นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลังโพสต์เฟซบุ้ควิจารณ์ปตท.แล้วก็ถูกฟ้องเป็นรายล่าสุด ซึ่งก็คงไม่น่าจะเป็นรายสุดท้ายหรอกหากว่าประเทศนี้ยังจำกัดให้กิจการด้านพลังงานเป็นเรื่องเฉพาะของผู้มีอำนาจเทคโนแครตและคนกลุ่มเดียวคิดทำกันแบบที่เคยเป็นมา
หลังจากที่ถูกฟ้องนั้นนายธีระชัยก็ยังโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ปตท.ต่อเนื่องแบบจัดหนัก เน้นไปที่การตั้งคำถามในจุดน่าสงสัยหรือจุดที่ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าเปิดหน้าชกชวนแลกหมัดกันทีเดียว
มีประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งคือเรื่องของเทคนิคการเอาเปรียบประชาชน และเรื่องหุ้นผู้มีอุปการคุณ ข้อเขียนของนายธีระชัยเขียนไว้ว่า :-
“.... สำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่นักเลงหุ้น ผมจะอธิบายวิธีคอร์รัปชั่นแบบนโยบาย ในการแปรรูป วิธีเอาเปรียบประชาชนแบบซ่อนรูป ทำอย่างนี้ครับ แต่เป็นกรณีสมมุตินะครับ ผมจะแปรรูปโดยปล่อยให้สิทธิผูกขาด หรือสาธารณะสมบัติ ติดไปกับรัฐวิสาหกิจให้มากที่สุดโดยอาจจะกำหนดเงื่อนไข ให้โอนสาธารณะสมบัติคืนรัฐเมื่อครบ 1 ปีเงื่อนไขนี้ จะทำให้ราคาเริ่มต้นไม่สูงนักแล้วผมก็จะใช้ชื่อนอมินี เข้าไปจองหุ้นในฐานะ ผู้มีอุปการคุณ
วิธีนี้ หุ้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้น ราคาก็จะยังไม่วิ่งมาก ไม่มีอะไรน่าสงสัย หลังจากนั้น ภายหลังครบ 1 ปี ผมก็จะยกเลิกเงื่อนไข ไม่โอนสาธารณะสมบัติกันแล้วคราวนี้ ราคาหุ้นก็จะวิ่งสูงขึ้นอย่างองอาจ เพราะตัวเลขกำไรจะสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เดิม
ยิ่งผมสามารถยื้อการโอนคืนสาธารณะสมบัติได้นานเท่าใด หุ้นก็จะยิ่งวิ่งสูงขึ้นนานเท่านั้นแต่ละปี ๆ ที่ประกาศกำไรสูงขึ้นๆ ซึ่งสูงเพราะบริษัทสามารถใช้สาธารณะสมบัติแบบฟรีๆ นั้น ราคาหุ้นก็จะยิ่งสูงขึ้นๆ จนเวลาผ่านไป ผมก็ขายหุ้น ได้กำไรจนมึนไปหมด
ช่วงที่ผมรับตำแหน่งเลขา กลต ใหม่ๆ ผมได้รับคำบ่นด่าขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำก่อนหน้า ว่ามีนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้อง ล็อกสิทธิจองหุ้นไปหมด
เขาบ่นกันว่า จะเหลือหุ้นจองให้ชาวบ้านนักเล่นหุ้นทั่วไป ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากมีการปรนเปรอสิทธิหุ้นจองให้แก่ "ผู้มีอุปการคุณ" ซึ่งมีทั้งผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ และผู้บริหารระดับสูงในรัฐวิสาหกิจ
ในขณะนั้น เหลือรัฐวิสาหกิจที่จะแปรรูปอยู่เพียง การท่าอากาศยานฯผมจึงกำหนดกฎขึ้นใหม่ 1 ข้อกรณีจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ ต้องระบุเหตุผลของการมีพระคุณไว้ด้วย”
………..
