เสียงระเบิดการเมืองที่ห่างหายไปนานก็มีอันดังบึ้มขึ้นมาอีกครั้ง
คราวนี้เหยื่อคือศาลอาญา หรือจะกล่าวไป นี่คือการมุ่งโจมตีศาลทั้งหมดในเชิงสัญลักษณ์ เพราะบริเวณที่เกิดคืออาณาเขตของศาลยุติธรรมทั้งหลายในรั้วเดียวกันบนถนนรัชดาภิเษก ระเบิดจะลงที่ศาลไหน ก็ได้ชื่อลง “ระเบิดลงศาล” ทั้งหมด
ถ้ายังจำกันได้ ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเกิดเสียงระเบิดที่หน้าห้างสยามพารากอนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นในช่วงเวลาเดียวกันของการโยนระเบิดใส่ศาล ก็มีการถล่มยิงเข้าไปในวัดอ้อน้อยของหลวงปู่พุทธอิสระ ซึ่งอาจจะเป็นการอาศัยตีเนียนในช่วงที่สับสนเพราะท่านออกมาชนกับวัดพระธรรมกายและเครือข่ายก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า หลวงปู่พุทธอิสระอดีตผู้นำกลุ่ม กปปส. แจ้งวัฒนะนั้นเคยเป็น “โจทก์เก่า” ตัวสำคัญในช่วงปิดกรุงเทพฯ เมื่อปลายปีก่อนต้นปีที่แล้ว การยิงถล่มก็อาจจะมาจากเหตุเอาคืนในช่วงชุลมุนก็ยังเป็นไปได้
จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ก่อเหตุระเบิดศาลรัชดาฯ ซึ่งเป็นคนในเครือข่ายมีความใกล้ชิดกับ “ตัวละคร” สำคัญของฝ่ายเสื้อแดง พบว่าเป็นการจ้างต่อๆ กันมา จากเครือข่ายเคลื่อนไหวที่อยู่นอกประเทศ ผ่านแอพพลิเคชั่น “ไลน์” ระบบแชตร่วมสมัยที่นิยมที่สุดในขณะนี้
อาจมีผู้กังขาว่า สั่งการเรื่องใหญ่ขนาดนี้ทำไมติดต่อผ่านไลน์ที่มีหลักฐานหลงเหลือในโทรศัพท์ หรือดูเป็นระบบที่ไม่จริงจังที่ผู้คนเอาไว้คุยหัวส่งสติ๊กเกอร์กัน
แต่ข้อดีของไลน์ที่เหมาะอย่างยิ่งในการติดต่อกันด้วยเรื่องแบบนี้ คือ ระบบนี้ไม่สามารถตรวจเช็ก IP ที่มา หรือถูกกลั่นกรองข้อมูลได้ เพราะ Server ของไลน์อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางการไทยไม่มีอำนาจเข้าไปดักกรองข้อมูลหรือตรวจสอบได้
ทางบริษัทไลน์ก็แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนตั้งแต่แรกที่มีประเด็นว่าฝ่ายความมั่นคงจะขอข้อมูลเกี่ยวกับหาข่าวว่า เรื่องภายในประเทศของไทยจะไม่ยุ่ง และจะไม่มีการให้ข้อมูลใดๆต่อทางการเว้นแต่มีคำสั่งศาล
การติดต่อผ่านไลน์ซึ่งเป็นเหมือนโปรแกรมคุยเล่น เลยกลับกลายเป็นระบบที่เหมาะแก่การ “สั่งการ” ที่ไม่อยากให้ใครจับได้ไร้ตัวตนในที่สุด
ส่วนเจตนารมณ์ของการสั่งการให้ก่อเหตุจากคำสารภาพก็มาจากที่ว่า ต้องการจะก่อให้เกิดสภาพของการที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เป็นรัฐล้มเหลวหรือ Fail State
เพื่อเปิดทางให้สหประชาชาติ สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงจัดระเบียบ เหมือนที่เกิดในบางประเทศที่มีสงครามกลางเมือง
ซึ่งก็เข้ากับแนวทางการต่อสู้ของฝ่ายเสื้อแดงและเครือข่ายทักษิณก่อนหน้านี้ที่พยายามจะดำเนินกลยุทธ์แบบให้โลกล้อมไทย
ทั้งท่าทีของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยซึ่งแสดงออกอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นใจอยู่ข้างฝ่ายไหน
หรืออย่างท่าทีของฝ่ายสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็นองค์กรระดับรัฐหรือสหประชาชาติ รวมทั้ง NGO ที่รวมกันขย่มใส่ประเทศไทยว่าด้วยเรื่องรัฐประหาร การมีกฎอัยการศึก และการควบคุมสื่อ
และเมื่อมี “ท่าที” ดังนี้มาจาก “นอกประเทศ” เมื่อไร บรรดาเครือข่ายภายใน เช่น NGO ฝ่ายขาประจำ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยกลุ่มเดิมๆ ก็จะออกมาช่วยขย่ม โดยอาศัย “วัตถุดิบ” จากนอกประเทศเหล่านั้นนั่นแหละ
