ปีนี้เป็นปีครบรอบ 40 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลานี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์แง่หนึ่ง คือถือเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยครั้งแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้น อาจกล่าวได้ว่า สภาวะของประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นเป็นเหมือน “สมบัติผลัดกันชิง” คือการชิงอำนาจกันไปมา ระหว่างคณะราษฎร์ด้วยกันเองซึ่งแตกคอกัน และกลุ่มทหารที่ผลัดกันขึ้นมากุมอำนาจ
หลังจากยุคที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น “เผด็จการเต็มใบ” สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เล่นสนุกกันกับจอมพลถนอม กิตติขจร ผลัดกันนั่งเป็นนายกฯ แล้วยึดอำนาจตัวเองบ้างอะไรบ้าง แล้วจึงผลัดเก้าอี้มาเป็นของจอมพลถนอม กิตติขจร เต็มตัว เมื่อจอมพลสฤษดิ์เสียชีวิตลง แล้วจอมพลถนอมก็นั่งยาว แม้จะมีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ก็เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญปาหี่สืบทอดอำนาจของจอมพลถนอม และมือขวาคือจอมพลประภาส จารุเสถียร และลูกชายที่เป็นเหมือนทายาททางอำนาจ คือ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร มีการปฏิวัติตัวเองเมื่อเริ่มคุมสภาฯ ไม่อยู่
เรียกว่าครองประเทศกันแบบไม่เห็นอนาคต หรือพูดอีกทาง คือ เล่นเอาเห็นอนาคตชัดเกินไปว่าหลังจากนี้ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น จอมพลถนอมเบื่อก็อาจจะผลัดให้จอมพลประภาส หรือถ้าตายอย่างจอมพลสฤษดิ์ก็อาจจะเป็น พ.อ.ณรงค์ มานั่งต่อ มีการทุจริตกันอย่างไม่เกรงใจ หรือใช้อำนาจบาตรใหญ่แบบไม่อายประชาชน เช่นกรณีการเอาเฮลิคอปเตอร์และอาวุธสงครามในราชการทหารไปล่าสัตว์ป่าเล่นที่ทุ่งใหญ่เนรศวร ซึ่งเป็นป่าสงวน
จนกระทั่งนิสิตนักศึกษา ประชาชนอดทนกันไม่ไหว มีการลงชื่อร้องขอรัฐธรรมนูญใหม่ แต่แกนนำในการร้องขอรัฐธรรมนูญก็ถูกจับไปเป็นจำนวน 13 คน ที่มาเรียกกันภายหลังว่า “13 กบฏรัฐธรรมนูญ” การประท้วงก็ดำเนินต่อไป เพื่อให้ปล่อยตัว ลุกลามไปจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ที่มหาชนออกมากันเต็มท้องถนนหลายแสนคน เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ถูกอ้างใช้มากที่สุดภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
รัฐบาลจอมพลถนอมพยายามปราบปรามประชาชนด้วยกำลังทางทหาร ทั้งทางบก และทางอากาศโดยกราดยิงลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมมหาชนได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็จบลงโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีนายกฯ พระราชทานคนแรก คือ อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลานั้น เป็นยุคของประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มที่ไปร่วม 3 ปี ก่อนจะมาจบลงด้วยเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา ที่ทำให้สภาวะประชาธิปไตยของประเทศกลับไปมืดมนอีกครั้งหนึ่ง
ที่เล่ามาโดยย่อนี้เพื่อจะให้เห็นว่า เหตุการณ์ทั้ง 14 ตุลา คือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยใจอันบริสุทธิ์ของนักศึกษาและประชาชนในยุคนั้น ที่มีเจตจำนงเพื่อการขับไล่เผด็จการโดยแท้ หรือเหตุการณ์ 6 ตุลา เองก็เป็นเหมือนการ “เสียที” ของฝ่ายนักศึกษาและประชาชนจนเกิดเป็นโศกนาฏกรรม
จึงไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมายึดเอาเหตุการณ์ทั้งสองเป็นของตนเอง เหมือนเช่นที่ตอนนี้ฝ่าย “เสื้อแดง” ได้พยายามยึดเอาคำว่า “ประชาธิปไตย” ไปใช้เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะฝ่ายของตนไปเสียแล้ว นับตั้งแต่กิจกรรมการรำลึกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเสื้อแดงก็เอาไปสวมเข้ากับวาทกรรม “ประชาธิปไตยตามใจตัว” ที่ต่อสู้กับ “อำมาตย์” ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว ตัวละครก็เป็นคนละเรื่องคนละคนกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็หาได้นำพาอะไร