นายธีระชัยนั้นเป็นคนวงในเคยกำกับดูแลกิจการด้านตลาดหลักทรัพย์ การเขียนถึงหุ้นอุปการคุณในขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่ามีการล็อกหุ้นปรนเปรอแก่ผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องพยายามป้องกันโดยให้ระบุว่า คนๆ นั้น “มีพระคุณอย่างไร” ในเวลาต่อมา
นั่นก็แสดงว่าตอนที่ปตท.จัดสรรหุ้นผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้นเมื่อปี 2545 ตอนนั้นยังไม่มีเงื่อนไขให้แจกแจงว่าคนๆ นั้น “มีอุปการคุณหรือมีพระคุณ” อย่างไร ผมได้ไปค้นเอกสารบันทึกชี้แจงของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ประกอบการยื่นคำให้การของพนักงานอัยการในคดีมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินฟ้องร้องศาลปกครองกลาง
ปตท.ชี้แจงว่า “การจัดสรรหุ้นอุปการคุณคือการจัดให้กับ "คู่ค้า - ลูกค้าน้ำมันและก๊าซ" รวมทั้งพนักงานของบริษัทในเครือที่มีส่วนส่งเสริมให้ปตท.เติบโต จำนวน 2,294 คน”
อ๋อ...แค่คู่ค้า ลูกค้า และพนักงานในเครือสองพันกว่าคน (ไม่มีผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูง หรือขาใหญ่อย่างที่คนในวงการหุ้นเข้าใจกัน)
เอ๊ะ ! แล้วทำไมรายชื่อพวกนี้ถึงไม่เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนเลยว่ามีใครบ้างในบรรดาผู้มีอุปการคุณทั้ง 2,294 รายชื่อ ?
แค่ประเด็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดได้แล้วไม่เปิดนี่แหละครับเป็นหนึ่งในหลายๆ เรื่องที่สะสมกันทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่น้อย) เกิดความคลางแคลงใจต่อรัฐ/ปตท./หน่วยงานเกี่ยวข้องกับการพลังงาน เพราะถ้ามีแค่ลูกค้าคู่ค้าซึ่งทำการค้าต่อเนื่องกับพนักงานในเครือไม่มีคนของนักการเมือง ข้าราชการ คนใหญ่โตและนายทุนที่สังคมคลางแคลงใจ ปตท.เปิดออกมามีแต่กำไร จะได้ปิดปากข้อวิจารณ์เหล่านั้น ทำให้เรื่องกระจ่างขึ้นมา
ประเด็นที่นายธีระชัยวิจารณ์การเล่ห์เหลี่ยมการทำประโยชน์จากการกำหนดนโยบายแปรรูปน่าสนใจมาก เพราะการแปรรูปแบบที่ให้บริษัทใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติโดยไม่มีการโอนออกมาจากบัญชีรายได้มันก็คือการทำกำไรเกินปกติให้กับผู้ถือหุ้นนั่นเอง
ช่วงแรกคนยังไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิจากสาธารณสมบัตินี้ออกไปหรือไม่หุ้นยังไม่ขยับแต่เมื่อผ่านไปฝ่ายนโยบายไม่ต้องตัดอำนาจพิเศษออกก็เท่ากับเป็นเจ้าของร่วมของห่านวิเศษไข่ทองคำนอนกินสบาย... “ได้กำไรจนมึนไปหมด”
เขาจึงสงสัยน่ะสิครับว่ามีพรรคพวกคนที่กำหนดนโยบายแบบนี้ไปได้หุ้นจากกลุ่มผู้มีอุปการคุณหรือไม่ ?
ปตท.คงจะไม่คิดเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้หรอก เพราะถ้าอยากเปิดคงเปิดนานแล้วได้แต่เรียกร้องให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โปรดทำเรื่องนี้ให้กระจ่างสักเรื่องเพื่อให้เป็นนิมิตหมายก้าวแรกที่ดีของการปฏิรูปการพลังงานไทย
การปฏิรูปการพลังงานไทยควรเริ่มจากข้อมูลที่โปร่งใส ชัดเจน ตรงกันทุกฝ่ายเสียก่อน.