กระทุ้งให้รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึก และให้เสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการชุมนุม
แต่เอาเข้าจริงๆ การไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกนั้นเป็นข้อได้เปรียบของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมากกว่า เพราะตราบใดที่ยังอยู่ใต้ภาวะกฎอัยการศึก ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกติ สามารถ “ขย่ม” เรื่องนี้ได้เรื่อยๆ
เพราะกฎอัยการศึกนี้แม้จะมีเพื่อเอาไว้ใช้ในการป้องกันการก่อเหตุหรือควบคุมสถานการณ์ไม่ให้มีการต่อต้านอย่างรุนแรงเกินไป แต่ข้อเสียของกฎอัยการศึกก็มีมากมายหลายประการอันเป็นข้อที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะการคงกฎอัยการศึกเอาไว้ ก็ส่งผลบางประการต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน เช่นบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่ยอมขายประกันการเดินทางให้สำหรับประเทศที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก หรือการถูกตัดสิทธิทางการค้า หรือกีดกันทางการค้าด้วยข้ออ้างว่าประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่พอแง้มๆ หรือมีแนวคิดว่าอาจจะยกเลิกกฎอัยการศึก หรือผ่อนปรนลงโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายอื่นแทน ก็จะมีปัญหาว่า แล้วจะทำอย่างไรกับคลื่นใต้น้ำที่มีอาวุธ และพยายามก่อนเหตุอยู่เสมอเมื่อสบโอกาส และพอมีการพูดถึงเรื่องนี้ ก็จะมีเสียงระเบิดบ้าง เสียงปืนดังขึ้นบ้าง เป็นหนังตัวอย่างขู่ว่า ถ้าเลิกกฎอัยการศึกเมื่อไรก็รอดูหนังฉบับเต็ม
สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว กฎอัยการศึกไม่ได้ส่งผลอะไรต่อชีวิต ความเป็นอยู่ หรือการประกอบอาชีพเท่าไร หากไม่ได้ประกาศมาตรการห้ามออกจากบ้านหรือเคอร์ฟิว คนส่วนใหญ่ก็ลืมๆ ไปแล้วว่าประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
และกับฝ่ายที่เคลื่อนไหวใต้ดิน กฎอัยการศึกก็ไม่ได้ทำให้ทำงานไม่สะดวกขึ้นสักนิดเพราะถ้าจะหาช่องก่อเหตุจริงก็ทำได้ง่ายอย่างที่เห็น แต่สำหรับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็จับตัวคนก่อเหตุให้ง่าย แต่ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรเพราะจะไปได้แค่ตัวปลายทาง ซึ่งคนเหนือๆไปเขา “ตัดแขน” ทิ้งหมดแล้ว
ส่วนกระแสต้านจากต่างชาติ ที่คงประเมินแล้วว่า ถึงอย่างไรเครือข่ายตระกูลชินวัตรนั้นยังคงจะเรืองอำนาจ และพร้อมจะกลับมาได้ทุกเมื่อต่อไปตราบใดที่ยังจะมีการ “เลือกตั้ง” กันอยู่ต่อไปในประเทศไทย ก็เป็นธรรมดาที่เขาคงจะต้องเลือกข้างแทงฝ่ายที่จะมีผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อหาโอกาส “คุยกัน” ในอนาคต
การลงมือของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและ คสช.จากนี้ไปอาจจะปรากฏถี่ขึ้น เมื่อภาพของรัฐธรรมนูญปรากฏชัดเจนขึ้น นับแต่เดือนนี้เป็นต้นไป
เพราะพวกเขาจะใช้โอกาสจากการได้เสียงข้างมากแล้วครอบครองทุกสิ่งอย่าง เอาชนะได้ทั้งหมด ควบคุมได้ทุกระบบนั้น เป็นไปได้ยากขึ้น เพราะระบบถ่วงดุลฝ่ายการเมืองที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแก้ระเบียบกติกาเพื่อให้ได้เปรียบขึ้นไปเรื่อยๆ นั้นก็เป็นไปได้ยากเต็มที่
แน่นอนว่าพวกเขาต้องหาทางล้มกระดาน หรือใช้วิธีอื่นเพื่อเปลี่ยนทิศทางสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่าจะกลับมาได้แน่ๆ ผ่านกระบวนการชุบตัวที่เป็นประชาธิปไตยตามแบบพิธี ที่เพียงต้องการแค่ชนะการเลือกตั้งก็ถือว่ามีที่มาโดยชอบแล้ว.
