คือว่าโซเชียลมีเดียมันเป็นภูมิทัศน์ใหม่ของการสื่อสารสังคม คนเล็กคนน้อยเลยมีเสียงดังขึ้น อย่างเรื่องขนมบานาน่าทำให้คนส่วนมากไม่พอใจซีพีแบบกระแสสูง (ทั้งๆ ที่ก่อนนั้นเรื่องข้าวโพดป่าต้นน้ำและอวนลากก็มีแต่จำกัดในวงแคบ)
การนัดหมายบอยคอตก็เกิดขึ้นก่อนต้นเดือนพ.ค. มีแบนเนอร์นัดหมายออกมาในเฟซบุ้คและได้รับการขานรับอย่างรวดเร็ว เพราะบานาน่ากระแสสูงยังคาใจอยู่ แคมเปญนี้ออกมาโดนใจผู้คน เรื่องนี้น่าสนใจทั้งในเชิงจิตวิทยาสังคม, โซเชียลมูฟเมนท์ (ขออนุญาตทับศัพท์) และประชาสังคมใหม่
ผลออกมาก็เห็นๆ กันอยู่ เจ้าสัวน่ะไม่ได้แคร์ยอดขายกระจิ๋วหล่นหรอก แต่ที่ควรแคร์มากกว่าคือภาพลักษณ์ของแบรนด์ซีพี ตัวอย่างของธุรกิจใหญ่ที่สะดุดต่อมปรี๊ดของประชาชนแล้วไม่หลุดจากหล่มมีให้เห็นมากมาย ค้าปลีกยักษ์ในตะวันตกก็เคยเจอมาก่อนแล้ว ถ้าลองเอายันต์ทุนสามานย์ไปแปะหน้าผากแล้วล่ะก็ หมอผีธรรมดาแกะไม่ได้นะครับ เหนื่อยมากที่จะสลัดหลุด ... เจ้าสัวคงรู้เรื่องราวเหล่านี้ดี ท่าจะสังเกตดีๆ กระบวนท่าที่ตอบโต้ออกมาจึงดูจะระวังเป็นพิเศษ ไม่บุ่มบ่ามแถลงโต้หรือใช้สื่อในมือสวนกลับออกไปโดยเฉพาะการโต้อย่างเป็นทางการในภาพเปิด
โซเชียลมีเดีย/ภูมิทัศน์ใหม่ของการสื่อสารสังคม มันก็เป็นดาบสองคม ทางหนึ่งมันเป็นอาวุธหนักให้คนเล็กคนน้อยให้แจ๊คไปรบกะยักษ์สักตั้งสองตั้ง แต่อีกทางหนึ่ง มันก็จะล้มมาทับหัวแจ๊คเอง ถ้าถือไม่มั่น ใช้มันไม่เป็น
แม้ว่าเจ้าสัวยังไม่เปิดฉากตอบโต้ผ่านสมรภูมิทางการ แต่ก็มีลูกตอดจากกองโจร ...ทำนองหนามยอกหนามบ่ง พวกคุณนัดหมายแคมเปญบอยคอตผ่านอารมณ์ร่วม เออใช่ๆๆ เอาด้วยๆๆๆ ...โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่มาที่ไปของคนนัดหมายคนแรกน่ะใคร? จุดนี้แหละครับคือจุดอ่อนแรกๆ ของแคมเปญนี้
บางท่านก็แก้ว่าใครชวนไม่จำเป็นต้องรู้ เอาเป้าหมายเดียวกัน มีเหตุมีผลไปกันได้ก็เอาแล้ว! นั่นก็ใช่ครับ สำหรับการรบกับยักษ์สักตั้งสองตั้ง แต่ไม่ใช่ระยะยาว
จึงปรากฏว่าจู่ๆ เกิดมีบทความของคนอ้างชื่อว่าเป็น "อดีตลูกหม้อคนซีพี" เขียนถึงกรณีบอยคอตร้านเซเว่น แก้ต่างทำนองว่านี่คือว่าธุรกิจไทยไปสู้กับต่างชาติ แล้วก็โยงไปถึงเรื่องราวที่ดูลึกลับซับซ้อน....ว่า
“เขา"ขอเงินนายทุนยักษ์คนหนึ่งแล้วไม่ได้ เลยโจมตียักษ์ตัวนั้น บังเอิญยักษ์ตนนั้นก็เลวจริงด้วย เป็นข่าวใหญ่ให้คนไทยดีใจทั้งประเทศ "เขา"เลยกลายเป็นฮีโร่ไปเลยตอนนี้ฮีโร่ตกต่ำ มาขอเงินยักษ์อีกตน เมื่อไม่ได้ การกระทำที่ใช้วิธีหากินแบบนี้เกิดขึ้นอีกรอบแล้ว”
แหม...ลูกหม้อคนนี้ท่าทางจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรืออาจนามสกุลเจียรวนนท์เลยนะครับ ที่รู้ว่า เขาไปตบทรัพย์เจ้าสัวแล้วไม่ได้ เขาเลยหาเรื่องบอยคอตเซเว่นว่ะ แล้วนี่ลาออกมานานหรือยังรู้ลึกจริงนะ!!!
