชมวิวให้ได้ถ่ายรูปบรรยากาศด้านนอก ก็สวยดีครับ
พอชมจนจุใจก็ลงสู่ชั้นล่าง เพื่อเดินทางเข้าสู่วิหารตามทางเชื่อมด้านหลังอาคาร ภายใน แบ่งเป็น ๒ โซน คือห้องโถงขนาดใหญ่ ภาพวาดภิกษุอยู่บนฝาผนัง และส่วนที่เป็นโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป และเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม มีภาพวาดนกอยู่บนบานประตูและมีการแกะสลักไม้ลายสัตว์ในเทพนิยายอยู่ด้านบน ซึ่งกั้นไม่ให้คนภายนอกเข้าไป ในนี้มีการเปิดเทปเสียงสวดมนต์เป็นซาวนด์ประกอบการเยี่ยมชมด้วย แต่เท่าที่สังเกตไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาเลยแหะ
จุดสุดท้ายที่วัดเปิดให้เยี่ยมชมก็คือห้องตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เดาเอาว่าน่าจะเป็นห้องรับรอง เพราะภายในมีเบาะรองนั่ง ล้อมรอบกองไฟที่เพลิงกำลังเผาไหม้ถ่านให้ความร้อนแก่กาต้มน้ำ ที่มาของกลิ่นควันโขมงอยู่นี่เองจ้า ...
วัดนี้รู้สึกผมจะชิลล์เกินไปหน่อย เหลือบดูนาฬิกาใช้เวลาไปตั้งชั่วโมงนึง โอ้คุณพระ เอายังไงดีล่ะเนี่ย เวลามีไม่มากผมจึงต้องเลือกเดินขึ้นไปจุดชมวิวก่อนดีกว่า เพราะมันอยู่ค่อนข้างไกลพอสมควร ระหว่างทางก็เดินผ่านบ้านเก่าหลายๆ หลัง ไร่นา ยุ้งฉาง เจอหิมะก้อนสุดท้ายที่กำลังละลายด้วย อันนี้ดีใจมาก แม้จะดูสกปรก แต่ก็ขอจับสักนิดนึง คนมันไม่เคยนิ
พูดถึงบ้านเก่า ในหมู่บ้านนี้ก็มีบ้านอยู่ ๓ หลังที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม อันได้แก่ บ้านวาดะ (Wada ke) บ้านหลังที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน ซึ่งเจ้าของเคยเป็นผู้นำของหมู่บ้านและเป็น ๑ ในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในละแวกนี้ , บ้าน กันดะ (Kanda ke) ๑ ในบ้านที่คงอนุรักษ์สภาพได้สวยงามที่สุด และ บ้าน นางะเซะ (Nagase ke) เจ้าของบ้านแต่ก่อนเคยเป็นหมอประจำตระกูล มาเอะดะ (Maeda) แห่งปราสาทคานะซะวะ ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่นี่ ซึ่งภายในจะมีเครื่องมือทางการแพทย์ และของขวัญจากตระกูลมาเอะดะ มาให้ได้ชม โดยทั้งหมดต้องเสียค่าเข้าชมหลังละ ๓๐๐ เยนด้วย ...