หลังจากที่ถูกฟ้องนั้นนายธีระชัยก็ยังโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ปตท.ต่อเนื่องแบบจัดหนัก เน้นไปที่การตั้งคำถามในจุดน่าสงสัยหรือจุดที่ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าเปิดหน้าชกชวนแลกหมัดกันทีเดียว
มีประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งคือเรื่องของเทคนิคการเอาเปรียบประชาชน และเรื่องหุ้นผู้มีอุปการคุณ ข้อเขียนของนายธีระชัยเขียนไว้ว่า :-
“.... สำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่นักเลงหุ้น ผมจะอธิบายวิธีคอร์รัปชั่นแบบนโยบาย ในการแปรรูป วิธีเอาเปรียบประชาชนแบบซ่อนรูป ทำอย่างนี้ครับ แต่เป็นกรณีสมมุตินะครับ ผมจะแปรรูปโดยปล่อยให้สิทธิผูกขาด หรือสาธารณะสมบัติ ติดไปกับรัฐวิสาหกิจให้มากที่สุดโดยอาจจะกำหนดเงื่อนไข ให้โอนสาธารณะสมบัติคืนรัฐเมื่อครบ 1 ปีเงื่อนไขนี้ จะทำให้ราคาเริ่มต้นไม่สูงนักแล้วผมก็จะใช้ชื่อนอมินี เข้าไปจองหุ้นในฐานะ ผู้มีอุปการคุณ
วิธีนี้ หุ้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้น ราคาก็จะยังไม่วิ่งมาก ไม่มีอะไรน่าสงสัย หลังจากนั้น ภายหลังครบ 1 ปี ผมก็จะยกเลิกเงื่อนไข ไม่โอนสาธารณะสมบัติกันแล้วคราวนี้ ราคาหุ้นก็จะวิ่งสูงขึ้นอย่างองอาจ เพราะตัวเลขกำไรจะสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เดิม
ยิ่งผมสามารถยื้อการโอนคืนสาธารณะสมบัติได้นานเท่าใด หุ้นก็จะยิ่งวิ่งสูงขึ้นนานเท่านั้นแต่ละปี ๆ ที่ประกาศกำไรสูงขึ้นๆ ซึ่งสูงเพราะบริษัทสามารถใช้สาธารณะสมบัติแบบฟรีๆ นั้น ราคาหุ้นก็จะยิ่งสูงขึ้นๆ จนเวลาผ่านไป ผมก็ขายหุ้น ได้กำไรจนมึนไปหมด
ช่วงที่ผมรับตำแหน่งเลขา กลต ใหม่ๆ ผมได้รับคำบ่นด่าขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำก่อนหน้า ว่ามีนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้อง ล็อกสิทธิจองหุ้นไปหมด
เขาบ่นกันว่า จะเหลือหุ้นจองให้ชาวบ้านนักเล่นหุ้นทั่วไป ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากมีการปรนเปรอสิทธิหุ้นจองให้แก่ "ผู้มีอุปการคุณ" ซึ่งมีทั้งผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ และผู้บริหารระดับสูงในรัฐวิสาหกิจ
ในขณะนั้น เหลือรัฐวิสาหกิจที่จะแปรรูปอยู่เพียง การท่าอากาศยานฯผมจึงกำหนดกฎขึ้นใหม่ 1 ข้อกรณีจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ ต้องระบุเหตุผลของการมีพระคุณไว้ด้วย”
………..
