นับถอยหลังเหลืออีกเพียงไม่ถึงสามเดือน มหกรรมฟุตบอลโลก ก็จะเริ่มต้นฟาดแข้งกันอีกแล้ว เป็นที่รู้ๆ กันว่างานนี้มี 4 ปีครั้งเท่านั้น ตั้งแต่เด็กเล็กจนโต อายุใกล้เลขสามเข้าไปแล้ว จำได้ว่า เมื่อก่อนคนไทยก็เหมือนทุกๆประเทศในโลกที่จะได้รับชมฟุตบอลโลกกันทุกนัด แบบฟรีๆ
แต่ว่าในปีนี้ฟุตบอลโลกกำลังจะเป็นอะไรที่หากคุณอยากดูครบทุกนัด คุณต้องเสียเงิน เสียค่ากล่อง ติดจานดาวเทียม หรือไม่ก็ต้องไปนั่งตามร้านอาหารที่เขาติดจานและทำสัญญาถูกต้องกับเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างอาร์เอส หนึ่งในบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่กระโดดเข้าดวลตลาดการต่อสู้ ในเรื่องการขายดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณของตัวเอง
อาร์เอสเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ ทุนหนา ถึงขั้นไปประมูลเอาลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกมาได้นี่ก็ต้องใช้เม็ดเงินไปมากพอสมควร และเมื่อผู้ถือครองสิทธิ์เป็นเอกชน ก็ไม่แปลกอะไรที่อาร์เอสจะหวังฟันกำไรมหาศาลจากการขายกล่องและอื่นๆที่จะตามมาเพื่อกอบโกยเม็ดเงินจากประชาชน จึงมีประเด็นว่าอาร์เอสเอาเปรียบไหม มันก็มองได้ แต่การประมูลลิขสิทธิ์ครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนเราจะมี กสทช.
กสทช. แพ้ในชั้นศาล เมื่อศาลปกครองกลางตัดสินให้อาร์เอสเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2014 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ก็เพราะ กฏ must have นั้นออกมาช้าหลังการประมูล ก็ต้องดูกันต่อไปหละครับว่าหน่วยงานที่มีอำนาจมากขนาด กสทช. จะสู้ยังไงต่อไป การต่อสู้หนนี้จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมของการให้บริการแก่ประชาชน
หลายคนอาจสงสัยว่ากฎ must have คืออะไร must have คือ ประกาศกสทช.ที่ออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2555 เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ซึ่งกำหนดรายการทีวีที่สำคัญ ให้ออกอากาศได้เฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น บริการทีวีระบบบอกรับสมาชิก เช่น ทรู, CTH, หรือเคเบิ้ลทีวีอื่นๆก็จะดูได้ผ่านทางช่องฟรีทีวีเช่นกัน คือเอาเป็นว่าจะมาจอดำขึ้นตัววิ่งซะเฉยๆไม่ได้ การแข่งขันกีฬา 7 รายการด้วยกันที่อยู่ในกฎ must have นี้ ได้แก่
1.การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกีฬาซีเกมส์ (South-East Asian Games, SEA Games)
2.การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการอาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games)
3.การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย หรือเอเชียนเกมส์ (Asian Games)
4.การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการเอเชียนพาราเกมส์ (Asian Para Games)
5.การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games)
6.การแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก หรือกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games)
7.การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final)
สำหรับฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเตะกันทั้งหมด 64 นัด แต่คนไทยจะได้ดูเพียง 22 นัดเท่านั้น หากดูทางฟรีทีวี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้เราจะได้ดูฟุตบอลโลกไม่ครบทุกนัด
ถ้าอยากดูคนไทยที่เป็นแฟนฟุตบอลโลกต้องติดกล่อง ติดจาน อีกไม่นานทีวีในบ้านจอเดียวอาจจะต้องมีรีโมทสักยี่สิบอัน มีบ็อกซ์สักสิบบ็อกซ์ ต้องคอยกดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา รับรองสำหรับผู้สูงอายุคงมีสับสนกันบ้างแน่ๆ แค่มีบ็อกซ์เดียวหรือสองบ็อกซ์ก็สับสนแล้ว ถ้ามีรีโมทเป็นสิบยี่สิบจะปั่นป่วนกันขนาดไหน
ถ้าเป็นฟุตบอลลีกต่างประเทศผมยังพอเข้าใจและจัดการได้ แฟนบอลอาจเลือกที่จะดูหรือติดตามทีมที่ชอบ แต่กับฟุตบอลโลก หรือกีฬาระดับโลกต่างๆผมไม่เห็นด้วยเลยที่เราคนไทยจะต้องมาเสียเงินให้นายทุนผูกขาด เป็นช่องทางให้ธุรกิจหน้าเลือดโหดๆฉวยโอกาสมัดมือชกให้ชาวบ้านจำยอมไม่มีทางเลือก แล้วโขกประชาชนได้ตามใจชอบ ที่จริงถ้าถ่ายทอดฟรีทีวีทุกนัดแล้วขายโฆษณาเอา ก็น่าจะได้รายได้มหาศาล เชื่อสิมีคนอยากลงโฆษณาในช่วงแข่งบอลโลกเยอะอยู่แล้ว
ผู้บริหารอาร์เอสบอกว่ากฎ must haveไม่แฟร์กับทางอาร์เอส แต่สำหรับคนไทยผู้บริโภค สิ่งที่อาร์เอสทำก็ไม่แฟร์กับคนไทยเช่นเดียวกัน
จริงๆเราควรสรุปบทเรียนจากการเกิดจอดำในฟุตบอลยูโรเมื่อปีก่อน ตอนนั้นก็ต้องบอกเลยว่าแกรมมี่ก็เล่นแรง เพราะเขาไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะทำจอดำ ประชาชนกดมาช่องฟรีทีวีแต่ดูไม่ได้ แล้วมันควรจะเรียกฟรีทีวีไหมละแบบนี้ แม้เราจะไม่ได้ติดกล่องของแกรมมี่ แต่ฟรีทีวีก็ควรจะถ่ายทอดต่อไปได้ไม่ใช่ทำจอดำ ประชาชนทั้งประเทศเสียประโยชน์
กสทช. ไม่ยักออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนสักเท่าไรเลย หากเทียบกับฟุตบอลโลก ผมพอเข้าใจว่าบอลยูโรมันรายการเล็กกว่า แต่การที่จอดับ แล้วประชาชนไม่สามารถดูทีวีได้มันก็ไม่ควรเกิดขึ้น แต่กสทช.ก็ยังปล่อยให้มันเกิดขึ้นจนได้
มาครั้งนี่อีก ถ้า กสทช. ไม่ทำอะไรที่ดูจะสู้สุดตัว ก็ไม่รู้ว่าเราจะมีหน่วยงานนี้ไว้ทำไม ให้เปลืองเงินค่าจ้างจากภาษีประชาชน ประชาชนนายจ้างตัวจริง จ้างคุณมาดูแลผลประโยชน์ประชาชน ไม่ใช่จ้างมานั่งเล่น แล้วพอใกล้ๆเวลาค่อยตื่นขึ้นมาจัดการ จริงๆเรื่องเหล่านี้กสทช.รู้มานานแล้วว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่ทำไมชักช้าเพิ่งขยับ หรือมันจะมีอะไรซุกไว้ใต้พรม
ฟุตบอลโลก กีฬาที่ทั่วโลกคลั่งไคล้ มันก็ควรจะเป็นของมวลมนุษยชาติ ไม่ต่างอะไรกับกีฬา โอลิมปิก หลายคนมักพูดเรื่องความเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริงความเท่าเทียมมันไม่มีอยู่จริง มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์และเม็ดเงินซะมากกว่า จะดูกีฬาดีๆถ่ายทอดสดต้องเสียเงิน
ในโลกทุนนิยมสามานย์ ผลประโยชน์เงินทองเป็นใหญ่ ใหญ่จนเหนือกว่ามนุษย์ ทั้งที่ มนุษย์เราสร้างมันขึ้นมาแท้ๆ เงินเป็นที่มาของอำนาจเหนือกว่า ใช้บังคับควบคุมกฎเกณฑ์มนุษย์ด้วยกันอย่างไม่เป็นธรรม คนไทยตาดำๆคงทำได้แค่หวังว่าทุกอย่างจะแก้ไขได้ โดยจิตสำนึกที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ลดความโลภส่วนตัวลงกันเสียหน่อย ยักษ์ใหญ่เจ้าของทุนใหญ่ทั้งหลาย ตายไปก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ จะโลภกันไปถึงไหน
