แล้ววันพรุ่งนี้ที่รอคอยก็จะมาถึง ตามกำหนดวาระการประชุมของ สนช.ในวาระเรื่องการลงมติถอดถอนคดีสำคัญที่เป็นผลมาจากการใช้อำนาจของรัฐบาลที่แล้ว คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยผิดรัฐธรรมนูญที่ส่อว่าทำไปเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เครือข่ายการเมืองของรัฐบาลที่แล้ว
กับเรื่องใหญ่ที่สุดคือ “คดีทุจริตจำนำข้าว” ที่ก่อความเสียหายแก่รัฐถึง 7 แสนล้าน และลดทอนความสามารถในการแข่งขันตลาดข้าวโลกของประเทศไทยลงไปอย่างย่อยยับ ซึ่งคดีสุดท้ายนี้ “จำเลย” ผู้ต้องถูกพิจารณาโดยมติของ สนช. คือ อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เดิมนั้น วงการวิเคราะห์ทางการเมืองคิดว่า คงเป็นการยากที่จะเกิดการถอดถอนขึ้นโดยสภาฯ ให้ได้เห็นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เหตุเพราะเริ่มแรกนั้น เพียงในชั้นการลงมติรับว่าเรื่องถอดถอนนี้อยู่ในอำนาจของ สนช.หรือไม่ ก็มีปัญหากันเสียแล้ว กล่าวคือมีความเห็นแตกแยกกันใน สนช. ว่า ตัวผู้จะถูกถอดถอนนั้นไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้วบ้าง หรือรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นฐานของการใช้อำนาจสิ้นสุดไปแล้ว อีกทั้งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็ไม่ได้บัญญัติเรื่องอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอาไว้อย่างชัดเจนด้วย
ในที่สุดเมื่อลงมติกัน ก็เป็นว่ามติที่ให้รับไว้พิจารณาอยู่ที่ 87 เสียง อีก 75 เสียง เห็นว่าเรื่องไม่อยู่ในอำนาจของ สนช.และงดออกเสียงอีก 15 เสียง
เมื่อดูตัวเลขของเสียงที่ไม่ชัดเจนเหล่านั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็คาดการณ์ไปในทางว่าโอกาสที่จะถอดถอนได้จริงนั้นต่ำมาก เพราะปัจจุบัน สนช.มีสมาชิก 220 คน 3 ใน 5 คือ 132 เสียง
ถ้าคนที่เคยรับไว้พิจารณาทุกคนจะลงมติถอดถอน ก็ยังต้องอาศัยลุ้นให้คนที่เคยลงมติไม่รับเรื่องไว้พิจารณา คนที่งดออกเสียง เปลี่ยนใจหรือลุ้นให้สมาชิก สนช.หน้าใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาในรอบหลังช่วยลงมติให้ถอดถอน ก็ยังต้องการอีกถึง 45 เสียง
บวกกับท่าทีรอมชอม ไม่ชัดเจนว่าจะเอาโทษไม่เอาผิดใคร หรือไม่มีการเร่งดำเนินคดีตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลเดิมชัดเจนนัก หรือมีการแพลมแนวทางเรื่องการ “ปรองดอง” แบบนิรโทษกรรมทุกฝ่ายให้แล้วๆ กันไป ยิ่งทำให้ฝ่ายที่อยากเห็นคนโกงถูกดำเนินการไปตามโทษานุโทษนั้นเริ่ม “ทำใจ” กันไปแล้ว
หรือคิดว่า อย่างมากก็น่าจะเชือดแค่ “สมศักดิ์ - นิคม” คู่หูอดีตประธานสภาฯ ที่ส่งมาสังเวยแทนเพื่อให้ได้ชื่อว่า สนช.ไม่ใช่สภาเสือกระดาษ แล้วปล่อยยิ่งลักษณ์ไปว่าความผิดยังไม่ชัดเจน
