คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดที่อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้เริ่มทำงานกันแล้ว ด้วยความรวดเร็ว มีการเรียกบุคคลและองค์กรต่างๆ ไปให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และสิ่งที่อยากให้มีให้เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ก็เห็นควรต้องรีบกันจริงๆ นั่นแหละ เนื่องจากท่าทีของทุกฝ่ายนั้น ต้องการจะร่นโรดแมปเข้ามาอีกให้เร็วขึ้น เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งได้ไม่ล่าช้าเกินไป
แต่หากจะปล่อยให้เลือกตั้งไปทั้งๆ ที่ปัญหาต่างๆ ของระบบการเมืองเดิมไม่ได้รับการแก้ไข ก็ออกจะทำให้การปฏิรูปรอบนี้ “เสียของ” ไปได้
ส่วนการจะให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป ในทางปฏิบัติและในด้านการยอมรับในสังคมโลกนั้นก็ค่อนข้างจะมีปัญหาอยู่นั่นเอง
เช่นนี้ โจทก์ก็คือจะทำอย่างไรให้ “การเมืองใหม่” หลังการเลือกตั้งนี้ เป็นการเมืองที่ดี แก้ปัญหาสภาพเดิมๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา
คือพูดง่ายๆ ว่า ทำอย่างไรให้ “ระบอบทักษิณ” หมดไปจากพื้นพิภพการเมืองไทย
ระบอบทักษิณที่ไม่ใช่ตัวบุคคล แต่หมายถึงการผูกขาดอำนาจไว้โดยเด็ดขาด ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง แต่รูปแบบและกระบวนการอื่นๆ นั้นห่างไกลจากคำว่าประชาธิปไตย อันมีความหมายว่าการปกครองโดยมีประชาชนเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองตัวเอง
แต่เป็นระบอบที่ใช้แบบพิธีในการเลือกตั้ง สถาปนาความชอบธรรม บริหารประเทศในรูปแบบบริษัทครอบครัว มีการส่งคนในครอบครัว ญาติพี่น้องร่วมตระกูล หรือคนในบังคับบัญชาที่สั่งได้เข้าไปในองคาพยพต่างๆ ในเครือข่ายอำนาจรัฐ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐย่อมล้มเหลว เพราะผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบของพวกเขานั้นจะถูกขวางทางไม่ให้เข้าไปสู่องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมถึงให้คนของตัวเองเข้าไปอยู่ในองค์กรต่างๆ เหล่านั้นจนเต็มไปหมด
ผู้ที่ยังจดจำบรรยากาศทางการเมืองก่อนการรัฐประหารในปี 2549 คงนึกออกว่าในยุคดังกล่าวนั้นมี “ตำรวจ” เข้าไปยึดครองตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระและองค์กรตรวจสอบเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่งานบางงานไม่ใช่งานที่ตำรวจน่าจะมีความรู้ความสามารถแต่อย่างใด
เมื่อระบบการตรวจสอบอ่อนแอด้วยวิธีการดังกล่าว ก็เปิดช่องให้มีการหาประโยชน์มาแบ่งกัน แก้ไขระเบียบกติกาต่างๆ ให้เอื้อต่อกลุ่มธุรกิจของตัวเอง
แล้วจึงเจียดจ่ายเงินปันผลให้ประชาชนผ่านกลไกนโยบายแบบประชานิยม แลก แจก แถม เพื่อให้ได้คะแนนเสียงมาสร้าง “ความชอบธรรม” ผ่านการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยเงินภาษีของพวกเขาเอง
เช่นนี้จึงเหนือกว่าการซื้อเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวมาก เพราะเป็นการซื้อแบบเบ็ดเสร็จ ซื้อด้วยการสถาปนาโครงสร้างที่ตัวเองได้เปรียบสุดๆ ดังนั้นยิ่งอยู่ในระบบ ยิ่งมีการเลือกตั้ง ระบอบนี้ก็จะยิ่งเข้มแข็ง จนไม่อาจเอาชนะได้
ที่สำคัญยังสามารถอ้างความเป็น “ประชาธิปไตย” จากรูปแบบดังกล่าวได้ด้วย
นี่จึงเป็น “โจทย์เก่า” ที่รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องแก้ไข โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล คือในทางหลักการแล้ว คงเขียนรัฐธรรมนูญกำหนดว่า บุคคลชื่อนี้นามสกุลนี้ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ห้ามเป็นนายกฯ เช่นนี้ไม่ได้แน่
แต่รัฐธรรมนูญสามารถ “ห้าม” การก่อร่างสร้างอำนาจด้วยวิธีการรูปแบบนี้ได้
โดยมี “แนวทาง” หรือไกด์ไลน์ จากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่วางกรอบไว้แล้วในมาตรา 35 รวม 10 ประการคือ
(1) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
(2) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
(3) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
(4) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
(5) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(6) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
(7) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
