ติดตามอ่านคอลัมน์ว่าด้วยการพลังงาน และ ปตท. คุณบรรยง พงษ์พานิช ผู้บริหารใหญ่สถาบันการเงินชื่อดังแถมเป็นอดีตบอร์ดการบินไทยและเป็นอะไรๆ อีกหลายอย่างในเว็บไซต์ thaipublica.org มาหลายตอนรู้สึกผิดหวังที่เนื้อหาไม่ได้ไปไหนไกล หลักๆ วนเวียนแค่ 3 เรื่อง
หนึ่ง-บอกว่าแปรรูปรัฐวิสาหกิจน่ะเป็นหนทางที่ถูก อย่าไปติดว่าคือการขายสมบัติชาติ
สอง-บอกว่าการขายหุ้นปตท.ชอบแล้วไม่มีอะไรผิด
และสาม-หาช่องตอบโต้กระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปการพลังงานที่กำลังดังอยู่ตอนนี้
ลักษณะที่สามเหมือนจะเป็นการให้ข้อมูลกับสังคมแต่ก็คาบเกี่ยวกับการแก้ตัวแทน ออกหน้าโต้แทนซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของพีอาร์ เช่นการชี้แจงเรื่องปริมาณพลังงานของบ้านเราไม่ได้มากมายอย่างที่กระแสในโซเชี่ยลมีเดียนำมาอ้างและที่แท้ก็เป็นกะเปาะไม่ได้เป็นแหล่งใหญ่ ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่าประเด็นปริมาณที่ว่ากันนี้เป็นหัวใจหลักในเรื่องปฏิรูปพลังงานเลย ขอให้รู้ว่าเรามีเองอยู่จำนวนหนึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนหน้าปี 2524 เท่านี้ก็เพียงพอที่จะต้องนำมาตีแผ่ให้ประชาชนได้รู้และต้องมาคิดเรื่องกระบวนการจัดการที่ทำให้ประเทศชาติประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากแหล่งที่เรามีเอง (ไม่ว่าจะมากน้อยขนาดไหน)
คุณบรรยงเป็นมืออาชีพบริหารกิจการใหญ่ เป็นนักบริหารการเงินชื่อดังมีความรู้มีข้อมูลประสบการณ์มาก น่าจะสามารถนำเสนอความเห็นที่เป็นวิสัยทัศน์มองว่าปมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพลังงานไทยปัจจุบันตรงไหนที่ยังต้องปรับปรุง อันใดดีแล้วอย่าไปแตะและหากจะปรับควรปรับยังไง
เป็นอินทรีก็บินอย่างอินทรี ทอดตามองอย่างอินทรี อย่าไปแย่งงานกระจิบกระจอกเขาทำเลยครับ !!
การณ์กลับกลายเป็นว่าข้อเขียนที่คุณบรรยงเขียนมาทั้งหมดเพื่อจะปกป้องว่าสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่นะดีอยู่แล้วใครหน้าไหนจะเสนอให้ปฏิรูปปรับปรุงจงถอยกลับไปซะ แก้ตัวแทนให้ตั้งแต่ข้อครหาว่าแปรรูปผลประโยชน์ไปให้เอกชนที่มาถือหุ้น แก้ให้ว่าการกำหนดราคาขายปลีกก็เหมาะดีแล้ว แก้ให้ว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ดีแล้วไงเพราะนักการเมืองมาแทรกแซงไม่ได้ แก้ให้ว่าปริมาณน้ำมันของเราไม่ได้มากมายอย่างที่เผยแพร่กัน
ล่าสุดบทความตอนที่ 6 แก้ต่างให้ว่าการขายหุ้นปตท.เมื่อ 2544 นั้นถูกต้องชอบแล้วดีแล้ว แถมบอกว่าเป็นประโยชน์อย่างเหลือคณานับให้กับประเทศไทยว่าไปโน่น ขนาดจั่วหัวว่าเป็น “IPO ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย” ว่าไปถึงขนาดนั้น