วันที่ 14 ตุลาปีนี้ก็เช่นกัน ก็ถูกฝ่ายเสื้อแดง “ยึด” เอาไปใช้รำลึกเสีย จนกระทั่งฝ่ายที่ไม่ได้แดงด้วยไม่พอใจ ในที่สุด 14 ตุลาในปัจจุบัน ก็ต่างคนต่างรำลึก เพราะคนขี้เกียจไปสู้รบตบแย่งเอากับเหล่าเสื้อแดงขี้ตู่
ซึ่งงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา ในปีนี้ ฝ่ายเสื้อแดงภายใต้กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์” ได้ชิงรำลึกโดยใช้พื้นที่หอประชุมธรรมศาสตร์จัดงานก่อนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ไปเนียนๆ โดยจัดเอามาแต่กลุ่มนักศึกษาและกิจกรรมแบบ “พวกเดียวกัน” เช่น กลุ่มละครประกายไฟ กลุ่มมะขามป้อม งิ้วธรรมศาสตร์ที่แสดงโดยคนกันเอง แสดงด้วยเรื่องที่ไม่รู้จะเกี่ยวกับ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลาตรงไหน คือ งิ้วเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น ตอน สางคดี 6 ศพ” ซึ่งหมายถึงกรณีการเสียชีวิต 6 ศพ วัดปทุมวนาราม ซึ่งยังไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นความผิดของใคร แต่กลายเป็นว่างิ้วดังกล่าว “กำหนดจำเลย” ไปแล้วว่าเป็นเสนา “หม่าเคอะ” กับ “ชั่งเอียงเอียง” ซึ่งเท่ากับหมายถึง “มาร์ค” อภิสิทธิ์ และฝ่ายตุลาการทั้งหลายแบบเหมารวม ส่วนลิเกในงาน ก็ได้แก่เรื่อง “บัลลังก์เลือด” ที่เห็นว่าคนเสื้อแดงไปดูแล้ว สูดปากแซ่บกันใหญ่ ใครอยากชมอาจจะต้องรอติดตามเครือข่ายเสื้อแดงนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บ Youtube กันต่อไป
ไฮไลต์สำคัญของงาน 14 ตุลาฉบับแดงแย่งไป ก็มีอีก คือ การจัดทอล์กโชว์ โดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำเสื้อแดง ซึ่งไม่รู้ว่ามันมาเกี่ยวกับ 14 ตุลาตรงไหน เพราะนายณัฐวุฒิเกิดปี 2518 ซึ่งตอน 14 ตุลานั้นไปเป็นอะไรอยู่ภพชาติไหนก็ไม่ทราบ หรือให้ยาวไปถึง 6 ตุลาเองก็คงยังนอนแบเบาะไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไร แต่ดันเอามาเป็นองค์ปาถกในงานรำลึกเดือนตุลาเสียอย่างนั้น
กล่าวโดยสรุป คือ เสื้อแดงก็คือเสื้อแดงที่ขี้ตู่ตลอดกาล และสามารถไปมั่วนิ่ม “รำลึก” กับเขาได้ทุกเรื่องทุกที ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ซึ่งทางเสื้อแดงก็มาเล่นอะไรเดิมๆ เล่าอะไรเดิมๆ ด่าฟ้าดินลมแล้ง ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นก็ได้ แต่ก็หาช่องลากโยงไปได้ก็แล้วกัน เช่น ตีขลุมว่า ไม่ว่าจะเหตุการณ์ไหน ก็ต่อสู้กับ “อำมาตย์” คนเดียวกัน ตั้งแต่สมัยปี 2475 ยันปี 2556 มีศัตรูประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงอยู่ ให้เสื้อแดงมาจัดรำลึกได้ทุกงาน ทุกปี ขอแจมได้ทุกรายการ ขอด่าอำมาตย์ เรียกประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแดงๆ ก็คือ ทักษิณกลับมาแบบไร้มลทิน ปล่อยเสื้อแดงในคุก เลือกตั้งทุกระดับ ทุกสภาฯ ทุกอำนาจ ต้องมีที่มาจากประชาชน ภายใต้การนำของท่านทักษิณและครอบครัว
มันเลยเป็นเรื่องตลกร้าย ที่การต่อสู้ 14 ตุลา ที่หวังหยุดเผด็จการทหาร และการสืบทอดอำนาจแบบญาติมิตรครอบครัววนไปเวียนมา ถูก “ฝ่ายการเมือง” ที่สนับสนุนการสืบอำนาจในครอบครัว พี่น้อง พ่อลูก เขย สะใภ้มา “ยึด” เอาไปเป็นหมุดหมายแห่งการรำลึก
ประเพณีเช็งเม้งคราวหน้า ท่านผู้อ่านอาจต้องระวังให้ดี ว่าอาจจะมีเสื้อแดงไปสวมรอยมั่วนิ่ม ขอร่วมรำลึกในงานเช็งเม้งกับบ้านท่านด้วยก็ได้ ตู่กันไม่อายฟ้าอายประวัติศาสตร์ขนาดนี้แล้ว.
