และแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สนช.ก็ใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการถอดถอนอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในความผิดที่สร้างความเสียหายในคดีจำนำข้าว ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 190 ต่อ 18 เสียง
ส่วนคดีของอดีตสองประธานสภาฯ คู่หู คือนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ในความผิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ละเมิดต่อหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ นั้น สนช.มีมติไม่ถอดถอน ด้วยเหตุผลว่าความผิดยังไม่ชัดเจน
นับเป็นกรณีที่ปักหมุดลงไปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรีที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง ถูกถอดถอนโดยกระบวนการรัฐสภา ซึ่งจะมีโทษต่อไปตามกฎหมายปัจจุบัน คือห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี นับแต่วันลงมติ
แต่ต้องไม่ลืมว่า ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปนั้น การถูกถอดถอนอาจจะไม่ใช่มีโทษเพียง 5 ปีเท่านั้น เนื่องจากตามกรอบที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน มาตรา 35 (4) ที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
เช่นนี้ก็เป็นไปได้สูงว่า การเว้นวรรคทางการเมืองอาจจะไม่ใช่แค่ 5 ปี อาจจะหมายถึงตลอดชีวิต
นั่นคือการ “ถอด” และ “ถอน” รากขึ้นจากแผ่นดินทางการเมืองไทย
ปฏิกิริยาตอบโต้ของฝ่ายผู้ถูกถอดถอนหลังจากนั้น ก็ได้แก่การออกมาแถลงข่าวไปตามประสาอย่างที่คาดเดากันได้ คืออ้างว่าความยุติธรรมและประชาธิปไตยของไทยได้ตายไปแล้ว โดยถือเหมาอ้างเอาว่าการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย ผลการเลือกตั้งคือที่มาแห่งความชอบธรรมทุกอย่าง
แต่ท่าทีที่น่าสนใจนั้นน่าสนใจกว่า คือการที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ได้เข้าพบ นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยมีสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
แม้การเข้าพบดังกล่าวจะปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เข้าร่วมหารือด้วยพร้อมกันเพื่อแสดงให้เห็นว่านี่คือการเรียกสองอดีตนายกฯ จากสองขั้วขัดแย้งที่เป็นเหมือนคู่แข่งกันเข้ามาพบอย่าง “เสมอกัน” แต่ถ้าอ่านจาก “ภาษาสัญลักษณ์” ที่ทางการสหรัฐฯ เผยแพร่ออกมา จะเห็นว่า ทางการสหรัฐฯ นั้นให้ความสำคัญกับทางฝ่ายยิ่งลักษณ์มากกว่าเป็นอันมาก เอาแค่ภาพหลักที่ทางสถานทูตเผยแพร่ออกมา ก็ปรากฏว่า นางสาวยิ่งลักษณ์กับอดีต รมว.ต่างประเทศ “เสี่ยปึ้ง” หรือสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ได้นั่งในมุมเด่นใกล้กับนายรัสเซล ส่วนอภิสิทธิ์นั้นปรากฏออกมาแบบเสี้ยวหน้าตกเฟรม
เป็นภาษาภาพที่ชัดเจนไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดใดๆ ให้เสียท่าทีทางการทูต
และชัดเจนยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนายรัสเซลไปพูดต่อที่สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติของจุฬาฯ ให้บรรดานิสิตฟัง
เนื้อใหญ่ใจความที่ได้กล่าว ก็ได้แก่ การรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในช่วงนี้สะดุดลงเพราะผลกระทบจากรัฐประหารโดยกองทัพ และมองว่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาคดีอาญา ในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดชะงักลง ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง
นอกจากนี้ก็ยังกล่าวในเชิงว่า รัฐบาลควรต้องยกเลิกกฎอัยการศึก และให้เสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการชุมนุม
ท่าทีดังกล่าวเผยนัยว่า ทางการสหรัฐฯ นั้น นอกจากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารควบคุมอำนาจของ คสช.แล้ว ยังคงมองว่า อดีตรัฐบาลที่แล้วของ นางสาวยิ่งลักษณ์นั้นเป็นฝ่ายที่มีความชอบธรรม เพียงเพราะมาจากการเลือกตั้ง
และการถอดถอนนั้นเป็นเกมการเมืองของฝ่ายที่ครองอำนาจอยู่ คือผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร
ท่าทีนี้ นักวิเคราะห์จากต่างประเทศมองว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มองตระกูลชินวัตรว่าเป็นตัวละครที่สำคัญอยู่สำหรับอนาคตของการเมืองประเทศไทย เพราะถือว่านางสาวยิ่งลักษณ์คือนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมซึ่งควรจะได้การยอมรับ ถูกโค่นอำนาจจากการทำรัฐประหารที่ไม่ชอบธรรม และเปิดทางเลือกนี้ไว้ หากต่อไปในอนาคต คนจากตระกูลชินวัตรกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก สหรัฐฯ ก็ยังสามารถพูดได้ว่ายังคงรักษาความสัมพันธ์กับตระกูลชินวัตรมาโดยตลอด แม้อยู่ในสถานการณ์ที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศ
รัฐบาลไทยก็ได้ทำการประท้วงสหรัฐอเมริกาโดยทันทีเหมือนกัน โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.ต่างประเทศ เชิญนายแพทริค เมอร์ฟีย์ อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าพบโดยทันที พร้อมแถลงว่า ท่าทีของนายรัสเซลที่มาแสดงออกในประเทศไทยในการมาเยือนครั้งนี้นั้น “ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเกิดบาดแผลขึ้นในใจ” พร้อมยืนยันว่า การถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์นั้นเป็นกระบวนการตามกฎหมาย ไม่ใช่การกลั่นแกล้งหรือเช็กบิลจากฝ่ายที่มีอำนาจ
จึงพอให้เราเดาออกว่า “ไม้ต่อไป” จากฝ่ายยิ่งลักษณ์ และเครือข่ายทักษิณ น่าจะใช้มาตรการ “โลกล้อมไทย” มาเพื่อกดดันทางฝ่ายรัฐบาลและ คสช.แน่นอน คือนอกจากความพยายามย้ำเรื่องความชอบธรรมของตัวเองเพียงเพราะมาจากการเลือกตั้งแล้ว จากการประเมินของทางต่างประเทศ ก็มองว่า เครือข่ายตระกูลชินวัตรนั้นยังคงเรืองอำนาจ และพร้อมจะกลับมาได้ทุกเมื่อ ตราบใดที่ยังจะมีการ “เลือกตั้ง” กันอยู่ต่อไปในประเทศไทย
เป็นธรรมดาที่เขาคงจะต้องเลือกข้างแทงฝ่ายที่จะมีผลประโยชน์ตอบแทน หรืออย่างน้อยก็ไม่เปิดโอกาสให้ “คุยกัน” ในอนาคต
และเพราะการ “ชนะเลือกตั้ง” นี้เองที่เป็นเหมือนจุดได้เปรียบ และเป็นข้ออ้างให้ทางตะวันตกสามารถตีขลุมรับรองความชอบธรรมง่ายๆ ว่า ผู้ใดชนะการเลือกตั้ง คือผู้ชอบธรรมตามวิถีทางของประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งคือทั้งหมดของประชาธิปไตย
เช่นนี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องนำไปคิดเป็นการบ้าน ว่าทำอย่างไรที่จะให้ยังคงมีการเลือกตั้ง แต่ป้องกันไม่ให้คนโกงหน้าเก่ากลับเข้ามาได้ ด้วยทำให้การเลือกตั้งนั้นจะต้องบริสุทธิ์ ขาวสะอาด และชอบธรรมจริงๆ เพื่อมิให้ใช้เงินหรือสัญญาต่างตอบแทนเอาชนะการเลือกตั้งมาได้ง่ายๆ แล้วถือเป็นข้ออ้างความชอบธรรมเช่นนี้อีกต่อไปในอนาคต
และที่สำคัญ เพื่อจะได้สั่งสอนทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และประชาคมอื่นในโลกว่า พวกเขา “แทงหวย” ผิดเบอร์.