ผมติดใจเรื่องการขายหุ้นปตท.ให้กับรายย่อยที่มีผู้คนสนใจมากเข้าคิวกันแต่ปรากฏหุ้นถูกกันเอาไว้ให้กับลูกค้าของขาใหญ่หมดภายในไม่ถึง 2 นาที ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่เป็นการฉ้อฉลเอาเปรียบ ทำไม่ถูกอย่างแน่นอน ปรากฏคุณบรรยงมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย ขอคัดเอาที่แกเขียนไว้มาดังนี้
“
พอเปิดจองก็เป็นดังคาด สาขากว่าหมื่นของธนาคารทั้งห้า แต่ละแห่งมีอีกหลายช่องบริการ แถมลูกค้ามารอคิวแต่หกโมงเช้า ส่วนใหญ่จองเต็มแสนหุ้น พอเปิดจองได้ 1 นาที 17 วินาที ก็ครบ 200 ล้านหุ้น เราเปิดจองอีกพัก พอครบ 350 ล้านหุ้นก็หยุด ไม่อยากให้ลูกค้าต้องเอาเงินมาทิ้งไว้ฟรีๆตรงนี้ต้องขอเล่าข้อผิดพลาดในการรับจอง ธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นผู้ประสานงานของกลุ่มธนาคารดันเกิดมีชั้นเชิงพิเศษ ของคนอื่นต้องกรอกการจองทีละใบ แต่ธนาคารไทยพาณิชย์มีกรอกล่วงหน้าไว้สิบใบทุกๆ ช่องบริการ เป็นการเอาเปรียบ และไม่เป็นไปตามหนังสือชี้ชวน (เรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเข้าใจผิด) กลต. ตรวจสอบ แล้วลงโทษปรับ กับพักใบอนุญาตธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ให้เป็นตัวแทนรับจองหุ้น 6 เดือน ถามว่าผิดไหม…ก็ผิดแหละครับ แต่ไม่ใช่ใหญ่โตขนาดที่จะให้รายการเป็นโมฆะอะไร
”
การพยายามเขียนเรื่องผิดให้ดูเป็นเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อย ขนาดใส่วงเล็บไว้ว่าไม่แน่ใจว่าเข้าใจผิดหรือเป็นกลยุทธ์คือการแก้ตัวให้แบบเนียนๆ
เพราะข้อเท็จจริงก็คืองานนี้ไม่ใช่ขัดต่อเงื่อนไขตามหนังสือชี้ชวนตามที่เขียนมาหรอกนะครับ ขัดต่อ TOR เงื่อนไขการจ้างระหว่างปตท.กับสถาบันการเงินกระจายที่หุ้นด้วย แต่ไปๆ มาๆ ผู้ว่าจ้างก็หยวน ผู้รับจ้างทำผิดไม่เป็นไร ก็ขายได้ครบแล้วนี่คนที่ไม่ได้เป็นพวกประชาชนรายย่อยช่างมันเหอะ ?
ไทยพาณิชย์และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ต้องทำตาม TOR ที่ปตท.ได้ว่าจ้างให้กระจายหุ้น ปตท.เป็นผู้ว่าจ้างให้พวกคุณเป็นกรรมการจ่ายหุ้นให้ยุติธรรมตามกติกา ใครมาก่อนได้ก่อน แต่พอเอาจริงกรรมการโกงให้พวกตัวเอง ปตท.ทำเฉยๆ กองเชียร์อย่างคุณบรรยงบอกว่าเป็นแค่เรื่องเล็ก
แถมยังบอกอีกว่าหุ้นจำนวนหนึ่งปตท.จัดเป็นหุ้นอุปการคุณ เป็นโควตากันให้กับลูกค้าผู้สนับสนุนไม่ผิดตรงไหน ผมขอยืนยันว่าผิดครับ ปตท.ไม่ใช่บริษัทเอกชนของส่วนตัวใคร และจนบัดนี้ปตท.ก็ไม่เคยเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับหุ้นส่วนนี้เลย คุณบรรยงต้องไปตรวจข้อมูลใหม่นะครับ
การพลังงานเป็นเส้นเลือดสำคัญอีกเส้นรองจากเส้นเลือดการเงิน โลกยุคใหม่นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาขับเคลื่อนโดยการพลังงานซึ่งมีน้ำมันดิบ/ก๊าซธรรมชาติไฮโดรคาร์บอนเป็นหัวหอก การเงินและการพลังงานถือเป็นชีพจรของเศรษฐกิจโลก