ลูกหม้ออุปโลกน์ที่ว่าไม่ได้เปิดชื่อจริงหรอกนะ แต่ก็รู้ว่าจริตของโซเชียลมีเดียนะไม่สนที่มาที่ไปหรอก มันจึงได้รับการแชร์ผ่านในโซเชี่ยลอย่างแพร่หลายในช่วงกระแสเซเว่นกำลังมา...นี่ไง...หนามยอกหนามบ่ง !
แถมมติชนก็เอาไปลงเป็นข่าวอีกต่างหาก...เอาบทความไม่มีตัวตนของคนอ้างลูกหม้อซีพีไปเป็นข่าวว่ะ !!!
ปมก็คือคนที่ซวยรองลงมาจากเจ้าสัวในแคมเปญนี้ชื่อ สนธิ! ว่ะเฮ้ย เพราะเขียนแบบนี้คนเขาไพล่นึกถึงฮีโร่ที่นำผู้คนไปรบยักษ์ได้คนเดียวเท่านั้น ปั๊ดโธ่ เฮียสนธินี่นะแกนักเลงโบราณ ถ้าจะรบจริงแกไม่สั่งคนให้แอบๆ ทำแคมเปญตีหัวเข้าบ้านแบบนี้หรอก แกก็ประกาศเชิญชวนไปตรงๆ เลยไม่ดีกว่าเรอะ !!??
.........
การสื่อสารสารสังคมแบบใหม่นั้น เป็นอาวุธของประชาชน ทำให้ประชาชนเข้มแข็งขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ
ปัญหาก็คือประชาชนที่เข้มแข็งนั้นต้องช่วยกันพยายามสร้างเงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ประชาชนคนอื่นๆ รับรู้สร้างมาตรฐานร่วมกัน ก็เพื่อจะได้ใช้อาวุธใหม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้จริงๆ อย่างยั่งยืนระยะยาว
เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่านี่มันเป็นบรรยากาศใหม่ชาวบ้านเห็นเว็บปรสิตหน้าใหม่ที่ลอกข่าวเขามาพาดหัวใหม่ แล้วก็อุตส่าห์แชร์ต่อๆ กัน หรือไอ้เศษน้ำเงินซึ่งเป็นใครอยู่ไหนก็ไม่รู้ ยกเมฆมาก็เชื่อกันเป็นตุตะ ฯลฯ ในท่ามกลางการสื่อสารที่เปิดกว้างแบบใหม่ มันมีร่อง มีหลุม มีตัวเห็บตัวเหามากมายหลอกให้เราไปติดกับ แค่คลิกไปทีก็เป็นเหยื่อมันแล้ว เพราะมันก็ได้เงินจากยอดผู้เข้าชม
ภูมิทัศน์ใหม่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับอำนาจสื่อสารใหม่ลักษณะนี้อาจจะเป็นหนทางที่ประชาชนระดมกำลังได้ และก็เป็นหนทางทำลายพลังของประชาชนพลเมืองได้เช่นกัน ถ้าจะโต้กันจริงๆ ผมคิดว่าลูกน้องของเจ้าสัวมากมายที่เป็นมืออาชีพที่เชี่ยวชาญจิตวิทยาสังคม สามารถจะหาช่องของโซเชี่ยลมีเดียมาตอบโต้แคมเปญของฝ่ายประชาชนได้แน่ แค่เรื่องเบี่ยงเบนเป้าหมาย ทำลายความชอบธรรม โบ้ยให้สนธินี่เป็นตัวอย่างน้ำจิ้มเท่านั้น
ถ้าประชาชนอยากเข้มแข็งและใช้การสื่อสารใหม่เป็นอาวุธหนักของประชาชนได้จริง ต้องเริ่มจากความจริง ความชัดเจน ที่มา ที่ไป …
สังคมที่เปิดอย่างแท้จริงจะเป็นอาวุธที่ทรงพลังให้่ประชาชน คำว่าสังคมที่เปิดแท้จริง มันต้องโปร่งด้วย
ต่อไปใครเป็นคนนัดแนะ ใครกลุ่มใดเห็นด้วย นำเสนอต่อๆๆๆ... มันต้องมีที่มาที่ไป นี่สิ จึงจะเรียกว่า นักรบประชาชน ที่รับผิดชอบต่อขบวนประชาชน
เพราะการศึกระหว่างประชาชนกับทุนใหญ่ไร้จริยธรรมน่ะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนในท่ามกลางสภาพสังคมการเมืองแบบปลาใหญ่กินปลาเล็กแบบที่เป็นอยู่ ประชาชนจำเป็นต้องขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งและรัดกุมขึ้น ไม่ใช่เพื่อไปรบกะใคร การสั่งสอนเจ้าสัวที่แท้คือการป้องกันตนเองของประชาชนต่างหาก
