พอการเมืองขมวดปมใกล้แตกหักผู้คนจะนึกถึงเรื่องเฉพาะหน้ากันมากขึ้น ผมอยากเชิญชวนเปลี่ยนบรรยากาศให้มองไกลสลับบ้าง ถ้าเรื่องเลือกตั้งก็ให้ดูเขมร บังคลาเทศ ถ้าเรื่องสงครามกลางเมืองดูอียิปต์ ซีเรีย ถ้าเรื่องปฏิรูปดูบราซิล ดูเขาแล้วย้อนดูเราอะไรใช้ได้หยิบมาใช้ อะไรควรเลี่ยงก็เลี่ยงอย่าเป็นเหมือนเขา
เมื่อสองเดือนก่อน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อภิปรายเวทีอภิปราย “จับชีพจรประเทศไทย” ย้อนไปดูประสบการณ์ของฟิลิปปินส์ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ เว็บไซต์ thaipublica.org ถอดความนำเสนอละเอียดดี ประเด็นสำคัญคือประเทศของเราสุ่มเสี่ยง “อาจ” จะถดถอยเป็นเหมือนกับฟิลิปปินส์ที่เคยเป็นดาวรุ่งแห่งเอเชียเมื่อ 30-40 ปีก่อนแล้วก็หล่นวูบตกต่ำอย่างรวดเร็วจนแทบต่ำสุดในกลุ่มอาเซียนไปแล้ว
มีการยกการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญที่มองว่าปัจจัยแห่งความตกต่ำของฟิลิปปินส์เรียกว่า บาป 3 ประการก็คือ
ประการที่ 1 การบริหารประเทศที่ผิด Mismanagement
ประการที่ 2 การฉ้อราษฎร์บังหลวงและคอร์รัปชั่น
ประการที่ 3 เมื่อรู้ว่าประเทศเริ่มมีสัญญาณแห่งการถดถอย แต่ไร้ความพยายามโดยสิ้นเชิงในการที่จะปฏิรูปเพื่อดึงให้มันกลับมาสู่ภาวะที่เข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง
เนื้อข่าวเขียนว่า “ฟิลิปปินส์มีความพยายามที่จะปฏิรูปการเมืองและแก้ไขกฎหมาย เริ่มตั้งแต่ยุคของมาร์กอส...ไล่มาจนถึงยุคของอาร์โรโยแต่ปรากฏว่าการปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปฏิรูปเพื่อทำให้อำนาจฐานะของเหล่าผู้นำทางการเมืองเข้มแข็งขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยหรือระบบการเมืองของประเทศดีขึ้น”
อ่านประสบการณ์ของฟิลิปปินส์เรื่องนี้แล้วต้องรีบย้อนมองดูตัวเองเลย เพราะตอนนี้กระแสปฏิรูปมาแรงใครๆ ก็พูดแต่คำว่าปฏิรูปคนละหนุบหนับแต่ฟังดูจริงๆ กลับเป็นคนละเรื่อง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศเป็นนโยบายเมื่อปี 54 ว่าจะปฏิรูปการเมืองแต่อ่านดูอีกทีอ้าวปฏิรูปการเมืองแปลว่าแก้รัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายส.ส.และฝ่ายบริหารตัดอำนาจตรวจสอบออกไป
ปฏิรูปแบบของยิ่งลักษณ์แถลงต่อสภาและที่พยายามทำเหมือนฟิลิปปินส์ไม่มีผิด เพราะมุ่งคิดแค่ปฏิรูปการเมืองแก้กติการัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของฝ่ายผู้ปกครองและนักการเมืองเท่านั้น
การปฏิรูปที่แท้จริงต้องมองไปที่ประชาชนและประโยชน์ชาติ ถ้าปฏิรูปการเมืองต้องคิดปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชนไม่ให้ไอ้นักเลือกตั้งปากสุนัขมาละเมิดทำโครงการสร้างทางน้ำสายใหม่แล้วไม่เปิดเผยข้อมูลไม่ถามความเห็น และต้องออกแบบให้อำนาจของทุกฝ่ายมีจำกัดเกิดการตรวจสอบถ่วงดุลโดยสมบูรณ์ ซึ่งนักการเมืองไม่อยากให้เป็นแบบนี้
ประสบการณ์ของฟิลิปปินส์ “การเมือง” เป็นเรื่องของการชิงอำนาจเพื่อปกป้องอำนาจตนซึ่งนี่ก็เหมือนกับที่ประเทศของเราเป็นอยู่ ดร.สมคิดมองว่าแทนที่การเมืองของเราเป็นสนามรบที่แย่งชิงอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ตนนั้นอยู่ได้และอยู่รอดเมื่อมันเป็นเช่นนี้ นโยบายก็มีแต่ระยะสั้นเพื่อมุ่งการหาเสียงเป็นหลัก
…………………………..