คุณบรรยง ใช้สายตาของเศรษฐีผู้บริหารกิจการด้านการเงินมองก็จะมองเห็นแง่มุมประโยชน์ที่เอื้อกับตลาดทุนเป็นสำคัญ คุณบรรยงดีใจมากที่ปตท.เข้าตลาด เพราะมันช่วยดันดัชนีหุ้นไทยและจนบัดนี้หุ้นของปตท.เป็นตัวค้ำจุนตลาดทุนของไทยไปแล้ว ทักษิณเมื่อปี 2544 ก็มองแบบคุณบรรยง คืออยากให้ปตท.ไปฉุดตลาดหุ้นให้ฟื้นขึ้น สร้างวอลุ่มให้ตลาดซึ่งที่สุดแล้วคนที่ได้ประโยชน์จากงานนี้คือพวกที่อยู่ในวงการหุ้นนั่นเอง ต่อให้ไม่ได้ซื้อหุ้นปตท.แต่ก็ได้ประโยชน์ทางอ้อมจากดัชนีและมูลค่าตลาด ภัทรและห้องค้าต่างๆ ได้หมด ทักษิณเล่นหุ้นใครๆ ก็รู้ ทักษิณและหุ้นของทักษิณก็ได้ประโยชน์จากงานนี้
อำมาตย์พลังงาน เทคโนแครตอย่างคุณบรรยง เศรษฐีเล่นหุ้นที่จริงมีอยู่แค่หยิบมือเดียวเมื่อเทียบกับคนทั้งประเทศดังที่คุณบรรยงบอกในบทความเองว่าในตอนนี้ (2544) มีอยู่ 2 แสนบัญชีเท่านั้นแหละที่ได้ประโยชน์จากที่ปตท.ได้เข้าตลาดขนาดที่ต้องเอามาเขียนบรรยายเบื้องหลังการทำงานในบทความ
ทั้งๆ ที่ประโยชน์ในแง่ของการทำให้ดัชนีตลาดทุนขยายตัวควรจะเป็นแค่ “ผลประโยชน์ทางอ้อม” เท่านั้น
ผลประโยชน์ทางตรงจริงๆ ของการแปรรูปปตท.คืออะไรครับ ?
ที่เขียนมาเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแง่บวกแง่ลบก็ดีครับคนอ่านจะได้ประโยชน์รู้เรื่องมุมกว้าง แต่ขอถามหน่อย ปตท.แปรรูปแล้วมันเกิดประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเมื่อเทียบกับก่อนแปรรูปขนาดไหน
แปรรูปปตท.ไปทำไมครับ ? คือเงินทุนหรือ? ก็ไม่ใช่เรื่องหลัก .....คือประสิทธิภาพการบริหารหรือ งั้นวัดกันที่มาร์จิ้นและผลกำไรสุทธิ อ้าวถ้าเอากำไรสุทธิมาวัดจริงๆ ก็เท่ากับประสิทธิภาพการกดขี่ขูดรีดทำกำไรหลายชั้นหลายต่อน่ะสิครับ ..แล้วผลประโยชน์ที่ประเทศชาติประชาชนได้จากการแปรรูปปตท.คืออะไรล่ะครับคุณบรรยง?
ในยุคนั้นพ.ศ.นั้นเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ กระแสเสรีนิยมใหม่ ฉันทามติวอชิงตันโบกพัดการแปรรูป Privatization เลยเหมือนเป็นยาวิเศษครอบจักรวาลมากันเป็นชุดคือแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ทำรัฐและการควบคุมของรัฐให้เล็กลง เชื่อให้หลักการตลาดเสรีและเชื่อในมือที่มองไม่เห็นของตลาดฯลฯ
ทั้งๆ ที่โลกของนักเศรษฐศาสตร์เองก็ไม่ได้ลงเอยเชื่อในเรื่องนี้กันแล้ว มีการถกเถียงมากมายและก็มีการตั้งคำถามกับเสรีนิยมใหม่ รวมไปถึงคัมภีร์ยาเม็ดครอบจักรวาลอันรวมถึงการ Privatization ด้วยซ้ำไป
คาถาเสรีนิยม การแข่งขันเสรี เป็นการประกอบธุรกิจการค้ากันตรงไปตรงมาเหมือนขายสบู่ ผงซักฟอกแต่เอามาใช้กับกับกิจการด้านพลังงานไม่ได้ เพราะกิจการพลังงานไม่เหมือนกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมทั่วไปอันนี้คุณบรรยงรู้แต่ไม่พูดออกมาในบทความ
กิจการพลังงานเป็นเรื่องของความมั่นคง เป็นชีพจรเส้นเลือดที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าชีพจรการเงิน ตอนที่ยูโนแคลประกาศขายกิจการจีนเสนอซื้อรัฐบาลอเมริกันประเทศที่ว่าเสรีนิยมสุดๆ ยังไม่ให้ซื้อเลยที่สุดเชฟรอนก็ต้องเข้าไปซื้อแทน เวลาพูดถึง ปตท. ต้องมองให้ครบทุกมิติ เอาสายตาของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มาเชียร์ว่าทำให้ SET พุ่งขึ้น หรือเอาสายตาของนักเสรีนิยมที่มองว่าต้องแปรรูปเพื่อลดการควบคุมของรัฐเป็นดีเท่านั้นไม่ได้ ต้องมองมิติอื่นๆ ด้วย
