เช้าของวันที่6 สิงหาคม ปี 2488 เมื่อ 70 ปีก่อน เมืองฮิโรชิมา ทั่วเมืองลุกเป็นไฟ เพลิงและรังสีกัมมันตภาพ ทำลายชีวิตผู้คนล้มตายศพเกลื่อนเป็นใบไม้ร่วง ในวันนั้นมีผู้เสียชีวิตทันทีถึง 74,000 คนด้วยแรงระเบิดมีความร้อนสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส ซึ่งมากพอทำให้เหล็กหลอมละลายได้ และมีผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมารวมราว 140,000 คนเลยทีเดียว
สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ โดยเครื่องบินทูตมรณะหมายเลข 82 มีนักบินชื่อพอล ทิบเบ็ตส์ทิ้งระเบิดบี-29 อีโนลาเกรย์ และระเบิดปรมาณูลูกแรกรหัสลิตเติลบอย ที่ฮิโรชิมา ในเวลา 8.15น. ตามเวลาท้องถิ่ง หรือถ้าเป็นเวลาที่ประเทศไทยก็คือ 6.15น.ก่อนที่ลูกที่สองจะถูกทิ้งในสามวันต่อมาคือวันที่ 9 ส.ค. ที่นางาซากิ มีคนตายอีกราว 70,000 คน
ระเบิดนิวเคลียร์ส่งผลทำลาย 1 ใน 3 ของเมืองทันที และมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนในวินาทีที่ระเบิดนิวเคลียร์ตกถึงพื้น นอกจากนี้รังสีนิวเคลียร์ยังคร่าชีวิตชาวนางาซากิเป็นจำนวนมากในเวลาต่อเนื่องมาอีกหลายสิบปี คนที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีตายเพิ่มขึ้นรวม 400,000 คน ยังมีคนแก่ที่บาดเจ็บพิการและยังเจ็บป่วยต่อเนื่องในโรงพยาบาล เพราะพิษระเบิด
ทั้งวันที่ 6 และวันที่ 9 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันครบรอบที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ เป็นวันที่มนุษย์จะต้องจดจำไว้ถึงความโหดร้าย ความทุกข์ทรมานบาดแผลใหญ่ บาดแผลหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ให้บทเรียนสำคัญให้โลกตระหนักมหันตภัยของอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องสันติภาพ
ระเบิดปรมาณูพัฒนาต่อยอดมาจากผลการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกอย่างไอน์สไตน์
ในฐานะนักฟิสิกส์ผู้ปราดเปรื่อง ได้รับรางวัลโนเบล เขาพลิกโลกด้วยการค้นพบอันยิ่งใหญ่สมการ E=mc² อันโด่งดัง แม้เขาจะไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยโดยตรง แต่ในบั้นปลายชีวิตเขาต้องปวดร้าวจาก “ระเบิดนิวเคลียร์” ที่ทำลายล้างชีวิตมนุษย์
ไอน์สไตน์ลี้ภัยนาซีออกจากเยอรมนีไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีข่าวว่าเยอรมนีกำลังพัฒนาระเบิดปรมาณู ไอน์สไตน์กลัวว่าเยอรมนีจะพัฒนาระเบิดปรมาณูได้ก่อนจึงทำจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เสนอให้ศึกษาการพัฒนาระเบิดปรมาณู และบอกถึงคุณประโยชน์ของแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงได้ด้วยปฏิกิริยาแบบลูกโซ่
อเมริกาพัฒนาระเปิดปรมาณู ภายใต้แผนปฏิบัติการชื่อโครงการแมนฮัตตัน ในปี 2483 ไอน์สไตน์ได้ปฏิเสธที่จะร่วมในองค์กรพัฒนาระเบิดปรมาณู ในที่สุดการพัฒนาระเบิดก็ทำได้สำเร็จ และนำมาทิ้งที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
ว่ากันว่า เมื่อไอน์สไตน์รู้ข่าวการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่น ผู้คนต้องตายไปจำนวนมหาศาล เขาถึงกับเอามือกุมศีรษะ และอุทานอย่างสลดใจว่า "โธ่? ไม่น่าเลย" ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ผมไม่ได้คิดว่าผมเป็นคนริเริ่มในการนำพลังงานนิวเคลียร์ออกมาใช้ ผมเพียงแต่มีส่วนในทางอ้อมเท่านั้น อันที่จริงผมคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่า การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้จะเกิดในยุคของผม”