แต่ว่าในปีนี้ฟุตบอลโลกกำลังจะเป็นอะไรที่หากคุณอยากดูครบทุกนัด คุณต้องเสียเงิน เสียค่ากล่อง ติดจานดาวเทียม หรือไม่ก็ต้องไปนั่งตามร้านอาหารที่เขาติดจานและทำสัญญาถูกต้องกับเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างอาร์เอส หนึ่งในบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่กระโดดเข้าดวลตลาดการต่อสู้ ในเรื่องการขายดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณของตัวเอง
อาร์เอสเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ ทุนหนา ถึงขั้นไปประมูลเอาลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกมาได้นี่ก็ต้องใช้เม็ดเงินไปมากพอสมควร และเมื่อผู้ถือครองสิทธิ์เป็นเอกชน ก็ไม่แปลกอะไรที่อาร์เอสจะหวังฟันกำไรมหาศาลจากการขายกล่องและอื่นๆที่จะตามมาเพื่อกอบโกยเม็ดเงินจากประชาชน จึงมีประเด็นว่าอาร์เอสเอาเปรียบไหม มันก็มองได้ แต่การประมูลลิขสิทธิ์ครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนเราจะมี กสทช.
กสทช. แพ้ในชั้นศาล เมื่อศาลปกครองกลางตัดสินให้อาร์เอสเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2014 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ก็เพราะ กฏ must have นั้นออกมาช้าหลังการประมูล ก็ต้องดูกันต่อไปหละครับว่าหน่วยงานที่มีอำนาจมากขนาด กสทช. จะสู้ยังไงต่อไป การต่อสู้หนนี้จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมของการให้บริการแก่ประชาชน
หลายคนอาจสงสัยว่ากฎ must have คืออะไร must have คือ ประกาศกสทช.ที่ออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2555 เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ซึ่งกำหนดรายการทีวีที่สำคัญ ให้ออกอากาศได้เฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น บริการทีวีระบบบอกรับสมาชิก เช่น ทรู, CTH, หรือเคเบิ้ลทีวีอื่นๆก็จะดูได้ผ่านทางช่องฟรีทีวีเช่นกัน คือเอาเป็นว่าจะมาจอดำขึ้นตัววิ่งซะเฉยๆไม่ได้ การแข่งขันกีฬา 7 รายการด้วยกันที่อยู่ในกฎ must have นี้ ได้แก่
1.การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกีฬาซีเกมส์ (South-East Asian Games, SEA Games)
2.การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการอาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games)
3.การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย หรือเอเชียนเกมส์ (Asian Games)
4.การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการเอเชียนพาราเกมส์ (Asian Para Games)
5.การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games)
6.การแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก หรือกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games)
7.การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final)
สำหรับฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเตะกันทั้งหมด 64 นัด แต่คนไทยจะได้ดูเพียง 22 นัดเท่านั้น หากดูทางฟรีทีวี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้เราจะได้ดูฟุตบอลโลกไม่ครบทุกนัด