ประวัติความเป็นของของการพลังงานไทยในยุคก่อนหน้าเราถูกฝรั่งกดขี่ข่มเหง ต้องเป็นน้ำใต้ศอก ยืมจมูกเขาหายใจ บรรพชนของเราพยายามต่อสู้สร้างตนขึ้นมาเพราะการพลังงานมันสำคัญมากต่อความมั่นคงของประเทศ ปตท.กำเนิดขึ้นเพราะเรื่องนี้ (กรุณาคลิกอ่านบทความที่เคยเขียนไว้เรื่อง..ปิโตรเลียมไทย : จากฝรั่งครอบงำสู่ขูดรีดกันเอง ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3)
ไปๆ มาๆ หลังพ.ศ. 2544 ปตท.เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นองค์กรด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาให้ประเทศชาติกลายเป็นบรรษัทพยุงตลาดหุ้นช่วยเศรษฐีเจ้าของพอร์ต แล้วก็มีหน้าที่แข่งขันทำกำไรสูงสุดตอบสนองผู้ถือหุ้น เอาแค่ประวัติความเป็นมา บทบาท และ หน้าที่ซึ่งควรจะเป็นของปตท.สูญสลายไปหมดแล้ว
ถ้าหากคุณบรรยงใช้สายตาของประชาชนคนเดินดิน เจ้าของประเทศ เสียภาษีทางตรงทุกปีจะมองเห็นนโยบายพลังงานและการจัดการปตท.แบบที่เป็นอยู่ต่างไปจากสายตาของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เพราะคนทั่วไปเขาไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการที่ปตท.เข้าไปเป็นบิ๊กเบิ้มพยุงตลาด เขารู้แต่เพียงต้องจ่ายค่าน้ำมันและแก๊สแพงขึ้นๆ และปตท.ก็กำไรเอาๆ
คนที่มีความรู้มาหน่อยจะมองว่าการที่ปตท.อ้างสิทธิ์รัฐวิสาหกิจใช้ไป “อำนาจมหาชน” กำกับดูแลกิจการท่อก๊าซของรัฐนั้นทำให้ได้เปรียบเหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ นั้นมันทำให้เศรษฐีผู้ถือหุ้นร่ำรวยไปด้วย คุณบรรยงก็รู้เรื่องนี้และบอกว่ากำลัง “จะ” แก้อยู่ ...ไอ้ประเภท“กำลังจะ”ที่ยื้อๆมาแต่ละปีก็กำไรไปเรื่อยๆ ล่ะครับ
ปตท.เอาอำนาจมหาชนของรัฐ เอาทรัพยากรผูกขาดของรัฐคือท่อก๊าซไปใช้ทำกำไร ขอยืนยันว่ารายได้จากส่วนนี้ไม่สมควรแบ่งให้เอกชนผู้ถือหุ้น เพราะมันไม่ใช่การประกอบธุรกิจแข่งขันเสมอกันกับผู้อื่น ปตท.รวยไม่เป็นไร แต่เอกชนที่ถือหุ้นได้ประโยชน์จากการใช้ “อำนาจ” เหนือกว่าคู่แข่งขันอื่นนี่มันถูกต้องตรงไหนสำหรับรัฐและประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ปตท.มาก่อนแต่ดั้งเดิม
อยากจะเห็นมุมมองของคุณบรรยงที่ใช้สายตาของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม ผู้เคยเป็นเจ้าของปตท.ทั้งหมด 100% แล้วถูกแบ่งออกไปในนามการแปรรูป ผู้ต้องควักกระเป๋าจ่ายให้กับระบบที่ยังไม่แฟร์กับผู้บริโภค
หวังว่าจะได้อ่านในบทความตอนต่อๆ ไปนะครับเพราะที่ผ่านมามันเหมือนกับอ่านแถลงการณ์ของฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปตท.ยังไงก็ไม่รู้ .