ก็ไม่รู้จะทันได้เข้าชมสักหลังมั้ยนะ
สภาพอากาศตอนนี้แดดจ้าเหลือเกิน แต่ก็ไม่ได้ร้อนเท่าไหร่เพราะอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ผมเดินมาจนถึงทางขึ้นเป็นทางลาดชันเทปูนอย่างดีจนรถสามารถขึ้นไปได้ (มั้ง) แต่เส้นทางเดินนี้จะปิดไม่ให้ขึ้นในช่วงฤดูหนาว คาดว่าให้ขับรถอ้อมไปอีกด้านแทน พอเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จะเจอจุดชมวิวแรก และเมื่อขึ้นไปด้านบนก็จะถึงจุดชมวิวสูงสุด มีร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ตรงนี้ก็เป็นจุดพักของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน รวมทั้งคนไทยที่ไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวด้วย
ทีนี้ ผมเหลือบไปเห็นในแผนที่บอกว่า แถวนี้เคยมีปราสาทตั้งอยู่ ก็เลยไปถามแม่ค้า เขาก็ชี้บอกทางว่า มันอยู่ตรงจุดชมวิวแรกนั่นล่ะ? ... ใช่ครับ ตรงนี้ถ้าใครไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่ามันมีลานกว้างๆ อยู่ในป่า มีหินก้อนใหญ่ที่ถูกแกะสลักเขียนอักษรญี่ปุ่น และป้ายเหล็กที่ระบุแผนที่ของพื้นที่เอาไว้ นอกจากนั้นก็ยังมีที่ศาลเพียงตาเล็กๆ ถูกปิดล้อมด้วยแผ่นไม้ด้วย ที่นี่เขาว่าแต่ก่อนเคยเป็นที่ตั้งของ "ปราสาทโองิมะจิ" ชื่อเดียวกับหมู่บ้านเนี่ยล่ะ
และตรงนี้ก็มีทางลงไปสู่ด้านล่างด้วยนะ ตอนแรกผมก็เดินโง่ๆ หาอยู่ แล้วเผอิญเห็นกลุ่มเด็กหนุ่มญี่ปุ่นเพิ่งเดินขึ้นมาทำท่าเหนื่อยหอบ ผมเลยเข้าไปถามทาง เขาบอกว่า ก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผมก็เลยตัดสินใจ ... เดินลงไปตามทางนั้น แก๊งนั้นก็มองผมแบบงงๆ เออ ไอ้ลุงคนนี้มันประหลาดดีแท้ แต่เอาเข้าจริงมันก็ไม่ได้โหดอะไรมากหรอกครับ แค่บันไดดินเป็นขั้นๆ ที่ลัดเลาะไล่ระดับลงเขาเอง เพียงแค่มันชัน และไม่ค่อยมีใครเขามากันเท่านั้น
ซึ่งไอ้ทางนี้มันพามาบรรจบที่ตรงถนนใหญ่ และค่อนข้างไกลจากสะพานข้ามแม่น้ำที่จุดจอดรถทัวร์พอสมควร แล้วผมก็เดินถ่ายรูปตามถนนไปสักพัก พลางเหลือบมองนาฬิกา อ้าวเฮ้ย เหลือเวลาไม่ถึง ๑๐ นาทีจะถึงเวลารถออกจากท่าแล้ว!! ซวยแล้วสิครับ จากตรงนี้น่าจะราวเกือบ ๑ กิโลเมตรได้กระมัง ทำไงล่ะ รีบเดินสิครับ เดินสลับวิ่งเหยาะพลางดูนาฬิกาเป็นระยะๆ แบบแทบจะไม่ได้หยุดพักเลย ในสภาพร่างกายที่เหนื่อยล้าจนข้ามสะพานมาถึงท่ารถ ปรากฏว่า เลยเวลานัดหมาย ๑๓.๑๕ น.แถมไม่มีรถจอดอยู่ด้วย
เวรล่ะสิ!! ทำไงดีล่ะ ... ระหว่างนั้นผมก็เห็นมีคนกำลังต่อคิวอยู่ที่ท่ารถ เลยเดินเข้าไปถามพนักงาน เอาพาสยื่นให้เขาดู เขาก็ไล่ให้มาต่อแถว แล้วบอกให้รอสักพัก ผมก็ยอมยืนรอแบบงงๆ ไม่นานนัก รถบัสก็มาจอด พร้อมกับเชิญผู้โดยสารที่ตกค้างจากรถคันก่อนหน้านี้ขึ้นบนรถ โอ้ สวรรค์ ได้กลับแล้ว
จริงๆ ก็น่าเสียดายเหมือนกัน ที่กะเวลาไว้เพียงแค่ ๒ ชั่วโมงนิดๆ ... ซึ่งมันก็อาจจะมากพอสำหรับคนที่ชอบเดินเที่ยวถ่ายรูปเล่น ชมบ้าน ชมวิว ไม่เน้นเข้าสถานที่ต่างๆ แต่ตัวผมกลับรู้สึกผิดที่เผื่อเวลาให้กับที่นี่น้อยเกินไป เลยไม่ได้เข้าชมบ้านที่น่าสนใจสักหลัง T-T และก็คิดขึ้นมาว่า ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะลองนอนค้างเรียวกังในบ้านโบราณ สักคืนก็คงจะดีไม่น้อย ...
