อาทิตย์ที่แล้ว ศาลอาญาได้มีคำสั่งชี้ขาดประเด็นข้อกฎหมายตามที่จำเลยร้องขอในคดีหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมาก
เพราะจำเลยในคดีดังกล่าว คือ อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ “พระสุเทพฯ” หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้สั่งการให้เกิดการสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ตามสำนวนการสอบสวนของ DSI ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
ซึ่งคำสั่งศาลที่อ่านมานั้น สรุปได้ว่า ขณะนั้นจำเลยทั้งสองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ.มีคำสั่งลับอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริงเข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามข้อกล่าวหาของ DSI นั้นระบุว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าสลายการชุมนุม ไม่เป็นไปตามหลักสากล และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การกระทำของนายอภิสิทธิ์ และพระสุเทพ ไม่ใช่คดีฆาตกรรม แต่เป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่ศาลอาญา ส่วนที่ฟ้องว่าการออกคำสั่งนั้นทำให้มีคนตายคนเจ็บ ก็เป็นความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ก็เป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งต้องอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามคดีหลัก ศาลอาญาจึงมีคำสั่งให้ยกฟ้องคดี
มีข้อน่าสังเกตว่า อธิบดีศาลอาญาได้ทำความเห็นแย้งในคดีนี้ด้วยว่า การที่จำเลยมีคำสั่งอนุมัติใช้กระสุนจริง รวมทั้งสั่งให้พลแม่นปืน (สไนเปอร์) ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองมีเจตนาเล็งเห็นผลว่าเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธสงครามยิงประชาชนได้ จึงเป็นเรื่องการกระทำนอกเหนือตำแหน่งราชการ เป็นการก่อหรือใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตายมีโทษหนักกว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นคดีที่ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวน และฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งตามหลักกฎหมายอาญาแล้วกรณีกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนัก แต่จะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ แค่ไหน เพียงไรศาลอาญาจะต้องสืบพยานหลักฐานกันต่อไป เห็นว่าคดีควรอยู่ในอำนาจศาลอาญา
อย่างไรก็ตาม ความเห็นแย้งของอธิบดีศาลอาญานั้นก็ไม่มีผลใดๆ ต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลต่อไปในอนาคต เว้นแต่จะเป็นเหตุผลติดไปกับสำนวนในชั้นศาลสูง หรือใช้ประกอบการอุทธรณ์ของฝ่ายอัยการหรือ DSI หากยังติดใจ ซึ่งการอุทธรณ์จะต้องกระทำภายในหนึ่งเดือนนับแต่อ่านคำสั่ง
ความเห็นเรื่องศาลอาญานั้นมีอำนาจชำระคดีนี้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายล้วนๆ ยังไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในชั้นนี้ ว่าใครทำอะไรตามที่กล่าวหาจริงหรือไม่ ซึ่งความเห็นทางกฎหมาย โดยธรรมชาตินั้นก็สามารถเห็นเป็นสองทางได้ทั้งสิ้น และแต่ละทางก็มีเหตุผลให้รับฟังได้เหมือนกัน
แนวความเห็นแย้งของท่านอธิบดีศาลอาญาก็มีเหตุผล แต่ก็มีความเห็นอีกแนวว่า ผู้สั่งสลายการชุมนุม แม้จะสั่งให้ใช้กระสุนจริง อาวุธจริง หรือใช้กำลังทหาร แต่ถ้าไม่ได้สั่งให้ไป “ยิงคน” แบบจำเพาะเจาะจงว่า ให้ยิงคนนั้นคนนี้ เพียงเท่านี้จะลงโทษอย่างกับเป็นผู้ใช้หรือผู้จ้างวานจะได้หรือ และในสถานการณ์ที่เข้าสลายการชุมนุมนั้น ก็มีความเป็นไปได้อยู่ที่ว่าฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายผู้ชุมนุมหรือแม้แต่มือที่สามอย่าง “ชายชุดดำ” นั้นก็อาจจะมีอาวุธเช่นกัน การที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่มีอาวุธก็อาจจะถือเป็นเรื่องจำเป็น
และหากจะถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งการนั้นจะต้องร่วมรับผิดในฐานว่า สั่งการให้ติดอาวุธเข้าไปถือว่าเป็นเจตนาเล็งเห็นผล เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารในอนาคตก็ออกจะเสี่ยงอยู่ทีเดียว หากมีใครสักคนใช้อาวุธแบบไม่ระวังมือ ผู้สั่งการชั้นต้นจะต้องร่วมรับผิดฐานฆ่าคนตายได้
เหตุผลหนึ่งของท่านอธิบดีศาลอาญาก็น่าคิดเช่นกันว่า ในเมื่อหากคดีอยู่ในอำนาจศาลอาญาแล้ว เท่ากับเป็นคดีอาญาธรรมดา ต้องสู้กัน 3 ชั้นศาล 3 องค์คณะ รวมทั้งยังมีคณะกลั่นกรองหรือมีการทำความเห็นแย้งได้อีก โดยรวมๆ คดีน่าจะผ่านตาผู้พิพากษาร่วม 20 คน ดังนั้น การที่คดีนี้ถูกพิจารณาโดยศาลอาญาน่าจะเป็นธรรมต่อคู่ความมากกว่า
ในขณะที่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ก็จะมีองค์คณะเดียว ผู้พิพากษา 9 คน มีชั้นเดียว ตัดสินแล้วจบเลย แม้จะอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ แต่ก็แทบว่าช่องทางและโอกาสในการอุทธรณ์นั้นต่ำทีเดียว
แต่ถ้าให้เราเดาความต้องการของจำเลย ที่เป็นคนต่อสู้เรื่องอำนาจศาลนี้ ก็คงเข้าใจได้ว่า ทำไมจำเลยถึงไม่เอา 3 ศาลที่น่ามีโอกาสลุ้นมากกว่า ขอศาลเดียวไปเลย นั่นก็เพราะว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ถึงจะมีชั้นเดียว แต่อำนาจของศาลฎีกาดังกล่าวก็จำกัดอยู่ที่เรื่องความผิดฐานประพฤติมิชอบ ทุจริตต่อหน้าที่ ร่ำรวยผิดปกติ หรือการปกปิดทรัพย์สินและหนี้สินเป็นหลัก
ซึ่งความผิดที่อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์และพระสุเทพ หากจะต้องถูกลงโทษจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจริงแล้ว ก็เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี
ในขณะที่ถ้าความผิดนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาตามเดิม ก็จะมีโทษจำคุกอย่างต่ำ 10 ปีถึงประหารชีวิต
ดังนั้น – ศาลเดียวแต่โทษเบากับ 3 ศาลแต่ถ้าแพ้ขึ้นมาโทษหนัก เป็นใครๆ ก็คงอยากเลือกชอยส์แรก ทั้งๆ ที่เอาเข้าจริงๆแล้ว โอกาสที่จะโดนลงโทษก็ไม่ได้สูงนัก อย่างที่ได้กล่าวไปว่าจำเลยไม่ได้สั่งให้ใครไปยิงใคร เพียงแต่อนุมัติให้ใช้อาวุธจริงกระสุนจริง แต่ก็นั่นแหละ – ไม่น่าเสี่ยงอยู่ดี ในสายตาจำเลย
เรื่องน่าพิจารณาประการต่อมา คือ เรื่องนี้เสื้อแดงจะนำไปขยายผลหรือไม่ แค่ไหน เพียงไร เพราะหลังจากศาลอาญาอ่านคำสั่ง ญาติของผู้เสียชีวิตของคน คือ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของพยาบาลเกด ที่เสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อของเด็กชายที่เสียชีวิตในซอยรางน้ำ ก็ได้โปรยใบปลิวประท้วงคำสั่งศาลที่สวนจตุจักรเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว และถูกนำตัวไปดำเนินคดี
แม้นางพะเยาว์และนายพันธ์ศักดิ์จะไม่ใช่คนเสื้อแดงเสียทีเดียว รวมทั้งถูกคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งเล่นงานเอาอย่างหนัก ในตอนที่มาประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า คนเสื้อแดงก็ได้อาศัยการตายของน้องเกดและน้องเฌอ (ลูกชายนายพันธ์ศักดิ์) มาเพื่อโจมตีนายอภิสิทธิ์และพระสุเทพอยู่เนืองๆ เรื่องสั่งสลายการชุมนุมจนมีคนที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือผู้บริสุทธิ์ตาย เพราะเด็กทั้งสองคนที่เสียชีวิตนั้นไม่ใช่ผู้ชุมนุม
คำสั่งศาลอาญาในเรื่องนี้อาจจะถูกคนเสื้อแดงเก็บเป็นอาวุธเอาไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของแดงกลุ่ม “ก้าวหน้า” กลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องให้นำคดีนี้ขึ้นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC (International Criminal Court) ซึ่งมีเงื่อนไขกการรับฟ้องสำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือ “ในกรณีที่กระบวนยุติธรรมภายในประเทศไม่อาจชำระคดีให้ได้”
จึงต้องรอดูว่า ในที่สุดแล้ว คดีนี้จะไปจบอย่างไร และจะเป็นระเบิดเวลาสำหรับรัฐบาลใหม่ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นหรือไม่.