หมายเหตุ - ขออภัยท่านที่ติดตามบทความเรื่องตำนานตระกูลชิน ตอน 3 จะนำเสนอในสัปดาห์หน้า/ สัปดาห์นี้มีเหตุต้องแทรกบทความชิ้นนี้เข้ามาเพื่อไม่ให้เรื่องราวพ้นสมัย
หนึ่ง-บอกว่าแปรรูปรัฐวิสาหกิจน่ะเป็นหนทางที่ถูก อย่าไปติดว่าคือการขายสมบัติชาติ
สอง-บอกว่าการขายหุ้นปตท.ชอบแล้วไม่มีอะไรผิด
และสาม-หาช่องตอบโต้กระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปการพลังงานที่กำลังดังอยู่ตอนนี้
ลักษณะที่สามเหมือนจะเป็นการให้ข้อมูลกับสังคมแต่ก็คาบเกี่ยวกับการแก้ตัวแทน ออกหน้าโต้แทนซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของพีอาร์ เช่นการชี้แจงเรื่องปริมาณพลังงานของบ้านเราไม่ได้มากมายอย่างที่กระแสในโซเชี่ยลมีเดียนำมาอ้างและที่แท้ก็เป็นกะเปาะไม่ได้เป็นแหล่งใหญ่ ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่าประเด็นปริมาณที่ว่ากันนี้เป็นหัวใจหลักในเรื่องปฏิรูปพลังงานเลย ขอให้รู้ว่าเรามีเองอยู่จำนวนหนึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนหน้าปี 2524 เท่านี้ก็เพียงพอที่จะต้องนำมาตีแผ่ให้ประชาชนได้รู้และต้องมาคิดเรื่องกระบวนการจัดการที่ทำให้ประเทศชาติประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากแหล่งที่เรามีเอง (ไม่ว่าจะมากน้อยขนาดไหน)
คุณบรรยงเป็นมืออาชีพบริหารกิจการใหญ่ เป็นนักบริหารการเงินชื่อดังมีความรู้มีข้อมูลประสบการณ์มาก น่าจะสามารถนำเสนอความเห็นที่เป็นวิสัยทัศน์มองว่าปมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพลังงานไทยปัจจุบันตรงไหนที่ยังต้องปรับปรุง อันใดดีแล้วอย่าไปแตะและหากจะปรับควรปรับยังไง
เป็นอินทรีก็บินอย่างอินทรี ทอดตามองอย่างอินทรี อย่าไปแย่งงานกระจิบกระจอกเขาทำเลยครับ !!
การณ์กลับกลายเป็นว่าข้อเขียนที่คุณบรรยงเขียนมาทั้งหมดเพื่อจะปกป้องว่าสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่นะดีอยู่แล้วใครหน้าไหนจะเสนอให้ปฏิรูปปรับปรุงจงถอยกลับไปซะ แก้ตัวแทนให้ตั้งแต่ข้อครหาว่าแปรรูปผลประโยชน์ไปให้เอกชนที่มาถือหุ้น แก้ให้ว่าการกำหนดราคาขายปลีกก็เหมาะดีแล้ว แก้ให้ว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ดีแล้วไงเพราะนักการเมืองมาแทรกแซงไม่ได้ แก้ให้ว่าปริมาณน้ำมันของเราไม่ได้มากมายอย่างที่เผยแพร่กัน
ล่าสุดบทความตอนที่ 6 แก้ต่างให้ว่าการขายหุ้นปตท.เมื่อ 2544 นั้นถูกต้องชอบแล้วดีแล้ว แถมบอกว่าเป็นประโยชน์อย่างเหลือคณานับให้กับประเทศไทยว่าไปโน่น ขนาดจั่วหัวว่าเป็น “IPO ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย” ว่าไปถึงขนาดนั้น
ผมติดใจเรื่องการขายหุ้นปตท.ให้กับรายย่อยที่มีผู้คนสนใจมากเข้าคิวกันแต่ปรากฏหุ้นถูกกันเอาไว้ให้กับลูกค้าของขาใหญ่หมดภายในไม่ถึง 2 นาที ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่เป็นการฉ้อฉลเอาเปรียบ ทำไม่ถูกอย่างแน่นอน ปรากฏคุณบรรยงมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย ขอคัดเอาที่แกเขียนไว้มาดังนี้