นายธีระชัยนั้นเป็นคนวงในเคยกำกับดูแลกิจการด้านตลาดหลักทรัพย์ การเขียนถึงหุ้นอุปการคุณในขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่ามีการล็อกหุ้นปรนเปรอแก่ผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องพยายามป้องกันโดยให้ระบุว่า คนๆ นั้น “มีพระคุณอย่างไร” ในเวลาต่อมา
นั่นก็แสดงว่าตอนที่ปตท.จัดสรรหุ้นผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้นเมื่อปี 2545 ตอนนั้นยังไม่มีเงื่อนไขให้แจกแจงว่าคนๆ นั้น “มีอุปการคุณหรือมีพระคุณ” อย่างไร ผมได้ไปค้นเอกสารบันทึกชี้แจงของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ประกอบการยื่นคำให้การของพนักงานอัยการในคดีมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินฟ้องร้องศาลปกครองกลาง
ปตท.ชี้แจงว่า “การจัดสรรหุ้นอุปการคุณคือการจัดให้กับ "คู่ค้า - ลูกค้าน้ำมันและก๊าซ" รวมทั้งพนักงานของบริษัทในเครือที่มีส่วนส่งเสริมให้ปตท.เติบโต จำนวน 2,294 คน”
อ๋อ...แค่คู่ค้า ลูกค้า และพนักงานในเครือสองพันกว่าคน (ไม่มีผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูง หรือขาใหญ่อย่างที่คนในวงการหุ้นเข้าใจกัน)
เอ๊ะ ! แล้วทำไมรายชื่อพวกนี้ถึงไม่เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนเลยว่ามีใครบ้างในบรรดาผู้มีอุปการคุณทั้ง 2,294 รายชื่อ ?
แค่ประเด็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดได้แล้วไม่เปิดนี่แหละครับเป็นหนึ่งในหลายๆ เรื่องที่สะสมกันทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่น้อย) เกิดความคลางแคลงใจต่อรัฐ/ปตท./หน่วยงานเกี่ยวข้องกับการพลังงาน เพราะถ้ามีแค่ลูกค้าคู่ค้าซึ่งทำการค้าต่อเนื่องกับพนักงานในเครือไม่มีคนของนักการเมือง ข้าราชการ คนใหญ่โตและนายทุนที่สังคมคลางแคลงใจ ปตท.เปิดออกมามีแต่กำไร จะได้ปิดปากข้อวิจารณ์เหล่านั้น ทำให้เรื่องกระจ่างขึ้นมา
ประเด็นที่นายธีระชัยวิจารณ์การเล่ห์เหลี่ยมการทำประโยชน์จากการกำหนดนโยบายแปรรูปน่าสนใจมาก เพราะการแปรรูปแบบที่ให้บริษัทใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติโดยไม่มีการโอนออกมาจากบัญชีรายได้มันก็คือการทำกำไรเกินปกติให้กับผู้ถือหุ้นนั่นเอง
ช่วงแรกคนยังไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิจากสาธารณสมบัตินี้ออกไปหรือไม่หุ้นยังไม่ขยับแต่เมื่อผ่านไปฝ่ายนโยบายไม่ต้องตัดอำนาจพิเศษออกก็เท่ากับเป็นเจ้าของร่วมของห่านวิเศษไข่ทองคำนอนกินสบาย... “ได้กำไรจนมึนไปหมด”
เขาจึงสงสัยน่ะสิครับว่ามีพรรคพวกคนที่กำหนดนโยบายแบบนี้ไปได้หุ้นจากกลุ่มผู้มีอุปการคุณหรือไม่ ?
ปตท.คงจะไม่คิดเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้หรอก เพราะถ้าอยากเปิดคงเปิดนานแล้วได้แต่เรียกร้องให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โปรดทำเรื่องนี้ให้กระจ่างสักเรื่องเพื่อให้เป็นนิมิตหมายก้าวแรกที่ดีของการปฏิรูปการพลังงานไทย
การปฏิรูปการพลังงานไทยควรเริ่มจากข้อมูลที่โปร่งใส ชัดเจน ตรงกันทุกฝ่ายเสียก่อน.