แต่สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงหลัง กล่าวคือ สนช.เริ่มยอมรับว่าตัวเองมีอำนาจประการอื่นๆ เทียบเท่ารัฐสภาในรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้ว เช่นอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ต่างๆ ซึ่งก็ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ก็เป็นการเทียบโอนอำนาจมาจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ โดยถือว่า คำว่า “สภาผู้แทนราษฎร” หรือ “วุฒิสภา” และ “รัฐสภา” ในกฎหมายต่างๆ นั้น คือ “สนช.” ที่เป็นสภาฯ เดียวที่ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาในขณะนี้นั่นเอง
ประเด็นโต้แย้งว่าด้วย “อำนาจ สนช.ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ตามกฎหมาย ป.ป.ช.จึงเหมือนกับจะได้คำตอบและไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว
ส่วนเรื่อง “ไม่มีตำแหน่งแล้วจะถอดถอนได้อย่างไร” ก็ต้องนับว่า ฝ่าย ป.ป.ช. คือท่านอาจารย์วิชา มหาคุณ นั้น ทำการบ้านมาดี ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่น กับการถูกถอดถอนจากตำแหน่งนั้นเป็นคนละเรื่องกัน เพราะการถอดถอนนั้นยังมีโทษที่เกี่ยวข้องกับการห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือห้ามเล่นการเมืองตามต่อมาอีก และหากตีความว่าพ้นจากตำแหน่งไม่ได้ ก็เท่ากับเปิดช่องให้มีการลาออกเพื่อหนีจากการถอดถอน
เรียกว่าประเด็นเรื่อง สนช.จะถอดถอนอดีตนักการเมืองจากสมัยรัฐบาลที่แล้วได้หรือไม่ได้ก็น่าจะต้องจบไปแล้ว เหลือแต่เหตุว่า “พฤติการณ์ของบุคคลเหล่านั้นสมควรที่จะต้องถูกถอดถอนหรือไม่” เท่านั้น
เสียงของฝ่ายที่เคยเห็นว่า สนช.ไม่มีอำนาจ และเสียงที่งดออกเสียง ก็น่าจะเทกลับมาได้ ไม่น่าจะยืนตามมติเดิมแล้ว จึงเท่ากับว่า การที่จะลงมติถอดถอนอดีตนายก ฯ และอดีตประธานรัฐสภานั้น อาจจะกลายเป็น Free Vote แบบหลวมๆ ไปแล้ว
ซึ่งในกรณีของ สนช.ที่มาจากอดีต ส.ว.หรือสายที่ชัดเจนว่าไม่ปรองดองกับคนโกง หรือกับนักการเมืองอีกฝ่ายนั้นคงไม่ค่อยเป็นห่วงหรือไม่ต้องสงสัยอะไร
ส่วน สนช.ฝ่ายทหาร ข้าราชการ และบุคคลอื่นๆ นั้น ก็อาจจะต้องวัดใจกันอีกที ว่าจะมอง “ธง” หรือมีการ “ส่งสัญญาณ” อะไรกันอย่างไร
เดิมก่อนหน้านี้ สนช.ค่อนข้างจะมีเสียงเกือบจะเป็นเอกฉันท์ และมักจะเห็นด้วยกับทางฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก แต่หลังๆ นั้นก็เริ่มปรากฏว่า มีการหักเหลี่ยมหักธงกันแล้ว เช่นที่ สนช.ใช้ความกล้าหาญ “หัก” รัฐบาลเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
ซึ่งส่งการบ้านกลับไปวัดใจกับ “บิ๊กตู่” ในฐานะของท่านนายกฯ ควบหัวหน้า คสช.ว่า จะยืนตามมติ สนช.หรือ “จะเอา” ตามความเห็นของรัฐบาล ที่ตัวเองเป็นเหมือน “ประธาน” อยู่
ส่วน “ธง” ที่ตีออกมาก็สับสน เช่นการที่กระทรวงพาณิชย์ไปแจ้งความดำเนินคดีกับกรณีการจำนำข้าว อาจจะมองว่าเป็นการกระทำองคาพยพของรัฐบาล นั่นคือน่าจะมีความ “เห็นชอบ” ระดับหนึ่งจากฝ่ายรัฐบาลแล้วหรือไม่ ว่าเรื่องนี้ต้องเอาผิด