“
พอเปิดจองก็เป็นดังคาด สาขากว่าหมื่นของธนาคารทั้งห้า แต่ละแห่งมีอีกหลายช่องบริการ แถมลูกค้ามารอคิวแต่หกโมงเช้า ส่วนใหญ่จองเต็มแสนหุ้น พอเปิดจองได้ 1 นาที 17 วินาที ก็ครบ 200 ล้านหุ้น เราเปิดจองอีกพัก พอครบ 350 ล้านหุ้นก็หยุด ไม่อยากให้ลูกค้าต้องเอาเงินมาทิ้งไว้ฟรีๆตรงนี้ต้องขอเล่าข้อผิดพลาดในการรับจอง ธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นผู้ประสานงานของกลุ่มธนาคารดันเกิดมีชั้นเชิงพิเศษ ของคนอื่นต้องกรอกการจองทีละใบ แต่ธนาคารไทยพาณิชย์มีกรอกล่วงหน้าไว้สิบใบทุกๆ ช่องบริการ เป็นการเอาเปรียบ และไม่เป็นไปตามหนังสือชี้ชวน (เรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเข้าใจผิด) กลต. ตรวจสอบ แล้วลงโทษปรับ กับพักใบอนุญาตธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ให้เป็นตัวแทนรับจองหุ้น 6 เดือน ถามว่าผิดไหม…ก็ผิดแหละครับ แต่ไม่ใช่ใหญ่โตขนาดที่จะให้รายการเป็นโมฆะอะไร
”
การพยายามเขียนเรื่องผิดให้ดูเป็นเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อย ขนาดใส่วงเล็บไว้ว่าไม่แน่ใจว่าเข้าใจผิดหรือเป็นกลยุทธ์คือการแก้ตัวให้แบบเนียนๆ
เพราะข้อเท็จจริงก็คืองานนี้ไม่ใช่ขัดต่อเงื่อนไขตามหนังสือชี้ชวนตามที่เขียนมาหรอกนะครับ ขัดต่อ TOR เงื่อนไขการจ้างระหว่างปตท.กับสถาบันการเงินกระจายที่หุ้นด้วย แต่ไปๆ มาๆ ผู้ว่าจ้างก็หยวน ผู้รับจ้างทำผิดไม่เป็นไร ก็ขายได้ครบแล้วนี่คนที่ไม่ได้เป็นพวกประชาชนรายย่อยช่างมันเหอะ ?
ไทยพาณิชย์และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ต้องทำตาม TOR ที่ปตท.ได้ว่าจ้างให้กระจายหุ้น ปตท.เป็นผู้ว่าจ้างให้พวกคุณเป็นกรรมการจ่ายหุ้นให้ยุติธรรมตามกติกา ใครมาก่อนได้ก่อน แต่พอเอาจริงกรรมการโกงให้พวกตัวเอง ปตท.ทำเฉยๆ กองเชียร์อย่างคุณบรรยงบอกว่าเป็นแค่เรื่องเล็ก
แถมยังบอกอีกว่าหุ้นจำนวนหนึ่งปตท.จัดเป็นหุ้นอุปการคุณ เป็นโควตากันให้กับลูกค้าผู้สนับสนุนไม่ผิดตรงไหน ผมขอยืนยันว่าผิดครับ ปตท.ไม่ใช่บริษัทเอกชนของส่วนตัวใคร และจนบัดนี้ปตท.ก็ไม่เคยเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับหุ้นส่วนนี้เลย คุณบรรยงต้องไปตรวจข้อมูลใหม่นะครับ
การพลังงานเป็นเส้นเลือดสำคัญอีกเส้นรองจากเส้นเลือดการเงิน โลกยุคใหม่นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาขับเคลื่อนโดยการพลังงานซึ่งมีน้ำมันดิบ/ก๊าซธรรมชาติไฮโดรคาร์บอนเป็นหัวหอก การเงินและการพลังงานถือเป็นชีพจรของเศรษฐกิจโลก