คราวนี้เหยื่อคือศาลอาญา หรือจะกล่าวไป นี่คือการมุ่งโจมตีศาลทั้งหมดในเชิงสัญลักษณ์ เพราะบริเวณที่เกิดคืออาณาเขตของศาลยุติธรรมทั้งหลายในรั้วเดียวกันบนถนนรัชดาภิเษก ระเบิดจะลงที่ศาลไหน ก็ได้ชื่อลง “ระเบิดลงศาล” ทั้งหมด
ถ้ายังจำกันได้ ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเกิดเสียงระเบิดที่หน้าห้างสยามพารากอนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นในช่วงเวลาเดียวกันของการโยนระเบิดใส่ศาล ก็มีการถล่มยิงเข้าไปในวัดอ้อน้อยของหลวงปู่พุทธอิสระ ซึ่งอาจจะเป็นการอาศัยตีเนียนในช่วงที่สับสนเพราะท่านออกมาชนกับวัดพระธรรมกายและเครือข่ายก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า หลวงปู่พุทธอิสระอดีตผู้นำกลุ่ม กปปส. แจ้งวัฒนะนั้นเคยเป็น “โจทก์เก่า” ตัวสำคัญในช่วงปิดกรุงเทพฯ เมื่อปลายปีก่อนต้นปีที่แล้ว การยิงถล่มก็อาจจะมาจากเหตุเอาคืนในช่วงชุลมุนก็ยังเป็นไปได้
จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ก่อเหตุระเบิดศาลรัชดาฯ ซึ่งเป็นคนในเครือข่ายมีความใกล้ชิดกับ “ตัวละคร” สำคัญของฝ่ายเสื้อแดง พบว่าเป็นการจ้างต่อๆ กันมา จากเครือข่ายเคลื่อนไหวที่อยู่นอกประเทศ ผ่านแอพพลิเคชั่น “ไลน์” ระบบแชตร่วมสมัยที่นิยมที่สุดในขณะนี้
อาจมีผู้กังขาว่า สั่งการเรื่องใหญ่ขนาดนี้ทำไมติดต่อผ่านไลน์ที่มีหลักฐานหลงเหลือในโทรศัพท์ หรือดูเป็นระบบที่ไม่จริงจังที่ผู้คนเอาไว้คุยหัวส่งสติ๊กเกอร์กัน
แต่ข้อดีของไลน์ที่เหมาะอย่างยิ่งในการติดต่อกันด้วยเรื่องแบบนี้ คือ ระบบนี้ไม่สามารถตรวจเช็ก IP ที่มา หรือถูกกลั่นกรองข้อมูลได้ เพราะ Server ของไลน์อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางการไทยไม่มีอำนาจเข้าไปดักกรองข้อมูลหรือตรวจสอบได้
ทางบริษัทไลน์ก็แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนตั้งแต่แรกที่มีประเด็นว่าฝ่ายความมั่นคงจะขอข้อมูลเกี่ยวกับหาข่าวว่า เรื่องภายในประเทศของไทยจะไม่ยุ่ง และจะไม่มีการให้ข้อมูลใดๆต่อทางการเว้นแต่มีคำสั่งศาล
การติดต่อผ่านไลน์ซึ่งเป็นเหมือนโปรแกรมคุยเล่น เลยกลับกลายเป็นระบบที่เหมาะแก่การ “สั่งการ” ที่ไม่อยากให้ใครจับได้ไร้ตัวตนในที่สุด
ส่วนเจตนารมณ์ของการสั่งการให้ก่อเหตุจากคำสารภาพก็มาจากที่ว่า ต้องการจะก่อให้เกิดสภาพของการที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เป็นรัฐล้มเหลวหรือ Fail State
เพื่อเปิดทางให้สหประชาชาติ สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงจัดระเบียบ เหมือนที่เกิดในบางประเทศที่มีสงครามกลางเมือง
ซึ่งก็เข้ากับแนวทางการต่อสู้ของฝ่ายเสื้อแดงและเครือข่ายทักษิณก่อนหน้านี้ที่พยายามจะดำเนินกลยุทธ์แบบให้โลกล้อมไทย
ทั้งท่าทีของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยซึ่งแสดงออกอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นใจอยู่ข้างฝ่ายไหน
หรืออย่างท่าทีของฝ่ายสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็นองค์กรระดับรัฐหรือสหประชาชาติ รวมทั้ง NGO ที่รวมกันขย่มใส่ประเทศไทยว่าด้วยเรื่องรัฐประหาร การมีกฎอัยการศึก และการควบคุมสื่อ
และเมื่อมี “ท่าที” ดังนี้มาจาก “นอกประเทศ” เมื่อไร บรรดาเครือข่ายภายใน เช่น NGO ฝ่ายขาประจำ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยกลุ่มเดิมๆ ก็จะออกมาช่วยขย่ม โดยอาศัย “วัตถุดิบ” จากนอกประเทศเหล่านั้นนั่นแหละ
กระทุ้งให้รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึก และให้เสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการชุมนุม
แต่เอาเข้าจริงๆ การไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกนั้นเป็นข้อได้เปรียบของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมากกว่า เพราะตราบใดที่ยังอยู่ใต้ภาวะกฎอัยการศึก ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกติ สามารถ “ขย่ม” เรื่องนี้ได้เรื่อยๆ
เพราะกฎอัยการศึกนี้แม้จะมีเพื่อเอาไว้ใช้ในการป้องกันการก่อเหตุหรือควบคุมสถานการณ์ไม่ให้มีการต่อต้านอย่างรุนแรงเกินไป แต่ข้อเสียของกฎอัยการศึกก็มีมากมายหลายประการอันเป็นข้อที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะการคงกฎอัยการศึกเอาไว้ ก็ส่งผลบางประการต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน เช่นบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่ยอมขายประกันการเดินทางให้สำหรับประเทศที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก หรือการถูกตัดสิทธิทางการค้า หรือกีดกันทางการค้าด้วยข้ออ้างว่าประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่พอแง้มๆ หรือมีแนวคิดว่าอาจจะยกเลิกกฎอัยการศึก หรือผ่อนปรนลงโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายอื่นแทน ก็จะมีปัญหาว่า แล้วจะทำอย่างไรกับคลื่นใต้น้ำที่มีอาวุธ และพยายามก่อนเหตุอยู่เสมอเมื่อสบโอกาส และพอมีการพูดถึงเรื่องนี้ ก็จะมีเสียงระเบิดบ้าง เสียงปืนดังขึ้นบ้าง เป็นหนังตัวอย่างขู่ว่า ถ้าเลิกกฎอัยการศึกเมื่อไรก็รอดูหนังฉบับเต็ม
สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว กฎอัยการศึกไม่ได้ส่งผลอะไรต่อชีวิต ความเป็นอยู่ หรือการประกอบอาชีพเท่าไร หากไม่ได้ประกาศมาตรการห้ามออกจากบ้านหรือเคอร์ฟิว คนส่วนใหญ่ก็ลืมๆ ไปแล้วว่าประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
และกับฝ่ายที่เคลื่อนไหวใต้ดิน กฎอัยการศึกก็ไม่ได้ทำให้ทำงานไม่สะดวกขึ้นสักนิดเพราะถ้าจะหาช่องก่อเหตุจริงก็ทำได้ง่ายอย่างที่เห็น แต่สำหรับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็จับตัวคนก่อเหตุให้ง่าย แต่ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรเพราะจะไปได้แค่ตัวปลายทาง ซึ่งคนเหนือๆไปเขา “ตัดแขน” ทิ้งหมดแล้ว
ส่วนกระแสต้านจากต่างชาติ ที่คงประเมินแล้วว่า ถึงอย่างไรเครือข่ายตระกูลชินวัตรนั้นยังคงจะเรืองอำนาจ และพร้อมจะกลับมาได้ทุกเมื่อต่อไปตราบใดที่ยังจะมีการ “เลือกตั้ง” กันอยู่ต่อไปในประเทศไทย ก็เป็นธรรมดาที่เขาคงจะต้องเลือกข้างแทงฝ่ายที่จะมีผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อหาโอกาส “คุยกัน” ในอนาคต
การลงมือของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและ คสช.จากนี้ไปอาจจะปรากฏถี่ขึ้น เมื่อภาพของรัฐธรรมนูญปรากฏชัดเจนขึ้น นับแต่เดือนนี้เป็นต้นไป
เพราะพวกเขาจะใช้โอกาสจากการได้เสียงข้างมากแล้วครอบครองทุกสิ่งอย่าง เอาชนะได้ทั้งหมด ควบคุมได้ทุกระบบนั้น เป็นไปได้ยากขึ้น เพราะระบบถ่วงดุลฝ่ายการเมืองที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแก้ระเบียบกติกาเพื่อให้ได้เปรียบขึ้นไปเรื่อยๆ นั้นก็เป็นไปได้ยากเต็มที่
แน่นอนว่าพวกเขาต้องหาทางล้มกระดาน หรือใช้วิธีอื่นเพื่อเปลี่ยนทิศทางสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่าจะกลับมาได้แน่ๆ ผ่านกระบวนการชุบตัวที่เป็นประชาธิปไตยตามแบบพิธี ที่เพียงต้องการแค่ชนะการเลือกตั้งก็ถือว่ามีที่มาโดยชอบแล้ว.