ไว้คราวหน้าค่อยว่ากัน
รถโนฮิบัส พาผู้โดยสารกลับมาที่ท่ารถทาคะยะมะ ผมก็หลับๆ ตื่นๆ ไปหลายครั้งเหมือนกัน สงสัยจะเพลีย และก็หิวด้วย แวะหาอะไรกินหน่อยดีกว่า ... ซึ่งมื้อนี้ผมตัดสินใจว่าจะกิน “จุกะ ราเม็ง” (Chuka ramen) บะหมี่แบบจีนที่เขาว่าเป็น ๑ ในอาหารที่ควรลิ้มลองในเมืองนี้ และร้านนี้ “โกะอุริ” (Gouri) คือเป้าหมายของผมครับ ร้านอยู่ในซอยเล็กๆ ตรงข้ามสถานีรถไฟทาคะยะมะ ในเว็บไซต์อาหารของญี่ปุ่นมีคนโหวตให้คะแนนที่นี่เยอะพอสมควร อย่างนี้ต้องลองครับ
ภายในร้านมีโต๊ะ ๓ โต๊ะ กับที่นั่งหน้าบาร์ลวกก๋วยเตี๋ยว มีเจ๊ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของร้านยืนลวกเส้น ส่วนลูกสาววัยประมาณ ม.ต้นทำหน้าที่เสิร์ฟ ... เมนูที่ผมสั่งก็คือราเม็งธรรมดา ๗๐๐ เยน สิ่งที่ได้ก็คือราเม็งชามใหญ่ น้ำซุปสีน้ำตาลเข้ม ใส่ต้นหอมญี่ปุ่นซอย หน่อไม้สดหั่นแนวยาว และหมูชาชู (หมูมัดต้ม) ๑ แผ่น แต่ขนาดใหญ่เหมือนกัน ลองชิมน้ำซุปคำแรกนี่ อื้อหือเลยครับ .... เค็มสุดๆ รสโชยุเข้มข้นมาก ราวกับเทซอสลงไปเลยทีเดียว เส้นบะหมี่คล้ายๆ กับบะหมี่แป้งล้วนบ้านเรา อารมณ์เหมือนไปกินบะหมี่จับกังเลยทีเดียว แต่ที่ต้องยกนิ้วให้เขาคือเนื้อหมู ทั้งขนาดที่ใหญ่และหนา เนื้อก็เหนียวนุ่มเคี้ยวง่าย แต่ก็เค็มครับ กินไปก็พยายามทำความเข้าใจวิถีของเขาไป ...อืมมม์ สงสัยเขาคงติดรสเค็มกันเนอะ ...ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่คุ้นชินเท่าไหร่ สุดท้ายก็ยอมแพ้ เหลือแต่น้ำนองไว้ให้เขาดูต่างหน้า T-T
เมื่อท้องอิ่มก็ได้เวลาออกเดินทาง ซึ่งไอ้สาเหตุที่ผมให้เวลากับที่ชิระคะวะ น้อย ส่วนหนึ่งก็เพราะผมเหลือเวลาเที่ยวอยู่ในทาคะยะมะแค่เพียงวันนี้วันเดียวเท่านั้น เลยต้องสละเวลาที่โน้นเพื่อมารีบกลับมาเก็บในเมืองนี้ให้ได้มากที่สุด
ก็ไม่รู้ว่า จะไปได้สักกี่ที่กันนะ...
อ่านต่อฉบับหน้า...
ข้อมูลบางส่วน : http://shirakawa-go.org/kankou/guide/192/