ปาฐกถาว่าด้วยประเทศไทยจะเหมือนฟิลิปปินส์หรือไม่ชุดนี้ทำให้คิดต่อไปได้อีกหลายเรื่อง
ฟิลิปปินส์หล่นลงไปสู่ก้นเหวขึ้นมาไม่ได้เพราะไม่คิดและพยายาม “ปฏิรูป” ปรับตัวให้ขึ้นจากเหวอย่างจริงจัง
ขณะที่เริ่มมีสัญญาณว่าประเทศเริ่มถดถอยแต่กลับไม่มีความพยายามปฏิรูป แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ที่แย่ไปกว่านั้นการพยายามจะปฏิรูปอะไรทั้งหลายก็แค่วาทกรรมจอมปลอมของนักการเมือง
ประเทศไทยของเราก็เหมือนกัน หากคิดให้ไกลๆ ไปถึงรุ่นลูกธงทั้งหลายแหล่ที่ชูๆ กันอยู่นั้นน่ะ ธงแห่งการปฏิรูปคือธงที่สำคัญที่สุดต่างหาก !!!
ประเทศไทยของเราส่งสัญญาณชัดเจนออกมาแล้วว่าระบบการเมืองและกลไกบริหารราชการของเรามีปัญหา เพราะการเมืองกลายเป็นช่องทางกินรวบหาประโยชน์ของทุนและนักการเมือง ขณะที่กลไกราชการซึ่งเป็นกลไกหลักของชาติกลายเป็นแค่เครื่องมือรับใช้ ถูกการเมืองแทรกแซงใช้ระบบพวกพ้องแทนการเลื่อนชั้นตามระบบคุณธรรม เละเทะไปหมดเพราะระบบราชการมันอุ้ยอ้ายใหญ่โตจนไปต่อแทบไม่ได้แล้ว วัดประสิทธิภาพจากเงินเดือนและทรัพยากรที่ใส่ลงไปมาเป็นผลผลิตยังไงก็ขาดทุนบักโกรก
ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปอำนาจเชิงโครงสร้าง กระจายอำนาจออกมาให้รัฐบาลเล็กลงเป็นข้อเสนอที่ตรงจุดที่สุดเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นของประเทศเราแก้ด้วย การปฏิรูปเชิงพฤติกรรม ประเภทว่า เกณฑ์คนไปอบรมเปลี่ยนทัศนคติ หรือหาคนดีๆ มาแทนมันไม่ได้แล้วเพราะระบบมันไม่ขยับตาม ครั้นจะปฏิรูปเชิงระบบ อาทิเช่น แก้ไขระเบียบ เพิ่มโทษยังไงนักการเมืองกับบิ๊กข้าราชการก็รวมหัวกันโกงได้อยู่ดี มีนวัตกรรมใหม่ๆ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายออกมาเช่นแจกแท็บเล็ตเด็กแบบนี้ต่อให้มีการประมูลโดยถูกต้องและแจกทั่วถึงอย่างไรมันก็คือการละเลงงบประมาณโดยไม่มีผลิตภาพใดๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ยิ่งมีระเบียบออกมาเยอะนักการเมืองก็ยิ่งจูงจมูกครอบงำกลไกรัฐได้เพิ่มขึ้นๆ
มันจึงต้องถึงเวลาที่ต้องใช้ยาแรงคือ การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เท่านั้น นั่นก็คือในเมื่อพวกนี้ใช้เงินระดับหมื่นล้านซื้อประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งไปใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจัดการงบประมาณสองล้านล้านแถมอำนาจให้คุณให้โทษระบบราชการทั้งระบบ ก็ต้องดัดหลังให้รัฐบาลเล็กลง มีเงินงบประมาณน้อยลง กินรวบประเทศไม่ได้ ที่เหลือก็กระจายงบประมาณและกระจายคนออกไปในนามของการกระจายอำนาจ ไปยังจังหวัดต่างๆให้ประชาชนในจังหวัดตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ถ้าเลือกคนทำไม่ดีจังหวัดนั้นก็จะสู้จังหวัดอื่นไม่ได้ไปจัดการคนของตัวเองกันเอง