ภาคประชาชนจำเป็นต้องเข้มแข็ง รัดกุมมากกว่านี้เพราะศึกที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า หนักหนาสาหัสกว่านัก!!
..........
เพราะที่สุดแล้ววิธีการทำธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบของยักษ์ใหญ่ ลึกลงไปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับรากฐานเชิงโครงสร้างของประเทศ ที่จะส่งผลระยะยาวถึงลูกหลานและความยั่งยืนของส่วนรวม
อย่างเช่น การส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพด(โดยราคาและปริมาณรับซื้อ) โดยไม่สนว่าพื้นที่นั้นคือป่าต้นน้ำของประเทศหรือการรับซื้อปลาจากอวนลากเพื่อทำปลาป่นผสมอาหารสัตว์ ว่านี่คือการทำลายวงจรชีวิตทะเลไทยที่มีผลกระทบมหาศาล หรือแม้แต่การขยายสาขาแฟรนไชส์ไม่หยุด เพิ่มสินค้าในแนวราบแข่งกับผู้คนตัวเล็กตัวน้อยโดยไม่มีเพดาน ก็คือการทำลายความเข้มแข็งของสังคม ฯลฯ
ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ และควรเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคิดหาวิธีจำกัดขอบเขต ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนดิ้นรนกันไป
เพราะธรรมชาติของทุนมันขยายไปเรื่อย มีช่องมันก็ไป! อย่าว่าแต่อำนาจของประชาชนจะห้ามปราม แม้แต่กฎหมายรัฐเอง ทุนมันยังอุตส่าห์หาทางลอดไปได้(บ้าง)อยู่ดี
ประสบการณ์ยุโรปหรืออเมริกาโดยเฉพาะในระหว่างยุคทอง (Gilded Age) ที่มีการเติบโตของธุรกิจอุตสาหกรรมการคิดค้นและการเงินอย่างขนานใหญ่ ก่อเกิดร็อกกี้เฟลเลอร์ เจพี มอร์แกน คาร์เนกี ฟอร์ด รถไฟ เฟดและการเงินยุคใหม่ เชื่อไหมครับคนอเมริกันรุ่นต่อๆ มามองไทคูนพันล้านเหล่านั้นเป็นทุนสามานย์กันแทบทุกคนเพราะมาตรฐานของยุคนั้นไม่เหมือนยุคนี้ เจ้าของโรงงานใช้คนเป็นทาส ประท้วงขึ้นมาพวกก็เอาทหารไปปราบยิงตายซะ หรือการผูกขาดเป็นเจ้าของการขุดเจาะและผลิตน้ำมันถึง 90% ของร็อกกี้เฟลเลอร์ก็เกิดในยุคนั้น
เมื่อมันมากไปจึงเกิดมีกฎหมายป้องกันการผูกขาด Anti-trust law เกิดขึ้นมาป้องปราม ศาลจึงสั่งให้สแตนดาร์ดออยล์ของร็อกกี้เฟลเลอร์แยกบริษัทเป็น 34 บริษัทย่อย
ภาคการเงินการธนาคารก็เช่นกันเมื่อสังคม(และรัฐ)เห็นว่านายแบงค์ชักจะยื่นมือไปคุมทุกส่วน เขาจึงมีกฎหมายห้ามธนาคารพาณิชย์ทำบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ขึ้นมาป้องปราม
(แต่พวกก็ยังหาวิธีลอดได้เสมอ ไม่ว่าเรื่องน้ำมันหรือเรื่องการเงิน แต่ทว่ามันก็ยังต้องแอบแบบเนียนๆ นัยว่านี่คือการคุ้มครองประชาชนของรัฐที่รัฐต้องทำ)
แต่ประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะรัฐไทยไม่เคยมีความคิดเรื่องเหล่านี้อยู่ในสมอง เข้าใจว่ากฎหมายป้องกันการผูกขาดที่เรามีขึ้นมาก็แค่ให้ทันตามกระแสโลกเขากระมัง มีกฎหมายแต่ไม่เคยบังคับใช้ได้จริง !