ส่วนคดีของอดีตสองประธานสภาฯ คู่หู คือนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ในความผิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ละเมิดต่อหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ นั้น สนช.มีมติไม่ถอดถอน ด้วยเหตุผลว่าความผิดยังไม่ชัดเจน
นับเป็นกรณีที่ปักหมุดลงไปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรีที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง ถูกถอดถอนโดยกระบวนการรัฐสภา ซึ่งจะมีโทษต่อไปตามกฎหมายปัจจุบัน คือห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี นับแต่วันลงมติ
แต่ต้องไม่ลืมว่า ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปนั้น การถูกถอดถอนอาจจะไม่ใช่มีโทษเพียง 5 ปีเท่านั้น เนื่องจากตามกรอบที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน มาตรา 35 (4) ที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
เช่นนี้ก็เป็นไปได้สูงว่า การเว้นวรรคทางการเมืองอาจจะไม่ใช่แค่ 5 ปี อาจจะหมายถึงตลอดชีวิต
นั่นคือการ “ถอด” และ “ถอน” รากขึ้นจากแผ่นดินทางการเมืองไทย
ปฏิกิริยาตอบโต้ของฝ่ายผู้ถูกถอดถอนหลังจากนั้น ก็ได้แก่การออกมาแถลงข่าวไปตามประสาอย่างที่คาดเดากันได้ คืออ้างว่าความยุติธรรมและประชาธิปไตยของไทยได้ตายไปแล้ว โดยถือเหมาอ้างเอาว่าการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย ผลการเลือกตั้งคือที่มาแห่งความชอบธรรมทุกอย่าง
แต่ท่าทีที่น่าสนใจนั้นน่าสนใจกว่า คือการที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ได้เข้าพบ นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยมีสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
แม้การเข้าพบดังกล่าวจะปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เข้าร่วมหารือด้วยพร้อมกันเพื่อแสดงให้เห็นว่านี่คือการเรียกสองอดีตนายกฯ จากสองขั้วขัดแย้งที่เป็นเหมือนคู่แข่งกันเข้ามาพบอย่าง “เสมอกัน” แต่ถ้าอ่านจาก “ภาษาสัญลักษณ์” ที่ทางการสหรัฐฯ เผยแพร่ออกมา จะเห็นว่า ทางการสหรัฐฯ นั้นให้ความสำคัญกับทางฝ่ายยิ่งลักษณ์มากกว่าเป็นอันมาก เอาแค่ภาพหลักที่ทางสถานทูตเผยแพร่ออกมา ก็ปรากฏว่า นางสาวยิ่งลักษณ์กับอดีต รมว.ต่างประเทศ “เสี่ยปึ้ง” หรือสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ได้นั่งในมุมเด่นใกล้กับนายรัสเซล ส่วนอภิสิทธิ์นั้นปรากฏออกมาแบบเสี้ยวหน้าตกเฟรม
เป็นภาษาภาพที่ชัดเจนไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดใดๆ ให้เสียท่าทีทางการทูต
และชัดเจนยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนายรัสเซลไปพูดต่อที่สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติของจุฬาฯ ให้บรรดานิสิตฟัง
เนื้อใหญ่ใจความที่ได้กล่าว ก็ได้แก่ การรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในช่วงนี้สะดุดลงเพราะผลกระทบจากรัฐประหารโดยกองทัพ และมองว่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาคดีอาญา ในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดชะงักลง ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง
นอกจากนี้ก็ยังกล่าวในเชิงว่า รัฐบาลควรต้องยกเลิกกฎอัยการศึก และให้เสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการชุมนุม
ท่าทีดังกล่าวเผยนัยว่า ทางการสหรัฐฯ นั้น นอกจากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารควบคุมอำนาจของ คสช.แล้ว ยังคงมองว่า อดีตรัฐบาลที่แล้วของ นางสาวยิ่งลักษณ์นั้นเป็นฝ่ายที่มีความชอบธรรม เพียงเพราะมาจากการเลือกตั้ง
และการถอดถอนนั้นเป็นเกมการเมืองของฝ่ายที่ครองอำนาจอยู่ คือผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร
ท่าทีนี้ นักวิเคราะห์จากต่างประเทศมองว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มองตระกูลชินวัตรว่าเป็นตัวละครที่สำคัญอยู่สำหรับอนาคตของการเมืองประเทศไทย เพราะถือว่านางสาวยิ่งลักษณ์คือนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมซึ่งควรจะได้การยอมรับ ถูกโค่นอำนาจจากการทำรัฐประหารที่ไม่ชอบธรรม และเปิดทางเลือกนี้ไว้ หากต่อไปในอนาคต คนจากตระกูลชินวัตรกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก สหรัฐฯ ก็ยังสามารถพูดได้ว่ายังคงรักษาความสัมพันธ์กับตระกูลชินวัตรมาโดยตลอด แม้อยู่ในสถานการณ์ที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศ
รัฐบาลไทยก็ได้ทำการประท้วงสหรัฐอเมริกาโดยทันทีเหมือนกัน โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.ต่างประเทศ เชิญนายแพทริค เมอร์ฟีย์ อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าพบโดยทันที พร้อมแถลงว่า ท่าทีของนายรัสเซลที่มาแสดงออกในประเทศไทยในการมาเยือนครั้งนี้นั้น “ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเกิดบาดแผลขึ้นในใจ” พร้อมยืนยันว่า การถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์นั้นเป็นกระบวนการตามกฎหมาย ไม่ใช่การกลั่นแกล้งหรือเช็กบิลจากฝ่ายที่มีอำนาจ
จึงพอให้เราเดาออกว่า “ไม้ต่อไป” จากฝ่ายยิ่งลักษณ์ และเครือข่ายทักษิณ น่าจะใช้มาตรการ “โลกล้อมไทย” มาเพื่อกดดันทางฝ่ายรัฐบาลและ คสช.แน่นอน คือนอกจากความพยายามย้ำเรื่องความชอบธรรมของตัวเองเพียงเพราะมาจากการเลือกตั้งแล้ว จากการประเมินของทางต่างประเทศ ก็มองว่า เครือข่ายตระกูลชินวัตรนั้นยังคงเรืองอำนาจ และพร้อมจะกลับมาได้ทุกเมื่อ ตราบใดที่ยังจะมีการ “เลือกตั้ง” กันอยู่ต่อไปในประเทศไทย
เป็นธรรมดาที่เขาคงจะต้องเลือกข้างแทงฝ่ายที่จะมีผลประโยชน์ตอบแทน หรืออย่างน้อยก็ไม่เปิดโอกาสให้ “คุยกัน” ในอนาคต
และเพราะการ “ชนะเลือกตั้ง” นี้เองที่เป็นเหมือนจุดได้เปรียบ และเป็นข้ออ้างให้ทางตะวันตกสามารถตีขลุมรับรองความชอบธรรมง่ายๆ ว่า ผู้ใดชนะการเลือกตั้ง คือผู้ชอบธรรมตามวิถีทางของประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งคือทั้งหมดของประชาธิปไตย
เช่นนี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องนำไปคิดเป็นการบ้าน ว่าทำอย่างไรที่จะให้ยังคงมีการเลือกตั้ง แต่ป้องกันไม่ให้คนโกงหน้าเก่ากลับเข้ามาได้ ด้วยทำให้การเลือกตั้งนั้นจะต้องบริสุทธิ์ ขาวสะอาด และชอบธรรมจริงๆ เพื่อมิให้ใช้เงินหรือสัญญาต่างตอบแทนเอาชนะการเลือกตั้งมาได้ง่ายๆ แล้วถือเป็นข้ออ้างความชอบธรรมเช่นนี้อีกต่อไปในอนาคต
และที่สำคัญ เพื่อจะได้สั่งสอนทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และประชาคมอื่นในโลกว่า พวกเขา “แทงหวย” ผิดเบอร์.