ประสิทธิภาพของระบบราชการที่ถูกกระจายออกโดยอิงพื้นที่เป็นหลักจะถูกตรวจสอบเร่งเร้าโดยนักการเมืองจากการเลือกตั้งและประชาชนเจ้าของพื้นที่ โครงการที่ไม่มีประโยชน์ที่นักการเมืองชอบคิดทำก็จะทำได้ยากขึ้น หากจะสร้างชิงช้าสวรรค์ให้นักท่องเที่ยวโดยที่ถนนกลางเทศบาลในเมืองยังเป็นหลุมบ่ออยู่ก็คงทำไม่ได้
แบบเดียวกับญี่ปุ่นเกาหลีใต้ที่เป็นรัฐเดี่ยวเหมือนประเทศไทยแต่มีการกระจายอำนาจเต็มพื้นที่เทศบาลชนเทศบาลเศรษฐกิจของเขาโตเอาๆ เพราะแต่ละพื้นที่ต้องหาวิธีทำให้ตนเองและประชาชนของตนมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น แทนที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐมนตรีหรือพรรคการเมืองที่จะทุ่มเทให้กับพื้นที่ฐานเสียงของตนเท่านั้น
การปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่สำคัญอีกประการคือการลดความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงทรัพยากร หากมีภาษีก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดินที่มุ่งเก็บจากเศรษฐีพันไร่ปล่อยรกร้างเพื่อให้กระจายออก โซนนิ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจากบนดอยภาคเหนือลงมาถึงเขตกสิกรรมที่ชลประทานเข้าถึงห้ามไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมหรือถมทำบ้านจัดสรรอีกแล้ว ล้วนแต่เป็นการยกเครื่องประเทศไทยครั้งใหญ่ สุขภาพของสังคมไทยจะดีขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจปากท้อง
ที่ยกตัวอย่างว่าด้วยการปฏิรูปข้างต้นมาเล่าซ้ำ เพราะอยากบอกให้ทราบว่า การปฏิรูปเป็นความสำคัญจริงๆ ต่อต่ออนาคตระยะ 10-20 ปีข้างหน้าของประเทศไทย
จะว่าไปแล้ว การปฏิรูปให้สำเร็จ เป็นเรื่องมีผลระยะยาวที่สำคัญกว่าการล้มล้างระบอบทักษิณด้วยซ้ำไป !
เพราะต่อให้ล้มระบอบทักษิณได้เดี๋ยวก็มีระบอบอื่นตามมา
แต่หากมีการปฏิรูปด้านต่างๆ รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างอำนาจกระจายอำนาจออกไปทำให้รัฐบาลเล็กลงได้ ต่อให้ทักษิณกลับมาก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมีอิทธิฤทธิ์สั่งข้าราชการ ทำโครงการเละเทะอะไรได้อีกเพราะอำนาจของรัฐบาลกลางเล็กลงแล้ว หากจะเอื้อมมือไปทำอะไรเลอะเทอะในระดับจังหวัดก็ต้องรอบคอบให้เกิดประโยชน์จริงๆ มิฉะนั้นคนในจังหวัดก็จะไม่เลือกผู้ว่าฯ คนนั้นอีก แถมมีกฎหมายใหม่ให้ประชาชนฟ้องร้องคดีทุจริตได้เอง เพิ่มโทษคนโกงอีกต่างหาก
ผมเป็นฝ่ายที่เชื่อและอยากได้ผลสัมฤทธิ์เชิง “เนื้อหาและผลของการปฏิรูป” เป็นธงนำมากกว่าเรื่องอื่นๆ อย่างเรื่องการได้อำนาจรัฐมาหรือไม่นั้นไม่สำคัญหากว่ามีหลักประกันว่าจะมีการปฏิรูปได้จริงๆ เพราะผลจากการปฏิรูปจะสร้างสภาพแวดล้อมใหม่บีบบังคับทุนนักการเมืองพรรคการเมืองและกลไกสังคมอื่นๆ เอง
จะว่าไปแล้วการปฏิรูปก็คือยาแก้วิกฤตการณ์การเมืองอีกขนานหนึ่งนั่นเอง
ไม่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะลงเอยเช่นไร แต่ธงปฏิรูปยังต้องโบกสะบัดต่อไปหากต้องการให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักหายนะและกับดักเชิงโครงสร้างที่กลืนกินตัวเองอยู่แบบที่เป็นอยู่.