คุณบรรยง ใช้สายตาของเศรษฐีผู้บริหารกิจการด้านการเงินมองก็จะมองเห็นแง่มุมประโยชน์ที่เอื้อกับตลาดทุนเป็นสำคัญ คุณบรรยงดีใจมากที่ปตท.เข้าตลาด เพราะมันช่วยดันดัชนีหุ้นไทยและจนบัดนี้หุ้นของปตท.เป็นตัวค้ำจุนตลาดทุนของไทยไปแล้ว ทักษิณเมื่อปี 2544 ก็มองแบบคุณบรรยง คืออยากให้ปตท.ไปฉุดตลาดหุ้นให้ฟื้นขึ้น สร้างวอลุ่มให้ตลาดซึ่งที่สุดแล้วคนที่ได้ประโยชน์จากงานนี้คือพวกที่อยู่ในวงการหุ้นนั่นเอง ต่อให้ไม่ได้ซื้อหุ้นปตท.แต่ก็ได้ประโยชน์ทางอ้อมจากดัชนีและมูลค่าตลาด ภัทรและห้องค้าต่างๆ ได้หมด ทักษิณเล่นหุ้นใครๆ ก็รู้ ทักษิณและหุ้นของทักษิณก็ได้ประโยชน์จากงานนี้
อำมาตย์พลังงาน เทคโนแครตอย่างคุณบรรยง เศรษฐีเล่นหุ้นที่จริงมีอยู่แค่หยิบมือเดียวเมื่อเทียบกับคนทั้งประเทศดังที่คุณบรรยงบอกในบทความเองว่าในตอนนี้ (2544) มีอยู่ 2 แสนบัญชีเท่านั้นแหละที่ได้ประโยชน์จากที่ปตท.ได้เข้าตลาดขนาดที่ต้องเอามาเขียนบรรยายเบื้องหลังการทำงานในบทความ
ทั้งๆ ที่ประโยชน์ในแง่ของการทำให้ดัชนีตลาดทุนขยายตัวควรจะเป็นแค่ “ผลประโยชน์ทางอ้อม” เท่านั้น
ผลประโยชน์ทางตรงจริงๆ ของการแปรรูปปตท.คืออะไรครับ ?
ที่เขียนมาเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแง่บวกแง่ลบก็ดีครับคนอ่านจะได้ประโยชน์รู้เรื่องมุมกว้าง แต่ขอถามหน่อย ปตท.แปรรูปแล้วมันเกิดประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเมื่อเทียบกับก่อนแปรรูปขนาดไหน
แปรรูปปตท.ไปทำไมครับ ? คือเงินทุนหรือ? ก็ไม่ใช่เรื่องหลัก .....คือประสิทธิภาพการบริหารหรือ งั้นวัดกันที่มาร์จิ้นและผลกำไรสุทธิ อ้าวถ้าเอากำไรสุทธิมาวัดจริงๆ ก็เท่ากับประสิทธิภาพการกดขี่ขูดรีดทำกำไรหลายชั้นหลายต่อน่ะสิครับ ..แล้วผลประโยชน์ที่ประเทศชาติประชาชนได้จากการแปรรูปปตท.คืออะไรล่ะครับคุณบรรยง?
ในยุคนั้นพ.ศ.นั้นเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ กระแสเสรีนิยมใหม่ ฉันทามติวอชิงตันโบกพัดการแปรรูป Privatization เลยเหมือนเป็นยาวิเศษครอบจักรวาลมากันเป็นชุดคือแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ทำรัฐและการควบคุมของรัฐให้เล็กลง เชื่อให้หลักการตลาดเสรีและเชื่อในมือที่มองไม่เห็นของตลาดฯลฯ
ทั้งๆ ที่โลกของนักเศรษฐศาสตร์เองก็ไม่ได้ลงเอยเชื่อในเรื่องนี้กันแล้ว มีการถกเถียงมากมายและก็มีการตั้งคำถามกับเสรีนิยมใหม่ รวมไปถึงคัมภีร์ยาเม็ดครอบจักรวาลอันรวมถึงการ Privatization ด้วยซ้ำไป
คาถาเสรีนิยม การแข่งขันเสรี เป็นการประกอบธุรกิจการค้ากันตรงไปตรงมาเหมือนขายสบู่ ผงซักฟอกแต่เอามาใช้กับกับกิจการด้านพลังงานไม่ได้ เพราะกิจการพลังงานไม่เหมือนกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมทั่วไปอันนี้คุณบรรยงรู้แต่ไม่พูดออกมาในบทความ
กิจการพลังงานเป็นเรื่องของความมั่นคง เป็นชีพจรเส้นเลือดที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าชีพจรการเงิน ตอนที่ยูโนแคลประกาศขายกิจการจีนเสนอซื้อรัฐบาลอเมริกันประเทศที่ว่าเสรีนิยมสุดๆ ยังไม่ให้ซื้อเลยที่สุดเชฟรอนก็ต้องเข้าไปซื้อแทน เวลาพูดถึง ปตท. ต้องมองให้ครบทุกมิติ เอาสายตาของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มาเชียร์ว่าทำให้ SET พุ่งขึ้น หรือเอาสายตาของนักเสรีนิยมที่มองว่าต้องแปรรูปเพื่อลดการควบคุมของรัฐเป็นดีเท่านั้นไม่ได้ ต้องมองมิติอื่นๆ ด้วย