เหตุการณ์ 14 ตุลานี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์แง่หนึ่ง คือถือเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยครั้งแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้น อาจกล่าวได้ว่า สภาวะของประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นเป็นเหมือน “สมบัติผลัดกันชิง” คือการชิงอำนาจกันไปมา ระหว่างคณะราษฎร์ด้วยกันเองซึ่งแตกคอกัน และกลุ่มทหารที่ผลัดกันขึ้นมากุมอำนาจ
หลังจากยุคที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น “เผด็จการเต็มใบ” สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เล่นสนุกกันกับจอมพลถนอม กิตติขจร ผลัดกันนั่งเป็นนายกฯ แล้วยึดอำนาจตัวเองบ้างอะไรบ้าง แล้วจึงผลัดเก้าอี้มาเป็นของจอมพลถนอม กิตติขจร เต็มตัว เมื่อจอมพลสฤษดิ์เสียชีวิตลง แล้วจอมพลถนอมก็นั่งยาว แม้จะมีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ก็เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญปาหี่สืบทอดอำนาจของจอมพลถนอม และมือขวาคือจอมพลประภาส จารุเสถียร และลูกชายที่เป็นเหมือนทายาททางอำนาจ คือ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร มีการปฏิวัติตัวเองเมื่อเริ่มคุมสภาฯ ไม่อยู่
เรียกว่าครองประเทศกันแบบไม่เห็นอนาคต หรือพูดอีกทาง คือ เล่นเอาเห็นอนาคตชัดเกินไปว่าหลังจากนี้ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น จอมพลถนอมเบื่อก็อาจจะผลัดให้จอมพลประภาส หรือถ้าตายอย่างจอมพลสฤษดิ์ก็อาจจะเป็น พ.อ.ณรงค์ มานั่งต่อ มีการทุจริตกันอย่างไม่เกรงใจ หรือใช้อำนาจบาตรใหญ่แบบไม่อายประชาชน เช่นกรณีการเอาเฮลิคอปเตอร์และอาวุธสงครามในราชการทหารไปล่าสัตว์ป่าเล่นที่ทุ่งใหญ่เนรศวร ซึ่งเป็นป่าสงวน
จนกระทั่งนิสิตนักศึกษา ประชาชนอดทนกันไม่ไหว มีการลงชื่อร้องขอรัฐธรรมนูญใหม่ แต่แกนนำในการร้องขอรัฐธรรมนูญก็ถูกจับไปเป็นจำนวน 13 คน ที่มาเรียกกันภายหลังว่า “13 กบฏรัฐธรรมนูญ” การประท้วงก็ดำเนินต่อไป เพื่อให้ปล่อยตัว ลุกลามไปจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ที่มหาชนออกมากันเต็มท้องถนนหลายแสนคน เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ถูกอ้างใช้มากที่สุดภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
รัฐบาลจอมพลถนอมพยายามปราบปรามประชาชนด้วยกำลังทางทหาร ทั้งทางบก และทางอากาศโดยกราดยิงลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมมหาชนได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็จบลงโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีนายกฯ พระราชทานคนแรก คือ อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลานั้น เป็นยุคของประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มที่ไปร่วม 3 ปี ก่อนจะมาจบลงด้วยเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา ที่ทำให้สภาวะประชาธิปไตยของประเทศกลับไปมืดมนอีกครั้งหนึ่ง
ที่เล่ามาโดยย่อนี้เพื่อจะให้เห็นว่า เหตุการณ์ทั้ง 14 ตุลา คือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยใจอันบริสุทธิ์ของนักศึกษาและประชาชนในยุคนั้น ที่มีเจตจำนงเพื่อการขับไล่เผด็จการโดยแท้ หรือเหตุการณ์ 6 ตุลา เองก็เป็นเหมือนการ “เสียที” ของฝ่ายนักศึกษาและประชาชนจนเกิดเป็นโศกนาฏกรรม
จึงไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมายึดเอาเหตุการณ์ทั้งสองเป็นของตนเอง เหมือนเช่นที่ตอนนี้ฝ่าย “เสื้อแดง” ได้พยายามยึดเอาคำว่า “ประชาธิปไตย” ไปใช้เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะฝ่ายของตนไปเสียแล้ว นับตั้งแต่กิจกรรมการรำลึกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเสื้อแดงก็เอาไปสวมเข้ากับวาทกรรม “ประชาธิปไตยตามใจตัว” ที่ต่อสู้กับ “อำมาตย์” ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว ตัวละครก็เป็นคนละเรื่องคนละคนกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็หาได้นำพาอะไร