(8) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า และตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(9) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
(10) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่างๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือ “โจทย์” ของรัฐธรรมนูญใหม่ ที่อาจารย์มีชัยเป็นประธานร่างฯ ซึ่งล่าสุดนี้ ท่านประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ได้แสดงความเห็นแย้มออกมาแล้วว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เคยถูกศาลตัดสินแล้วว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ไม่ควรมีสิทธิเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีก
โดยท่านยกตัวอย่างว่า ข้าราชการตัวเล็กๆ ไปโกงข้อสอบยังถูกห้ามไม่ให้เป็นข้าราชการตลอดชีวิต นักศึกษาที่โกงการสอบก็ไม่มีทางได้เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ แล้วทำไมคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ถ้าผิดต่อหน้าที่กลับบอกว่า 5 ปีผ่านไปแล้ว จะให้กลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเดิมที่เคยทำผิดไว้ได้อีก ดูช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย
นอกจากนี้ในการรับฟังความคิดเห็นจากทาง ป.ป.ช.ก็มีข้อเสนอว่า จะให้ ป.ป.ช.มีกลไกกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง 5 ปี สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วย
น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเรื่องการทุจริตนี้ น่าจะออกมาน่าติดตามแน่ๆ
และแน่นอนว่าฝ่ายที่จะดิ้นแรงที่สุด คือบรรดา “โจทก์” เก่า ที่จริงๆ เป็นจำเลยในคดีทุจริตต่างๆ นั่นเอง
ว่าจะมีการสวมรอยต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในอนาคตนี้แน่ๆ โดยอาจจะอ้างเรื่องอื่น เช่น อ้างว่าบทบัญญัตินั้นมาตรานี้ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจ ทั้งที่จริงๆ มาตราที่กลัวที่สุด น่าจะเป็นมาตราที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามรวมถึงการตัดโอกาสการทุจริตนี่แหละ
ซึ่งก็ต้องอาศัยความเก๋าเกมของตัวท่านประธาน และกรรมการท่านอื่นว่า จะสามารถเขียนรัฐธรรมนูญให้ออกมาแบบ “เถียงไม่ออก” ได้อย่างไร.
ก็เห็นควรต้องรีบกันจริงๆ นั่นแหละ เนื่องจากท่าทีของทุกฝ่ายนั้น ต้องการจะร่นโรดแมปเข้ามาอีกให้เร็วขึ้น เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งได้ไม่ล่าช้าเกินไป
แต่หากจะปล่อยให้เลือกตั้งไปทั้งๆ ที่ปัญหาต่างๆ ของระบบการเมืองเดิมไม่ได้รับการแก้ไข ก็ออกจะทำให้การปฏิรูปรอบนี้ “เสียของ” ไปได้
ส่วนการจะให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป ในทางปฏิบัติและในด้านการยอมรับในสังคมโลกนั้นก็ค่อนข้างจะมีปัญหาอยู่นั่นเอง
เช่นนี้ โจทก์ก็คือจะทำอย่างไรให้ “การเมืองใหม่” หลังการเลือกตั้งนี้ เป็นการเมืองที่ดี แก้ปัญหาสภาพเดิมๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา
คือพูดง่ายๆ ว่า ทำอย่างไรให้ “ระบอบทักษิณ” หมดไปจากพื้นพิภพการเมืองไทย
ระบอบทักษิณที่ไม่ใช่ตัวบุคคล แต่หมายถึงการผูกขาดอำนาจไว้โดยเด็ดขาด ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง แต่รูปแบบและกระบวนการอื่นๆ นั้นห่างไกลจากคำว่าประชาธิปไตย อันมีความหมายว่าการปกครองโดยมีประชาชนเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองตัวเอง
แต่เป็นระบอบที่ใช้แบบพิธีในการเลือกตั้ง สถาปนาความชอบธรรม บริหารประเทศในรูปแบบบริษัทครอบครัว มีการส่งคนในครอบครัว ญาติพี่น้องร่วมตระกูล หรือคนในบังคับบัญชาที่สั่งได้เข้าไปในองคาพยพต่างๆ ในเครือข่ายอำนาจรัฐ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐย่อมล้มเหลว เพราะผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบของพวกเขานั้นจะถูกขวางทางไม่ให้เข้าไปสู่องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมถึงให้คนของตัวเองเข้าไปอยู่ในองค์กรต่างๆ เหล่านั้นจนเต็มไปหมด
ผู้ที่ยังจดจำบรรยากาศทางการเมืองก่อนการรัฐประหารในปี 2549 คงนึกออกว่าในยุคดังกล่าวนั้นมี “ตำรวจ” เข้าไปยึดครองตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระและองค์กรตรวจสอบเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่งานบางงานไม่ใช่งานที่ตำรวจน่าจะมีความรู้ความสามารถแต่อย่างใด