ยิ่งประเทศก้าวหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ รัฐและประชาชนยิ่งสมควรต้องคิดเรื่องการป้องกันตนจากทุนผูกขาด ทุนสามานย์ให้มากๆ ขึ้น
วู้ดโรว์ วิลสัน อดีตประธานาธิบดีคนเก่งของอเมริกายุคสงครามโลกครั้งแรก ซึ่งก็ตรงกับยุคสุดท้ายของยุคทองสหรัฐอเมริกาที่ผลด้านลบของทุนเริ่มส่งออกมาชัดเจน มีคำคมว่าไว้
If monopoly persists, monopoly will always sit at the helm of government. I do not expect monopoly to restrain itself. If there are men in this country big enough to own the government of the United States, they are going to own it.- Woodrow Wilson.
แปลกันเองนะครับ, ส่วนผมขอแปลวิบัติไปตามประสาว่า... ทุนเจ้าสัวผูกขาด ไม่ว่าขายไก่ ขายเหล้า ขายน้ำมัน หรือขายมือถือน่ะ...ยังไงๆ มันต้องหาวิธีส่งคนมามีอิทธิพลในรัฐบาลจนได้ของมัน แล้วอย่านึกว่ามันท่องคาถาพอเพียงๆ แล้วมันจะหยุด หรือพอเพียงจริงๆ นะ ไม่มีทางหรอก! มีแต่มันคิดจะรุกคืบหาทางมาเป็นเจ้าของประเทศทั้งประเทศด้วยซ้ำไป
และข้อเท็จจริงของประเทศมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว ที่ผ่านๆ มาไม่ว่าพรรคไหนกลุ่มไหนหรือทหารขึ้นมามีอำนาจ ทุนยักษ์ใหญ่พวกนี้ก็หาช่องมามีอำนาจเหนือรัฐอยู่แล้ว ก็เห็นๆ กันอยู่นโยบายพลังงานของไทยเคยเปลี่ยนเสียที่ไหน เหล้าที่เสมือนว่าเปิดเสรีน่ะที่แท้เพราะโรงงานเหล้าที่มีอยู่เดิมถูกซื้อไปแล้ว ทุนหน้าไหนมาใหม่ไม่มีทางสร้างโรงงานทำเลดีติดแม่น้ำแบบที่เจ้าสัวได้อีกแล้ว ประเทศนี้จึงค่อยเปิดเสรี แต่มันเป็นเสรีในนามเพราะมีผู้ได้เปรียบที่สุดนั่งเอ้เต้คุมทำเลทองไว้ก่อนแล้ว เป็นต้น
ไม่มีประเทศไหน..มีแต่ประเทศไทยที่ใช้ป่าต้นน้ำเป็นที่ปลูกพืชหมุนเวียนเป็นอาหารสัตว์ และก็เปิดให้เรืออวนลากใช้ตาข่ายถี่กวาดเอาปลาตัวเล็กตัวน้อยไปจากทะเลชั้นใน ก็เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ให้ทุนกลุ่มเดียวได้ประโยชน์อีก
ในความเป็นจริงที่ผ่านๆ มาของประเทศไทยเรา...ทุนสามานย์ก็คือรัฐสามานย์ !!
และรัฐที่สามานย์ที่เห็นๆ กันอยู่นี่..เนื้อแท้คือทุนสามานย์ที่ไปกำหนดสั่งการอยู่ข้างหลัง !!