เพราะจำเลยในคดีดังกล่าว คือ อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ “พระสุเทพฯ” หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้สั่งการให้เกิดการสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ตามสำนวนการสอบสวนของ DSI ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
ซึ่งคำสั่งศาลที่อ่านมานั้น สรุปได้ว่า ขณะนั้นจำเลยทั้งสองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ.มีคำสั่งลับอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริงเข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามข้อกล่าวหาของ DSI นั้นระบุว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าสลายการชุมนุม ไม่เป็นไปตามหลักสากล และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การกระทำของนายอภิสิทธิ์ และพระสุเทพ ไม่ใช่คดีฆาตกรรม แต่เป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่ศาลอาญา ส่วนที่ฟ้องว่าการออกคำสั่งนั้นทำให้มีคนตายคนเจ็บ ก็เป็นความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ก็เป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งต้องอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามคดีหลัก ศาลอาญาจึงมีคำสั่งให้ยกฟ้องคดี
มีข้อน่าสังเกตว่า อธิบดีศาลอาญาได้ทำความเห็นแย้งในคดีนี้ด้วยว่า การที่จำเลยมีคำสั่งอนุมัติใช้กระสุนจริง รวมทั้งสั่งให้พลแม่นปืน (สไนเปอร์) ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองมีเจตนาเล็งเห็นผลว่าเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธสงครามยิงประชาชนได้ จึงเป็นเรื่องการกระทำนอกเหนือตำแหน่งราชการ เป็นการก่อหรือใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตายมีโทษหนักกว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นคดีที่ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวน และฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งตามหลักกฎหมายอาญาแล้วกรณีกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนัก แต่จะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ แค่ไหน เพียงไรศาลอาญาจะต้องสืบพยานหลักฐานกันต่อไป เห็นว่าคดีควรอยู่ในอำนาจศาลอาญา
อย่างไรก็ตาม ความเห็นแย้งของอธิบดีศาลอาญานั้นก็ไม่มีผลใดๆ ต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลต่อไปในอนาคต เว้นแต่จะเป็นเหตุผลติดไปกับสำนวนในชั้นศาลสูง หรือใช้ประกอบการอุทธรณ์ของฝ่ายอัยการหรือ DSI หากยังติดใจ ซึ่งการอุทธรณ์จะต้องกระทำภายในหนึ่งเดือนนับแต่อ่านคำสั่ง
ความเห็นเรื่องศาลอาญานั้นมีอำนาจชำระคดีนี้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายล้วนๆ ยังไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในชั้นนี้ ว่าใครทำอะไรตามที่กล่าวหาจริงหรือไม่ ซึ่งความเห็นทางกฎหมาย โดยธรรมชาตินั้นก็สามารถเห็นเป็นสองทางได้ทั้งสิ้น และแต่ละทางก็มีเหตุผลให้รับฟังได้เหมือนกัน
แนวความเห็นแย้งของท่านอธิบดีศาลอาญาก็มีเหตุผล แต่ก็มีความเห็นอีกแนวว่า ผู้สั่งสลายการชุมนุม แม้จะสั่งให้ใช้กระสุนจริง อาวุธจริง หรือใช้กำลังทหาร แต่ถ้าไม่ได้สั่งให้ไป “ยิงคน” แบบจำเพาะเจาะจงว่า ให้ยิงคนนั้นคนนี้ เพียงเท่านี้จะลงโทษอย่างกับเป็นผู้ใช้หรือผู้จ้างวานจะได้หรือ และในสถานการณ์ที่เข้าสลายการชุมนุมนั้น ก็มีความเป็นไปได้อยู่ที่ว่าฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายผู้ชุมนุมหรือแม้แต่มือที่สามอย่าง “ชายชุดดำ” นั้นก็อาจจะมีอาวุธเช่นกัน การที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่มีอาวุธก็อาจจะถือเป็นเรื่องจำเป็น
และหากจะถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งการนั้นจะต้องร่วมรับผิดในฐานว่า สั่งการให้ติดอาวุธเข้าไปถือว่าเป็นเจตนาเล็งเห็นผล เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารในอนาคตก็ออกจะเสี่ยงอยู่ทีเดียว หากมีใครสักคนใช้อาวุธแบบไม่ระวังมือ ผู้สั่งการชั้นต้นจะต้องร่วมรับผิดฐานฆ่าคนตายได้
เหตุผลหนึ่งของท่านอธิบดีศาลอาญาก็น่าคิดเช่นกันว่า ในเมื่อหากคดีอยู่ในอำนาจศาลอาญาแล้ว เท่ากับเป็นคดีอาญาธรรมดา ต้องสู้กัน 3 ชั้นศาล 3 องค์คณะ รวมทั้งยังมีคณะกลั่นกรองหรือมีการทำความเห็นแย้งได้อีก โดยรวมๆ คดีน่าจะผ่านตาผู้พิพากษาร่วม 20 คน ดังนั้น การที่คดีนี้ถูกพิจารณาโดยศาลอาญาน่าจะเป็นธรรมต่อคู่ความมากกว่า
ในขณะที่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ก็จะมีองค์คณะเดียว ผู้พิพากษา 9 คน มีชั้นเดียว ตัดสินแล้วจบเลย แม้จะอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ แต่ก็แทบว่าช่องทางและโอกาสในการอุทธรณ์นั้นต่ำทีเดียว
แต่ถ้าให้เราเดาความต้องการของจำเลย ที่เป็นคนต่อสู้เรื่องอำนาจศาลนี้ ก็คงเข้าใจได้ว่า ทำไมจำเลยถึงไม่เอา 3 ศาลที่น่ามีโอกาสลุ้นมากกว่า ขอศาลเดียวไปเลย นั่นก็เพราะว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ถึงจะมีชั้นเดียว แต่อำนาจของศาลฎีกาดังกล่าวก็จำกัดอยู่ที่เรื่องความผิดฐานประพฤติมิชอบ ทุจริตต่อหน้าที่ ร่ำรวยผิดปกติ หรือการปกปิดทรัพย์สินและหนี้สินเป็นหลัก
ซึ่งความผิดที่อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์และพระสุเทพ หากจะต้องถูกลงโทษจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจริงแล้ว ก็เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี
ในขณะที่ถ้าความผิดนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาตามเดิม ก็จะมีโทษจำคุกอย่างต่ำ 10 ปีถึงประหารชีวิต
ดังนั้น – ศาลเดียวแต่โทษเบากับ 3 ศาลแต่ถ้าแพ้ขึ้นมาโทษหนัก เป็นใครๆ ก็คงอยากเลือกชอยส์แรก ทั้งๆ ที่เอาเข้าจริงๆแล้ว โอกาสที่จะโดนลงโทษก็ไม่ได้สูงนัก อย่างที่ได้กล่าวไปว่าจำเลยไม่ได้สั่งให้ใครไปยิงใคร เพียงแต่อนุมัติให้ใช้อาวุธจริงกระสุนจริง แต่ก็นั่นแหละ – ไม่น่าเสี่ยงอยู่ดี ในสายตาจำเลย
เรื่องน่าพิจารณาประการต่อมา คือ เรื่องนี้เสื้อแดงจะนำไปขยายผลหรือไม่ แค่ไหน เพียงไร เพราะหลังจากศาลอาญาอ่านคำสั่ง ญาติของผู้เสียชีวิตของคน คือ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของพยาบาลเกด ที่เสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อของเด็กชายที่เสียชีวิตในซอยรางน้ำ ก็ได้โปรยใบปลิวประท้วงคำสั่งศาลที่สวนจตุจักรเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว และถูกนำตัวไปดำเนินคดี
แม้นางพะเยาว์และนายพันธ์ศักดิ์จะไม่ใช่คนเสื้อแดงเสียทีเดียว รวมทั้งถูกคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งเล่นงานเอาอย่างหนัก ในตอนที่มาประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า คนเสื้อแดงก็ได้อาศัยการตายของน้องเกดและน้องเฌอ (ลูกชายนายพันธ์ศักดิ์) มาเพื่อโจมตีนายอภิสิทธิ์และพระสุเทพอยู่เนืองๆ เรื่องสั่งสลายการชุมนุมจนมีคนที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือผู้บริสุทธิ์ตาย เพราะเด็กทั้งสองคนที่เสียชีวิตนั้นไม่ใช่ผู้ชุมนุม
คำสั่งศาลอาญาในเรื่องนี้อาจจะถูกคนเสื้อแดงเก็บเป็นอาวุธเอาไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของแดงกลุ่ม “ก้าวหน้า” กลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องให้นำคดีนี้ขึ้นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC (International Criminal Court) ซึ่งมีเงื่อนไขกการรับฟ้องสำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือ “ในกรณีที่กระบวนยุติธรรมภายในประเทศไม่อาจชำระคดีให้ได้”
จึงต้องรอดูว่า ในที่สุดแล้ว คดีนี้จะไปจบอย่างไร และจะเป็นระเบิดเวลาสำหรับรัฐบาลใหม่ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นหรือไม่.