แต่การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ของมหาอำนาจกลับเดินไปในทิศทางตรงข้าม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี 1945 ฝ่ายอักษะเยอรมนีและญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม โลกเข้าสู่ภาวะสงครามเย็น (Cold War) ภายใต้การแข่งขันระหว่างสองอภิมหาอำนาจ ที่แบ่งเป็นค่ายโลกเสรีมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายโลกคอมมิวนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียติเป็นผู้นำ และ มีการแข่งขันกันสร้างสมอาวุธนิวเคลียร์อย่างดุเดือด
ตลอดชีวิตไอน์สไตน์ต่อสู้เพื่อสันติภาพ ไอน์สไตน์ได้ลงนามในสัญญาที่ขอให้ยุติการใช้ระเบิดปรมาณู และให้หันมาใช้ปรมาณูเพื่อสันติแทน เขาได้รณรงค์ให้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ให้มาก ก่อนเสียชีวิตเขาได้ร่วมลงนามในคำประกาศของ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ใน ค.ศ. 1955เรื่องให้ยุติการใช้ระเบิดนี้เพื่อการสงคราม วิงวอนชนชาติทั้งหลายให้ยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยกันเอง
ไอน์สไตน์คิดว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสันติ มากกว่าจะนำมาใช้ เป็นเครื่องมือทำสงครามกัน บทเรียนนี้ ควรที่มนุษย์จะต้องตระหนัก ถึงคุณและโทษของวิทยาศาสตร์ให้มาก วิทยาศาสตร์จะให้ผลอย่างไรก็อยู่ที่ใจของมนุษย์เองทั้งสิ้น
การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ในโลกปัจจุบัน ยากจะยุติได้ นอกจากสองอภิมหาอำนาจแข่งขันกันพัฒนาในโลกสงครามเย็นจนถึงปัจจุบันแล้ว เวลานี้ประเทศต่างๆมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ทั้งศักยภาพความร้ายแรง รูปแบบและปริมาณเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจรองๆลงมาอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ประเทศร่ำรวยน้ำมัน หรือประเทศยากจนอย่างเกาหลีเหนือ อินเดีย ฯลฯ
หลายๆประเทศมีการสะสมหัวรบนิวเคลียร์ นับจากยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกามีราว 7,300 ลูก รัสเซียเองก็มีอีกราว 8,000 ลูก และยังมีอีกหลายประเทศเลยที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง สหรัฐอเมริกาใช้งบราว 3.5 แสนล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาคลังแสงนิวเคลียร์ในระยะ 10 ปี ส่วนทางด้านจีน อินเดียและปากีสถาน เป็นกลุ่มเดียวที่ขยายคลังแสงนิวเคลียร์ให้ใหญ่ขื้นเรื่อยๆ
หลายประเทศแอบซุ่มแข่งขันการสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแซงหน้าประเทศคู่แข่ง อาวุธนิวเคลียร์เป็นศักดาทางการทหาร เป็นเครื่องมือต่อรองข่มขู่ เป็นอำนาจในมือประเทศมหาอำนาจของโลก ด้วยกันทั้งนั้น เป็นอำนาจเบื้องหลัง นอกเหนือจากอำนาจต่อรองทางการค้า และอื่นๆ
นิวเคลียร์ถือเป็นพลังงานที่ทั้งคุณและโทษ เป็นพลังง่านที่ใช้ได้ยาวนานหลายสิบหลายร้อยปี แต่หากเกิดความผิดผลาดแม้เพียงนิดเดียวก็อาจจะกลายเป็นระเบิดทำลายล้างที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหรือใจกลางประเทศนั้นๆ อย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างจาก เชอโนบิลของ รัสเซีย หรือเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น
การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อยากจะยุติ หรือหยุดยั้งสกัดกั้น ไม่มีประเทศไหนยอมหยุด ในขณะที่คู่แข่งกำลังแซงหน้า ถ้าไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ เขาคงยิ่งปวดร้าวและทุกข์กว่าเดิมหลายร้อยเท่า
สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ โดยเครื่องบินทูตมรณะหมายเลข 82 มีนักบินชื่อพอล ทิบเบ็ตส์ทิ้งระเบิดบี-29 อีโนลาเกรย์ และระเบิดปรมาณูลูกแรกรหัสลิตเติลบอย ที่ฮิโรชิมา ในเวลา 8.15น. ตามเวลาท้องถิ่ง หรือถ้าเป็นเวลาที่ประเทศไทยก็คือ 6.15น.ก่อนที่ลูกที่สองจะถูกทิ้งในสามวันต่อมาคือวันที่ 9 ส.ค. ที่นางาซากิ มีคนตายอีกราว 70,000 คน
ระเบิดนิวเคลียร์ส่งผลทำลาย 1 ใน 3 ของเมืองทันที และมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนในวินาทีที่ระเบิดนิวเคลียร์ตกถึงพื้น นอกจากนี้รังสีนิวเคลียร์ยังคร่าชีวิตชาวนางาซากิเป็นจำนวนมากในเวลาต่อเนื่องมาอีกหลายสิบปี คนที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีตายเพิ่มขึ้นรวม 400,000 คน ยังมีคนแก่ที่บาดเจ็บพิการและยังเจ็บป่วยต่อเนื่องในโรงพยาบาล เพราะพิษระเบิด
ทั้งวันที่ 6 และวันที่ 9 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันครบรอบที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ เป็นวันที่มนุษย์จะต้องจดจำไว้ถึงความโหดร้าย ความทุกข์ทรมานบาดแผลใหญ่ บาดแผลหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ให้บทเรียนสำคัญให้โลกตระหนักมหันตภัยของอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องสันติภาพ
ระเบิดปรมาณูพัฒนาต่อยอดมาจากผลการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกอย่างไอน์สไตน์
ในฐานะนักฟิสิกส์ผู้ปราดเปรื่อง ได้รับรางวัลโนเบล เขาพลิกโลกด้วยการค้นพบอันยิ่งใหญ่สมการ E=mc² อันโด่งดัง แม้เขาจะไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยโดยตรง แต่ในบั้นปลายชีวิตเขาต้องปวดร้าวจาก “ระเบิดนิวเคลียร์” ที่ทำลายล้างชีวิตมนุษย์
ไอน์สไตน์ลี้ภัยนาซีออกจากเยอรมนีไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีข่าวว่าเยอรมนีกำลังพัฒนาระเบิดปรมาณู ไอน์สไตน์กลัวว่าเยอรมนีจะพัฒนาระเบิดปรมาณูได้ก่อนจึงทำจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เสนอให้ศึกษาการพัฒนาระเบิดปรมาณู และบอกถึงคุณประโยชน์ของแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงได้ด้วยปฏิกิริยาแบบลูกโซ่
อเมริกาพัฒนาระเปิดปรมาณู ภายใต้แผนปฏิบัติการชื่อโครงการแมนฮัตตัน ในปี 2483 ไอน์สไตน์ได้ปฏิเสธที่จะร่วมในองค์กรพัฒนาระเบิดปรมาณู ในที่สุดการพัฒนาระเบิดก็ทำได้สำเร็จ และนำมาทิ้งที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
ว่ากันว่า เมื่อไอน์สไตน์รู้ข่าวการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่น ผู้คนต้องตายไปจำนวนมหาศาล เขาถึงกับเอามือกุมศีรษะ และอุทานอย่างสลดใจว่า "โธ่? ไม่น่าเลย" ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ผมไม่ได้คิดว่าผมเป็นคนริเริ่มในการนำพลังงานนิวเคลียร์ออกมาใช้ ผมเพียงแต่มีส่วนในทางอ้อมเท่านั้น อันที่จริงผมคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่า การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้จะเกิดในยุคของผม”