ไหนๆ ยุคนี้เขาว่าเป็นยุคปฏิรูป รัฐที่ดีควรจะสำเหนียกสัญญาณที่ประชาชนส่งถึงเจ้าสัว แล้วก็รีบจัดการอะไรๆ ก่อนที่ประชาชนจะพุ่งเป้ามาสั่งสอนรัฐ เพราะว่าประชาชนต่างหากที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐ ไม่ใช่ทุน-ข้าราชการหรือนักการเมือง.
การนัดหมายบอยคอตก็เกิดขึ้นก่อนต้นเดือนพ.ค. มีแบนเนอร์นัดหมายออกมาในเฟซบุ้คและได้รับการขานรับอย่างรวดเร็ว เพราะบานาน่ากระแสสูงยังคาใจอยู่ แคมเปญนี้ออกมาโดนใจผู้คน เรื่องนี้น่าสนใจทั้งในเชิงจิตวิทยาสังคม, โซเชียลมูฟเมนท์ (ขออนุญาตทับศัพท์) และประชาสังคมใหม่
ผลออกมาก็เห็นๆ กันอยู่ เจ้าสัวน่ะไม่ได้แคร์ยอดขายกระจิ๋วหล่นหรอก แต่ที่ควรแคร์มากกว่าคือภาพลักษณ์ของแบรนด์ซีพี ตัวอย่างของธุรกิจใหญ่ที่สะดุดต่อมปรี๊ดของประชาชนแล้วไม่หลุดจากหล่มมีให้เห็นมากมาย ค้าปลีกยักษ์ในตะวันตกก็เคยเจอมาก่อนแล้ว ถ้าลองเอายันต์ทุนสามานย์ไปแปะหน้าผากแล้วล่ะก็ หมอผีธรรมดาแกะไม่ได้นะครับ เหนื่อยมากที่จะสลัดหลุด ... เจ้าสัวคงรู้เรื่องราวเหล่านี้ดี ท่าจะสังเกตดีๆ กระบวนท่าที่ตอบโต้ออกมาจึงดูจะระวังเป็นพิเศษ ไม่บุ่มบ่ามแถลงโต้หรือใช้สื่อในมือสวนกลับออกไปโดยเฉพาะการโต้อย่างเป็นทางการในภาพเปิด
โซเชียลมีเดีย/ภูมิทัศน์ใหม่ของการสื่อสารสังคม มันก็เป็นดาบสองคม ทางหนึ่งมันเป็นอาวุธหนักให้คนเล็กคนน้อยให้แจ๊คไปรบกะยักษ์สักตั้งสองตั้ง แต่อีกทางหนึ่ง มันก็จะล้มมาทับหัวแจ๊คเอง ถ้าถือไม่มั่น ใช้มันไม่เป็น
แม้ว่าเจ้าสัวยังไม่เปิดฉากตอบโต้ผ่านสมรภูมิทางการ แต่ก็มีลูกตอดจากกองโจร ...ทำนองหนามยอกหนามบ่ง พวกคุณนัดหมายแคมเปญบอยคอตผ่านอารมณ์ร่วม เออใช่ๆๆ เอาด้วยๆๆๆ ...โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่มาที่ไปของคนนัดหมายคนแรกน่ะใคร? จุดนี้แหละครับคือจุดอ่อนแรกๆ ของแคมเปญนี้
บางท่านก็แก้ว่าใครชวนไม่จำเป็นต้องรู้ เอาเป้าหมายเดียวกัน มีเหตุมีผลไปกันได้ก็เอาแล้ว! นั่นก็ใช่ครับ สำหรับการรบกับยักษ์สักตั้งสองตั้ง แต่ไม่ใช่ระยะยาว
จึงปรากฏว่าจู่ๆ เกิดมีบทความของคนอ้างชื่อว่าเป็น "อดีตลูกหม้อคนซีพี" เขียนถึงกรณีบอยคอตร้านเซเว่น แก้ต่างทำนองว่านี่คือว่าธุรกิจไทยไปสู้กับต่างชาติ แล้วก็โยงไปถึงเรื่องราวที่ดูลึกลับซับซ้อน....ว่า
“เขา"ขอเงินนายทุนยักษ์คนหนึ่งแล้วไม่ได้ เลยโจมตียักษ์ตัวนั้น บังเอิญยักษ์ตนนั้นก็เลวจริงด้วย เป็นข่าวใหญ่ให้คนไทยดีใจทั้งประเทศ "เขา"เลยกลายเป็นฮีโร่ไปเลยตอนนี้ฮีโร่ตกต่ำ มาขอเงินยักษ์อีกตน เมื่อไม่ได้ การกระทำที่ใช้วิธีหากินแบบนี้เกิดขึ้นอีกรอบแล้ว”
แหม...ลูกหม้อคนนี้ท่าทางจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรืออาจนามสกุลเจียรวนนท์เลยนะครับ ที่รู้ว่า เขาไปตบทรัพย์เจ้าสัวแล้วไม่ได้ เขาเลยหาเรื่องบอยคอตเซเว่นว่ะ แล้วนี่ลาออกมานานหรือยังรู้ลึกจริงนะ!!!