เมื่อสองเดือนก่อน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อภิปรายเวทีอภิปราย “จับชีพจรประเทศไทย” ย้อนไปดูประสบการณ์ของฟิลิปปินส์ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ เว็บไซต์ thaipublica.org ถอดความนำเสนอละเอียดดี ประเด็นสำคัญคือประเทศของเราสุ่มเสี่ยง “อาจ” จะถดถอยเป็นเหมือนกับฟิลิปปินส์ที่เคยเป็นดาวรุ่งแห่งเอเชียเมื่อ 30-40 ปีก่อนแล้วก็หล่นวูบตกต่ำอย่างรวดเร็วจนแทบต่ำสุดในกลุ่มอาเซียนไปแล้ว
มีการยกการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญที่มองว่าปัจจัยแห่งความตกต่ำของฟิลิปปินส์เรียกว่า บาป 3 ประการก็คือ
ประการที่ 1 การบริหารประเทศที่ผิด Mismanagement
ประการที่ 2 การฉ้อราษฎร์บังหลวงและคอร์รัปชั่น
ประการที่ 3 เมื่อรู้ว่าประเทศเริ่มมีสัญญาณแห่งการถดถอย แต่ไร้ความพยายามโดยสิ้นเชิงในการที่จะปฏิรูปเพื่อดึงให้มันกลับมาสู่ภาวะที่เข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง
เนื้อข่าวเขียนว่า “ฟิลิปปินส์มีความพยายามที่จะปฏิรูปการเมืองและแก้ไขกฎหมาย เริ่มตั้งแต่ยุคของมาร์กอส...ไล่มาจนถึงยุคของอาร์โรโยแต่ปรากฏว่าการปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปฏิรูปเพื่อทำให้อำนาจฐานะของเหล่าผู้นำทางการเมืองเข้มแข็งขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยหรือระบบการเมืองของประเทศดีขึ้น”
อ่านประสบการณ์ของฟิลิปปินส์เรื่องนี้แล้วต้องรีบย้อนมองดูตัวเองเลย เพราะตอนนี้กระแสปฏิรูปมาแรงใครๆ ก็พูดแต่คำว่าปฏิรูปคนละหนุบหนับแต่ฟังดูจริงๆ กลับเป็นคนละเรื่อง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศเป็นนโยบายเมื่อปี 54 ว่าจะปฏิรูปการเมืองแต่อ่านดูอีกทีอ้าวปฏิรูปการเมืองแปลว่าแก้รัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายส.ส.และฝ่ายบริหารตัดอำนาจตรวจสอบออกไป
ปฏิรูปแบบของยิ่งลักษณ์แถลงต่อสภาและที่พยายามทำเหมือนฟิลิปปินส์ไม่มีผิด เพราะมุ่งคิดแค่ปฏิรูปการเมืองแก้กติการัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของฝ่ายผู้ปกครองและนักการเมืองเท่านั้น
การปฏิรูปที่แท้จริงต้องมองไปที่ประชาชนและประโยชน์ชาติ ถ้าปฏิรูปการเมืองต้องคิดปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชนไม่ให้ไอ้นักเลือกตั้งปากสุนัขมาละเมิดทำโครงการสร้างทางน้ำสายใหม่แล้วไม่เปิดเผยข้อมูลไม่ถามความเห็น และต้องออกแบบให้อำนาจของทุกฝ่ายมีจำกัดเกิดการตรวจสอบถ่วงดุลโดยสมบูรณ์ ซึ่งนักการเมืองไม่อยากให้เป็นแบบนี้
ประสบการณ์ของฟิลิปปินส์ “การเมือง” เป็นเรื่องของการชิงอำนาจเพื่อปกป้องอำนาจตนซึ่งนี่ก็เหมือนกับที่ประเทศของเราเป็นอยู่ ดร.สมคิดมองว่าแทนที่การเมืองของเราเป็นสนามรบที่แย่งชิงอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ตนนั้นอยู่ได้และอยู่รอดเมื่อมันเป็นเช่นนี้ นโยบายก็มีแต่ระยะสั้นเพื่อมุ่งการหาเสียงเป็นหลัก
…………………………..