แค่นี้ก็อาจจะฟันธงเช่นนั้นได้ยาก เพราะอาจจะพิจารณาตามความเป็นจริงอีกมุมก็ได้ว่า นี่คือการกระทำในฐานะของ “ส่วนราชการ” ที่เป็น “ฝ่ายประจำ” ที่จะต้องไปแจ้งความไว้เมื่อปรากฏมูลความผิด เพราะหาไม่แล้วก็มีระเบียบ วินัย และกฎหมายของทางราชการค้ำคอไว้เช่นนี้ การไปแจ้งความที่ว่า ก็อาจจะไม่เป็นสัญญาณอะไรเลยก็ได้
หรือท่าทีของ ป.ป.ช.ที่ลงมติ “เชือด” ให้ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการขายข้าวแบบ G2G ว่ามีมูลในทางทุจริตและดำเนินคดีอาญา ก็เป็น “ธง” ที่อาจจะไม่สามารถเชื่อมโยงกับ สนช.ได้นัก เพราะที่ผ่านมา ป.ป.ช.นั้นเหมือนทำงานคนเดียวแบบโชว์เดี่ยว ในเรื่องการปราบปรามการทุจริตมาอยู่แล้ว แต่หน่วยงานที่ต้องรับไม้ต่อก็ยังไม่ค่อยแสดงท่าทีเท่าไร
ล่าสุด ทางฝ่ายอัยการเองก็ออกมาปฏิเสธว่า ยังไม่มีมติอะไรในเรื่องการฟ้องคดีอาญากับอดีตนายกฯ ปู
ส่วนท่าทีของท่านนายกฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นแกนหลักอำนาจทั้งหมดในขณะนี้เองก็ยังฟันว่าเป็น “ธง” ไม่ได้ กล่าวคือท่านก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ออกมา นอกจากบอกว่า ผิดก็ว่ากันไปตามผิด
ทางฝ่ายพลพรรคเสื้อแดงทั้งภาคการเมืองและภาคมวลชนเองก็ดูสงบเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีการตื่นเต้น ไม่มีการปลุกระดมใดๆ นอกจากเรื่องที่ไปแจ้งความแก้เกี้ยวซึ่งเป็นเหมือนเกมถ่วงเวลาไร้สาระ
ถ้าจะมองว่า “ปลง” ว่าต้องโดนถอดถอนแน่ก็ได้ หรือจะมองว่า “นอนใจ” ไม่ต้องห่วง ก็ได้อีกเหมือนกัน
จึงยังคาดเดายาก ว่าการลงมติในวันพรุ่งนี้จะ “ว่าไปตามผิด” หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องคอยลุ้นกัน.
กับเรื่องใหญ่ที่สุดคือ “คดีทุจริตจำนำข้าว” ที่ก่อความเสียหายแก่รัฐถึง 7 แสนล้าน และลดทอนความสามารถในการแข่งขันตลาดข้าวโลกของประเทศไทยลงไปอย่างย่อยยับ ซึ่งคดีสุดท้ายนี้ “จำเลย” ผู้ต้องถูกพิจารณาโดยมติของ สนช. คือ อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เดิมนั้น วงการวิเคราะห์ทางการเมืองคิดว่า คงเป็นการยากที่จะเกิดการถอดถอนขึ้นโดยสภาฯ ให้ได้เห็นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เหตุเพราะเริ่มแรกนั้น เพียงในชั้นการลงมติรับว่าเรื่องถอดถอนนี้อยู่ในอำนาจของ สนช.หรือไม่ ก็มีปัญหากันเสียแล้ว กล่าวคือมีความเห็นแตกแยกกันใน สนช. ว่า ตัวผู้จะถูกถอดถอนนั้นไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้วบ้าง หรือรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นฐานของการใช้อำนาจสิ้นสุดไปแล้ว อีกทั้งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็ไม่ได้บัญญัติเรื่องอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอาไว้อย่างชัดเจนด้วย
ในที่สุดเมื่อลงมติกัน ก็เป็นว่ามติที่ให้รับไว้พิจารณาอยู่ที่ 87 เสียง อีก 75 เสียง เห็นว่าเรื่องไม่อยู่ในอำนาจของ สนช.และงดออกเสียงอีก 15 เสียง