ลูกหม้ออุปโลกน์ที่ว่าไม่ได้เปิดชื่อจริงหรอกนะ แต่ก็รู้ว่าจริตของโซเชียลมีเดียนะไม่สนที่มาที่ไปหรอก มันจึงได้รับการแชร์ผ่านในโซเชี่ยลอย่างแพร่หลายในช่วงกระแสเซเว่นกำลังมา...นี่ไง...หนามยอกหนามบ่ง !
แถมมติชนก็เอาไปลงเป็นข่าวอีกต่างหาก...เอาบทความไม่มีตัวตนของคนอ้างลูกหม้อซีพีไปเป็นข่าวว่ะ !!!
ปมก็คือคนที่ซวยรองลงมาจากเจ้าสัวในแคมเปญนี้ชื่อ สนธิ! ว่ะเฮ้ย เพราะเขียนแบบนี้คนเขาไพล่นึกถึงฮีโร่ที่นำผู้คนไปรบยักษ์ได้คนเดียวเท่านั้น ปั๊ดโธ่ เฮียสนธินี่นะแกนักเลงโบราณ ถ้าจะรบจริงแกไม่สั่งคนให้แอบๆ ทำแคมเปญตีหัวเข้าบ้านแบบนี้หรอก แกก็ประกาศเชิญชวนไปตรงๆ เลยไม่ดีกว่าเรอะ !!??
.........
การสื่อสารสารสังคมแบบใหม่นั้น เป็นอาวุธของประชาชน ทำให้ประชาชนเข้มแข็งขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ
ปัญหาก็คือประชาชนที่เข้มแข็งนั้นต้องช่วยกันพยายามสร้างเงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ประชาชนคนอื่นๆ รับรู้สร้างมาตรฐานร่วมกัน ก็เพื่อจะได้ใช้อาวุธใหม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้จริงๆ อย่างยั่งยืนระยะยาว
เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่านี่มันเป็นบรรยากาศใหม่ชาวบ้านเห็นเว็บปรสิตหน้าใหม่ที่ลอกข่าวเขามาพาดหัวใหม่ แล้วก็อุตส่าห์แชร์ต่อๆ กัน หรือไอ้เศษน้ำเงินซึ่งเป็นใครอยู่ไหนก็ไม่รู้ ยกเมฆมาก็เชื่อกันเป็นตุตะ ฯลฯ ในท่ามกลางการสื่อสารที่เปิดกว้างแบบใหม่ มันมีร่อง มีหลุม มีตัวเห็บตัวเหามากมายหลอกให้เราไปติดกับ แค่คลิกไปทีก็เป็นเหยื่อมันแล้ว เพราะมันก็ได้เงินจากยอดผู้เข้าชม
ภูมิทัศน์ใหม่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับอำนาจสื่อสารใหม่ลักษณะนี้อาจจะเป็นหนทางที่ประชาชนระดมกำลังได้ และก็เป็นหนทางทำลายพลังของประชาชนพลเมืองได้เช่นกัน ถ้าจะโต้กันจริงๆ ผมคิดว่าลูกน้องของเจ้าสัวมากมายที่เป็นมืออาชีพที่เชี่ยวชาญจิตวิทยาสังคม สามารถจะหาช่องของโซเชี่ยลมีเดียมาตอบโต้แคมเปญของฝ่ายประชาชนได้แน่ แค่เรื่องเบี่ยงเบนเป้าหมาย ทำลายความชอบธรรม โบ้ยให้สนธินี่เป็นตัวอย่างน้ำจิ้มเท่านั้น
ถ้าประชาชนอยากเข้มแข็งและใช้การสื่อสารใหม่เป็นอาวุธหนักของประชาชนได้จริง ต้องเริ่มจากความจริง ความชัดเจน ที่มา ที่ไป …
สังคมที่เปิดอย่างแท้จริงจะเป็นอาวุธที่ทรงพลังให้่ประชาชน คำว่าสังคมที่เปิดแท้จริง มันต้องโปร่งด้วย
ต่อไปใครเป็นคนนัดแนะ ใครกลุ่มใดเห็นด้วย นำเสนอต่อๆๆๆ... มันต้องมีที่มาที่ไป นี่สิ จึงจะเรียกว่า นักรบประชาชน ที่รับผิดชอบต่อขบวนประชาชน
เพราะการศึกระหว่างประชาชนกับทุนใหญ่ไร้จริยธรรมน่ะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนในท่ามกลางสภาพสังคมการเมืองแบบปลาใหญ่กินปลาเล็กแบบที่เป็นอยู่ ประชาชนจำเป็นต้องขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งและรัดกุมขึ้น ไม่ใช่เพื่อไปรบกะใคร การสั่งสอนเจ้าสัวที่แท้คือการป้องกันตนเองของประชาชนต่างหาก
ภาคประชาชนจำเป็นต้องเข้มแข็ง รัดกุมมากกว่านี้เพราะศึกที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า หนักหนาสาหัสกว่านัก!!