แต่การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ของมหาอำนาจกลับเดินไปในทิศทางตรงข้าม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี 1945 ฝ่ายอักษะเยอรมนีและญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม โลกเข้าสู่ภาวะสงครามเย็น (Cold War) ภายใต้การแข่งขันระหว่างสองอภิมหาอำนาจ ที่แบ่งเป็นค่ายโลกเสรีมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายโลกคอมมิวนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียติเป็นผู้นำ และ มีการแข่งขันกันสร้างสมอาวุธนิวเคลียร์อย่างดุเดือด
ตลอดชีวิตไอน์สไตน์ต่อสู้เพื่อสันติภาพ ไอน์สไตน์ได้ลงนามในสัญญาที่ขอให้ยุติการใช้ระเบิดปรมาณู และให้หันมาใช้ปรมาณูเพื่อสันติแทน เขาได้รณรงค์ให้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ให้มาก ก่อนเสียชีวิตเขาได้ร่วมลงนามในคำประกาศของ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ใน ค.ศ. 1955เรื่องให้ยุติการใช้ระเบิดนี้เพื่อการสงคราม วิงวอนชนชาติทั้งหลายให้ยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยกันเอง
ไอน์สไตน์คิดว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสันติ มากกว่าจะนำมาใช้ เป็นเครื่องมือทำสงครามกัน บทเรียนนี้ ควรที่มนุษย์จะต้องตระหนัก ถึงคุณและโทษของวิทยาศาสตร์ให้มาก วิทยาศาสตร์จะให้ผลอย่างไรก็อยู่ที่ใจของมนุษย์เองทั้งสิ้น
การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ในโลกปัจจุบัน ยากจะยุติได้ นอกจากสองอภิมหาอำนาจแข่งขันกันพัฒนาในโลกสงครามเย็นจนถึงปัจจุบันแล้ว เวลานี้ประเทศต่างๆมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ทั้งศักยภาพความร้ายแรง รูปแบบและปริมาณเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจรองๆลงมาอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ประเทศร่ำรวยน้ำมัน หรือประเทศยากจนอย่างเกาหลีเหนือ อินเดีย ฯลฯ
หลายๆประเทศมีการสะสมหัวรบนิวเคลียร์ นับจากยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกามีราว 7,300 ลูก รัสเซียเองก็มีอีกราว 8,000 ลูก และยังมีอีกหลายประเทศเลยที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง สหรัฐอเมริกาใช้งบราว 3.5 แสนล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาคลังแสงนิวเคลียร์ในระยะ 10 ปี ส่วนทางด้านจีน อินเดียและปากีสถาน เป็นกลุ่มเดียวที่ขยายคลังแสงนิวเคลียร์ให้ใหญ่ขื้นเรื่อยๆ
หลายประเทศแอบซุ่มแข่งขันการสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแซงหน้าประเทศคู่แข่ง อาวุธนิวเคลียร์เป็นศักดาทางการทหาร เป็นเครื่องมือต่อรองข่มขู่ เป็นอำนาจในมือประเทศมหาอำนาจของโลก ด้วยกันทั้งนั้น เป็นอำนาจเบื้องหลัง นอกเหนือจากอำนาจต่อรองทางการค้า และอื่นๆ
นิวเคลียร์ถือเป็นพลังงานที่ทั้งคุณและโทษ เป็นพลังง่านที่ใช้ได้ยาวนานหลายสิบหลายร้อยปี แต่หากเกิดความผิดผลาดแม้เพียงนิดเดียวก็อาจจะกลายเป็นระเบิดทำลายล้างที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหรือใจกลางประเทศนั้นๆ อย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างจาก เชอโนบิลของ รัสเซีย หรือเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น
การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อยากจะยุติ หรือหยุดยั้งสกัดกั้น ไม่มีประเทศไหนยอมหยุด ในขณะที่คู่แข่งกำลังแซงหน้า ถ้าไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ เขาคงยิ่งปวดร้าวและทุกข์กว่าเดิมหลายร้อยเท่า