เมื่อระบบการตรวจสอบอ่อนแอด้วยวิธีการดังกล่าว ก็เปิดช่องให้มีการหาประโยชน์มาแบ่งกัน แก้ไขระเบียบกติกาต่างๆ ให้เอื้อต่อกลุ่มธุรกิจของตัวเอง
แล้วจึงเจียดจ่ายเงินปันผลให้ประชาชนผ่านกลไกนโยบายแบบประชานิยม แลก แจก แถม เพื่อให้ได้คะแนนเสียงมาสร้าง “ความชอบธรรม” ผ่านการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยเงินภาษีของพวกเขาเอง
เช่นนี้จึงเหนือกว่าการซื้อเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวมาก เพราะเป็นการซื้อแบบเบ็ดเสร็จ ซื้อด้วยการสถาปนาโครงสร้างที่ตัวเองได้เปรียบสุดๆ ดังนั้นยิ่งอยู่ในระบบ ยิ่งมีการเลือกตั้ง ระบอบนี้ก็จะยิ่งเข้มแข็ง จนไม่อาจเอาชนะได้
ที่สำคัญยังสามารถอ้างความเป็น “ประชาธิปไตย” จากรูปแบบดังกล่าวได้ด้วย
นี่จึงเป็น “โจทย์เก่า” ที่รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องแก้ไข โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล คือในทางหลักการแล้ว คงเขียนรัฐธรรมนูญกำหนดว่า บุคคลชื่อนี้นามสกุลนี้ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ห้ามเป็นนายกฯ เช่นนี้ไม่ได้แน่
แต่รัฐธรรมนูญสามารถ “ห้าม” การก่อร่างสร้างอำนาจด้วยวิธีการรูปแบบนี้ได้
โดยมี “แนวทาง” หรือไกด์ไลน์ จากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่วางกรอบไว้แล้วในมาตรา 35 รวม 10 ประการคือ
(1) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
(2) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
(3) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
(4) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
(5) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(6) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
(7) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
(8) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า และตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(9) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
(10) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่างๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือ “โจทย์” ของรัฐธรรมนูญใหม่ ที่อาจารย์มีชัยเป็นประธานร่างฯ ซึ่งล่าสุดนี้ ท่านประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ได้แสดงความเห็นแย้มออกมาแล้วว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เคยถูกศาลตัดสินแล้วว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ไม่ควรมีสิทธิเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีก
โดยท่านยกตัวอย่างว่า ข้าราชการตัวเล็กๆ ไปโกงข้อสอบยังถูกห้ามไม่ให้เป็นข้าราชการตลอดชีวิต นักศึกษาที่โกงการสอบก็ไม่มีทางได้เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ แล้วทำไมคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ถ้าผิดต่อหน้าที่กลับบอกว่า 5 ปีผ่านไปแล้ว จะให้กลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเดิมที่เคยทำผิดไว้ได้อีก ดูช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย
นอกจากนี้ในการรับฟังความคิดเห็นจากทาง ป.ป.ช.ก็มีข้อเสนอว่า จะให้ ป.ป.ช.มีกลไกกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง 5 ปี สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วย
น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเรื่องการทุจริตนี้ น่าจะออกมาน่าติดตามแน่ๆ
และแน่นอนว่าฝ่ายที่จะดิ้นแรงที่สุด คือบรรดา “โจทก์” เก่า ที่จริงๆ เป็นจำเลยในคดีทุจริตต่างๆ นั่นเอง
ว่าจะมีการสวมรอยต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในอนาคตนี้แน่ๆ โดยอาจจะอ้างเรื่องอื่น เช่น อ้างว่าบทบัญญัตินั้นมาตรานี้ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจ ทั้งที่จริงๆ มาตราที่กลัวที่สุด น่าจะเป็นมาตราที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามรวมถึงการตัดโอกาสการทุจริตนี่แหละ
ซึ่งก็ต้องอาศัยความเก๋าเกมของตัวท่านประธาน และกรรมการท่านอื่นว่า จะสามารถเขียนรัฐธรรมนูญให้ออกมาแบบ “เถียงไม่ออก” ได้อย่างไร.