..........
เพราะที่สุดแล้ววิธีการทำธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบของยักษ์ใหญ่ ลึกลงไปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับรากฐานเชิงโครงสร้างของประเทศ ที่จะส่งผลระยะยาวถึงลูกหลานและความยั่งยืนของส่วนรวม
อย่างเช่น การส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพด(โดยราคาและปริมาณรับซื้อ) โดยไม่สนว่าพื้นที่นั้นคือป่าต้นน้ำของประเทศหรือการรับซื้อปลาจากอวนลากเพื่อทำปลาป่นผสมอาหารสัตว์ ว่านี่คือการทำลายวงจรชีวิตทะเลไทยที่มีผลกระทบมหาศาล หรือแม้แต่การขยายสาขาแฟรนไชส์ไม่หยุด เพิ่มสินค้าในแนวราบแข่งกับผู้คนตัวเล็กตัวน้อยโดยไม่มีเพดาน ก็คือการทำลายความเข้มแข็งของสังคม ฯลฯ
ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ และควรเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคิดหาวิธีจำกัดขอบเขต ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนดิ้นรนกันไป
เพราะธรรมชาติของทุนมันขยายไปเรื่อย มีช่องมันก็ไป! อย่าว่าแต่อำนาจของประชาชนจะห้ามปราม แม้แต่กฎหมายรัฐเอง ทุนมันยังอุตส่าห์หาทางลอดไปได้(บ้าง)อยู่ดี
ประสบการณ์ยุโรปหรืออเมริกาโดยเฉพาะในระหว่างยุคทอง (Gilded Age) ที่มีการเติบโตของธุรกิจอุตสาหกรรมการคิดค้นและการเงินอย่างขนานใหญ่ ก่อเกิดร็อกกี้เฟลเลอร์ เจพี มอร์แกน คาร์เนกี ฟอร์ด รถไฟ เฟดและการเงินยุคใหม่ เชื่อไหมครับคนอเมริกันรุ่นต่อๆ มามองไทคูนพันล้านเหล่านั้นเป็นทุนสามานย์กันแทบทุกคนเพราะมาตรฐานของยุคนั้นไม่เหมือนยุคนี้ เจ้าของโรงงานใช้คนเป็นทาส ประท้วงขึ้นมาพวกก็เอาทหารไปปราบยิงตายซะ หรือการผูกขาดเป็นเจ้าของการขุดเจาะและผลิตน้ำมันถึง 90% ของร็อกกี้เฟลเลอร์ก็เกิดในยุคนั้น
เมื่อมันมากไปจึงเกิดมีกฎหมายป้องกันการผูกขาด Anti-trust law เกิดขึ้นมาป้องปราม ศาลจึงสั่งให้สแตนดาร์ดออยล์ของร็อกกี้เฟลเลอร์แยกบริษัทเป็น 34 บริษัทย่อย
ภาคการเงินการธนาคารก็เช่นกันเมื่อสังคม(และรัฐ)เห็นว่านายแบงค์ชักจะยื่นมือไปคุมทุกส่วน เขาจึงมีกฎหมายห้ามธนาคารพาณิชย์ทำบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ขึ้นมาป้องปราม
(แต่พวกก็ยังหาวิธีลอดได้เสมอ ไม่ว่าเรื่องน้ำมันหรือเรื่องการเงิน แต่ทว่ามันก็ยังต้องแอบแบบเนียนๆ นัยว่านี่คือการคุ้มครองประชาชนของรัฐที่รัฐต้องทำ)
แต่ประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะรัฐไทยไม่เคยมีความคิดเรื่องเหล่านี้อยู่ในสมอง เข้าใจว่ากฎหมายป้องกันการผูกขาดที่เรามีขึ้นมาก็แค่ให้ทันตามกระแสโลกเขากระมัง มีกฎหมายแต่ไม่เคยบังคับใช้ได้จริง !