ปาฐกถาว่าด้วยประเทศไทยจะเหมือนฟิลิปปินส์หรือไม่ชุดนี้ทำให้คิดต่อไปได้อีกหลายเรื่อง
ฟิลิปปินส์หล่นลงไปสู่ก้นเหวขึ้นมาไม่ได้เพราะไม่คิดและพยายาม “ปฏิรูป” ปรับตัวให้ขึ้นจากเหวอย่างจริงจัง
ขณะที่เริ่มมีสัญญาณว่าประเทศเริ่มถดถอยแต่กลับไม่มีความพยายามปฏิรูป แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ที่แย่ไปกว่านั้นการพยายามจะปฏิรูปอะไรทั้งหลายก็แค่วาทกรรมจอมปลอมของนักการเมือง
ประเทศไทยของเราก็เหมือนกัน หากคิดให้ไกลๆ ไปถึงรุ่นลูกธงทั้งหลายแหล่ที่ชูๆ กันอยู่นั้นน่ะ ธงแห่งการปฏิรูปคือธงที่สำคัญที่สุดต่างหาก !!!
ประเทศไทยของเราส่งสัญญาณชัดเจนออกมาแล้วว่าระบบการเมืองและกลไกบริหารราชการของเรามีปัญหา เพราะการเมืองกลายเป็นช่องทางกินรวบหาประโยชน์ของทุนและนักการเมือง ขณะที่กลไกราชการซึ่งเป็นกลไกหลักของชาติกลายเป็นแค่เครื่องมือรับใช้ ถูกการเมืองแทรกแซงใช้ระบบพวกพ้องแทนการเลื่อนชั้นตามระบบคุณธรรม เละเทะไปหมดเพราะระบบราชการมันอุ้ยอ้ายใหญ่โตจนไปต่อแทบไม่ได้แล้ว วัดประสิทธิภาพจากเงินเดือนและทรัพยากรที่ใส่ลงไปมาเป็นผลผลิตยังไงก็ขาดทุนบักโกรก
ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปอำนาจเชิงโครงสร้าง กระจายอำนาจออกมาให้รัฐบาลเล็กลงเป็นข้อเสนอที่ตรงจุดที่สุดเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นของประเทศเราแก้ด้วย การปฏิรูปเชิงพฤติกรรม ประเภทว่า เกณฑ์คนไปอบรมเปลี่ยนทัศนคติ หรือหาคนดีๆ มาแทนมันไม่ได้แล้วเพราะระบบมันไม่ขยับตาม ครั้นจะปฏิรูปเชิงระบบ อาทิเช่น แก้ไขระเบียบ เพิ่มโทษยังไงนักการเมืองกับบิ๊กข้าราชการก็รวมหัวกันโกงได้อยู่ดี มีนวัตกรรมใหม่ๆ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายออกมาเช่นแจกแท็บเล็ตเด็กแบบนี้ต่อให้มีการประมูลโดยถูกต้องและแจกทั่วถึงอย่างไรมันก็คือการละเลงงบประมาณโดยไม่มีผลิตภาพใดๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ยิ่งมีระเบียบออกมาเยอะนักการเมืองก็ยิ่งจูงจมูกครอบงำกลไกรัฐได้เพิ่มขึ้นๆ
มันจึงต้องถึงเวลาที่ต้องใช้ยาแรงคือ การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เท่านั้น นั่นก็คือในเมื่อพวกนี้ใช้เงินระดับหมื่นล้านซื้อประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งไปใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจัดการงบประมาณสองล้านล้านแถมอำนาจให้คุณให้โทษระบบราชการทั้งระบบ ก็ต้องดัดหลังให้รัฐบาลเล็กลง มีเงินงบประมาณน้อยลง กินรวบประเทศไม่ได้ ที่เหลือก็กระจายงบประมาณและกระจายคนออกไปในนามของการกระจายอำนาจ ไปยังจังหวัดต่างๆให้ประชาชนในจังหวัดตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ถ้าเลือกคนทำไม่ดีจังหวัดนั้นก็จะสู้จังหวัดอื่นไม่ได้ไปจัดการคนของตัวเองกันเอง