ถ้าอยากดูคนไทยที่เป็นแฟนฟุตบอลโลกต้องติดกล่อง ติดจาน อีกไม่นานทีวีในบ้านจอเดียวอาจจะต้องมีรีโมทสักยี่สิบอัน มีบ็อกซ์สักสิบบ็อกซ์ ต้องคอยกดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา รับรองสำหรับผู้สูงอายุคงมีสับสนกันบ้างแน่ๆ แค่มีบ็อกซ์เดียวหรือสองบ็อกซ์ก็สับสนแล้ว ถ้ามีรีโมทเป็นสิบยี่สิบจะปั่นป่วนกันขนาดไหน
ถ้าเป็นฟุตบอลลีกต่างประเทศผมยังพอเข้าใจและจัดการได้ แฟนบอลอาจเลือกที่จะดูหรือติดตามทีมที่ชอบ แต่กับฟุตบอลโลก หรือกีฬาระดับโลกต่างๆผมไม่เห็นด้วยเลยที่เราคนไทยจะต้องมาเสียเงินให้นายทุนผูกขาด เป็นช่องทางให้ธุรกิจหน้าเลือดโหดๆฉวยโอกาสมัดมือชกให้ชาวบ้านจำยอมไม่มีทางเลือก แล้วโขกประชาชนได้ตามใจชอบ ที่จริงถ้าถ่ายทอดฟรีทีวีทุกนัดแล้วขายโฆษณาเอา ก็น่าจะได้รายได้มหาศาล เชื่อสิมีคนอยากลงโฆษณาในช่วงแข่งบอลโลกเยอะอยู่แล้ว
ผู้บริหารอาร์เอสบอกว่ากฎ must haveไม่แฟร์กับทางอาร์เอส แต่สำหรับคนไทยผู้บริโภค สิ่งที่อาร์เอสทำก็ไม่แฟร์กับคนไทยเช่นเดียวกัน
จริงๆเราควรสรุปบทเรียนจากการเกิดจอดำในฟุตบอลยูโรเมื่อปีก่อน ตอนนั้นก็ต้องบอกเลยว่าแกรมมี่ก็เล่นแรง เพราะเขาไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะทำจอดำ ประชาชนกดมาช่องฟรีทีวีแต่ดูไม่ได้ แล้วมันควรจะเรียกฟรีทีวีไหมละแบบนี้ แม้เราจะไม่ได้ติดกล่องของแกรมมี่ แต่ฟรีทีวีก็ควรจะถ่ายทอดต่อไปได้ไม่ใช่ทำจอดำ ประชาชนทั้งประเทศเสียประโยชน์
กสทช. ไม่ยักออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนสักเท่าไรเลย หากเทียบกับฟุตบอลโลก ผมพอเข้าใจว่าบอลยูโรมันรายการเล็กกว่า แต่การที่จอดับ แล้วประชาชนไม่สามารถดูทีวีได้มันก็ไม่ควรเกิดขึ้น แต่กสทช.ก็ยังปล่อยให้มันเกิดขึ้นจนได้
มาครั้งนี่อีก ถ้า กสทช. ไม่ทำอะไรที่ดูจะสู้สุดตัว ก็ไม่รู้ว่าเราจะมีหน่วยงานนี้ไว้ทำไม ให้เปลืองเงินค่าจ้างจากภาษีประชาชน ประชาชนนายจ้างตัวจริง จ้างคุณมาดูแลผลประโยชน์ประชาชน ไม่ใช่จ้างมานั่งเล่น แล้วพอใกล้ๆเวลาค่อยตื่นขึ้นมาจัดการ จริงๆเรื่องเหล่านี้กสทช.รู้มานานแล้วว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่ทำไมชักช้าเพิ่งขยับ หรือมันจะมีอะไรซุกไว้ใต้พรม
ฟุตบอลโลก กีฬาที่ทั่วโลกคลั่งไคล้ มันก็ควรจะเป็นของมวลมนุษยชาติ ไม่ต่างอะไรกับกีฬา โอลิมปิก หลายคนมักพูดเรื่องความเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริงความเท่าเทียมมันไม่มีอยู่จริง มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์และเม็ดเงินซะมากกว่า จะดูกีฬาดีๆถ่ายทอดสดต้องเสียเงิน
ในโลกทุนนิยมสามานย์ ผลประโยชน์เงินทองเป็นใหญ่ ใหญ่จนเหนือกว่ามนุษย์ ทั้งที่ มนุษย์เราสร้างมันขึ้นมาแท้ๆ เงินเป็นที่มาของอำนาจเหนือกว่า ใช้บังคับควบคุมกฎเกณฑ์มนุษย์ด้วยกันอย่างไม่เป็นธรรม คนไทยตาดำๆคงทำได้แค่หวังว่าทุกอย่างจะแก้ไขได้ โดยจิตสำนึกที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ลดความโลภส่วนตัวลงกันเสียหน่อย ยักษ์ใหญ่เจ้าของทุนใหญ่ทั้งหลาย ตายไปก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ จะโลภกันไปถึงไหน