ยิ่งประเทศก้าวหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ รัฐและประชาชนยิ่งสมควรต้องคิดเรื่องการป้องกันตนจากทุนผูกขาด ทุนสามานย์ให้มากๆ ขึ้น
วู้ดโรว์ วิลสัน อดีตประธานาธิบดีคนเก่งของอเมริกายุคสงครามโลกครั้งแรก ซึ่งก็ตรงกับยุคสุดท้ายของยุคทองสหรัฐอเมริกาที่ผลด้านลบของทุนเริ่มส่งออกมาชัดเจน มีคำคมว่าไว้
If monopoly persists, monopoly will always sit at the helm of government. I do not expect monopoly to restrain itself. If there are men in this country big enough to own the government of the United States, they are going to own it.- Woodrow Wilson.
แปลกันเองนะครับ, ส่วนผมขอแปลวิบัติไปตามประสาว่า... ทุนเจ้าสัวผูกขาด ไม่ว่าขายไก่ ขายเหล้า ขายน้ำมัน หรือขายมือถือน่ะ...ยังไงๆ มันต้องหาวิธีส่งคนมามีอิทธิพลในรัฐบาลจนได้ของมัน แล้วอย่านึกว่ามันท่องคาถาพอเพียงๆ แล้วมันจะหยุด หรือพอเพียงจริงๆ นะ ไม่มีทางหรอก! มีแต่มันคิดจะรุกคืบหาทางมาเป็นเจ้าของประเทศทั้งประเทศด้วยซ้ำไป
และข้อเท็จจริงของประเทศมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว ที่ผ่านๆ มาไม่ว่าพรรคไหนกลุ่มไหนหรือทหารขึ้นมามีอำนาจ ทุนยักษ์ใหญ่พวกนี้ก็หาช่องมามีอำนาจเหนือรัฐอยู่แล้ว ก็เห็นๆ กันอยู่นโยบายพลังงานของไทยเคยเปลี่ยนเสียที่ไหน เหล้าที่เสมือนว่าเปิดเสรีน่ะที่แท้เพราะโรงงานเหล้าที่มีอยู่เดิมถูกซื้อไปแล้ว ทุนหน้าไหนมาใหม่ไม่มีทางสร้างโรงงานทำเลดีติดแม่น้ำแบบที่เจ้าสัวได้อีกแล้ว ประเทศนี้จึงค่อยเปิดเสรี แต่มันเป็นเสรีในนามเพราะมีผู้ได้เปรียบที่สุดนั่งเอ้เต้คุมทำเลทองไว้ก่อนแล้ว เป็นต้น
ไม่มีประเทศไหน..มีแต่ประเทศไทยที่ใช้ป่าต้นน้ำเป็นที่ปลูกพืชหมุนเวียนเป็นอาหารสัตว์ และก็เปิดให้เรืออวนลากใช้ตาข่ายถี่กวาดเอาปลาตัวเล็กตัวน้อยไปจากทะเลชั้นใน ก็เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ให้ทุนกลุ่มเดียวได้ประโยชน์อีก
ในความเป็นจริงที่ผ่านๆ มาของประเทศไทยเรา...ทุนสามานย์ก็คือรัฐสามานย์ !!
และรัฐที่สามานย์ที่เห็นๆ กันอยู่นี่..เนื้อแท้คือทุนสามานย์ที่ไปกำหนดสั่งการอยู่ข้างหลัง !!
ไหนๆ ยุคนี้เขาว่าเป็นยุคปฏิรูป รัฐที่ดีควรจะสำเหนียกสัญญาณที่ประชาชนส่งถึงเจ้าสัว แล้วก็รีบจัดการอะไรๆ ก่อนที่ประชาชนจะพุ่งเป้ามาสั่งสอนรัฐ เพราะว่าประชาชนต่างหากที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐ ไม่ใช่ทุน-ข้าราชการหรือนักการเมือง.