เมื่อดูตัวเลขของเสียงที่ไม่ชัดเจนเหล่านั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็คาดการณ์ไปในทางว่าโอกาสที่จะถอดถอนได้จริงนั้นต่ำมาก เพราะปัจจุบัน สนช.มีสมาชิก 220 คน 3 ใน 5 คือ 132 เสียง
ถ้าคนที่เคยรับไว้พิจารณาทุกคนจะลงมติถอดถอน ก็ยังต้องอาศัยลุ้นให้คนที่เคยลงมติไม่รับเรื่องไว้พิจารณา คนที่งดออกเสียง เปลี่ยนใจหรือลุ้นให้สมาชิก สนช.หน้าใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาในรอบหลังช่วยลงมติให้ถอดถอน ก็ยังต้องการอีกถึง 45 เสียง
บวกกับท่าทีรอมชอม ไม่ชัดเจนว่าจะเอาโทษไม่เอาผิดใคร หรือไม่มีการเร่งดำเนินคดีตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลเดิมชัดเจนนัก หรือมีการแพลมแนวทางเรื่องการ “ปรองดอง” แบบนิรโทษกรรมทุกฝ่ายให้แล้วๆ กันไป ยิ่งทำให้ฝ่ายที่อยากเห็นคนโกงถูกดำเนินการไปตามโทษานุโทษนั้นเริ่ม “ทำใจ” กันไปแล้ว
หรือคิดว่า อย่างมากก็น่าจะเชือดแค่ “สมศักดิ์ - นิคม” คู่หูอดีตประธานสภาฯ ที่ส่งมาสังเวยแทนเพื่อให้ได้ชื่อว่า สนช.ไม่ใช่สภาเสือกระดาษ แล้วปล่อยยิ่งลักษณ์ไปว่าความผิดยังไม่ชัดเจน
แต่สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงหลัง กล่าวคือ สนช.เริ่มยอมรับว่าตัวเองมีอำนาจประการอื่นๆ เทียบเท่ารัฐสภาในรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้ว เช่นอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ต่างๆ ซึ่งก็ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ก็เป็นการเทียบโอนอำนาจมาจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ โดยถือว่า คำว่า “สภาผู้แทนราษฎร” หรือ “วุฒิสภา” และ “รัฐสภา” ในกฎหมายต่างๆ นั้น คือ “สนช.” ที่เป็นสภาฯ เดียวที่ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาในขณะนี้นั่นเอง
ประเด็นโต้แย้งว่าด้วย “อำนาจ สนช.ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ตามกฎหมาย ป.ป.ช.จึงเหมือนกับจะได้คำตอบและไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว
ส่วนเรื่อง “ไม่มีตำแหน่งแล้วจะถอดถอนได้อย่างไร” ก็ต้องนับว่า ฝ่าย ป.ป.ช. คือท่านอาจารย์วิชา มหาคุณ นั้น ทำการบ้านมาดี ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่น กับการถูกถอดถอนจากตำแหน่งนั้นเป็นคนละเรื่องกัน เพราะการถอดถอนนั้นยังมีโทษที่เกี่ยวข้องกับการห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือห้ามเล่นการเมืองตามต่อมาอีก และหากตีความว่าพ้นจากตำแหน่งไม่ได้ ก็เท่ากับเปิดช่องให้มีการลาออกเพื่อหนีจากการถอดถอน
เรียกว่าประเด็นเรื่อง สนช.จะถอดถอนอดีตนักการเมืองจากสมัยรัฐบาลที่แล้วได้หรือไม่ได้ก็น่าจะต้องจบไปแล้ว เหลือแต่เหตุว่า “พฤติการณ์ของบุคคลเหล่านั้นสมควรที่จะต้องถูกถอดถอนหรือไม่” เท่านั้น
เสียงของฝ่ายที่เคยเห็นว่า สนช.ไม่มีอำนาจ และเสียงที่งดออกเสียง ก็น่าจะเทกลับมาได้ ไม่น่าจะยืนตามมติเดิมแล้ว จึงเท่ากับว่า การที่จะลงมติถอดถอนอดีตนายก ฯ และอดีตประธานรัฐสภานั้น อาจจะกลายเป็น Free Vote แบบหลวมๆ ไปแล้ว