ประวัติความเป็นของของการพลังงานไทยในยุคก่อนหน้าเราถูกฝรั่งกดขี่ข่มเหง ต้องเป็นน้ำใต้ศอก ยืมจมูกเขาหายใจ บรรพชนของเราพยายามต่อสู้สร้างตนขึ้นมาเพราะการพลังงานมันสำคัญมากต่อความมั่นคงของประเทศ ปตท.กำเนิดขึ้นเพราะเรื่องนี้ (กรุณาคลิกอ่านบทความที่เคยเขียนไว้เรื่อง..ปิโตรเลียมไทย : จากฝรั่งครอบงำสู่ขูดรีดกันเอง ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3)
ไปๆ มาๆ หลังพ.ศ. 2544 ปตท.เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นองค์กรด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาให้ประเทศชาติกลายเป็นบรรษัทพยุงตลาดหุ้นช่วยเศรษฐีเจ้าของพอร์ต แล้วก็มีหน้าที่แข่งขันทำกำไรสูงสุดตอบสนองผู้ถือหุ้น เอาแค่ประวัติความเป็นมา บทบาท และ หน้าที่ซึ่งควรจะเป็นของปตท.สูญสลายไปหมดแล้ว
ถ้าหากคุณบรรยงใช้สายตาของประชาชนคนเดินดิน เจ้าของประเทศ เสียภาษีทางตรงทุกปีจะมองเห็นนโยบายพลังงานและการจัดการปตท.แบบที่เป็นอยู่ต่างไปจากสายตาของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เพราะคนทั่วไปเขาไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการที่ปตท.เข้าไปเป็นบิ๊กเบิ้มพยุงตลาด เขารู้แต่เพียงต้องจ่ายค่าน้ำมันและแก๊สแพงขึ้นๆ และปตท.ก็กำไรเอาๆ
คนที่มีความรู้มาหน่อยจะมองว่าการที่ปตท.อ้างสิทธิ์รัฐวิสาหกิจใช้ไป “อำนาจมหาชน” กำกับดูแลกิจการท่อก๊าซของรัฐนั้นทำให้ได้เปรียบเหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ นั้นมันทำให้เศรษฐีผู้ถือหุ้นร่ำรวยไปด้วย คุณบรรยงก็รู้เรื่องนี้และบอกว่ากำลัง “จะ” แก้อยู่ ...ไอ้ประเภท“กำลังจะ”ที่ยื้อๆมาแต่ละปีก็กำไรไปเรื่อยๆ ล่ะครับ
ปตท.เอาอำนาจมหาชนของรัฐ เอาทรัพยากรผูกขาดของรัฐคือท่อก๊าซไปใช้ทำกำไร ขอยืนยันว่ารายได้จากส่วนนี้ไม่สมควรแบ่งให้เอกชนผู้ถือหุ้น เพราะมันไม่ใช่การประกอบธุรกิจแข่งขันเสมอกันกับผู้อื่น ปตท.รวยไม่เป็นไร แต่เอกชนที่ถือหุ้นได้ประโยชน์จากการใช้ “อำนาจ” เหนือกว่าคู่แข่งขันอื่นนี่มันถูกต้องตรงไหนสำหรับรัฐและประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ปตท.มาก่อนแต่ดั้งเดิม
อยากจะเห็นมุมมองของคุณบรรยงที่ใช้สายตาของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม ผู้เคยเป็นเจ้าของปตท.ทั้งหมด 100% แล้วถูกแบ่งออกไปในนามการแปรรูป ผู้ต้องควักกระเป๋าจ่ายให้กับระบบที่ยังไม่แฟร์กับผู้บริโภค
หวังว่าจะได้อ่านในบทความตอนต่อๆ ไปนะครับเพราะที่ผ่านมามันเหมือนกับอ่านแถลงการณ์ของฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปตท.ยังไงก็ไม่รู้ .
หมายเหตุ - ขออภัยท่านที่ติดตามบทความเรื่องตำนานตระกูลชิน ตอน 3 จะนำเสนอในสัปดาห์หน้า/ สัปดาห์นี้มีเหตุต้องแทรกบทความชิ้นนี้เข้ามาเพื่อไม่ให้เรื่องราวพ้นสมัย