วันที่ 14 ตุลาปีนี้ก็เช่นกัน ก็ถูกฝ่ายเสื้อแดง “ยึด” เอาไปใช้รำลึกเสีย จนกระทั่งฝ่ายที่ไม่ได้แดงด้วยไม่พอใจ ในที่สุด 14 ตุลาในปัจจุบัน ก็ต่างคนต่างรำลึก เพราะคนขี้เกียจไปสู้รบตบแย่งเอากับเหล่าเสื้อแดงขี้ตู่
ซึ่งงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา ในปีนี้ ฝ่ายเสื้อแดงภายใต้กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์” ได้ชิงรำลึกโดยใช้พื้นที่หอประชุมธรรมศาสตร์จัดงานก่อนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ไปเนียนๆ โดยจัดเอามาแต่กลุ่มนักศึกษาและกิจกรรมแบบ “พวกเดียวกัน” เช่น กลุ่มละครประกายไฟ กลุ่มมะขามป้อม งิ้วธรรมศาสตร์ที่แสดงโดยคนกันเอง แสดงด้วยเรื่องที่ไม่รู้จะเกี่ยวกับ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลาตรงไหน คือ งิ้วเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น ตอน สางคดี 6 ศพ” ซึ่งหมายถึงกรณีการเสียชีวิต 6 ศพ วัดปทุมวนาราม ซึ่งยังไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นความผิดของใคร แต่กลายเป็นว่างิ้วดังกล่าว “กำหนดจำเลย” ไปแล้วว่าเป็นเสนา “หม่าเคอะ” กับ “ชั่งเอียงเอียง” ซึ่งเท่ากับหมายถึง “มาร์ค” อภิสิทธิ์ และฝ่ายตุลาการทั้งหลายแบบเหมารวม ส่วนลิเกในงาน ก็ได้แก่เรื่อง “บัลลังก์เลือด” ที่เห็นว่าคนเสื้อแดงไปดูแล้ว สูดปากแซ่บกันใหญ่ ใครอยากชมอาจจะต้องรอติดตามเครือข่ายเสื้อแดงนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บ Youtube กันต่อไป
ไฮไลต์สำคัญของงาน 14 ตุลาฉบับแดงแย่งไป ก็มีอีก คือ การจัดทอล์กโชว์ โดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำเสื้อแดง ซึ่งไม่รู้ว่ามันมาเกี่ยวกับ 14 ตุลาตรงไหน เพราะนายณัฐวุฒิเกิดปี 2518 ซึ่งตอน 14 ตุลานั้นไปเป็นอะไรอยู่ภพชาติไหนก็ไม่ทราบ หรือให้ยาวไปถึง 6 ตุลาเองก็คงยังนอนแบเบาะไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไร แต่ดันเอามาเป็นองค์ปาถกในงานรำลึกเดือนตุลาเสียอย่างนั้น
กล่าวโดยสรุป คือ เสื้อแดงก็คือเสื้อแดงที่ขี้ตู่ตลอดกาล และสามารถไปมั่วนิ่ม “รำลึก” กับเขาได้ทุกเรื่องทุกที ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ซึ่งทางเสื้อแดงก็มาเล่นอะไรเดิมๆ เล่าอะไรเดิมๆ ด่าฟ้าดินลมแล้ง ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นก็ได้ แต่ก็หาช่องลากโยงไปได้ก็แล้วกัน เช่น ตีขลุมว่า ไม่ว่าจะเหตุการณ์ไหน ก็ต่อสู้กับ “อำมาตย์” คนเดียวกัน ตั้งแต่สมัยปี 2475 ยันปี 2556 มีศัตรูประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงอยู่ ให้เสื้อแดงมาจัดรำลึกได้ทุกงาน ทุกปี ขอแจมได้ทุกรายการ ขอด่าอำมาตย์ เรียกประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบแดงๆ ก็คือ ทักษิณกลับมาแบบไร้มลทิน ปล่อยเสื้อแดงในคุก เลือกตั้งทุกระดับ ทุกสภาฯ ทุกอำนาจ ต้องมีที่มาจากประชาชน ภายใต้การนำของท่านทักษิณและครอบครัว
มันเลยเป็นเรื่องตลกร้าย ที่การต่อสู้ 14 ตุลา ที่หวังหยุดเผด็จการทหาร และการสืบทอดอำนาจแบบญาติมิตรครอบครัววนไปเวียนมา ถูก “ฝ่ายการเมือง” ที่สนับสนุนการสืบอำนาจในครอบครัว พี่น้อง พ่อลูก เขย สะใภ้มา “ยึด” เอาไปเป็นหมุดหมายแห่งการรำลึก
ประเพณีเช็งเม้งคราวหน้า ท่านผู้อ่านอาจต้องระวังให้ดี ว่าอาจจะมีเสื้อแดงไปสวมรอยมั่วนิ่ม ขอร่วมรำลึกในงานเช็งเม้งกับบ้านท่านด้วยก็ได้ ตู่กันไม่อายฟ้าอายประวัติศาสตร์ขนาดนี้แล้ว.