ซึ่งในกรณีของ สนช.ที่มาจากอดีต ส.ว.หรือสายที่ชัดเจนว่าไม่ปรองดองกับคนโกง หรือกับนักการเมืองอีกฝ่ายนั้นคงไม่ค่อยเป็นห่วงหรือไม่ต้องสงสัยอะไร
ส่วน สนช.ฝ่ายทหาร ข้าราชการ และบุคคลอื่นๆ นั้น ก็อาจจะต้องวัดใจกันอีกที ว่าจะมอง “ธง” หรือมีการ “ส่งสัญญาณ” อะไรกันอย่างไร
เดิมก่อนหน้านี้ สนช.ค่อนข้างจะมีเสียงเกือบจะเป็นเอกฉันท์ และมักจะเห็นด้วยกับทางฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก แต่หลังๆ นั้นก็เริ่มปรากฏว่า มีการหักเหลี่ยมหักธงกันแล้ว เช่นที่ สนช.ใช้ความกล้าหาญ “หัก” รัฐบาลเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
ซึ่งส่งการบ้านกลับไปวัดใจกับ “บิ๊กตู่” ในฐานะของท่านนายกฯ ควบหัวหน้า คสช.ว่า จะยืนตามมติ สนช.หรือ “จะเอา” ตามความเห็นของรัฐบาล ที่ตัวเองเป็นเหมือน “ประธาน” อยู่
ส่วน “ธง” ที่ตีออกมาก็สับสน เช่นการที่กระทรวงพาณิชย์ไปแจ้งความดำเนินคดีกับกรณีการจำนำข้าว อาจจะมองว่าเป็นการกระทำองคาพยพของรัฐบาล นั่นคือน่าจะมีความ “เห็นชอบ” ระดับหนึ่งจากฝ่ายรัฐบาลแล้วหรือไม่ ว่าเรื่องนี้ต้องเอาผิด
แค่นี้ก็อาจจะฟันธงเช่นนั้นได้ยาก เพราะอาจจะพิจารณาตามความเป็นจริงอีกมุมก็ได้ว่า นี่คือการกระทำในฐานะของ “ส่วนราชการ” ที่เป็น “ฝ่ายประจำ” ที่จะต้องไปแจ้งความไว้เมื่อปรากฏมูลความผิด เพราะหาไม่แล้วก็มีระเบียบ วินัย และกฎหมายของทางราชการค้ำคอไว้เช่นนี้ การไปแจ้งความที่ว่า ก็อาจจะไม่เป็นสัญญาณอะไรเลยก็ได้
หรือท่าทีของ ป.ป.ช.ที่ลงมติ “เชือด” ให้ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการขายข้าวแบบ G2G ว่ามีมูลในทางทุจริตและดำเนินคดีอาญา ก็เป็น “ธง” ที่อาจจะไม่สามารถเชื่อมโยงกับ สนช.ได้นัก เพราะที่ผ่านมา ป.ป.ช.นั้นเหมือนทำงานคนเดียวแบบโชว์เดี่ยว ในเรื่องการปราบปรามการทุจริตมาอยู่แล้ว แต่หน่วยงานที่ต้องรับไม้ต่อก็ยังไม่ค่อยแสดงท่าทีเท่าไร
ล่าสุด ทางฝ่ายอัยการเองก็ออกมาปฏิเสธว่า ยังไม่มีมติอะไรในเรื่องการฟ้องคดีอาญากับอดีตนายกฯ ปู
ส่วนท่าทีของท่านนายกฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นแกนหลักอำนาจทั้งหมดในขณะนี้เองก็ยังฟันว่าเป็น “ธง” ไม่ได้ กล่าวคือท่านก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ออกมา นอกจากบอกว่า ผิดก็ว่ากันไปตามผิด
ทางฝ่ายพลพรรคเสื้อแดงทั้งภาคการเมืองและภาคมวลชนเองก็ดูสงบเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีการตื่นเต้น ไม่มีการปลุกระดมใดๆ นอกจากเรื่องที่ไปแจ้งความแก้เกี้ยวซึ่งเป็นเหมือนเกมถ่วงเวลาไร้สาระ
ถ้าจะมองว่า “ปลง” ว่าต้องโดนถอดถอนแน่ก็ได้ หรือจะมองว่า “นอนใจ” ไม่ต้องห่วง ก็ได้อีกเหมือนกัน
จึงยังคาดเดายาก ว่าการลงมติในวันพรุ่งนี้จะ “ว่าไปตามผิด” หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องคอยลุ้นกัน.