ประสิทธิภาพของระบบราชการที่ถูกกระจายออกโดยอิงพื้นที่เป็นหลักจะถูกตรวจสอบเร่งเร้าโดยนักการเมืองจากการเลือกตั้งและประชาชนเจ้าของพื้นที่ โครงการที่ไม่มีประโยชน์ที่นักการเมืองชอบคิดทำก็จะทำได้ยากขึ้น หากจะสร้างชิงช้าสวรรค์ให้นักท่องเที่ยวโดยที่ถนนกลางเทศบาลในเมืองยังเป็นหลุมบ่ออยู่ก็คงทำไม่ได้
แบบเดียวกับญี่ปุ่นเกาหลีใต้ที่เป็นรัฐเดี่ยวเหมือนประเทศไทยแต่มีการกระจายอำนาจเต็มพื้นที่เทศบาลชนเทศบาลเศรษฐกิจของเขาโตเอาๆ เพราะแต่ละพื้นที่ต้องหาวิธีทำให้ตนเองและประชาชนของตนมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น แทนที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐมนตรีหรือพรรคการเมืองที่จะทุ่มเทให้กับพื้นที่ฐานเสียงของตนเท่านั้น
การปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่สำคัญอีกประการคือการลดความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงทรัพยากร หากมีภาษีก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดินที่มุ่งเก็บจากเศรษฐีพันไร่ปล่อยรกร้างเพื่อให้กระจายออก โซนนิ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจากบนดอยภาคเหนือลงมาถึงเขตกสิกรรมที่ชลประทานเข้าถึงห้ามไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมหรือถมทำบ้านจัดสรรอีกแล้ว ล้วนแต่เป็นการยกเครื่องประเทศไทยครั้งใหญ่ สุขภาพของสังคมไทยจะดีขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจปากท้อง
ที่ยกตัวอย่างว่าด้วยการปฏิรูปข้างต้นมาเล่าซ้ำ เพราะอยากบอกให้ทราบว่า การปฏิรูปเป็นความสำคัญจริงๆ ต่อต่ออนาคตระยะ 10-20 ปีข้างหน้าของประเทศไทย
จะว่าไปแล้ว การปฏิรูปให้สำเร็จ เป็นเรื่องมีผลระยะยาวที่สำคัญกว่าการล้มล้างระบอบทักษิณด้วยซ้ำไป !
เพราะต่อให้ล้มระบอบทักษิณได้เดี๋ยวก็มีระบอบอื่นตามมา
แต่หากมีการปฏิรูปด้านต่างๆ รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างอำนาจกระจายอำนาจออกไปทำให้รัฐบาลเล็กลงได้ ต่อให้ทักษิณกลับมาก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมีอิทธิฤทธิ์สั่งข้าราชการ ทำโครงการเละเทะอะไรได้อีกเพราะอำนาจของรัฐบาลกลางเล็กลงแล้ว หากจะเอื้อมมือไปทำอะไรเลอะเทอะในระดับจังหวัดก็ต้องรอบคอบให้เกิดประโยชน์จริงๆ มิฉะนั้นคนในจังหวัดก็จะไม่เลือกผู้ว่าฯ คนนั้นอีก แถมมีกฎหมายใหม่ให้ประชาชนฟ้องร้องคดีทุจริตได้เอง เพิ่มโทษคนโกงอีกต่างหาก
ผมเป็นฝ่ายที่เชื่อและอยากได้ผลสัมฤทธิ์เชิง “เนื้อหาและผลของการปฏิรูป” เป็นธงนำมากกว่าเรื่องอื่นๆ อย่างเรื่องการได้อำนาจรัฐมาหรือไม่นั้นไม่สำคัญหากว่ามีหลักประกันว่าจะมีการปฏิรูปได้จริงๆ เพราะผลจากการปฏิรูปจะสร้างสภาพแวดล้อมใหม่บีบบังคับทุนนักการเมืองพรรคการเมืองและกลไกสังคมอื่นๆ เอง
จะว่าไปแล้วการปฏิรูปก็คือยาแก้วิกฤตการณ์การเมืองอีกขนานหนึ่งนั่นเอง
ไม่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะลงเอยเช่นไร แต่ธงปฏิรูปยังต้องโบกสะบัดต่อไปหากต้องการให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักหายนะและกับดักเชิงโครงสร้างที่กลืนกินตัวเองอยู่แบบที่เป็นอยู่.